หน่วยที่ 4
พัฒนาการสังคมไทย
ตอนที่1
สังคมไทยในสมัยจารีต
1.1 กลุ่มคนในสังคม
สังคมไทยในสมัยจารีต เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาขนถึงช่วยก่อนการปฏิรูปการปกครองในช่วงรัชกาลที่5นั้น แบ่งกลุ่มคนในสังคมอย่างกว้างๆเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นปกครอง และ ชนชั้นที่ถูกปกครอง
(1.) ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง บางทีเรียกรวมๆกันว่าพวกมูลนาย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำและจุดสุดยอดของสังคม ทรงปกครองอาณาจักรโดยมีเจ้านายที่รับราชการแผ่นดินและพวกขุนนางร่วมกันช่วยเป็นตัวจักรกลในการบริหารงานราชการต่างๆ และช่วยควบคุมพวกไพร่ ซึ่งเป็นกำลังคนพื้นฐานของแผ่นดิน
(2.) ชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส โดยมีพระสงฆ์เป็นคนกลางในการเชื่อมโยงกลุ่มต่างๆในสังคมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นนับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ยังมีพวกชาวจีนอพยพ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศอยู่นอกออกไปจากการจัดระเบียบทางสังคม ส่วนชนกลุ่มน้อยอื่นๆเช่น มอญ เขมร ลาว ญวน จาม และ แขกชวาจะถูกควบคุมอยู่ในระบบไพร่
กลุ่มชนที่เรียกขานกันว่าไพร่นั้น หมายถึงราษฎรทั้งชายและหญิงที่มิได้เป็นมูลนายและมิได้เป็นทาส ไพร่ทุกคนจะต้องลงทะเบียนขึ้นสังกัดกับมูลนายซึ่งได้แก่เจ้านายและขุนนาง คนส่วนใหญ่ในสังคมประมาณร้อยละ 80-90 จะเป็นไพร่ ชนชั้นไพร่จึงมีจำนวนคนอยู่มากนับเป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยจารีต และเป็นฐานอำนาจที่สำคัญยิ่งของชนช้นปกครอง
ความสำคัญของชนชั้นไพร่
- ด้านเศรษฐกิจ เป็นแรงงานผลิตด้านต่างๆ
- ด้านการเมือง เป็นกองกำลังและดุลแห่งอำนาจ
- ด้านสังคม เป็นสิ่งแสดงความเป็นผู้มีหน้ามีตาของผู้ควบคุม
ทาส ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม จะพบว่าแบ่งกว้างๆเป็น
(1.) ทาสที่ซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่ ซึ่งก็คือพวกไพร่ที่ขายตนเอง บุตร หรือ ภรรยา ไปเป็นทาส พอมีเงินค่อยมาไถ่ตัวจากนาย ทาสพวกนี้จึงเป็นทาสบ้าง ไพร่บ้าง แล้วแต่ฐานะทางการเงิน
(2.) ทาสที่ซื้ออิสรภาพตนเองไม่ได้ ได้แก่ ทาสเชลยศึก และ ลูกทาสเชลยศึก ทาสพวกนี้ไม่มีสิทธิใดๆเลย
1.2 ระบบไพร่
(1.) ประเภทของไพร่ แบ่งเป็นไพร่สม และ ไพร่หลวง
-ไพร่สม เป็นไพร่ส่วนตัวของพวกมูลนายที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ตามศักดินาของมูลนายแต่ละคนเพื่อให้รับใช้ทำงานส่วนตัวไม่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาให้รัฐ ไพร่ที่สังกัดกับกรมของเจ้านายที่ทรงกรม (กรมเจ้า) ก็ถือเป็นไพร่สมเช่นเดียวกัน
-ไพร่หลวง เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์ และเป็นไพร่ส่วนใหญ่ของอาณาจักร ทรงมอบหมายให้พวกขุนนางซึ่งบริหารบัญชาบังคับบัญชากรมกองต่างๆ ซึ่งมักเรียกรวมๆกันว่า กรมขุนนาง เป็นผู้ควบคุมดูแลให้พระองค์ ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาต่างๆให้รัฐและเป็นกองกำลังในยามศึกสงคราม ไพร่หลวงจะเริ่มถูกเกณฑ์เมืออายุประมาณ 18-20 ปี และปลดจากการถูกเกณฑ์เมืออายุ 60-70ปี ในสมัยอยุธยาจะเกณฑ์ 1 เดือน เว้น 1 เดือน (เข้าเดือนออกเดือน) นอกจากนั้นรัฐบาลยังอนุญาตให้ไพร่บางพื้นที่ส่งสิ่งของหรือเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเรียกว่าไพร่ส่วย แต่ไพร่หลวงที่ส่งแรงงานให้รัฐมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาไพร่ประเภทต่างๆ
