15 ส.ค. 2555

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่7

หน่วยที่7
ภาษาในวิถีชีวิตและสังคมไทย

ตอนที่1 
ความรู้ทั่วไปเรื่องภาษา
1.1 ความหมายของภาษา
ภาษา คือ ระบบการสื่อสารอย่างมีความหมายของมนุษย์ เป็นระบบการสื่อสารด้วยเสียงเป็นสำคัญ
ระบบเสียงของภาษามีดังนี้คือ
(1.) เมื่อนำเสียงต่างๆมารวมกันออกเสียงแต่ละครั้งเรียกว่า - พยางค์
(2.) พยางค์ที่มีความหมายเรียกว่า -คำ
(3.) การนำคำมารวมกันเรียกว่า-กลุ่มคำ
(4.) เมื่อสร้างระบบคำ กลุ่มคำ ตามลักษณะโครงสร้าง สามารถร้อยเรียงเป็นข้อความต่อเนื่องเรีกว่า - ประโยค

มนุษย์สามารถใช้ภาษาในการถ่ายทอด อารมณ์ ความคิด และความรู้ จึงเกิดมีวิทยาการ มีวัฒนธรรมและความเจริญก้าวหน้าต่างๆ

1.2 ความสำคัญของภาษา
ภาษานั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคม และ วัฒนธรรมเจริญก้าวหน้า สังคมใดมีระบบการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดความสืบเนื่องทางความคิด ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญในแง่ประวัติของวัฒนธรรม อารยธรรมมนุษยชาติ เพราะใช้สื่อสารและบันทึก ซึ่งถือว่าสังคมและวัฒนธรรมนั้นเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ เช่นสังคมไทยที่เริ่มบันทึกถ้อยความเป็นหลักฐานตั้งแต่ปี พ.ศ.1826 เป็นต้นมา

1.3 การศึกษาภาษา
เนื่องจากภาษามีความสำคัญ มนุษย์จึงต้องศึกษาภาษาเพื่อให้ใช้ได้อย่างเหมาะสม การศึกษาภาษาแบ่งเป็น 2 แบบคือ
(1.) ศึกษาเพื่อใช้ภาษาให้ถูกต้องและสื่อสารได้ความตามไวยกรณ์หรือหลักภาษา
(2.) ศึกษาเพื่อวิเคราะห์ภาษาทางด้านโครงสร้าง ความเป็นมา ภาษาต่างยุคต่างสมัย ความสำพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมในแขนงอื่นๆ หน้าที่ของภาษาในสังคม

ตอนที่2
ข้อพินิจเกี่ยวแก่ภาษาไทย
2.1 ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
(1.) ระบบเสียง
- เสียงแท้ คือเสียงสระเป็นแกนกลางของพยางค์
- เสียงแปร คือเสียงพยัญชนะ เป็นพยัญชนะต้นนำพยางค์ และเป็นตัวสะกดอยู่ท้ายพยางค์ เสียงพยัญชนะต้นนี้อาจจะเป็นพยัญชนะเดี่ยวหรือพยัญชนะประสม (เป็นอักษรนำหรือควบกล้ำ)
- เสียงดนตรี คือเสียงสูง ต่ำ หรือเสียงวรรณยุกต์
(2.) ระบบคำ เป็นคำเดี่ยวๆ เรียกว่าคำมูล และมีวิธีสร้างคำด้วยการซ้ำคำ ซ้อนคำ และ ประสมคำ มีการยืมวิธีการสร้างคำแบบบาลีสันสกฤตคือ การสมาส มาใช้สร้างคำด้วย

ชนิดของคำ ต้องพิจารณาเมื่ออยู่ในกลุ่มคำหรือในประโยค ซึ่งแสดงถึงหน้าที่ของคำ จำแนกด้วยตำแหน่งของคำในประโยคเป็นสำคัญ

เรื่องทางไวยกรณ์อื่นๆ เช่นเรื่องกาล(Tense) มาลา(mood) วาจก (Voice) มักใช้คำประกอบแสดง - กรรมวาจกที่มีกริยาและคำแวดล้อมมักบ่งบอกอยู่แล้ว ไม่ต้องมีคำว่า "ถูก" หรือ "ได้รับ" มาประกอบ

2.2 ภาษาไทยในแง่มุมต่างๆ
(1.) ภาษากลาง ภาษาราชการ ภาษามาตราฐาน - ภาษากลางคือภาษาที่ใช้สื่อสารกันในประเทศไทย จำเป็นต้องมีมาตราฐานที่รับรู้กันโดยทั่วไปจึงเรียกว่าภาษามาตราฐาน หรือภาษาที่ใช้ในราชการ ซึ่งคนในประเทศต้องเรียนกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ให้ได้ถูกต้อง เพื่อใช้ในการบันทึกความรู้ ประวัติ การสั่งการ การบริหารงาน ซึ่งมีข้อดีคือใช้ศึกษางานต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นเพื่อให้ใช้ให้ถูกต้องเป็นมาตราฐานเพื่อไม่ให้ภาษาเปลี่ยนเร็วเกินไปนัก  และหากภาษามาตราฐานผิดเพี้ยนไปโดยใช่เหตุก็จะกล่าวกันว่านั้นคือภาษาวิบัติ

(2.) ภาษาถิ่น - ภาษากลางของไทยก็คือภาษาถิ่นกรุงเทพฯ ซึ่งเปลี่ยนแปลงเร็วตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ต่างจากภาษาถิ่นอื่นๆที่จะรักษาศัพท์และวัฒนธรรมแบบเดิมไว้ได้มากกว่า ดังนั้นภาษาถิ่นจึงใช้ศึกษาข้อมูล ศึกษาวรรณคดี ศึกษาภาษาเชิงประวัติศาสตร์ได้ด้วย

(3.) ภาษากับบทบาททางการเมือง และ การศึกษา - ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติและชาตินิยม ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติของตน

ตอนที่ 3 
ภาษากับสังคม
3.1 สังคมภาษา
เราจะพบว่าสังคมมนุษย์ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงได้เพราะมีการใช้ภาษาร่วมกัน ภาษาเป็นเครื่องเชื่อมโยงให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของกลุ่มชนในสังคมเดียวกัน
สังคมมนุษย์เป็นสังคมภาษา ทำให้ซับซ้อนกว่าสังคมของสัตว์ เพราะภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารเรื่องราว สืบทอดความรู้ ความคิด ภาษาที่มีอยู่ในส่วนต่างๆของสังคมมีประเด็นที่เหมือนกันจึงรวมกันเป็นสังคมใหญ่ แต่ขณะเดียวกันภาษาก็รักษาระดับความต่างของกลุ่มหรือระดับสังคมไว้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นภาษาสังคม

3.2 ภาษาสังคม
สังคมหนึ่งๆมี "ภาษา" ที่มีลักษณะเฉพาะของตน ภาษาที่แต่ละคนใช้อาจจะแตกต่างกันตามอาชีพ ตามท้องถิ่น ตามกลุ่ม ตามสังคม ตามความรู้ ตามวัย เพศ และ การศึกษา

3.3 ภาษาศาสตร์สังคม
การศึกษาภาษาศาสตร์สังคมคือ การศึกษาภาษาในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม รวมไปถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางภาษา พฤติกรรมที่มีต่อภาษาและผู้ใช้ภาษาด้วย แบ่งเป็น 2 แบบด้วยกันคือ
(1.) ภาษาสังคมแนวบรรยาย เป็นการศึกษาเพื่อหาข้อสรุปว่า ภาษาในชุมชนภาษาพูดหรือเขียนกันอย่างไร? คนในชุมชนนั้นมีพฤติกรรมในภาษาอย่างไร?
(2.)ภาษาในเชิงพลวัต เป็นการศึกษาถึงเหตุผลของความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของภาษาในสังคมหนึ่งในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บางอย่างในภาษายังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงแม้สังคมจะเปลี่ยนไป เช่น "ตกฟาก" ทั้งที่ปัจจุบันไม่มีฟากแล้ว และคำว่า "เก็บเบี้ยใส่ใต้ถุนร้าน" ทั้งที่ปัจจุบันเราไม่ได้ใช้เบี้ยแล้วเช่นกัน

ตอนที่4
ภาษาในสังคมไทย
4.1 ระดับภาษา
ระดับภาษาคือการใช้ภาษาแสดงฐานะของบุคคล และฐานะความสัมพันธ์กันในสังคม สิ่งที่แสดงถึงระดับภาษาที่ชัดเจนที่สุดได้แก่ราชาศัพท์

4.2 ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ภาษาเฉพาะอาชีพ ภาษาเฉพาะกิจ เช่น อาจจะเรียกว่าภาษาหนังสือพิมพ์ ภาษาโฆษณาหรือภาษาที่ใช้ทางวิชาการต่างๆ

4.3 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
ภาษาเป็นสิ่งที่มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงของภาษาไปตามลักษณะสังคม - ค่านิยม 
เมื่อสังคมเปลี่ยนภาษาก็จะเปลี่ยนตาม ดังเช่นเราจะพบว่า เดิมคนไทยมีสังคมเกษตรกรรมแต่เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดสังคมเมือง สังคมชนบท ภาษาก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน บางคำก็ยังเหลืออยู่ บางคำก็เลิกใช้แล้ว เช่น ทุ่ม-โมง

ปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนเช่น
- การอพยพของแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมืองหลวง อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สำเนียงกรุงเทพเปลี่ยนไป
- ภาษาต่างประเทศที่เข้ามาในภาษาไทย ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นเช่น บาลี-สันสกฤต เขมร จีน อังกฤษ

4.4 การอ่านออกเขียนได้
การอ่านออกเขียนได้ทำให้สังคมเจริญได้เร็ว มั่นคง และเจริญได้ในวงกว้าง เพราะการถ่ายทอดความคิดความอ่านวิทยาการ สามารถทำได้เร็ว กระจายได้สะดวก มีหลักฐานอ้างอิง ค้นคว้าได้

4.5 ภาษาวิบัติ 
ภาษานั้นเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เมื่อมีผู้ใช้ก็จะถือว่าเป็นภาษา ในทางภาษาศาสตร์ไม่คำนึงว่าภาษานั้นจะถูกหรือไม่แค่มีผู้ใช้ก็ถือว่าเป็นภาษาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้เป็นภาษามาตราฐาน ก็จะต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์มิฉะนั้นก็จะเกิดลักษณะที่เรียกว่า ภาษาวิบัติ

