หน่วยที่2
พัฒนาการปกครองไทย
เราอาจแบ่งประวัติศาสตร์ทางด้านการปกครองไทย ออกเป็นช่วงสำคัญๆคือ
1. แบบจารีตประเพณี หมายถึง การปกครองตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนตั้น
2. แบบตะวันตก เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 จนถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475
3. ประชาธิปไตยแบบอมาตยาธิปไตย เป็นช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เป็นยุคที่กลุ่มอำนาจใหม่ คือ ข้าราชการมีอำนาจมาก
4. ประชาธิปไตยยุคทหารและนายทุน เป็นยุคที่ทหารมีอำนาจมาก โดยเฉพาะเมื่อทหารได้ร่วมมือกับนายทุนครอบงำการเมืองไทยอยู่ระยะหนึ่ง ตั้งแต่การสิ้นสุดอำนาจของนายพล ป. พิบูลสงครามในปี 2500 มาจนถึงเหตุการณ์ 14 ต.ต.2516
5. สมัยประชาธิปไตยหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นช่วงที่ประชาธิปไตยก่อร่างสร้างตัว นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตค 2516 จนถึงเหตุการณ์เดือนพฤษา 2535 เป็นยุคที่การเมืองไทยค่อนข้างล้มลุกคลุกคลาน ไม่มีเสถียรภาพ
6. สมัยประชาธิปไตยยุคปฏิรูปการเมือง นับแต่ปี 2535 - ปัจจุบัน
ตอนที่ 1
แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการการเมืองการปกครองไทย
1.1 ตัวแบบการศึกษาพัฒนาการการปกครอง
สิ่งสำคัญของการศึกษาพัฒนาการปกครองไทยคือการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางการปกครองของไทย เพราะคำว่าพัฒนาการนั้นคือการพัฒนามาโดยลำดับ ตามลำดับเวลา โดยใช้เวลาเป็นเครื่องมือคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆของบ้านเมือง ซึ่งการวิเคราะห์เหตุการณ์ตามลำดับนี่เองเราเรียกว่าการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์
พัฒนาการเมืองการปกครองของไทยหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยนั้น มีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแบ่งออกเป็น
- ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายใน
- ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายนอก
1.2 ปัจจัยด้านสังคมและการเมืองภายใน
(1.) โครงสร้างทางสังคม คือ ความเป็นไปของบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน วัฒนธรรม ประเพณี
(2.) โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งก็คือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง ลักษณะของการใช้อำนาจ
1.3 ปัจจัยด้านสังคมการเมืองภายนอก
(1.) โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ การเมืองระหว่างประเทศ
(2.) กระแสการเมืองระหว่างประเทศ เช่น กระแสการล่าอาณานิคม หรือ กระแสของความต้องการที่จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย
ตอนที่2
การปกครองของไทยก่อนสมัยประชาธิปไตย
2.1 แบบจารีตประเพณี
ในยุคนี้ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบที่ชัดเจนแต่จะเป็นการปกครองที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำ ซึ่งในสมัยนั้นคือพระมหากษัตริย์ มีการปกครองที่สำคัญ 2 แบบคือ
(1.) การปกครองแบบปิตุราชา หรือ การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นการปกครองในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบปิตุราชาก็คือ ผู้ปกครองซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์นั้นมีความใกล้ชิดกับประชาชนอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ของการปกครองแบบนี้จึงเป็นแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน
(2.) การปกครองแบบเทวราชา หรือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือว่าเป็นการปกครองที่ใช้อำนาจจากสรวงสวรรค์ มีลักษณะที่แข็งกร้าว ใช้อำนาจเด็ดขาดค่อนข้างมากและพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งกษัตริย์กรุงศรีอยุธยารับเอาวัฒนธรรมการปกครองแบบ "เทวราชา" มาจากลัทธิธรรมเนียมของขอม ซึ่งเป็นผลมาจากการผสมผสานแนวคิดความเชื่อของฮินดูและพราหมณ์
2.2 การปกครองของไทยแบบตะวันตก
- เราได้รับอิทธิพลของการหลั่งไหลเข้ามาของชาติตะวันตกตั้งแต่ช่วงกลางของสมัยกรุงศรีอยุธยา ประเทศไทยรับเอาความเชื่อ วัฒนธรรม เทคโนโลยีมามากมาย
- แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้ยอมรับว่าประเทศไทยนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ในระบบจารีตประเพณีต่อไปได้ เราต้องยอมรับการปกครองแบบใหม่คือการปกครองที่มีรัฐสภา ให้อำนาจกับประชาชนมากยิ่งขึ้นและพระมหากษัตริย์ต้องไม่อยู่เหนืออำนาจนั้นที่เราเรียกในสมัยปัจจุบันว่าแบบ "ประชาธิปไตย"
- ซึ่งจากนั้น ร.5 ก็ได้ทรงเตรียมพร้อม สืบเนื่องมาถึง ร.7 เมื่อขึ้นครองราษฎร์ใหม่ๆ ก็พยายามที่จะให้มีรัฐธรรมนูญแต่ไม่ทันกาล กลุ่มข้าราชการที่เรียกว่า"คณะราษฎร" ก็ได้ทำการยึดอำนาจพระมหากษัตริย์ในวันที่ 24 มิย. 2475
ตอนที่ 3
การปกครองแบบประชาธิปไตยในยุคเริ่มแรก (2475-2516)
3.1 ประชาธิปไตยแบบอมาตยาธิปไตย
หลังจากคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยก็มีการปกครองที่ราชการเป็นใหญ่ซึีงปกครองมาถึงสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
3.2 ประชาธิปไตยยุคทหารและนายทุน
- เมื่อจอมพลป. หมดอำนาจลงทำให้ทหารกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนที่ นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัช และ จอมพลถนอม กิตติขจร ในยุคนี้จะเป็นการใช้อำนาจเด็ดขาดทางการทหารและมีระบบอุปถัมภ์ที่เอื้อประโยชน์แก่นายทหารและกลุ่มธุรกิจ
- ในยุคนี้ประเทศไทยมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเป็นอย่ามาก แต่กลับไม่มีการพัฒนาทางการเมือง ทำให้เกิดจุดเดือดขึ้นทางการเมืองในวันที่ 14 ตค 2516
ตอนที่ 4
การปกครองแบบประชาธิปไตยในยุคใหม่ (2516 เป็นต้นมา)
4.1 ประชาธิปไตยของไทยยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ (2516-2535)
ผลกระทบของวันที่ 14 ตค 2516 ได้นำมาซึ่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยอย่างยาวนานจนถึงเดือน พฤษภา 2535 ซึ่งประชาชนได้ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอำนาจทหาร
4.2 ประชาธิปไตยของไทยยุคปฏิรูปการเมือง (2535 เป็นต้นมา)
มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองจนสำเร็จออกมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นจุดสำคัญในอนาคตการเมืองการปกครองไทย รัฐธรรมนูญ 2540นั้นได้กำหนดโครงสร้างต่างๆทางการเมืองในรูปแบบใหม่และมีกลไลมีกระบวนการต่างๆมากมาย
Credit By PuPaKae @ 10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น