(2.) วิธีการควบคุมไพร่ มีวิธีควบคุมตามลำดับชั้นจาก เจ้าหมู่ >> มูลนาย >> ขุนนางผู้บริหารกรม >> พระมหากษัตริย์ ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ยังคงอาศัยต้นเค้าของระบบไพร่ในสมัยอยุธยาในการควบคุมกำลังคน และเพิ่มมาตราการใหม่อีกหลาายประการเพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไปจากสมัยอยุธยา
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมูลนายและไพร่นั้น เป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ต่างมีภาระหน้าที่ต่อกัน รวมทั้งแสวงหาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันด้วย ไพร่จะติดต่อกับทางราชการได้ต้องผ่านมูลนายเท่านั้น มูลนายให้การปกครอง และไพร่ก็ต้องพึ่งพาและยึดมั่นในนายของตน
1.3 ระบบศักดินา
ในสังคมไทยก่อนการก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ มีการจัดช่วงชั้นในสังคมด้วยระบบศักดินา กฎหมายที่เกี่ยวกับศักดินาที่บัญญัติขึ้นนั้นจะกำหนดศักดินาของคนทุกกลุ่มในสังคมตั้งแต่ เจ้านาย ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่ และ ทาส เป็นตัวเลขเพื่อกำหนดฐานะ สิทธิ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้คนในสังคม อนึ่ง ศักดินาของพระสงฆ์จะใช้คำว่า เสมอนา นักวิชาการได้วิเคราะห์ตีความว่า ระบบศักดินาที่ตั้งขึ้นและพัฒนาจนมั่นคงนี้มีบทบาทในสังคมไทยสมัยจารีตดังนี้
(1.)การเป็นกลไกควบคุมการแจกจ่ายแรงงานหรือกำลังไพร่พล
(2.)การเป็นโครงสร้างการจัดระเบียบชนชั้น
(3.) การเป็นสิทธฺในการถือครองที่ดิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
(2.) ชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส โดยมีพระสงฆ์เป็นคนกลางในการเชื่อมโยงกลุ่มต่างๆในสังคมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นนับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ยังมีพวกชาวจีนอพยพ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศอยู่นอกออกไปจากการจัดระเบียบทางสังคม ส่วนชนกลุ่มน้อยอื่นๆเช่น มอญ เขมร ลาว ญวน จาม และ แขกชวาจะถูกควบคุมอยู่ในระบบไพร่
กลุ่มชนที่เรียกขานกันว่าไพร่นั้น หมายถึงราษฎรทั้งชายและหญิงที่มิได้เป็นมูลนายและมิได้เป็นทาส ไพร่ทุกคนจะต้องลงทะเบียนขึ้นสังกัดกับมูลนายซึ่งได้แก่เจ้านายและขุนนาง คนส่วนใหญ่ในสังคมประมาณร้อยละ 80-90 จะเป็นไพร่ ชนชั้นไพร่จึงมีจำนวนคนอยู่มากนับเป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยจารีต และเป็นฐานอำนาจที่สำคัญยิ่งของชนช้นปกครอง
ความสำคัญของชนชั้นไพร่
- ด้านเศรษฐกิจ เป็นแรงงานผลิตด้านต่างๆ
- ด้านการเมือง เป็นกองกำลังและดุลแห่งอำนาจ
- ด้านสังคม เป็นสิ่งแสดงความเป็นผู้มีหน้ามีตาของผู้ควบคุม
ทาส ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม จะพบว่าแบ่งกว้างๆเป็น
(1.) ทาสที่ซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่ ซึ่งก็คือพวกไพร่ที่ขายตนเอง บุตร หรือ ภรรยา ไปเป็นทาส พอมีเงินค่อยมาไถ่ตัวจากนาย ทาสพวกนี้จึงเป็นทาสบ้าง ไพร่บ้าง แล้วแต่ฐานะทางการเงิน
(2.) ทาสที่ซื้ออิสรภาพตนเองไม่ได้ ได้แก่ ทาสเชลยศึก และ ลูกทาสเชลยศึก ทาสพวกนี้ไม่มีสิทธิใดๆเลย
1.2 ระบบไพร่
(1.) ประเภทของไพร่ แบ่งเป็นไพร่สม และ ไพร่หลวง