ภาษาวิบัติ คือ ภาษาที่เสียสมบัติไป เสียลักษณะพิเศษของภาษานั้นๆ เสียถ้อยคำสำนวนที่ดี ทำให้ภาษาจนลง นั่นคือภาษาที่ใช้นั้นอาจจะใช้ผิด เมื่อใช้ผิดภาษาก็วิบัติไป

อย่างไรก็ตามลักษณะของภาษาไทยนั้นเป็นภาษาที่ใช้การเรียงร้อยถ้อยคำเป็นวิธีการสำคัญในการสื่อความหมาย และมีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง แต่เดิมภาษาไทยไม่ค่อยใช่บุพบทมากหรือพร่ำเพรื่อเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ เช่น "นอนเตียง" ก็เพียงพอที่จะเข้าใจโดยไม่ต้องใช้คำว่า "นอนบนเตียง" หรือการสลับที่คำขยาย เช่น "ง่ายต่อการติดตั้ง" เพียงกล่าวว่า "ติดตั้งง่าย" ก็พอแล้ว

ดังนั้นในเรื่องของภาษา เราต้องดูให้รู็ให้เข้าใจใช้ภาษาให้ถูกต้องและรู้ถึงอิทธิพลของภาษาว่า การใช้ภาษาที่ผิดๆนั้นอาจจะทำให้การสื่อสารผิดไปได้ เราจะพบว่าภาษามีอำนาจทำให้เกิดผลต่อสังคมได้ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาให้ถูกต้องและเข้าใจธรรมดาธรรมชาติของภาษา

Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

14 ส.ค. 2555

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่6

หน่วยที่ 6 
ความเชื่อและศาสนากับสังคมไทย

ตอนที่ 1 
ข้อพินิจเบื้องต้นเรื่องความเชื่อและศาสนา

1.1 ความเชื่อและศาสนาในแง่วัฒนธรรม
ความเชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เมื่อก่อตัวเป็นระบบก็มักเรียกว่าศาสนา ความเชื่อและศาสนาเชื่อมโยงสถาบันทางการปกครอง เศรษฐกิจ และ สังคม ความเชื่อและศาสนาจึงเป็นสถาบันหลักทางวัฒนธรรมความเจริญของสังคม

1.2 ความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ ปรัชญา
(1.) ความเชื่อ หมายถึง การไว้วางใจกัน การเชื่อถือ การนับถือ
(2.) ศาสนา แปลตามศัพท์ว่า คำสอน การสอนก็นับเป็นระบบความเชื่ออย่างหนึ่ง
(3.) ลัทธิ หมายถึงสิ่งที่รับมานับถือ
(4.) ปรัชญา หมายถึง หลักแห่งความรู้และความจริง

1.3 ทฤษฎีเกี่ยวแก่กำเนิดศาสนา
ทฤษฎีเรื่องกำเนิดศาสนามีมากมายพอสรุปได้ว่า เป็นธรรมชาติของมนุษย์ พวกหนึ่งว่าเกิดเพราะความกลัวทำให้มนุษย์คิดเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องพระผู้เป็นเจ้า อีกพวกหนึ่งไม่ค่อยใส่ใจเรื่องกำเนิดศาสนา แต่ดูบทบาทของศาสนาในสังคมเป็นเรื่องสำคัญ 

1.4 ระบบสำคัญต่างๆของศาสนา
ระบบความเชื่อของศาสนานี้มีระบบย่อย เช่น เรื่องปรัมปราคติ เรื่องจักรวาลวิทยา ระบบจริยธรรมศีลธรรม ระบบเรื่องการบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด ระบบพิธีกรรมและระบบความคิดปรัชญา ระบบต่างๆเหล่านี้เมื่อซับซ้อนขึ้นต้องมีการบันทึกเป็นคัมภีร์ มีการศึกษา จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญสืบทอดเป็นครูสอนศาสนา หรือนักบวชแบบต่างๆเพื่อศึกษา สั่งสอน ประกอบพิธีกรรม

1.5 ศาสนากับสังคม
โดยเหตุที่ศาสนาเป็นเรื่องของพฤติกรรม ความเชื่อ ความคิด ความเห็นของมนุษย์ในสังคม การศึกษาศาสนาจึงทำให้เข้าใจพฤติกรรมของสังคมและการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ ศาสนาเกิดในสังคมและกำกับพฤติกรรมสังคมในแนวเดียวกันตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ไปถึงระดับประเทศ ศาสนาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง การควบคุมคนผ่านทางความเชื่อ ความขัดแย้งในทางความเชื่อของศาสนาและความเชื่อที่ต่างกันมักก่อเกิดการปะทะกัน บางครั้งลุกลามเป็นสงครามได้

เมื่อศาสนาสำคัญเช่นนี้จึงเกิดการศึกษาเรื่องราวของศาสนาอย่างเป็นระบบระเบียบทางวิชาการ เรียกว่า ศาสนศึกษา ศึกษาศาสนาตั้งแต่เรื่องคำสอน ศีลธรรม จริยธรรมโลกทัศน์ จักรวาลวิทยา ปรัชญา พิธีกรรม รวมไปถึงส่วนที่เป็นประวัติ พัฒนาการและความสัมพันธ์กับระบบอื่นๆในสังคม

ตอนที่ 2
ลักษณะและความเชื่อในสังคมไทย
2.1 ความเชื่อดั้งเดิม
ความเชื่อดั้งเดิมของไทยเชื่อเรื่องผีสางเทวดา เป็นความเชื่อทั่วไปที่พบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทรกซึมอยู่ในเรื่องต่างๆ เช่น ประเพณีการเกิด การตาย การดำเนินชีวิต การศึกสงคราม เชื่อกันว่าหากปรนนิบัติบูชาผีสางเทวดาถูกต้องจะมีอำนาจป้องกันภัยและบันดาลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จดังปรารถนา

ความเชื่อเกี่ยวกับผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีิอิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดความสงบเรียบร้อยของสังคม เมื่อบัญญัติกฎหมายการทำผิดก็เรียกว่าผิดผี กระบวนการทางกฎหมายสมัยก่อนมีเรื่องการดำน้ำลุยเพลิง พิสูจน์ความจริงความเท็จซึ่งมาจากแนวคิดเรื่องผีสางเทวดาเป็นสำคัญ

นอกจากนี้คนไทยยังมีคติเรื่อง ขวัญ การนับถือผีบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องข้าว บนพื้นฐานวัฒนธรรมการเกษตร รวมทั้งความเชื่อเรื่องโลก-จักรวาล และการกำเนิดคน-สัตว์ด้วย

2.2 ศาสนาที่มาจากอินเดียและศาสนาอื่นๆ
- ศาสนาที่มาจากอินเดีย เมื่อเข้าสู่ยุคการนับถือศาสนา เริ่มแรกคงจะเป็นการติดต่อทางการค้ากับอินเดียที่ทำให้คนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนา มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและแทรกซึมอยู่ในทุกระบบสังคม เนื่องจากทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เข้ากันได้กับความเชื่อดั้งเดิมและเอื้ออำนวยต่อการประกอบกิจกรรม ทั้งในกลุ่มชุมชนชั้นสูงและสามัญชน

- ศาสนาอื่นๆ 
(1.) ศาสนาอิสลาม ที่มีหลักโดยรวมของสังคมเท่าเทียมกัน ศาสนิกของศาสนี้จะรวมกันเป็นระบบระเบียบ
(2.) คริสตศาสนา ทั้งนิกายโรมันคาทอลิก ทั้งกลุ่มโปรแตสเตนท์ (คริสเตียน) ได้เผยแพร่ศาสนาพร้อมๆกับการนำความรู้และวิทยาการต่างๆ เช่น การพิมพ์ การแพทย์ และการศึกษา เข้ามาสู่สังคมไทย
(3.) ศาสนาสิกข์ เป็นกระแสใหม่ทางศาสนาของชาวอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับพ่อค้าชาวอินเดียรุ่น่หลัง
(4.) ศาสนาฮินดู เป็นแขนงสาขาความคิดของศาสนาพราหมณ์

2.3 ลักษณะการนับถือศาสนาในสังคมไทย
สังคมที่มีหลายศาสนาอาจเกิดความขัดแย้งกันแต่ลักษณะการนับถือศาสนาในสังคมไทยถือว่าศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทำความดี มักเลือกนับถือเพื่อใช้ให้ต้องตามจุดประสงค์สำคัญมีความยืดหยุ่นทางความเชื่อ  คนไทยจึงยอมรับความเชื่อหรือศาสนาอื่นๆได้มาก เรียกว่า มีขันติธรรมทางศาสนา

2.4 สังคมไทยในฐานะเป็นสังคมพุทธศาสนา
แนวคิดสำคัญในพุทธศาสนาแบบไทยคือ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และ เรื่องกรรม นอกจากนี้ยังมีเรื่องบาปบุญคุณโทา เรื่องบารมี และ เรื่องการอุทิศส่วนบุญกุศล

ความเชื่อและศาสนาสนองความต้องการพื้นฐานของคนในสังคมแบบอื่นๆดังนี้คือ
(1.) เป็นระบบประกันภัย ทั้งโลกนี้และโลกหน้าเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือความไม่แน่นอนก็มักจะยึดสิ่งที่คิดว่า "ศักดิ์สิทธิ์" เพื่อขอความช่วยเหลืออย่างไม่จำกัด
(2.) เป็นระบบการสั่งสม เป็นการทำบุญสั่งสมทั้งเพื่อผลในภายภาคหน้าและที่ไม่หวังผล
(3.) เป็นระบบการส่งหรือการนำบุญกุศลไปสู่ผู้อื่นหรือภพอื่นๆ เปรียบได้กับไปรษณีย์ คือการทำบุญเก็บไว้ใช้ชาติหน้าหรืออุทิศให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการอุทิศอาหาร ข้าวของถวายพระภิกษุ สร้างศาสนาสถาน ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับสิ่งนั้น หรือไม่ก็เก็บไว้สำหรับตนเองก็ได้เช่นกัน

วัดจึงเป็นแหล่งเชื่อมโยงทางจิตใจนอกเหนือจากหน้าที่ในสังคม หน้าที่สำคัญที่สุดคือเป็นโรงเรียนสอนวิชาหนังสือ เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงวิชาชั้นสูง ได้แก่วิชาคาถาอาคม การก่อสร้าง การช่าง งานศิลปะ วัดยังทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงคนชราและเด็กกำพร้าด้วย

