หน่วยที่ 3
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย
พัฒนาการเศรษฐกิจไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเป็น4ช่วง คือ
- ก่อนปี พ.ศ. 2398
- พ.ศ.2398- พ.ศ.2475
- พ.ศ.2475- พ.ศ.2504
- พ.ศ.2504-ปัจจุบัน
ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2398 ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ หรือที่บางครั้งเราเรียกว่าเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเองที่มีการผลิตเอง ใช้เองเป็นสำคัญ กล่าวคือ ครัวเรือนจะมีการผลิตของแทบทุกๆอย่างเพื่อใช้เอง บริโภคเอง หรือมีการค้าขายแลกเปลี่ยนในสัดส่วนที่น้อย
ในช่วงที่ ร.4 ขึ้นครองราชย์ ในขณะนั้นแม้ไทยจะยังเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพโดยทั่วไป แต่ในบางภูมิภาคการค้าระหว่างประเทศก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีผลทำให้เงินตราเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับเศรษฐกิจไทย และเริ่มเกิดการก่อตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งมีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะบริเวณที่มีการค้าขาย ซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่นในกรุงเทพรวมทั้งหัวเมืองโดยเฉพาะทางชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้นเป็นการค้าระหว่างไทยกับจีน ซึ่งเป็นการค้าระบบผูกขาดดำเนินการโดยพระคลังสินค้า
ตอนที่ 1
พัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยก่อนการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1 (พ.ศ.2504-2509)
1.1 พื้นฐานเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2398-2475
ในปี พ.ศง2398 หรือต้นสมัย ร.4 ประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับสหราชอาณาจักร ซึ่งมีสาระของสนธิสัญญาคือ
(1.) ไทยจะต้องเปิดประเทศโดยที่มีการค้าเสรี
(2.) อังกฤษได้กำหนดให้ไทยมีการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เก็บภาษีนำเข้า หรือเก็บไม่เกินอัตราร้อยละ 3 ของมูลค่าสินค้านำเข้าทั้งหมด
(3.)ชาวต่างประเทศมีสิทธิประโยชน์ในการอยู่อาศัยในประเทศไทยรวมทั้งมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ในการที่จะซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมทั้งการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
จุดเปลี่ยนที่เป็นผลกระทบที่สำคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริ่งต่อเศรษฐกิจไทยมีอยู่ด้วยกันหลายด้าน
(1.) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ สนธิสัญญาเบาว์ริ่งส่งผลให้ไทยต้องเปิดประตูการค้าเสรีกับนานาประเทศและส่งผลต่อการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศเป็นอันมาก โดยเฉพาะด้านการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุที่กรุงเทพเป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทย ดังนั้นการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศย่อมมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในกรุงเทพ อาทิ กิจการโรงสี กิจการเดินเรือ กิจการประกันภัย กิจการธนาคารพาณิชย์ โดยมีนายทุนหรือผู้ประกอบการที่สำคัญเป็นชาวตะวันตก และมีคนจีนเป็นแรงงานสำคัญ
(2.) มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเชื้อชาติ เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งซึ่งทำให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีผลทำให้การเพาะปลูกข้าวเพื่อการส่งออกได้ขยายตัวเป็นอันมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่ราบภาคกลางในช่วงปลายสมัย ร.5นั้น ประมาณได้ว่ามูลค่าการส่งออกข้าวของไทยกว่าร้อยละ 90 มาจากบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ในการเพาะปลูกข้าวก็คือคนไทย ในขณะที่คนจีนทำงานอยู่ในภาคเมืองเป็นสำคัญ
- เหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเชื้อชาติ เพราะในภาคการเกษตรมีรายได้ค่อนข้างสูง ชาวนาไทยมีรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับคนจีนที่ทำงานในเมืองและยังสูงกว่ารายได้ชาวนาในญี่ปุ่นเสียอีก เหตุที่รายได้ของชาวนาไทยสูงเนื่องจากไทยมีที่ดินมากและมีประชากรน้อย โดยมีประชากรเพียง 5 ล้านคน ซึ่งทำให้ประชากรขยายพื้นที่การเพาะปลูกได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ชาวนาไทยจึงประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าวเป็นสำคัญ
- เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนจีนประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมเพราะ
> คนจีนไม่ได้มีแรงจูงใจที่จะมาตั้งรกรากถิ่นฐานในชนบท คนจีนต้องการที่จะอพยพมาทำงานชั่วคราวเมื่อเก็บเงินได้ก็จะเดินทางกลับประเทศ