-ไพร่สม เป็นไพร่ส่วนตัวของพวกมูลนายที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ตามศักดินาของมูลนายแต่ละคนเพื่อให้รับใช้ทำงานส่วนตัวไม่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาให้รัฐ ไพร่ที่สังกัดกับกรมของเจ้านายที่ทรงกรม (กรมเจ้า) ก็ถือเป็นไพร่สมเช่นเดียวกัน
-ไพร่หลวง เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์ และเป็นไพร่ส่วนใหญ่ของอาณาจักร ทรงมอบหมายให้พวกขุนนางซึ่งบริหารบัญชาบังคับบัญชากรมกองต่างๆ ซึ่งมักเรียกรวมๆกันว่า กรมขุนนาง เป็นผู้ควบคุมดูแลให้พระองค์ ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาต่างๆให้รัฐและเป็นกองกำลังในยามศึกสงคราม ไพร่หลวงจะเริ่มถูกเกณฑ์เมืออายุประมาณ 18-20 ปี และปลดจากการถูกเกณฑ์เมืออายุ 60-70ปี ในสมัยอยุธยาจะเกณฑ์ 1 เดือน เว้น 1 เดือน (เข้าเดือนออกเดือน) นอกจากนั้นรัฐบาลยังอนุญาตให้ไพร่บางพื้นที่ส่งสิ่งของหรือเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเรียกว่าไพร่ส่วย แต่ไพร่หลวงที่ส่งแรงงานให้รัฐมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาไพร่ประเภทต่างๆ
(2.) วิธีการควบคุมไพร่ มีวิธีควบคุมตามลำดับชั้นจาก เจ้าหมู่ >> มูลนาย >> ขุนนางผู้บริหารกรม >> พระมหากษัตริย์ ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ยังคงอาศัยต้นเค้าของระบบไพร่ในสมัยอยุธยาในการควบคุมกำลังคน และเพิ่มมาตราการใหม่อีกหลาายประการเพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไปจากสมัยอยุธยา
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมูลนายและไพร่นั้น เป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ต่างมีภาระหน้าที่ต่อกัน รวมทั้งแสวงหาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันด้วย ไพร่จะติดต่อกับทางราชการได้ต้องผ่านมูลนายเท่านั้น มูลนายให้การปกครอง และไพร่ก็ต้องพึ่งพาและยึดมั่นในนายของตน
1.3 ระบบศักดินา
ในสังคมไทยก่อนการก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ มีการจัดช่วงชั้นในสังคมด้วยระบบศักดินา กฎหมายที่เกี่ยวกับศักดินาที่บัญญัติขึ้นนั้นจะกำหนดศักดินาของคนทุกกลุ่มในสังคมตั้งแต่ เจ้านาย ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่ และ ทาส เป็นตัวเลขเพื่อกำหนดฐานะ สิทธิ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้คนในสังคม อนึ่ง ศักดินาของพระสงฆ์จะใช้คำว่า เสมอนา นักวิชาการได้วิเคราะห์ตีความว่า ระบบศักดินาที่ตั้งขึ้นและพัฒนาจนมั่นคงนี้มีบทบาทในสังคมไทยสมัยจารีตดังนี้
(1.)การเป็นกลไกควบคุมการแจกจ่ายแรงงานหรือกำลังไพร่พล
(2.)การเป็นโครงสร้างการจัดระเบียบชนชั้น
(3.) การเป็นสิทธฺในการถือครองที่ดิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ตอนที่ 2
การเข้าสู่สังคมสมัยใหม่
2.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่
การเข้าสู่สังคมสมัยใหม่มีผลมาจากการปฏิรูปการเมืองทุกๆด้านในสมัย ร.5 เมื่อพิจาณาจากหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่สรุปได้ว่ามีปัจจัย 3 ประการ ที่ทำให้เกิดการปฏิรูปครั้งนี้ ได้แก่
(1.) การแผ่อำนาจหรือการคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก
(2.)การขาดประสิทธิภาพของระบบไพร่และหน่วยงานราชการต่างๆ
(3.)การที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาการตะวันตกมากขึ้นและกว้างขวางกว่าในสมัย ร.4
ปัจจัยทั้ง3ประการที่กล่าวมานี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน จนยากที่จะสรุปได้ว่าปัจจัยใดสำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงบ้านเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย
2.2 ผลของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่
(1.) ยกเลิกระบบไพร่ ในสมัย ร.5 ทรงใช้วิธีการหลายๆอย่างและค่อยๆดำเนินเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ จนสามารถยกเลิกระบบนี้ได้ในที่สุด และบทบาทของไพร่ในการเป็นกองกำลังยามศึกสงครามถูกแทนที่ด้วยกองทหารอาชีพและการกณฑ์ทหาร การบริหารราชการเปลี่ยนมาอยู่ที่ กระทรวง ทบวง กรม มณฑล เทศาภิบาล ทะเบียนไพร่ถูกแทนที่ด้วยการจัดทำสำมะโนครัวตามท้องที่ ส่วนสถานะทางสังคมที่เป็นไพร่นั้นเปลี่ยนมาเป็นเสรีชน หรือ ประชาชนในสังคมสมัยใหม่ ในด้านโครงสร้างชนชั้นก่อเกิดชนชั้นกลางที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยในทุกๆด้าน กลุ่มคนในสังคมจึงแบ่งเป็น ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง มิได้อยู่ในรูปของเจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส หรือ มูลนาย - ไพร่ ตามแบบสังคมเดิมสมัยจารีต
นอกจากนั้นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ได้ถูกแทนที่ด้วย ความสัมพันธ์ตามสายงานการบังคับบัญชา ผสานด้วยความสัมพันธ์ทางธุรกิจจากความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ รวมทั้งความสัมพันธ์เครือญาติจากพื้นฐานวัฒนธรรมไทยในสังคมจารีต เพียงแต่ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์แบบอุปถัมภ์ในสังคสมัยใหม่นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เน้นหนักที่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตามสภาพ ทุนนิยม - บริโภคนิยม มีความรู้สึกเชิงวัตถุสูงกว่าเชิงจิตใจ แต่กระนั้นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ก็ยังยืนยงแฝงเร้นอยู่อย่างมีพลวัตในกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงในสังคม
(2.) การเลิกทาส ในสมัย ร.5 ซึ่งเป็นผลเสร็จสมบูรณ์ในพ.ศ. 2448 ด้วยพระราชบัญญัติเลิกทาศ ร.ศ.124 รวมเวลา 31 ปี
(3.) การเคลื่อนที่ทางสังคมที่เปิดกว้างขึ้น สังคมจารีตของไทยเป็นสังคมที่ค่อนข้างนิ่ง การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่และการเลื่อนฐานะทางสังคม ตลอดจนการมีความหวังในชีวิตที่ดีขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นไพร่ การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยทำให้การเลื่อนระดับทางชนชั้นเปิดกว้างขึ้น รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของคนทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจด้วย อันเป็นผลมาจากการปฎิรูปการศึกษา เศรษฐกิจ และการปกครองที่ทำให้เกิดระบบราชการแบบใหม่
(4.) การรับวัฒนธรรมตะวันตก การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยในสมัย ร.5 มีอารยธรรมตะวันตกเป็นแบบอย่างด้วยเหตุนี้นับแต่การเข้าสู่ สยามใหม่ เป็นต้นมา สังคมไทยจึงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกอย่างมาก โดยเริ่มในหมู่ชนชั้นนำก่อนแล้วขยายลงสู่สามัญชนผ่านการศึกษาแบบใหม่ การปฏิรูปการบ้านเมืองและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจเป็นกระบวนการที่เมื่อเริ่มแรกเกิดขึ้นช้าๆแล้วแผ่กว้างในอัตรที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ข้อสังเกตุที่สำคัญก็คือเป็นการรับในด้านรูปแบบและวัตถุอยู่มาก ไม่ได้เข้าถึงจิตวิญญานของวัฒนธรรมตะวันตกที่รับเข้ามา
ตอนที่ 3
ภาพรวมของสังคมไทยร่วมสมัย
3.1 โครงสร้างชนชั้น
เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมไทยสมัยใหม่ ที่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โครงสร้างชนชั้นก็ได้เปลี่ยนลักษณะมาเป็น ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง ชนชั้นต่ำ ส่วนปัจจัยที่กำหนดช่วงชั้นทางสังคมที่กล่าวมานี้มีหลายประการ ตั้งแต่ชาติตระกูล การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ การงานอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจไปจนถึงค่านิยมทางสังคม
(1.) ชนชั้นสูง กลุ่มคนในชนชั้นนี้เริ่มแรกปรับเปลี่ยนมาจากพวกมูลนายระดับสูงในสังคมไทยสมัยจารีต จึงมีทั้งพวกที่มีชาติตระกูลสูง เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ กลุ่มข้าราชการชั้นสูง ทั้งทหารและพลเรือนในระบบราชการสมัยใหม่จากการปฏิรูปการปกครอง ผู้ที่กุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และ พวกนักวิชาการ นักวิชาชีพที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญล้ำเลิศเป็นทรัพยากรบุคคลที่หาได้ยาก ก็อยู่ในชนชั้นนี้ด้วยเช่นกัน
(2.) ชนชั้นกลาง เป็นชนชั้นที่เกิดใหม่ในสังคมไทยสมัยใหม่ พัฒนามาจากพวกไพร่หรือชาวบ้านที่มีโอกาสได้รับการศึกษาจากการปฏิรูปการศึกษาให้ทันสมัยในทุกระดับการศึกษา คนกลุ่มนี้ประกอบอาชีพตั้งแต่การเป็นนายแพทย์ พยาบาล ทนายความ ทหาร นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ เสมียน ครู อาจารย์ และอีกหลายอาชีพ กลุ่มชนชั้นกลางเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมากตามการขยายตัวของระบบราชการและเศรษฐกิจทุนนิยม ชนชั้นกลางในสังคมไทยร่วมสมัยมีมากกว่าชนชันสูง แต่ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มชนชั้นล่าง
(3.) ชนชั้นล่าง ชนชั้นนี้ปรับตัวมาจากพวกไพร่ และทาสในสังคมไทยสมัยจารีต มาเป็นเกษตรกร กรรมกร คนรับใช้ คนเฝ้ารถ ยาม นักการ ภารโรง ลูกจ้างในงานต่างๆและอื่นๆ ในโครงสร้างของชนชั้นสังคมไทยร่วมสมัยมีคนจำนวนมากที่สุดในช่วงชั้นของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ และทำให้เกิดสภาพความเป็นมวลชน โดยเฉพาะในหมู่กรรมกรในโรงงานต่างๆ ในสังคมเมือง รวมทั้งมีการนำพลังมวลชนไปใช้ในด้านการเมืองด้วย
ส่วนการเลื่อนฐานะในสังคม ในสังคมไทยร่วมสมัยนั้นมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่เกื้อหนุนการเลื่อนฐานะในสังคมให้สูงขึ้นได้แก่ การศึกษา ซึ่งต่อเนื่องมาถึงการงานอาชีพด้วย ตลอดจนถึงการมีฐานะที่ร่ำรวยมีเงินทองมาก
3.2 สังคมเมือง สังคมชนบท
ในกรณีของสังคมเมือง มีตั้งแต่สังคมเมืองขนาดใหญ่มากๆเป็นมหานคร เช่น กรุงเทพฯ ถัดมาที่เมืองขนาดใหญ่ เมืองขนาดกลาง และเมืองขนาดเล็ก ในด้านสังคมชนบทก็มีขนาดต่างๆเช่นกัน มีตั้งแต่ ชนบทก้าวหน้า ชนบทที่มีความเจริญพอควร และ ชนบทล้าหลังที่มีปัญหาอยู่มาก ทั้งเรื่องความยากจน การว่างงาน การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สุขภาพอนามัยไม่ดี และปัญหาอื่นๆอีกหลายด้าน เมื่อกาลเวลาผ่านไปสภาพการพัฒนาได้เห็นชัดว่า ยิ่งพัฒนายิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำกันมากระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และ ภาคเกษตรกรรม เมืองและชนบท เจ้าของทุนและเจ้าของแรงงาน รัฐบาลจึงเริ่มเน้นการพัฒนาชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทล้าหลัง ตั้งแต่ พ.ศง2525 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2520 ปัญญาชนชาวบ้านและองค์กรณ์พัฒนาเอกชนได้เริ่มการพัฒนาแนวใหม่ในหลายรูปแบบ เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน
Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
(1.) ชนชั้นสูง กลุ่มคนในชนชั้นนี้เริ่มแรกปรับเปลี่ยนมาจากพวกมูลนายระดับสูงในสังคมไทยสมัยจารีต จึงมีทั้งพวกที่มีชาติตระกูลสูง เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ กลุ่มข้าราชการชั้นสูง ทั้งทหารและพลเรือนในระบบราชการสมัยใหม่จากการปฏิรูปการปกครอง ผู้ที่กุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และ พวกนักวิชาการ นักวิชาชีพที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญล้ำเลิศเป็นทรัพยากรบุคคลที่หาได้ยาก ก็อยู่ในชนชั้นนี้ด้วยเช่นกัน
(2.) ชนชั้นกลาง เป็นชนชั้นที่เกิดใหม่ในสังคมไทยสมัยใหม่ พัฒนามาจากพวกไพร่หรือชาวบ้านที่มีโอกาสได้รับการศึกษาจากการปฏิรูปการศึกษาให้ทันสมัยในทุกระดับการศึกษา คนกลุ่มนี้ประกอบอาชีพตั้งแต่การเป็นนายแพทย์ พยาบาล ทนายความ ทหาร นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ เสมียน ครู อาจารย์ และอีกหลายอาชีพ กลุ่มชนชั้นกลางเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมากตามการขยายตัวของระบบราชการและเศรษฐกิจทุนนิยม ชนชั้นกลางในสังคมไทยร่วมสมัยมีมากกว่าชนชันสูง แต่ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มชนชั้นล่าง
(3.) ชนชั้นล่าง ชนชั้นนี้ปรับตัวมาจากพวกไพร่ และทาสในสังคมไทยสมัยจารีต มาเป็นเกษตรกร กรรมกร คนรับใช้ คนเฝ้ารถ ยาม นักการ ภารโรง ลูกจ้างในงานต่างๆและอื่นๆ ในโครงสร้างของชนชั้นสังคมไทยร่วมสมัยมีคนจำนวนมากที่สุดในช่วงชั้นของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ และทำให้เกิดสภาพความเป็นมวลชน โดยเฉพาะในหมู่กรรมกรในโรงงานต่างๆ ในสังคมเมือง รวมทั้งมีการนำพลังมวลชนไปใช้ในด้านการเมืองด้วย
ส่วนการเลื่อนฐานะในสังคม ในสังคมไทยร่วมสมัยนั้นมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่เกื้อหนุนการเลื่อนฐานะในสังคมให้สูงขึ้นได้แก่ การศึกษา ซึ่งต่อเนื่องมาถึงการงานอาชีพด้วย ตลอดจนถึงการมีฐานะที่ร่ำรวยมีเงินทองมาก
3.2 สังคมเมือง สังคมชนบท
ในกรณีของสังคมเมือง มีตั้งแต่สังคมเมืองขนาดใหญ่มากๆเป็นมหานคร เช่น กรุงเทพฯ ถัดมาที่เมืองขนาดใหญ่ เมืองขนาดกลาง และเมืองขนาดเล็ก ในด้านสังคมชนบทก็มีขนาดต่างๆเช่นกัน มีตั้งแต่ ชนบทก้าวหน้า ชนบทที่มีความเจริญพอควร และ ชนบทล้าหลังที่มีปัญหาอยู่มาก ทั้งเรื่องความยากจน การว่างงาน การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สุขภาพอนามัยไม่ดี และปัญหาอื่นๆอีกหลายด้าน เมื่อกาลเวลาผ่านไปสภาพการพัฒนาได้เห็นชัดว่า ยิ่งพัฒนายิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำกันมากระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และ ภาคเกษตรกรรม เมืองและชนบท เจ้าของทุนและเจ้าของแรงงาน รัฐบาลจึงเริ่มเน้นการพัฒนาชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทล้าหลัง ตั้งแต่ พ.ศง2525 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2520 ปัญญาชนชาวบ้านและองค์กรณ์พัฒนาเอกชนได้เริ่มการพัฒนาแนวใหม่ในหลายรูปแบบ เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน
Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น