ตอนที่ 3
ความเชื่อและศาสนาในวัฒนธรรมไทยแขนงต่างๆ
3.1 การปกครองและกฎหมาย 
ตามความคิดดั้งเดิมด้านการปกครองของไทย พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นศูนย์กลางของอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรม ตามคติพราหมณ์ยกย่องพระเจ้าแผ่นดินเป็น "เทพเจ้า" ตามคติพุทธศาสนาทรงเป็น "ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุโพธิญาณ" ทรงเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างทางศีลธรรม เป็น "ธรรมราชา" ผู้ปกครองโดยธรรมเพื่อความผาสุกโดยรวม

ในด้านกฎหมาย ก่อนยุคสมัยใหม่ได้ใช้หลักธรรมทางด้านศาสนาในการกำหนดบทบัญญัติหรือการพิจารณาพิพากษาคดีความ

3.2 การศึกษา
ในสมัยจารีตนั้น วัด มีความสำคัญเป็นศูนย์กลางการศึกษา เป็นโรงเรียนสอนวิชาการต่างๆ แม้ว่าปัจจุบันการศึกษาจะแยกออกจากวัด แต่วัดก็ยังมีส่วนสร้างประโยชน์แก่ชุมชนเช่นกัน

3.3 ภาษา วรรณคดี และ ศิลปะแขนงต่างๆ
เมื่อสังคมไทยรับนับถือพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ เราก็รับวิชาความรู้และคำศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต เข้ามาในภาษาไทยด้วย ทำให้เรามีคำศัพท์ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลด้านวรรณคดี เรื่องราวที่แต่งเป็นวรรณคดีไทยส่วนใหญ่ มาจากพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ เช่น รามเกียรติ์ ชาดกต่างๆ รวมทั้งคติความเชื่อที่ปรากฏในวรรณคดีก็แสดงแนวคิดในศาสนาด้วยเช่นกัน ความเชื่อและศาสนายังก่อเกิดศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี

ตอนที่ 4
สภาพความคิดความเชื่อและศาสนาในปัจจุบัน
4.1 ศาสนากับการเมืองการปกครอง
ความเชื่อดั้งเดิม ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธมีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมไทยจึงไม่มีเหตุขัดแย้งทางการเมืองการปกครอง แต่เมื่อมีแนวคิดใหม่ที่แสดงความเชื่อของตนให้ออกมาเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดการใช้วัฒนธรรมเหล่านั้นเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม จึงมีกลุ่มที่ออกมาต่อต้านกระแสเหล่านั้น ทำให้ปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้นไปจนถึงการไม่ยอมรับการปกครองจากศาสนิกต่างชาติ เรื่องศาสนากับการปกครองจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง

4.2 ศาสนากับความคิดเรื่องมนุษยธรรม
ศาสนาเกี่ยวเนื่องกับความคิดเรื่องมนุษยธรรมในขณะที่สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดปัญหาสังคมเมืองใหญ่ตามมา ศาสนาซึ่งเดิมมีส่วนช่วยผดุงมนุษยธรรมในสังคมอยู่แล้วแต่อาจไม่เป็นระบบหรืออาจเป็นระบบที่ไม่เข้ากับปัญา ต้องพยายามปรับตัวและมองปัญหาให้ถูกต้อง เพราะศาสนามีศักย๓าพที่จะทำงานด้านนี้เป็นอย่างดี

4.3 พุทธศาสนาในปัจจุบัน
สภาพการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนไป วัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางของสังคมโดยเฉพาะเมืองใหญ่ พุทธศาสนาถูกมองว่าไม่สนองตอบต่อสังคม พระภิกษุประพฤติย่อหย่อนจึงดูเหมือนว่าพุทธศาสนามีหน้าที่หลังทางพิธีกรรมเท่านั้น สถาณการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความพยายามปรับปรุงพระพุทธศาสนาในหลายด้าน

4.4 ศาสนาใหม่ในสังคมไทย
ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้คนเสาะแสวงหาที่พึ่งใหม่ๆ เกิดเป็นความเชื่อศาสนาแนวใหม่ในศาสนาเดิมหรือเกิดศาสนาใหม่โดยมากเกี่ยวแก่การรักษาโรคร้าย แต่บางครั้งแนวคิดใหม่นี้ก็เป็นการก่อให้คนลุ่มหลงได้ อย่างไรก็ตามคราวใดที่เกิดปัญหาในสังคมพุทธศาสนาก็เป็นแหล่งพึ่งพิงที่คนมุ่งเสาะแสวงหาจากหลักธรรมอยู่ แสดงว่าพุทธศาสนายังเป็นกลจักสำคัญในสังคมไทย

Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

9 ส.ค. 2555

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่5

หน่วยที่ 5
เทคโนโลยีไทย

ตอนที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมา มนุษย์เริ่มต้นเรียนรู้จากธรรมชาติ รู้จักใช้ความคิดและสร้างสรรค์ความรู้ในการอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เรียกว่า ธรรมชาติวิทยา และใช้ความรู้นั้นนมาสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบกิจกรรมต่างๆและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน สังคม เมื่อมนุษย์สามารถพัฒนาความรู้ในยุควิทยาศาสตร์โดยเริ่มจากประเทศตะวันตก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาแทนที่ธรรมชาติวิทยา ทำให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว

1.2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา หรือ ประยุกตวิทยา คือการนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาต่อเนื่องถึงวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นวิธีปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการปรับสภาพธรรมชาติที่เป็นอยู่ เพื่อให้การดำรงชีวิตง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น 
การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีมีตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไปจนถึงการสร้างสรรค์เทคโนโลยีในระดับซับซ้อนยิ่งขึ้นตามความต้องการและความก้าวหน้าทางความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีจึงสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของสังคมนั้นๆด้วย เทคโนโลยีแบ่งกว้างๆได้เป็นเทคโนโลยีเหมาะสม และ เทคโนโลยีก้าวหน้า ที่พัฒนาต่อเนื่องไปในระดับสูง

ตอนที่ 2 
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีในสังคมไทย
2.1 เทคโนโลยีในสมัยสังคมไทยจารีต
เทคโนโลยีระดับพื้นฐานในสมัยสังคมจารีตของไทย ช่วยแก้ปัญหาความต้องการปัจจัยพื้นฐานก่อให้เกิดประโยชน์สุขในการดำรงชีวิต

2.2 การรับเทคโนโลยีตะวันตก
ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในประเทศตะวันตกก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การติดต่อกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทำให้สังคมไทยได้สัมผัสวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สำคัญได้แก่แพทย์ตะวันตก และ เทคโนโลยรการพิมพ์

สังคมไทยเปิดรับเทคโนโลยีตะวันตกเพื่อประโยชน์ด้านการค้า สาธารณูปโภค การคมนาคม และการผลิตบุคคลากรที่มีความรู้สนองต่อความต้องการของประเทศ ในที่สุดเทคโนโลยีดั้งเดิมของไทยในสมัยสังคมจารีตถูกทอดทิ้งไป ทำให้การสืบทอดและการพัฒนาหยุดชะงัก ภูมิปัญญาไทยถูกละเลยอย่างน่าเสียดายและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากในการซื้อและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

2.3 เทคโนโลยีสมัยใหม่ในสังคมไทย
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก่อให้เกิดความรู็ในระดับลึกหลายด้าน ความรู้เหล่านี้ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกล และการสร้างสรรค์การใช้เทคโนโลยีต่างๆ เป็นจุดเด่นของความเจริญก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน
เทคโนโลยีสมัยใหม่สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของสังคมในปัจจุบัน สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมเมืองใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี แม้จะมีความพยายามส่งเสริมการเรียนรู้และการค้นคว้าวิจัยเพื่อรองรับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ก็ยังต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระดับที่สูงมาก จนเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไม่เจริญก้าวหน้าด้วยความมั่นคง
นอกจากนี้ผลจากการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีทั้งด้านสร้างสรรค์และทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก่อเกิดปัญหาที่ยากจะแก้ไขตามมา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป็นเสมือนดาบสองคมที่ต้องเลือกใช้อย่างระวัง ด้วยเหตุนี้การเลือกศึกษาเทคโนโลยีพื้นบ้านเด่นๆของไทยเพื่อพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้เราพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีมากขึ้นและทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตอนที่3 
เทคโนโลยีเด่นในวิถีชีวิตไทย
เทคโนโลยีส่วนใหญ่ของไทยสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดประสปการณ์ความรู้ตั้งแต่ยุคสังคมจารีต เทคโนโลยีเด่นที่พอจะยกขึ้นเป็นตัวอย่างมีดังนี้

3.1 เทคโนโลยีการเกษตร
การเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทยมาเนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ในท้องถิ่นซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและแรงงานที่มีอยู่ เมื่อผลผลิตทางการเกษตรกลายเป็นสินค้าด้านอุตสาหกรรมอาหาร และมีความต้องการในปริมาณที่สูงขึ้นจึงนำเทคโนโลยีก้าวหน้ามาใช้ ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียโดยรวม
เทคโนโลยีการเกษตรที่สำคัญในสังคมไทยได้แก่ เทคโนโลยีการทำนา เทคโนโลยีประมง

การทำนาในยุคสมัยก่อนเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอาศัยความรู้ภูมิปัญญาไทยสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมจากพลังงานธรรมชาติและคิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆเป็นหลัก

การตั้งถิ่นฐานบริเวณใกล้แหล่งน้ำ ก่อเกิดความเข้าใจในสภาพพื้นที่และธรรมชาติของสัตว์น้ำ คนไทยปรับประยุกตฺใช้เทคโนโลยีการประมงอย่างหลากหลาย เช่น การวางโป๊ะ โพงพาง การใช้ลอบ ไซ ยอ การวางเบ็ดเป็นต้น รู้จักปรับสภาพพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา วิทยาการต่างๆก้าวหน้ารวดเร็วมากจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนพร้อมกับการรักษาธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบนิเวศน์ จะเป็นแนวทางพัฒนาที่ยังประโยชน์แก่ประเทศและสังคมโดยรวม

