หน่วยที่ 1
พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย
(เน้นสาระความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่อมาจนถึงทุกวันนี้)
ตอนที่ 1 ข้อพินิจเบื้องต้น
1.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละสมัยในสังคม แบ่ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
(1.) ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ ได้แก่ ที่ตั้ง ระยะทาง ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการตั้ถิ่นฐานและวิถีการดำรชีวิต มีข้อน่าสังเกตุว่า มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน อาจมีความเป็นอยู่ที่ต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวเข้ากับธรรมชาติและความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้่จากความเป็นอยู่ขอชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายที่ต่างจากกลุ่มคนที่ตั้งบ้านตั้งเมือในทะเลทรายได้
(2.) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างทั้รูปธรรมและนามธรรมที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมสร้างขึ้นเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน และสั่งสมสืบทอดกันมา
(3.) ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ความรู้ สติปัญญา ความสามารถและเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งของผู้นำ หรือ ผู้บริหารประเทศ เป็นปัจจัยเล็กที่สุดในปัจจัย 3 กลุ่ม แต่อยู่ใกล้กับพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ฺมากที่สุด
1.2 สภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย
สภาพภูมิศาสตร์ของไทยได้ก่อผลสำคัญต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง? ประมวลผลได้ 3 ประการดังนี้
(1.) การเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เปิดกว้างต่อการตั้งถิ่นฐาน มีการผสมผสานเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรม จนพัฒนามาเป็นวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน
(2.) การเปิดกว้างต่อการรับวัฒนธรรมอื่นจากต่างประเทศ
(3.) การเป็นดินแดนเปิด ศักยภาพในการปรับประเทศ จึงมีความสำคัญอยู่มากต่อพัฒนาการของประวัติศาสตร์ไทย
1.3 ภาพรวมขอวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมในแต่ละสังคมมีขั้นตอนการวิวัฒนาการเป็นลำดับคล้ายๆกัน ต่างกันที่ความช้า ความเร็ว และความเรียบง่าย ซับซ้อน ของการวิวัฒน์ ที่สำคัญคือ วัฒนธรรมไม่หยุดนิ่งหากแต่พัฒนาปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม
ตอนที่ 2 จากยุคหินถึงการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์ยัไม่ได้คิดประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ แบ่งกว้างๆตามวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์ทำข้าวขอเครื่อใช้เพื่อการยังชีพ เป็นยุคหิน และยุคโลหะ
- สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์ได้คิดตัวอักษรขึ้นมาในการขีดเขียน บันทึกเรื่องราวของกลุ่มสังคมตนไว้เป็นหลักฐานการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคมจึงช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความสามารถในการประดิษฐ์ตัวอักษรมาใช้ในสังคมนั้นๆ
2.1 ยุคหินในดินแดนประเทศไทย
แบ่งแยกย่อยเป็น ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่
(1.) ยุคหินเก่า เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักนำหินซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวมากะเทาะหยาบๆ เพื่อทำเครื่องมือเครื่อใช้ ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ เก็บอาหารตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา เร่ร่อนย้ายถิ่นตามแหล่งอาหาร
(2.) ยุคหินกลาง มีการปรับปรุงเครื่อใช้เครื่อมือหินให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการกะเทาะหินให้เรียบและคมขึ้น มีพิธีกรรมฝังศพ
(3.) ยุคหินใหม่ รู้จักทำเครื่อมือเครื่องใช้ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ขัดให้เรียบทั้ง 2 ด้าน ที่สำคัญยิ่งคือ การเพาะปลูกเลี้ยสัตว์ ตั้งถิ่นฐานอยู่กับที่เป็นชุมชน การไม่ต้องเร่ร่อนทำให้มีเวลาคิดค้นสร้างสรรค์วัฒนธรรมในด้านต่างๆที่จะพัฒนาสืบต่อมา มนุษย์ในยุคนี้มีหลายพวกหลายเหล่าอพยพเคลื่อนย้ายจากที่ต่างๆมาอยู่ในดินแดนประเทศไทย
2.2 ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย
เป็นพัฒนาการในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องจากยุคหินใหม่ ที่มีอายุประมาณ 3000-5000 ปี ก่อนพุทธศักราช จนถึงสมัย พุทธศักราช 1000 เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะบางชนิดมาทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน เริ่มจากการนำเอาทองแดงและดีบุกมาหลอมผสมเป็นสำริดทำสิ่งขอต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาต่อมาจนรู้จักใช้เหล็ก
มนุษย์ในยุคโลหะอยู่กันเป็นชุมชมใหญ่ และพัฒนามาเป็นชุมชนเมือง มีเทคนิควิทยาและความรู้ในด้านต่างๆ ตั้งแต่การปลูกข้าว และ พืชผลอื่นๆ การเลี้ยสัตว์ การใช้ควายไถนา การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผาลายต่างๆ การใช้โลหะทำเครื่องของหลายชนิด การขุดสระเก็บน้ำ การทำคูน้ำคันดินล้อมรอบที่อยู่อาศัยของชุมชน การรู้จักเดินเรือในทะเล มีประเพณีและพิธีกรรม งานเขียนศิลปะผนังถ้ำและอื่นๆ
ในยุคโลหะตอนปลาย มีชุมชนเมืิองของมนุษย์หลายกลุ่ม หลายชาติภาษา กระจายอยู่ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทย ชุมชนเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการเข้าสู่สังคมบ้านเมืองที่รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น
ยุคโลหะตอนปลายจึงเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยซึ่งเริ่มเมื่อ พุทธศักราช1000 ตามการศึกษาค้นคว้าของ อ.ชิน อยู่ดี
2.3 การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์หรือพัฒนาเข้าสู่การเป็นสังคมบ้านเมืองในดินแดนประเทศไทย เมื่อต้นพุทธสตวรรษที่11นั้น เกิดจากการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่อยู่ห่าไกลออกไปเช่น อินเดีย จีน โรมัน
และการรับวัฒนธรรมหลากหลายด้านจากอินเดียมาผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่นและพัฒนาขยายมาเป็นแคว้นเล็กๆที่ประกอบด้วย เมืองใหญ่เป็นศูนย์กลาง เมืองเล็กๆเป็นเมืองบริวารอยู่ไม่ไกลนัก ตัวเมืองใหญ่หรือเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางจะมีความสมบูรณ์ของตัวเอง คือเป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย การคมนาคม การปกครอและวัฒนธรรม การดำรงอยู่ของแคว้นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของการค้าในภูมิภาคจึงมีความไม่แน่นอนอยู่มาก
ตอนที่3 แคว้นโบราณในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 12-19)
3.1 แคว้นในภาคกลาง
พื้นที่ภาคกลางซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่รวมไปถึงพื้นที่ทางฟากตะวันตกและฟากตะวันออกของลุ่มแม่น้ำด้วยนั้นมีแคว้นสำคัญที่ต่อเนื่องกันมาคือ
(1.)แคว้นทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
(2.)แคว้นละโว้(พุทธศตวรรษที่12-18)
(3.)แคว้นอโยธยา (พุทธศตวรรษที่18-19)
(4.)แคว้นสุพรรณภูมิ ๖พุทธศตวรรษที่ 18-19)
3.2 แคว้นในภาคเหนือ
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-19 มีแคว้นที่สำคัญคือ
(1.)แคว้นหริภุญชัย
(2.)แคว้นล้านนา
(3.)แคว้นสุโขทัย
3.3 แคว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-19 มีแคว้นสำคัญคือ
(1.)แคว้นโคตรบูร
(2.)กลุ่มเมืองที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมกัมพูชา
3.4 แคว้นทางภาคตะวันออก
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 บ้านเมืองในภาคนี้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอาณาจักรกัมพูชา จนกระทั่งอยุทธยามีชัยชนะเหนือเขมรอย่างเด็ดขาด ในพ.ศ.1974 จึงผนวกดินแดนแถบนีี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาได้สำเร็จ