> คนจีนมีข้อผูกพันกับเถ้าแก่คนจีนที่เป็นนายหน้าจัดหางานในประเทศไทย ซึ่งจะจัดหางานในเมืองให้
(3.) การเกิดชนชั้นนายทุน ก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ชนชั้นนายทุนของไทยยังอยู่ในระบบผูกขาดไม่ได้เป็นอิสระ ยังอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ แต่ภายหลังจากการมีสนธิสัญญาเบาว์ริ่งแล้วนั้นมีลักษณะเป็นนายทุนที่เสรีมากขึ้น เพราะมีการเปิดเสรีทางการค้า มีการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น เกิดมีกิจการโรงสีข้าว โรงเลื่อย การประกันภัย เป็นการเจริญเติบโตของชนชั้นนายทุนที่สำคัญ
1.2 เศรษฐกิจไทยในช่วงพ.ศ. 2475-2504
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2475 คือมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย มีผลทำให้ความร่วมมือระหว่างนายทุนกับข้าราชการมีมากขึ้น เนื่องจากคณะราษฎรผู้เป็นผู้นำการปฏิวัติขาดฐานอำนาจทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือกับพ่อค้าหรือนายทุนชาวจีนโดยร่วมกันสร้างรัฐวิสาหกิจขึ้นมา จึงเกิดการใช้อำนาจผูกขาดรัฐวิสาหกิจ หรือ วิสาหกิจอิทธิพลเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ และรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญของคณะราษฎรและฐานที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจภายในระยะเวลาต่อมา
- และในช่วงเวลานี้เองก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีพ.ศ.2484 มีผลทำให้ภาวะเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจมีระดับสูงมาก เกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมากมายเนื่องจากค่าครองชีพที่แพงขึ้น ซึ่งมีผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างนายทุนและข้าราชการมีมากยิ่งขึ้นไปอีก เป็นที่มาของคำว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมขุนนาง มีการก่อตั้งกิจการธนาคารพานิชย์ขึ้นหลายแห่ง เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย
(2.) มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเชื้อชาติ เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งซึ่งทำให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีผลทำให้การเพาะปลูกข้าวเพื่อการส่งออกได้ขยายตัวเป็นอันมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่ราบภาคกลางในช่วงปลายสมัย ร.5นั้น ประมาณได้ว่ามูลค่าการส่งออกข้าวของไทยกว่าร้อยละ 90 มาจากบริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ในการเพาะปลูกข้าวก็คือคนไทย ในขณะที่คนจีนทำงานอยู่ในภาคเมืองเป็นสำคัญ
- เหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเชื้อชาติ เพราะในภาคการเกษตรมีรายได้ค่อนข้างสูง ชาวนาไทยมีรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับคนจีนที่ทำงานในเมืองและยังสูงกว่ารายได้ชาวนาในญี่ปุ่นเสียอีก เหตุที่รายได้ของชาวนาไทยสูงเนื่องจากไทยมีที่ดินมากและมีประชากรน้อย โดยมีประชากรเพียง 5 ล้านคน ซึ่งทำให้ประชากรขยายพื้นที่การเพาะปลูกได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ชาวนาไทยจึงประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าวเป็นสำคัญ
- เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนจีนประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมเพราะ
> คนจีนไม่ได้มีแรงจูงใจที่จะมาตั้งรกรากถิ่นฐานในชนบท คนจีนต้องการที่จะอพยพมาทำงานชั่วคราวเมื่อเก็บเงินได้ก็จะเดินทางกลับประเทศ
> คนจีนมีข้อผูกพันกับเถ้าแก่คนจีนที่เป็นนายหน้าจัดหางานในประเทศไทย ซึ่งจะจัดหางานในเมืองให้
(3.) การเกิดชนชั้นนายทุน ก่อนการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ชนชั้นนายทุนของไทยยังอยู่ในระบบผูกขาดไม่ได้เป็นอิสระ ยังอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ แต่ภายหลังจากการมีสนธิสัญญาเบาว์ริ่งแล้วนั้นมีลักษณะเป็นนายทุนที่เสรีมากขึ้น เพราะมีการเปิดเสรีทางการค้า มีการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น เกิดมีกิจการโรงสีข้าว โรงเลื่อย การประกันภัย เป็นการเจริญเติบโตของชนชั้นนายทุนที่สำคัญ
1.2 เศรษฐกิจไทยในช่วงพ.ศ. 2475-2504
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2475 คือมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย มีผลทำให้ความร่วมมือระหว่างนายทุนกับข้าราชการมีมากขึ้น เนื่องจากคณะราษฎรผู้เป็นผู้นำการปฏิวัติขาดฐานอำนาจทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือกับพ่อค้าหรือนายทุนชาวจีนโดยร่วมกันสร้างรัฐวิสาหกิจขึ้นมา จึงเกิดการใช้อำนาจผูกขาดรัฐวิสาหกิจ หรือ วิสาหกิจอิทธิพลเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ และรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญของคณะราษฎรและฐานที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจภายในระยะเวลาต่อมา