3.2 เทคโนโลยีเภสัชกรรม
โรคภัยไข้เจ็บเป็นปัญหาที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยต้องเผชิญ เภสัชกรรมไทยนับเป็นความรู้และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการดูแลรักษาและบรรเทาโรค แม้ว่าสมัยหนึ่งความรู้ทางด้านนี้จะชะงักการพัฒนาไป แต่ปัจจุบันได้มีกาศึกษาค้นคว้าใหม่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีเภสัชกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์และนำมาเป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษาพยาบาล ความรู้ด้านเภสัชกรรมในสังคมไทยเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาเนิ่นนาน ดังนี้

(1.) ความรู้และทฤษฎีด้านเภสัชกรรมไทย เป็นความรู้จากการสังเกตสรรพคุณและเลือกใช้สมุนไพรปรุงยา มีหลักสำคัญประกอบด้วย เภสัชวัตถุ สรรพคุณวัตถุ คณาเภสัช และ เภสัชกรรม

(2.) ความรู้เกี่ยวกับชนิดและลักษณะสมุนไพร ทั้งจากพืช สัตว์ แร่ธาตุ

(3.) ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปรุงยา เริ่มจากการเลือกยา ขนาดปริมาณ การแปรสภาพ การผสมยา และจัดเก็บเมื่อปรุงเสร็จแล้ว เมื่อการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย การประยุกต์พัฒนาภูมิปัญญาไทยด้านเภสัชกรรมหยุดชะงักไปในช่วงเวลาหนึ่ง การรักษาพยาบาลและการซื้อยาจากต่างประเทศทำให้เราเสียเงินจำนวนมากและต้องพึ่งพาต่างชาติ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันจึงมีการประยุกต์พัฒนาประโยชน์จากสมุนไพรไทยทำให้ภูมิปัญญาที่สั่งสมมามีพลวัตต่อการใช้ประโยชน์ ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

3.3 เทคโนโลยีชลประทาน
ในบางพื้นที่ของประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและกิจกรรมการเกษตร การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชลประทาน ทั้งในระบบท้องถิ่น โดยชุมชนและการจัดการโดยรัฐแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรื่องน้ำในสังคมไทย คนไทยสามารถวางแผนจัดระบบชลประทานในพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำ โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์และลักษณะการไหลการระบายน้ำ นับเป็นเทคโนโลยีวิถีชีวิตไทยที่โดดเด่นมายาวนาน

ระบบชลประทานยุคแรกของไทย พบในบริเวณเมืองโบราณหลายแห่ง มีทั้งการทำแนวคันดินเพื่อกำหนดทิศทางของน้ำ การทำเหมืองฝายสำหรับเก็บกักน้ำ อาศัยความรู้และเทคโนโลยีชลประทานที่สะท้อนถึงการสั่งสมภูมิปัญญาไทย

ฝาย หรือ เหมืองฝาย เป็นการก่อสร้างทำนบขวางลำน้ำเพื่อกั้นน้ำให้มีระดับสูงพอที่จะไหลเข้าลำเหมืองหรือคลองส่งน้ำไปยังพื้นที่ที่ต้องการ และให้น้ำที่เหลือล้นข้ามสันฝายต่อไปในลำน้ำเดิมได้

การจัดการเหมืองฝายยังเป็นการวางระบบดูแลการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันทั้งในชุมชนและระหว่างชุมชนที่อยู่บนเส้นทางน้ำเดียวกัน ชาวบ้านจะเลือกผู้นำท้องถิ่นทำหน้าที่ "แก่เหมือง" หรือ "แก่ฝาย" ดูแลลำเหมืองและฝายควบคุมการจัดสันปันน้ำและแก้ปัญหากรณีมีข้อพิพาทเรื่องน้ำ

เขื่อนระบายน้ำ เป็นเทคโนโลยีชลประทานสมัยใหม่ที่มีลักษณะคงทนถาวรเกือบทั้งหมดลงทุนจัดการโดยรัฐ

3.4 เทคโนโลยีการหล่อโลหะ
การค้นพบเครื่องมือโลหะที่มีอายุกว่าห้าพันปี สะท้อนให้เห็นถึงความรู้และเทคโนโลยีการหล่อโลหะ ทั้งการค้นพบแหล่งแร่ การถลุงแร่ ความรู้ในการใช้อุณหภูมิที่สูงในการหลอมและการนำมาผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ คนไทยได้พัฒนาความรู้ด้านนี้สร้างสรรค์เป็นงานโลหะขนาดใหญ่จนเป็นภูมิปัญญาเด่นของไทย
มนุษย์ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันได้พัฒนาการใช้เครื่องมือจากยุคหินมาถึงยุคโลหะเป็นลำดับ การทำเครื่องมือโลหะนับเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญ โดยเริ่มจากการใช้ทองแดงที่ต่อเนื่องมาเป็นการใช้โลหะผสมระหว่างทางแดงกับดีบุก คือ สำริด แล้วรู้จักการใช้เหล็ก รู้จักคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีและสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศิลปกรรม ศาสนา เป็นต้น
เทคโนโลยีด้านหล่อโลหะที่โดดเด่นของไทยคือ การหล่อประติมากรรมโลหะ ที่นับเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีโลหะวิทยาในระดับสูงด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อมาถึงสมัยสุโขทัยจึงปรากฏงานหล่อโลหะเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่จัดเป็นยุคทองของการหล่อประติมากรรม
ความรู้ในการหล่อโลหะเป็นประติมากรรมในปัจจุบันได้มีการปรับประยุกต์ความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เทคโนโลยีการหล่อโลหะจึงเป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้สืบทอดให้เห็นประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั่วกันมาจนถึงทุกวันนี้

Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

7 ส.ค. 2555

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 
พัฒนาการสังคมไทย

ตอนที่1 
สังคมไทยในสมัยจารีต
1.1 กลุ่มคนในสังคม

สังคมไทยในสมัยจารีต เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาขนถึงช่วยก่อนการปฏิรูปการปกครองในช่วงรัชกาลที่5นั้น แบ่งกลุ่มคนในสังคมอย่างกว้างๆเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นปกครอง และ ชนชั้นที่ถูกปกครอง

(1.) ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง บางทีเรียกรวมๆกันว่าพวกมูลนาย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำและจุดสุดยอดของสังคม ทรงปกครองอาณาจักรโดยมีเจ้านายที่รับราชการแผ่นดินและพวกขุนนางร่วมกันช่วยเป็นตัวจักรกลในการบริหารงานราชการต่างๆ และช่วยควบคุมพวกไพร่ ซึ่งเป็นกำลังคนพื้นฐานของแผ่นดิน
(2.) ชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส โดยมีพระสงฆ์เป็นคนกลางในการเชื่อมโยงกลุ่มต่างๆในสังคมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นนับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ยังมีพวกชาวจีนอพยพ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศอยู่นอกออกไปจากการจัดระเบียบทางสังคม ส่วนชนกลุ่มน้อยอื่นๆเช่น มอญ เขมร ลาว ญวน จาม และ แขกชวาจะถูกควบคุมอยู่ในระบบไพร่

กลุ่มชนที่เรียกขานกันว่าไพร่นั้น หมายถึงราษฎรทั้งชายและหญิงที่มิได้เป็นมูลนายและมิได้เป็นทาส ไพร่ทุกคนจะต้องลงทะเบียนขึ้นสังกัดกับมูลนายซึ่งได้แก่เจ้านายและขุนนาง คนส่วนใหญ่ในสังคมประมาณร้อยละ 80-90 จะเป็นไพร่ ชนชั้นไพร่จึงมีจำนวนคนอยู่มากนับเป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยจารีต และเป็นฐานอำนาจที่สำคัญยิ่งของชนช้นปกครอง

ความสำคัญของชนชั้นไพร่
- ด้านเศรษฐกิจ เป็นแรงงานผลิตด้านต่างๆ
- ด้านการเมือง เป็นกองกำลังและดุลแห่งอำนาจ
- ด้านสังคม เป็นสิ่งแสดงความเป็นผู้มีหน้ามีตาของผู้ควบคุม

ทาส ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม จะพบว่าแบ่งกว้างๆเป็น
(1.) ทาสที่ซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่ ซึ่งก็คือพวกไพร่ที่ขายตนเอง บุตร หรือ ภรรยา ไปเป็นทาส พอมีเงินค่อยมาไถ่ตัวจากนาย ทาสพวกนี้จึงเป็นทาสบ้าง ไพร่บ้าง แล้วแต่ฐานะทางการเงิน
(2.) ทาสที่ซื้ออิสรภาพตนเองไม่ได้ ได้แก่ ทาสเชลยศึก และ ลูกทาสเชลยศึก ทาสพวกนี้ไม่มีสิทธิใดๆเลย

1.2 ระบบไพร่

(1.) ประเภทของไพร่  แบ่งเป็นไพร่สม และ ไพร่หลวง
-ไพร่สม เป็นไพร่ส่วนตัวของพวกมูลนายที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ตามศักดินาของมูลนายแต่ละคนเพื่อให้รับใช้ทำงานส่วนตัวไม่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาให้รัฐ ไพร่ที่สังกัดกับกรมของเจ้านายที่ทรงกรม (กรมเจ้า) ก็ถือเป็นไพร่สมเช่นเดียวกัน
-ไพร่หลวง เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์ และเป็นไพร่ส่วนใหญ่ของอาณาจักร ทรงมอบหมายให้พวกขุนนางซึ่งบริหารบัญชาบังคับบัญชากรมกองต่างๆ ซึ่งมักเรียกรวมๆกันว่า กรมขุนนาง  เป็นผู้ควบคุมดูแลให้พระองค์ ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาต่างๆให้รัฐและเป็นกองกำลังในยามศึกสงคราม ไพร่หลวงจะเริ่มถูกเกณฑ์เมืออายุประมาณ 18-20 ปี และปลดจากการถูกเกณฑ์เมืออายุ 60-70ปี ในสมัยอยุธยาจะเกณฑ์ 1 เดือน เว้น 1 เดือน (เข้าเดือนออกเดือน) นอกจากนั้นรัฐบาลยังอนุญาตให้ไพร่บางพื้นที่ส่งสิ่งของหรือเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเรียกว่าไพร่ส่วย แต่ไพร่หลวงที่ส่งแรงงานให้รัฐมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาไพร่ประเภทต่างๆ

(2.) วิธีการควบคุมไพร่ มีวิธีควบคุมตามลำดับชั้นจาก เจ้าหมู่ >> มูลนาย >> ขุนนางผู้บริหารกรม >> พระมหากษัตริย์ ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ยังคงอาศัยต้นเค้าของระบบไพร่ในสมัยอยุธยาในการควบคุมกำลังคน และเพิ่มมาตราการใหม่อีกหลาายประการเพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไปจากสมัยอยุธยา

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมูลนายและไพร่นั้น เป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ต่างมีภาระหน้าที่ต่อกัน รวมทั้งแสวงหาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันด้วย ไพร่จะติดต่อกับทางราชการได้ต้องผ่านมูลนายเท่านั้น มูลนายให้การปกครอง และไพร่ก็ต้องพึ่งพาและยึดมั่นในนายของตน

1.3 ระบบศักดินา

ในสังคมไทยก่อนการก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ มีการจัดช่วงชั้นในสังคมด้วยระบบศักดินา กฎหมายที่เกี่ยวกับศักดินาที่บัญญัติขึ้นนั้นจะกำหนดศักดินาของคนทุกกลุ่มในสังคมตั้งแต่ เจ้านาย ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่ และ ทาส เป็นตัวเลขเพื่อกำหนดฐานะ สิทธิ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้คนในสังคม อนึ่ง ศักดินาของพระสงฆ์จะใช้คำว่า เสมอนา นักวิชาการได้วิเคราะห์ตีความว่า ระบบศักดินาที่ตั้งขึ้นและพัฒนาจนมั่นคงนี้มีบทบาทในสังคมไทยสมัยจารีตดังนี้
(1.)การเป็นกลไกควบคุมการแจกจ่ายแรงงานหรือกำลังไพร่พล
(2.)การเป็นโครงสร้างการจัดระเบียบชนชั้น
(3.) การเป็นสิทธฺในการถือครองที่ดิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ตอนที่ 2 
การเข้าสู่สังคมสมัยใหม่

2.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่

การเข้าสู่สังคมสมัยใหม่มีผลมาจากการปฏิรูปการเมืองทุกๆด้านในสมัย ร.5 เมื่อพิจาณาจากหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่สรุปได้ว่ามีปัจจัย 3 ประการ ที่ทำให้เกิดการปฏิรูปครั้งนี้ ได้แก่ 
(1.) การแผ่อำนาจหรือการคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก
(2.)การขาดประสิทธิภาพของระบบไพร่และหน่วยงานราชการต่างๆ 
(3.)การที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาการตะวันตกมากขึ้นและกว้างขวางกว่าในสมัย ร.4
ปัจจัยทั้ง3ประการที่กล่าวมานี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน จนยากที่จะสรุปได้ว่าปัจจัยใดสำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงบ้านเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

2.2 ผลของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ 

(1.) ยกเลิกระบบไพร่ ในสมัย ร.5 ทรงใช้วิธีการหลายๆอย่างและค่อยๆดำเนินเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ จนสามารถยกเลิกระบบนี้ได้ในที่สุด และบทบาทของไพร่ในการเป็นกองกำลังยามศึกสงครามถูกแทนที่ด้วยกองทหารอาชีพและการกณฑ์ทหาร การบริหารราชการเปลี่ยนมาอยู่ที่ กระทรวง ทบวง กรม มณฑล เทศาภิบาล ทะเบียนไพร่ถูกแทนที่ด้วยการจัดทำสำมะโนครัวตามท้องที่ ส่วนสถานะทางสังคมที่เป็นไพร่นั้นเปลี่ยนมาเป็นเสรีชน หรือ ประชาชนในสังคมสมัยใหม่ ในด้านโครงสร้างชนชั้นก่อเกิดชนชั้นกลางที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยในทุกๆด้าน กลุ่มคนในสังคมจึงแบ่งเป็น ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง มิได้อยู่ในรูปของเจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส หรือ มูลนาย - ไพร่ ตามแบบสังคมเดิมสมัยจารีต

นอกจากนั้นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ได้ถูกแทนที่ด้วย ความสัมพันธ์ตามสายงานการบังคับบัญชา ผสานด้วยความสัมพันธ์ทางธุรกิจจากความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ รวมทั้งความสัมพันธ์เครือญาติจากพื้นฐานวัฒนธรรมไทยในสังคมจารีต เพียงแต่ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์แบบอุปถัมภ์ในสังคสมัยใหม่นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เน้นหนักที่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตามสภาพ ทุนนิยม - บริโภคนิยม มีความรู้สึกเชิงวัตถุสูงกว่าเชิงจิตใจ  แต่กระนั้นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ก็ยังยืนยงแฝงเร้นอยู่อย่างมีพลวัตในกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงในสังคม

(2.) การเลิกทาส ในสมัย ร.5  ซึ่งเป็นผลเสร็จสมบูรณ์ในพ.ศ. 2448 ด้วยพระราชบัญญัติเลิกทาศ ร.ศ.124 รวมเวลา 31 ปี

(3.) การเคลื่อนที่ทางสังคมที่เปิดกว้างขึ้น สังคมจารีตของไทยเป็นสังคมที่ค่อนข้างนิ่ง การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่และการเลื่อนฐานะทางสังคม ตลอดจนการมีความหวังในชีวิตที่ดีขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นไพร่ การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยทำให้การเลื่อนระดับทางชนชั้นเปิดกว้างขึ้น รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของคนทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจด้วย อันเป็นผลมาจากการปฎิรูปการศึกษา เศรษฐกิจ และการปกครองที่ทำให้เกิดระบบราชการแบบใหม่

(4.) การรับวัฒนธรรมตะวันตก การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยในสมัย ร.5 มีอารยธรรมตะวันตกเป็นแบบอย่างด้วยเหตุนี้นับแต่การเข้าสู่ สยามใหม่ เป็นต้นมา สังคมไทยจึงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกอย่างมาก โดยเริ่มในหมู่ชนชั้นนำก่อนแล้วขยายลงสู่สามัญชนผ่านการศึกษาแบบใหม่ การปฏิรูปการบ้านเมืองและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจเป็นกระบวนการที่เมื่อเริ่มแรกเกิดขึ้นช้าๆแล้วแผ่กว้างในอัตรที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ข้อสังเกตุที่สำคัญก็คือเป็นการรับในด้านรูปแบบและวัตถุอยู่มาก ไม่ได้เข้าถึงจิตวิญญานของวัฒนธรรมตะวันตกที่รับเข้ามา

ตอนที่ 3 
ภาพรวมของสังคมไทยร่วมสมัย
3.1 โครงสร้างชนชั้น
เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมไทยสมัยใหม่ ที่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โครงสร้างชนชั้นก็ได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็น ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง ชนชั้นต่ำ ส่วนปัจจัยที่กำหนดช่วงชั้นทางสังคมที่กล่าวมานี้มีหลายประการ ตั้งแต่ชาติตระกูล การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ การงานอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจไปจนถึงค่านิยมทางสังคม

(1.) ชนชั้นสูง กลุ่มคนในชนชั้นนี้เริ่มแรกปรับเปลี่ยนมาจากพวกมูลนายระดับสูงในสังคมไทยสมัยจารีต จึงมีทั้งพวกที่มีชาติตระกูลสูง เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ กลุ่มข้าราชการชั้นสูง ทั้งทหารและพลเรือนในระบบราชการสมัยใหม่จากการปฏิรูปการปกครอง ผู้ที่กุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และ พวกนักวิชาการ นักวิชาชีพที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญล้ำเลิศเป็นทรัพยากรบุคคลที่หาได้ยาก ก็อยู่ในชนชั้นนี้ด้วยเช่นกัน

(2.) ชนชั้นกลาง เป็นชนชั้นที่เกิดใหม่ในสังคมไทยสมัยใหม่ พัฒนามาจากพวกไพร่หรือชาวบ้านที่มีโอกาสได้รับการศึกษาจากการปฏิรูปการศึกษาให้ทันสมัยในทุกระดับการศึกษา คนกลุ่มนี้ประกอบอาชีพตั้งแต่การเป็นนายแพทย์ พยาบาล ทนายความ ทหาร นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ เสมียน ครู อาจารย์ และอีกหลายอาชีพ กลุ่มชนชั้นกลางเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมากตามการขยายตัวของระบบราชการและเศรษฐกิจทุนนิยม ชนชั้นกลางในสังคมไทยร่วมสมัยมีมากกว่าชนชันสูง แต่ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มชนชั้นล่าง

(3.) ชนชั้นล่าง ชนชั้นนี้ปรับตัวมาจากพวกไพร่ และทาสในสังคมไทยสมัยจารีต มาเป็นเกษตรกร กรรมกร คนรับใช้ คนเฝ้ารถ ยาม นักการ ภารโรง ลูกจ้างในงานต่างๆและอื่นๆ ในโครงสร้างของชนชั้นสังคมไทยร่วมสมัยมีคนจำนวนมากที่สุดในช่วงชั้นของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ และทำให้เกิดสภาพความเป็นมวลชน โดยเฉพาะในหมู่กรรมกรในโรงงานต่างๆ ในสังคมเมือง รวมทั้งมีการนำพลังมวลชนไปใช้ในด้านการเมืองด้วย

ส่วนการเลื่อนฐานะในสังคม ในสังคมไทยร่วมสมัยนั้นมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่เกื้อหนุนการเลื่อนฐานะในสังคมให้สูงขึ้นได้แก่ การศึกษา ซึ่งต่อเนื่องมาถึงการงานอาชีพด้วย ตลอดจนถึงการมีฐานะที่ร่ำรวยมีเงินทองมาก

3.2 สังคมเมือง สังคมชนบท
ในกรณีของสังคมเมือง มีตั้งแต่สังคมเมืองขนาดใหญ่มากๆเป็นมหานคร เช่น กรุงเทพฯ ถัดมาที่เมืองขนาดใหญ่ เมืองขนาดกลาง และเมืองขนาดเล็ก ในด้านสังคมชนบทก็มีขนาดต่างๆเช่นกัน มีตั้งแต่ ชนบทก้าวหน้า ชนบทที่มีความเจริญพอควร และ ชนบทล้าหลังที่มีปัญหาอยู่มาก ทั้งเรื่องความยากจน การว่างงาน การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สุขภาพอนามัยไม่ดี และปัญหาอื่นๆอีกหลายด้าน เมื่อกาลเวลาผ่านไปสภาพการพัฒนาได้เห็นชัดว่า ยิ่งพัฒนายิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำกันมากระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และ ภาคเกษตรกรรม เมืองและชนบท เจ้าของทุนและเจ้าของแรงงาน รัฐบาลจึงเริ่มเน้นการพัฒนาชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทล้าหลัง ตั้งแต่ พ.ศง2525 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2520 ปัญญาชนชาวบ้านและองค์กรณ์พัฒนาเอกชนได้เริ่มการพัฒนาแนวใหม่ในหลายรูปแบบ เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน

Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

5 ส.ค. 2555

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย

พัฒนาการเศรษฐกิจไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเป็น4ช่วง คือ
- ก่อนปี พ.ศ. 2398
- พ.ศ.2398- พ.ศ.2475
- พ.ศ.2475- พ.ศ.2504
- พ.ศ.2504-ปัจจุบัน
ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2398 ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ หรือที่บางครั้งเราเรียกว่าเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเองที่มีการผลิตเอง ใช้เองเป็นสำคัญ กล่าวคือ ครัวเรือนจะมีการผลิตของแทบทุกๆอย่างเพื่อใช้เอง บริโภคเอง หรือมีการค้าขายแลกเปลี่ยนในสัดส่วนที่น้อย

ในช่วงที่ ร.4 ขึ้นครองราชย์ ในขณะนั้นแม้ไทยจะยังเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพโดยทั่วไป แต่ในบางภูมิภาคการค้าระหว่างประเทศก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีผลทำให้เงินตราเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับเศรษฐกิจไทย และเริ่มเกิดการก่อตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งมีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะบริเวณที่มีการค้าขาย ซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่นในกรุงเทพรวมทั้งหัวเมืองโดยเฉพาะทางชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้นเป็นการค้าระหว่างไทยกับจีน ซึ่งเป็นการค้าระบบผูกขาดดำเนินการโดยพระคลังสินค้า

ตอนที่ 1 
พัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยก่อนการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1 (พ.ศ.2504-2509)

1.1 พื้นฐานเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2398-2475
ในปี พ.ศง2398 หรือต้นสมัย ร.4 ประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับสหราชอาณาจักร ซึ่งมีสาระของสนธิสัญญาคือ
(1.) ไทยจะต้องเปิดประเทศโดยที่มีการค้าเสรี
(2.) อังกฤษได้กำหนดให้ไทยมีการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เก็บภาษีนำเข้า หรือเก็บไม่เกินอัตราร้อยละ 3 ของมูลค่าสินค้านำเข้าทั้งหมด
(3.)ชาวต่างประเทศมีสิทธิประโยชน์ในการอยู่อาศัยในประเทศไทยรวมทั้งมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ในการที่จะซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมทั้งการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

จุดเปลี่ยนที่เป็นผลกระทบที่สำคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริ่งต่อเศรษฐกิจไทยมีอยู่ด้วยกันหลายด้าน
(1.) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ สนธิสัญญาเบาว์ริ่งส่งผลให้ไทยต้องเปิดประตูการค้าเสรีกับนานาประเทศและส่งผลต่อการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศเป็นอันมาก โดยเฉพาะด้านการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุที่กรุงเทพเป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทย ดังนั้นการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศย่อมมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในกรุงเทพ อาทิ กิจการโรงสี กิจการเดินเรือ กิจการประกันภัย กิจการธนาคารพาณิชย์ โดยมีนายทุนหรือผู้ประกอบการที่สำคัญเป็นชาวตะวันตก และมีคนจีนเป็นแรงงานสำคัญ
(2.) มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเชื้อชาติ เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งซึ่งทำให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีผลทำให้การเพาะปลูกข้าวเพื่อการส่งออกได้ขยายตัวเป็นอันมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่ราบภาคกลางในช่วงปลายสมัย ร.5นั้น ประมาณได้ว่ามูลค่าการส่งออกข้าวของไทยกว่าร้อยละ 90 มาจากบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ในการเพาะปลูกข้าวก็คือคนไทย ในขณะที่คนจีนทำงานอยู่ในภาคเมืองเป็นสำคัญ
- เหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเชื้อชาติ เพราะในภาคการเกษตรมีรายได้ค่อนข้างสูง ชาวนาไทยมีรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับคนจีนที่ทำงานในเมืองและยังสูงกว่ารายได้ชาวนาในญี่ปุ่นเสียอีก เหตุที่รายได้ของชาวนาไทยสูงเนื่องจากไทยมีที่ดินมากและมีประชากรน้อย โดยมีประชากรเพียง 5 ล้านคน ซึ่งทำให้ประชากรขยายพื้นที่การเพาะปลูกได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ชาวนาไทยจึงประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าวเป็นสำคัญ
- เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนจีนประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมเพราะ
> คนจีนไม่ได้มีแรงจูงใจที่จะมาตั้งรกรากถิ่นฐานในชนบท คนจีนต้องการที่จะอพยพมาทำงานชั่วคราวเมื่อเก็บเงินได้ก็จะเดินทางกลับประเทศ
> คนจีนมีข้อผูกพันกับเถ้าแก่คนจีนที่เป็นนายหน้าจัดหางานในประเทศไทย ซึ่งจะจัดหางานในเมืองให้
(3.) การเกิดชนชั้นนายทุน ก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ชนชั้นนายทุนของไทยยังอยู่ในระบบผูกขาดไม่ได้เป็นอิสระ ยังอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ แต่ภายหลังจากการมีสนธิสัญญาเบาว์ริ่งแล้วนั้นมีลักษณะเป็นนายทุนที่เสรีมากขึ้น เพราะมีการเปิดเสรีทางการค้า มีการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น เกิดมีกิจการโรงสีข้าว โรงเลื่อย การประกันภัย เป็นการเจริญเติบโตของชนชั้นนายทุนที่สำคัญ

1.2 เศรษฐกิจไทยในช่วงพ.ศ. 2475-2504
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2475 คือมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย มีผลทำให้ความร่วมมือระหว่างนายทุนกับข้าราชการมีมากขึ้น เนื่องจากคณะราษฎรผู้เป็นผู้นำการปฏิวัติขาดฐานอำนาจทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือกับพ่อค้าหรือนายทุนชาวจีนโดยร่วมกันสร้างรัฐวิสาหกิจขึ้นมา จึงเกิดการใช้อำนาจผูกขาดรัฐวิสาหกิจ หรือ วิสาหกิจอิทธิพลเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ และรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญของคณะราษฎรและฐานที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจภายในระยะเวลาต่อมา
- และในช่วงเวลานี้เองก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีพ.ศ.2484  มีผลทำให้ภาวะเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจมีระดับสูงมาก เกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมากมายเนื่องจากค่าครองชีพที่แพงขึ้น ซึ่งมีผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างนายทุนและข้าราชการมีมากยิ่งขึ้นไปอีก เป็นที่มาของคำว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมขุนนาง มีการก่อตั้งกิจการธนาคารพานิชย์ขึ้นหลายแห่ง เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย

ตอนที่ 2 
เศรษฐกิจไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2504-2545)
รัฐบาลไทยโดยความร่วมมือของธนาคารโลก ได้มีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งประกาศใช้ในปี 2504 และดำเนินมาถึงแผนที่9 ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละแผนมีสาระสำคัญและผลกระทบทางเศรษฐกิจต่างกันออกไป

2.3 ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(1.) ผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ ในอดีตไทยเป็นประเทศเกษตรกร สินค้าเกษตรมีความสำคัญในผลผลิตหรือรายได้ประชาชาติรวมทั้งมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศ แต่ยิ่งพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น การใช้แผนฯทำให้ภาคการเกษตรมีความสำคัญน้อยลง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญมากขึ้นทั้งในแง่การผลิตและการค้าระหว่างประเทศ
(2.) ผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาชีพและการจ้างงาน อาชีพหลักของคนไทยคือ เกษตรกร แต่เมื่อมีการนำแผนพัฒนาฯมาใช้ ส่งผลให้ผู้คนประกอบอาชีพเกษตรกรน้อยลง อาชีพลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งผู้คนที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรมีความสำคัญขึ้น
(3.) ผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกระจายรายได้ แม้ว่าการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ จะทำให้สัดส่วนของคนยากจนลดลงแต่ก็เป็นการลดลงอย่างช้าๆ มิหนำซ้ำความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ระหว่างเมือง กับ ชนบท นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หมายความว่ายิ่งพัฒนา คนเมืองก็ยิ่งได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะที่คนจนได้รับผลประโยชน์บ้างแต่ก็ไม่าก
(4.)ผลต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจมีผลทำให้ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปัญหาคุณภาพชีวิตก็ยังมีอยู่ในหลายๆส่วน เช่น เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด คุณภาพการศึกษา เป็นต้น

ตอนที่ 3 
วิกฤติเศรษฐฏิจกับเศรษฐกิจไทยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

หลังจากมีการใช้แผนพัฒนาฯมาหลายฉบับ เศรษฐกิจไทยก็มีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 และส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำต่อเนื่องมาอีกหลายปี

3.2 แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาทางเลือก : แนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(1.) ทฤษฎีใหม่และแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 
ร.9 ได้เสนอทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะนำพาประเทศให้ก้าวพ้นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น 
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่ชี้นำถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน จนถึงรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์
หลักการสำคัญของทฤษฎีใหม่ในแนวคิดเศณษฐกิจพอเพียงมีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่1 : ชุมชนจะต้องผลิตอาหารเพื่อบริโภคเป็นสำคัญ ที่เหลือจึงไว้ขาย
ขั้นที่2 : ในชุมชนจะมีการรวมตัวกลุ่มเป็นสหกรณ์เพื่อการผลิต รวมทั้งการรวมกลุ่มทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและอื่นๆ 
ขั้นที่3 : ความร่วมมือของกลุ่มหรือสหกรณ์ในชุมชนกับองค์กรณ์หรือภาคเอกชนภายนอก โดยให้กลุ่มหรือสหกรณ์ในชุมชน ติดต่อประสานงานกับองค์กรณ์หรือภาคเอกชนหรือแหล่งเงินได้แก่ ธนาคาร และ แหล่งพลังงาน เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ทฤษฏีใหม่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อความผาสุขของประชาชนทุกคน เพราะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยึดทางสายกลางและความพอเพียงเป็นสำคัญ

Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่2

หน่วยที่2
พัฒนาการปกครองไทย
เราอาจแบ่งประวัติศาสตร์ทางด้านการปกครองไทย ออกเป็นช่วงสำคัญๆคือ
1. แบบจารีตประเพณี หมายถึง การปกครองตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนตั้น
2. แบบตะวันตก เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 จนถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475
3. ประชาธิปไตยแบบอมาตยาธิปไตย เป็นช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เป็นยุคที่กลุ่มอำนาจใหม่ คือ ข้าราชการมีอำนาจมาก
4. ประชาธิปไตยยุคทหารและนายทุน เป็นยุคที่ทหารมีอำนาจมาก โดยเฉพาะเมื่อทหารได้ร่วมมือกับนายทุนครอบงำการเมืองไทยอยู่ระยะหนึ่ง ตั้งแต่การสิ้นสุดอำนาจของนายพล ป. พิบูลสงครามในปี 2500 มาจนถึงเหตุการณ์ 14 ต.ต.2516
5. สมัยประชาธิปไตยหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นช่วงที่ประชาธิปไตยก่อร่างสร้างตัว นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตค 2516 จนถึงเหตุการณ์เดือนพฤษา 2535 เป็นยุคที่การเมืองไทยค่อนข้างล้มลุกคลุกคลาน ไม่มีเสถียรภาพ
6. สมัยประชาธิปไตยยุคปฏิรูปการเมือง นับแต่ปี 2535 - ปัจจุบัน

ตอนที่ 1 
แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการการเมืองการปกครองไทย

1.1 ตัวแบบการศึกษาพัฒนาการการปกครอง
สิ่งสำคัญของการศึกษาพัฒนาการปกครองไทยคือการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางการปกครองของไทย เพราะคำว่าพัฒนาการนั้นคือการพัฒนามาโดยลำดับ ตามลำดับเวลา โดยใช้เวลาเป็นเครื่องมือคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆของบ้านเมือง ซึ่งการวิเคราะห์เหตุการณ์ตามลำดับนี่เองเราเรียกว่าการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
พัฒนาการเมืองการปกครองของไทยหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยนั้น มีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแบ่งออกเป็น
- ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายใน
- ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายนอก 

1.2 ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายใน 
(1.) โครงสร้างทางสังคม คือ ความเป็นไปของบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน วัฒนธรรม ประเพณี
(2.) โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งก็คือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง ลักษณะของการใช้อำนาจ

1.3 ปัจจัยด้านสังคมการเมืองภายนอก 
(1.) โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ การเมืองระหว่างประเทศ
(2.) กระแสการเมืองระหว่างประเทศ เช่น กระแสการล่าอาณานิคม หรือ กระแสของความต้องการที่จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย

ตอนที่2
การปกครองของไทยก่อนสมัยประชาธิปไตย

2.1 แบบจารีตประเพณี 
ในยุคนี้ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบที่ชัดเจนแต่จะเป็นการปกครองที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำ ซึ่งในสมัยนั้นคือพระมหากษัตริย์ มีการปกครองที่สำคัญ 2 แบบคือ
(1.) การปกครองแบบปิตุราชา หรือ การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นการปกครองในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบปิตุราชาก็คือ ผู้ปกครองซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์นั้นมีความใกล้ชิดกับประชาชนอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ของการปกครองแบบนี้จึงเป็นแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน
(2.) การปกครองแบบเทวราชา หรือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือว่าเป็นการปกครองที่ใช้อำนาจจากสรวงสวรรค์ มีลักษณะที่แข็งกร้าว ใช้อำนาจเด็ดขาดค่อนข้างมากและพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งกษัตริย์กรุงศรีอยุธยารับเอาวัฒนธรรมการปกครองแบบ "เทวราชา" มาจากลัทธิธรรมเนียมของขอม ซึ่งเป็นผลมาจากการผสมผสานแนวคิดความเชื่อของฮินดูและพราหมณ์

2.2 การปกครองของไทยแบบตะวันตก
- เราได้รับอิทธิพลของการหลั่งไหลเข้ามาของชาติตะวันตกตั้งแต่ช่วงกลางของสมัยกรุงศรีอยุธยา ประเทศไทยรับเอาความเชื่อ วัฒนธรรม เทคโนโลยีมามากมาย 
- แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้ยอมรับว่าประเทศไทยนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ในระบบจารีตประเพณีต่อไปได้ เราต้องยอมรับการปกครองแบบใหม่คือการปกครองที่มีรัฐสภา ให้อำนาจกับประชาชนมากยิ่งขึ้นและพระมหากษัตริย์ต้องไม่อยู่เหนืออำนาจนั้นที่เราเรียกในสมัยปัจจุบันว่าแบบ "ประชาธิปไตย"
- ซึ่งจากนั้น ร.5 ก็ได้ทรงเตรียมพร้อม สืบเนื่องมาถึง ร.7 เมื่อขึ้นครองราษฎร์ใหม่ๆ ก็พยายามที่จะให้มีรัฐธรรมนูญแต่ไม่ทันกาล กลุ่มข้าราชการที่เรียกว่า"คณะราษฎร" ก็ได้ทำการยึดอำนาจพระมหากษัตริย์ในวันที่ 24 มิย. 2475

ตอนที่ 3
การปกครองแบบประชาธิปไตยในยุคเริ่มแรก (2475-2516)

3.1 ประชาธิปไตยแบบอมาตยาธิปไตย 
หลังจากคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยก็มีการปกครองที่ราชการเป็นใหญ่ซึีงปกครองมาถึงสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

3.2 ประชาธิปไตยยุคทหารและนายทุน
- เมื่อจอมพลป. หมดอำนาจลงทำให้ทหารกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนที่ นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัช และ จอมพลถนอม กิตติขจร ในยุคนี้จะเป็นการใช้อำนาจเด็ดขาดทางการทหารและมีระบบอุปถัมภ์ที่เอื้อประโยชน์แก่นายทหารและกลุ่มธุรกิจ
- ในยุคนี้ประเทศไทยมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเป็นอย่ามาก แต่กลับไม่มีการพัฒนาทางการเมือง ทำให้เกิดจุดเดือดขึ้นทางการเมืองในวันที่ 14 ตค 2516

ตอนที่ 4 
การปกครองแบบประชาธิปไตยในยุคใหม่ (2516 เป็นต้นมา)
4.1 ประชาธิปไตยของไทยยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ (2516-2535)
ผลกระทบของวันที่ 14 ตค 2516 ได้นำมาซึ่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยอย่างยาวนานจนถึงเดือน พฤษภา 2535 ซึ่งประชาชนได้ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอำนาจทหาร

4.2 ประชาธิปไตยของไทยยุคปฏิรูปการเมือง (2535 เป็นต้นมา)
มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองจนสำเร็จออกมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นจุดสำคัญในอนาคตการเมืองการปกครองไทย รัฐธรรมนูญ 2540นั้นได้กำหนดโครงสร้างต่างๆทางการเมืองในรูปแบบใหม่และมีกลไลมีกระบวนการต่างๆมากมาย


Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

4 ส.ค. 2555

10151 ไทยศึกษา หน่วยที่1

หน่วยที่ 1 
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย
(เน้นสาระความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่อมาจนถึงทุกวันนี้)
ตอนที่ 1 ข้อพินิจเบื้องต้น

1.1  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละสมัยในสังคม แบ่ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
(1.) ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ ได้แก่ ที่ตั้ง ระยะทาง ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการตั้ถิ่นฐานและวิถีการดำรชีวิต มีข้อน่าสังเกตุว่า มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน อาจมีความเป็นอยู่ที่ต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวเข้ากับธรรมชาติและความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้่จากความเป็นอยู่ขอชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายที่ต่างจากกลุ่มคนที่ตั้งบ้านตั้งเมือในทะเลทรายได้
(2.) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างทั้รูปธรรมและนามธรรมที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมสร้างขึ้นเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน และสั่งสมสืบทอดกันมา
(3.) ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ความรู้ สติปัญญา ความสามารถและเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งของผู้นำ หรือ ผู้บริหารประเทศ เป็นปัจจัยเล็กที่สุดในปัจจัย 3 กลุ่ม แต่อยู่ใกล้กับพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ฺมากที่สุด


1.2 สภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย
สภาพภูมิศาสตร์ของไทยได้ก่อผลสำคัญต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง? ประมวลผลได้ 3 ประการดังนี้ 
(1.) การเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เปิดกว้างต่อการตั้งถิ่นฐาน มีการผสมผสานเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรม จนพัฒนามาเป็นวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน
(2.) การเปิดกว้างต่อการรับวัฒนธรรมอื่นจากต่างประเทศ
(3.) การเป็นดินแดนเปิด ศักยภาพในการปรับประเทศ จึงมีความสำคัญอยู่มากต่อพัฒนาการของประวัติศาสตร์ไทย

1.3 ภาพรวมขอวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมในแต่ละสังคมมีขั้นตอนการวิวัฒนาการเป็นลำดับคล้ายๆกัน ต่างกันที่ความช้า ความเร็ว และความเรียบง่าย ซับซ้อน ของการวิวัฒน์ ที่สำคัญคือ วัฒนธรรมไม่หยุดนิ่งหากแต่พัฒนาปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม

ตอนที่ 2 จากยุคหินถึงการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์ยัไม่ได้คิดประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ แบ่งกว้างๆตามวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์ทำข้าวขอเครื่อใช้เพื่อการยังชีพ เป็นยุคหิน และยุคโลหะ
- สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์ได้คิดตัวอักษรขึ้นมาในการขีดเขียน บันทึกเรื่องราวของกลุ่มสังคมตนไว้เป็นหลักฐานการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคมจึงช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความสามารถในการประดิษฐ์ตัวอักษรมาใช้ในสังคมนั้นๆ

2.1 ยุคหินในดินแดนประเทศไทย
แบ่งแยกย่อยเป็น ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่
(1.) ยุคหินเก่า เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักนำหินซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวมากะเทาะหยาบๆ เพื่อทำเครื่องมือเครื่อใช้ ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ เก็บอาหารตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา เร่ร่อนย้ายถิ่นตามแหล่งอาหาร
(2.) ยุคหินกลาง มีการปรับปรุงเครื่อใช้เครื่อมือหินให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการกะเทาะหินให้เรียบและคมขึ้น มีพิธีกรรมฝังศพ
(3.) ยุคหินใหม่ รู้จักทำเครื่อมือเครื่องใช้ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ขัดให้เรียบทั้ง 2 ด้าน ที่สำคัญยิ่งคือ การเพาะปลูกเลี้ยสัตว์ ตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่เป็นชุมชน การไม่ต้องเร่ร่อนทำให้มีเวลาคิดค้นสร้างสรรค์วัฒนธรรมในด้านต่างๆที่จะพัฒนาสืบต่อมา มนุษย์ในยุคนี้มีหลายพวกหลายเหล่าอพยพเคลื่อนย้ายจากที่ต่างๆมาอยู่ในดินแดนประเทศไทย