ในสมัยอยุธยา หัวเมืองภาคตะวันออกมีความสำคัญในฐานะเมือท่าค้าขาย ในเส้นทาการค้าระหว่างอยุธยากับจีนและญวน รวมทั้งบ้านเมืองอื่นในเอเชียตะวันออกด้วย
3.5 แคว้นทางภาคใต้
ในช่วพุทธศตวรรษที่ 13-20 มีแคว้นสำคัญคือแคว้นตามพรลิงค์ ซึ่ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่13 และพัฒนาต่อมาเป็นแคว้นนครศรีธรรมราช เมื่อราวพุทธศตวรรษที่18 และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในพุทธศตวรรษที่20
ตอนที่ 4 อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์
4.1 สมัยอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาก่อเกิดขึ้นในพุทธศักราช 1893 จากรากฐานการรวมตัวกันของแคว้นละโว้ - อโยธยา และ แคว้นสุพรรณภูมิ ที่มีความสัมพันธ์ด้านเครือญาติ จากการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าอู่ทองแห่งแคว้นละโว้-อโยธยา และเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ
อยุธยามีพื้นฐานที่ดีตั้งแต่แรกก่อตั้ง ทำให้เจริญรุ่เรืองได้รวดเร็วแผ่ขยายอำนาจออกไปได้กว้างขวาง สามารถผนวกแว่นแคว้นไทยหลายแคว้นไว้ในอำนาจจนเกิดสภาพการเป็นราชอาณาจักรที่มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีศูนย์กลาง และเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยจารีตที่สำคัญยิ่งคือ อยุธยาได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากแว่นแคว้นไทยหลายแคว้นมาสร้างสรรค์ให้แตกแขนงไปอีกมากมาย
ด้วยการจัดระบบการเมือการปกครอง สังคม เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ อาณาจักรอยุธยาจึงดำรงความเป็นศูนย์กลางของคนไทยที่อยู่ยืนนาน 417 ปี (พ.ศ. 1893-2310)
สาเหตุพื้นฐานของการล่มสลายมาจาก
- ปัจจัยภายใน มาจากการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในหมู่ชนชั้นปกครอง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสมัยอยุธยาตอนปลาย และความระส่ำระสายขอระบบไพร่
- ปัจจัยภายนอก คือ สงครามไทย-พม่า (พ.ศ.2308-2310) เป็นตัวเร่งให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปไวยิ่งขึ้น หลังจากนั้นศูนย์กลางของอาณาจักรได้ย้ายมาอยู่ที่ธนบุรี และ กรุงเทพตามลำดับ
4.2 สมัยธนบุรี
เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการแตกสลายของอาณาจักรอยุธยาและการฟื้นฟูสร้างบูรณภาพของอาณาจักรใหม่แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆเพียง 15 ปี (ระหว่างพศ 2311-2313) แต่ก็มีความสำคัญยิ่งและมีการดำเนินการต่างๆหลายด้่านได้แก่
(1.) การปราบปรามชุมนุมทางการเมืองต่างๆ เพื่อรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(2.)การทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันอาณาจักร
(3.) การทำสครามกับ ลาว เขมร เพื่อขยายอาณาเขตให้กว้าง
(4.)การรื้อฟื้นเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการรับรองจากจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในโลกตะวันออกขณะนั้น
(5.) การจัดระบบการปกครอง
(6.)การฟื้นฟูเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปะ วรรณคดี และ วัฒนธรรมด้านอื่นๆ
4.3 สมัยรัตนโกสินทร์
- เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2325 และได้พัฒนาตามสภาพความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วง 69 ปีแรก (สมัย ร.1-ร.3) เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูวางรากฐานอาณาจักรให้มั่นคในทุกๆด้านโดยรวมแล้วกล่าวได้ว่า การก่อร่างพัฒนาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้ได้ปูพื้นฐานให้แก่การรวมประเทศสร้างรัฐชาติ ในสมัยร.5
- การเข้าสู่สังคมทุนนิยมในสมัยรัชกาลที่4 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่น ค่านิยมเรื่องทรัพย์สินเงินทอง การตื่นตัวใฝ่หาความรู้ และโลกทัศน์ที่เน้นความมีเหตุผลมากกว่าสมัยก่อน ความสำเร็จของการฟื้นฟูบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นเสมือนหนึ่งการเตรียมตัวโดยมิได้คาดฝันให้แก่การเผชิญภัยจักรวรรดินิยมในสมัยรัชการที่ 4 ที่ต่อเนื่องมาอีกหลายรัชกาล
- ผู้นำไทยเผชิญภัยจากจักรวรรดินิยมด้วยการดำเนินการทาการฑูตผสานกับการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยที่เริ่มต้นยในรัชกาล ที่4 ดำเนินการมากยิ่งขึ้นในรัชกาลที่5 และสานผลต่างๆสืบต่อมาไม่ขาดสาย
- นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเนื่องให้สามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ในเวลาต่อมาก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475
- โดยสรุปแล้ว การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย ทำให้สังคมจารีตขอไทยเสื่อมสลายไป เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่และช่วยวางรากฐานให้สัคมไทยพร้อมที่จะรับการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในสมัย การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฉบับต่างๆด้วย
- ผู้นำไทยเผชิญภัยจากจักรวรรดินิยมด้วยการดำเนินการทาการฑูตผสานกับการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยที่เริ่มต้นยในรัชกาล ที่4 ดำเนินการมากยิ่งขึ้นในรัชกาลที่5 และสานผลต่างๆสืบต่อมาไม่ขาดสาย
- นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเนื่องให้สามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ในเวลาต่อมาก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475
- โดยสรุปแล้ว การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย ทำให้สังคมจารีตขอไทยเสื่อมสลายไป เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่และช่วยวางรากฐานให้สัคมไทยพร้อมที่จะรับการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในสมัย การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฉบับต่างๆด้วย
- ในพ.ศ.2504 รัฐบาลเริ่มใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแนวทางกำกับการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาฯฉบับที่1 ดำเนินการระหว่าง พ.ศ.2504-2509 หลังจากนั้นมีแผนพัฒนาต่างๆต่อเนื่องกันมาตลอด
- โดยรวมแล้วการพัฒนาประเทศในช่วง40ปีที่ผ่านมา ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวัตถุ และความสะดวกสบายหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ จนนำไปสู่วิกฤตการทางเศรษฐกิจ พ.ศ 2540 และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาอเนกอนันต์ทางสังคมด้วย
- ปัจจุบันจึเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งอีกครั้งของสังคมไทยในการแสวงหาแนวทาพัฒนาที่เหมาะสมและเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวให้รับกันได้กับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งให้ความมุ่งหวังที่จะพัฒนาประชาธิปไตยตามแนวทางรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 บรรลุสู่ฝัน
Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
- โดยรวมแล้วการพัฒนาประเทศในช่วง40ปีที่ผ่านมา ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวัตถุ และความสะดวกสบายหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ จนนำไปสู่วิกฤตการทางเศรษฐกิจ พ.ศ 2540 และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาอเนกอนันต์ทางสังคมด้วย
- ปัจจุบันจึเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งอีกครั้งของสังคมไทยในการแสวงหาแนวทาพัฒนาที่เหมาะสมและเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวให้รับกันได้กับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งให้ความมุ่งหวังที่จะพัฒนาประชาธิปไตยตามแนวทางรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 บรรลุสู่ฝัน
Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น