- และในช่วงเวลานี้เองก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีพ.ศ.2484 มีผลทำให้ภาวะเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจมีระดับสูงมาก เกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมากมายเนื่องจากค่าครองชีพที่แพงขึ้น ซึ่งมีผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างนายทุนและข้าราชการมีมากยิ่งขึ้นไปอีก เป็นที่มาของคำว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมขุนนาง มีการก่อตั้งกิจการธนาคารพานิชย์ขึ้นหลายแห่ง เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย
ตอนที่ 2
เศรษฐกิจไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2504-2545)
รัฐบาลไทยโดยความร่วมมือของธนาคารโลก ได้มีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งประกาศใช้ในปี 2504 และดำเนินมาถึงแผนที่9 ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละแผนมีสาระสำคัญและผลกระทบทางเศรษฐกิจต่างกันออกไป
2.3 ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(1.) ผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ ในอดีตไทยเป็นประเทศเกษตรกร สินค้าเกษตรมีความสำคัญในผลผลิตหรือรายได้ประชาชาติรวมทั้งมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศ แต่ยิ่งพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น การใช้แผนฯทำให้ภาคการเกษตรมีความสำคัญน้อยลง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญมากขึ้นทั้งในแง่การผลิตและการค้าระหว่างประเทศ
(2.) ผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาชีพและการจ้างงาน อาชีพหลักของคนไทยคือ เกษตรกร แต่เมื่อมีการนำแผนพัฒนาฯมาใช้ ส่งผลให้ผู้คนประกอบอาชีพเกษตรกรน้อยลง อาชีพลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมรวมทั้งผู้คนที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรมีความสำคัญขึ้น
(3.) ผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกระจายรายได้ แม้ว่าการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ จะทำให้สัดส่วนของคนยากจนลดลงแต่ก็เป็นการลดลงอย่างช้าๆ มิหนำซ้ำความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ระหว่างเมือง กับ ชนบท นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หมายความว่ายิ่งพัฒนา คนเมืองก็ยิ่งได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะที่คนจนได้รับผลประโยชน์บ้างแต่ก็ไม่าก
(4.)ผลต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจมีผลทำให้ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปัญหาคุณภาพชีวิตก็ยังมีอยู่ในหลายๆส่วน เช่น เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด คุณภาพการศึกษา เป็นต้น
ตอนที่ 3
วิกฤติเศรษฐฏิจกับเศรษฐกิจไทยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
หลังจากมีการใช้แผนพัฒนาฯมาหลายฉบับ เศรษฐกิจไทยก็มีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 และส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำต่อเนื่องมาอีกหลายปี
3.2 แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาทางเลือก : แนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(1.) ทฤษฎีใหม่และแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
ร.9 ได้เสนอทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะนำพาประเทศให้ก้าวพ้นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่ชี้นำถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน จนถึงรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์
หลักการสำคัญของทฤษฎีใหม่ในแนวคิดเศณษฐกิจพอเพียงมีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่1 : ชุมชนจะต้องผลิตอาหารเพื่อบริโภคเป็นสำคัญ ที่เหลือจึงไว้ขาย
ขั้นที่2 : ในชุมชนจะมีการรวมตัวกลุ่มเป็นสหกรณ์เพื่อการผลิต รวมทั้งการรวมกลุ่มทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและอื่นๆ
ขั้นที่3 : ความร่วมมือของกลุ่มหรือสหกรณ์ในชุมชนกับองค์กรณ์หรือภาคเอกชนภายนอก โดยให้กลุ่มหรือสหกรณ์ในชุมชน ติดต่อประสานงานกับองค์กรณ์หรือภาคเอกชนหรือแหล่งเงินได้แก่ ธนาคาร และ แหล่งพลังงาน เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป ทฤษฏีใหม่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อความผาสุขของประชาชนทุกคน เพราะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยึดทางสายกลางและความพอเพียงเป็นสำคัญ
Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น