2.2 ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย
เป็นพัฒนาการในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องจากยุคหินใหม่ ที่มีอายุประมาณ 3000-5000 ปี ก่อนพุทธศักราช จนถึงสมัย พุทธศักราช 1000 เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะบางชนิดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน เริ่มจากการนำเอาทองแดงและดีบุกมาหลอมผสมเป็นสำริดทำสิ่งขอต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาต่อมาจนรู้จักใช้เหล็ก
มนุษย์ในยุคโลหะอยู่กันเป็นชุมชมใหญ่ และพัฒนามาเป็นชุมชนเมือง มีเทคนิควิทยาและความรู้ในด้านต่างๆ ตั้งแต่การปลูกข้าว และ พืชผลอื่นๆ การเลี้ยสัตว์ การใช้ควายไถนา การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผาลายต่างๆ การใช้โลหะทำเครื่องของหลายชนิด การขุดสระเก็บน้ำ การทำคูน้ำคันดินล้อมรอบที่อยู่อาศัยของชุมชน การรู้จักเดินเรือในทะเล มีประเพณีและพิธีกรรม งานเขียนศิลปะผนังถ้ำและอื่นๆ
ในยุคโลหะตอนปลาย มีชุมชนเมืิองของมนุษย์หลายกลุ่ม หลายชาติภาษา กระจายอยู่ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทย ชุมชนเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการเข้าสู่สังคมบ้านเมืองที่รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น
ยุคโลหะตอนปลายจึงเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยซึ่งเริ่มเมื่อ พุทธศักราช1000 ตามการศึกษาค้นคว้าของ อ.ชิน อยู่ดี

2.3 การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์หรือพัฒนาเข้าสู่การเป็นสังคมบ้านเมืองในดินแดนประเทศไทย เมื่อต้นพุทธสตวรรษที่11นั้น เกิดจากการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่อยู่ห่าไกลออกไปเช่น อินเดีย จีน โรมัน
และการรับวัฒนธรรมหลากหลายด้านจากอินเดียมาผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่นและพัฒนาขยายมาเป็นแคว้นเล็กๆที่ประกอบด้วย เมืองใหญ่เป็นศูนย์กลาง เมืองเล็กๆเป็นเมืองบริวารอยู่ไม่ไกลนัก ตัวเมืองใหญ่หรือเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางจะมีความสมบูรณ์ของตัวเอง คือเป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย การคมนาคม การปกครอและวัฒนธรรม การดำรงอยู่ของแคว้นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของการค้าในภูมิภาคจึงมีความไม่แน่นอนอยู่มาก

ตอนที่3 แคว้นโบราณในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 12-19)
3.1 แคว้นในภาคกลาง
พื้นที่ภาคกลางซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่รวมไปถึงพื้นที่ทางฟากตะวันตกและฟากตะวันออกของลุ่มแม่น้ำด้วยนั้นมีแคว้นสำคัญที่ต่อเนื่องกันมาคือ
(1.)แคว้นทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
(2.)แคว้นละโว้(พุทธศตวรรษที่12-18)
(3.)แคว้นอโยธยา (พุทธศตวรรษที่18-19)
(4.)แคว้นสุพรรณภูมิ ๖พุทธศตวรรษที่ 18-19)

3.2 แคว้นในภาคเหนือ
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-19 มีแคว้นที่สำคัญคือ 
(1.)แคว้นหริภุญชัย
(2.)แคว้นล้านนา
(3.)แคว้นสุโขทัย

3.3 แคว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-19 มีแคว้นสำคัญคือ
(1.)แคว้นโคตรบูร
(2.)กลุ่มเมืองที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมกัมพูชา

3.4 แคว้นทางภาคตะวันออก
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 บ้านเมืองในภาคนี้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอาณาจักรกัมพูชา จนกระทั่งอยุทธยามีชัยชนะเหนือเขมรอย่างเด็ดขาด ในพ.ศ.1974 จึงผนวกดินแดนแถบนีี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาได้สำเร็จ 
ในสมัยอยุธยา หัวเมืองภาคตะวันออกมีความสำคัญในฐานะเมือท่าค้าขาย ในเส้นทาการค้าระหว่างอยุธยากับจีนและญวน รวมทั้งบ้านเมืองอื่นในเอเชียตะวันออกด้วย

3.5 แคว้นทางภาคใต้
ในช่วพุทธศตวรรษที่ 13-20 มีแคว้นสำคัญคือแคว้นตามพรลิงค์ ซึ่ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่13 และพัฒนาต่อมาเป็นแคว้นนครศรีธรรมราช เมื่อราวพุทธศตวรรษที่18 และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในพุทธศตวรรษที่20

ตอนที่ 4 อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์

4.1 สมัยอยุธยา 
อาณาจักรอยุธยาก่อเกิดขึ้นในพุทธศักราช 1893 จากรากฐานการรวมตัวกันของแคว้นละโว้ - อโยธยา และ แคว้นสุพรรณภูมิ ที่มีความสัมพันธ์ด้านเครือญาติ จากการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าอู่ทองแห่งแคว้นละโว้-อโยธยา และเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ
อยุธยามีพื้นฐานที่ดีตั้งแต่แรกก่อตั้ง ทำให้เจริญรุ่เรืองได้รวดเร็วแผ่ขยายอำนาจออกไปได้กว้างขวาง สามารถผนวกแว่นแคว้นไทยหลายแคว้นไว้ในอำนาจจนเกิดสภาพการเป็นราชอาณาจักรที่มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีศูนย์กลาง และเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยจารีตที่สำคัญยิ่งคือ อยุธยาได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากแว่นแคว้นไทยหลายแคว้นมาสร้างสรรค์ให้แตกแขนงไปอีกมากมาย
ด้วยการจัดระบบการเมือการปกครอง สังคม เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ อาณาจักรอยุธยาจึงดำรงความเป็นศูนย์กลางของคนไทยที่อยู่ยืนนาน 417 ปี (พ.ศ. 1893-2310) 
สาเหตุพื้นฐานของการล่มสลายมาจาก
- ปัจจัยภายใน มาจากการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในหมู่ชนชั้นปกครอง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสมัยอยุธยาตอนปลาย และความระส่ำระสายขอระบบไพร่
- ปัจจัยภายนอก คือ สงครามไทย-พม่า (พ.ศ.2308-2310) เป็นตัวเร่งให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปไวยิ่งขึ้น หลังจากนั้นศูนย์กลางของอาณาจักรได้ย้ายมาอยู่ที่ธนบุรี และ กรุงเทพตามลำดับ

4.2 สมัยธนบุรี
เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการแตกสลายของอาณาจักรอยุธยาและการฟื้นฟูสร้างบูรณภาพของอาณาจักรใหม่แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆเพียง 15 ปี (ระหว่างพศ 2311-2313) แต่ก็มีความสำคัญยิ่งและมีการดำเนินการต่างๆหลายด้่านได้แก่
(1.) การปราบปรามชุมนุมทางการเมืองต่างๆ เพื่อรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(2.)การทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันอาณาจักร
(3.) การทำสครามกับ ลาว เขมร เพื่อขยายอาณาเขตให้กว้าง
(4.)การรื้อฟื้นเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการรับรองจากจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในโลกตะวันออกขณะนั้น
(5.) การจัดระบบการปกครอง
(6.)การฟื้นฟูเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปะ วรรณคดี และ วัฒนธรรมด้านอื่นๆ

4.3 สมัยรัตนโกสินทร์
- เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2325 และได้พัฒนาตามสภาพความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วง 69 ปีแรก (สมัย ร.1-ร.3) เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูวางรากฐานอาณาจักรให้มั่นคในทุกๆด้านโดยรวมแล้วกล่าวได้ว่า การก่อร่างพัฒนาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้ได้ปูพื้นฐานให้แก่การรวมประเทศสร้างรัฐชาติ ในสมัยร.5
- การเข้าสู่สังคมทุนนิยมในสมัยรัชกาลที่4 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่น ค่านิยมเรื่องทรัพย์สินเงินทอง การตื่นตัวใฝ่หาความรู้ และโลกทัศน์ที่เน้นความมีเหตุผลมากกว่าสมัยก่อน ความสำเร็จของการฟื้นฟูบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นเสมือนหนึ่งการเตรียมตัวโดยมิได้คาดฝันให้แก่การเผชิญภัยจักรวรรดินิยมในสมัยรัชการที่ 4 ที่ต่อเนื่องมาอีกหลายรัชกาล
- ผู้นำไทยเผชิญภัยจากจักรวรรดินิยมด้วยการดำเนินการทาการฑูตผสานกับการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยที่เริ่มต้นยในรัชกาล ที่4 ดำเนินการมากยิ่งขึ้นในรัชกาลที่5 และสานผลต่างๆสืบต่อมาไม่ขาดสาย
- นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเนื่องให้สามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ในเวลาต่อมาก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475
- โดยสรุปแล้ว การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย ทำให้สังคมจารีตขอไทยเสื่อมสลายไป เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่และช่วยวางรากฐานให้สัคมไทยพร้อมที่จะรับการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในสมัย การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฉบับต่างๆด้วย
- ในพ.ศ.2504 รัฐบาลเริ่มใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแนวทางกำกับการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาฯฉบับที่1 ดำเนินการระหว่าง พ.ศ.2504-2509 หลังจากนั้นมีแผนพัฒนาต่างๆต่อเนื่องกันมาตลอด
- โดยรวมแล้วการพัฒนาประเทศในช่วง40ปีที่ผ่านมา ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวัตถุ และความสะดวกสบายหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ จนนำไปสู่วิกฤตการทางเศรษฐกิจ พ.ศ 2540 และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาอเนกอนันต์ทางสังคมด้วย
- ปัจจุบันจึเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งอีกครั้งของสังคมไทยในการแสวงหาแนวทาพัฒนาที่เหมาะสมและเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวให้รับกันได้กับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งให้ความมุ่งหวังที่จะพัฒนาประชาธิปไตยตามแนวทางรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 บรรลุสู่ฝัน

Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน