25 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ ประเภทข่าวสารข้อมูล

6.1 สภาพของของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล
6.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
6.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและแหล่งความรู้
6.4 การใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ

6.1 สภาพของของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรม กศน ประเภทข่าวสารข้อมูล
กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล มีลักษณะที่เด่นชัดคือ เป็นกิจกรรมสำคัญที่มีการลงทุนสูง มีลักษณะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง (พลวัตร) ก่อให้เกิดพลังอำนาจแห่งการได้เปรีบ เสียเปรียบ ของผู้มีข่าวสารข้อมูล  สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการสะท้อนทัศนะและเจตนารมณ์ของผู้จัด สามารถใช้สื่อต่างๆเพื่อนำข่าวสารข้อมูล สามารถใช้สื่อต่างๆเพื่อนำเสนอข่าวสารข้อมูลได้ และสามารถนำมาใช้ได้หลายช่องทาง และสามารถใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมาก
ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมประเภทข่าวสารข้อมูลมีดังต่อไปนี้
1) เป็นกิจกรรมที่สำคัญ มีลักษณะแห่งการเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งเป็นธรรมชาติของข่าวสารข้อมูล
2) เป็นกิจกรรมที่แฝงด้วยพลังอำนาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบสำหรับผู้ที่มีข่าวสารข้อมูล
3) เป็นกิจกรรมที่ต้องลงทุนสูง มีราคาการผลิตและการใช้จ่ายแพง
4) สามารถสะท้อนทัศนะและเจตนาของผู้ผลิตได้อย่างดี
5) นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายๆประการ
6) สามารถใช้สื่อต่างๆ เพื่อส่งผ่านข้อมูลข่าวสารได้และใช้ได้หลายช่องทาง
7) สามารถใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้

2. หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรม กศน ประเภทข่าวสารข้อมูล
หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล คือ ควรพยายามใช้สื่อประสมซึ่งมีการวางแผนในการผลิตและการใช้อย่างสอดคล้องกัน และตรงกับสภาพปัญหาของชุมชน พยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และจัดระบบให้สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ
1) สื่อที่ใช้ในกิจกรรม กศน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการใช้เพื่อ ให้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ให้ทราบกฎเกณฑ์ วิธีปฏิบัติและจูงใจจให้ประชาชนปฏิบัติในแนวทางที่ต้องการ
2) สื่อประสม มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้สื่อประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะสื่อแต่ละประเภทมีจุดอ่อนในตัวเอง การใช้สื่อผสมผสานกันหรือใช้สื่อหลายประเภท จึวเป็นการเสริมแรงซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สูงสุด
3) แหล่งนำเสนอสื่อ (Channel) ของการศึกษานอกระบบที่สำคัญคือ  สถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุุโทรทัศน์ ห้องสมุด แหล่งความรู้ และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน

6.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
แนวทางการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดนั้น สื่อหลักที่ใช้ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ หนังสือ เอกสาร วรสาร นิตยสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว หนังสือพิมพ์รายวัน และหนังสือพิมพ์ฝาผนัง 
สื่อดังกล่าวได้มาโดยการซื้อ ขอ บริจาค หรือผลิตขึ้นเองตามความต้องการ นอกจากนี้ควรจัดหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์มาไว้ด้วยซึ่งการเลือกสื่อต่างๆ ดังกล่าวคือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมที่จะนำมาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ

2. สภาพปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดมีหลายประการคือ ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการ ขาดแรงจูงใจ ขาดการส่งเสริม สนับสนุนให้มาใช้บริการ ไม่มีเวลา มีภาระหน้าที่อื่นๆ และมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องทำให้ไม่มาใช้บริการ ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนบรรณารักษ์ ปัญหาเรื่องสื่อไม่เพียงพอ ไม่ทันสมัย เก่า ชำรุด ปัญหาการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก อาคารสถานที่ไม่เหมาะสม และปัญหาเรื่องขาดความสนใจ ส่งเสริม สนับสนุน จากผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 
สภาพของการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
มีการใช้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศนูปกรณ์ โดยนำมาจัดบริการอย่างเป็นระบบ จัดสื่อเพื่อบริการกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น มีการจัดมุมเด็ก มุมวิชาชีพ มุมสันทนาการ มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการจัดบริการสื่อทั้งภายในห้องสมุดและสร้างระบบเครือข่ายของการให้บริการนอกห้องสมุด มีกิจกรรมการให้บริการสื่อในรูปแบบต่างๆ มีการนำเอาเครื่องมือที่ทันสมัยมาให้ ในการเก็บข้อมูลของห้องสมุดและขณะเดียวกันก็มีการเก็บรวบรวมสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาไว้ในห้องสมุดด้วย 

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
กรณีตัวอย่างของการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดนี้จะช่วยให้เห็นว่าการใช้สื่อได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรมของห้องสมุดนั้นสามารถปฏิบัติได้โดยให้มีการใช้สื่อต่างๆตามกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนให้ทันเหตุการณ์และดึงดูดความสนใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการของห้องสมุด
จากกรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดห้องสมุดประชาชนของภาคตะวันออกมีลักษณะเด่นของการใช้สื่ออย่างไร
1) มีการเลือกใช้สื่ออย่างหลากหลาย โดยมีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และโสตทัศนูปกรณ์
2) มีการวางแผนกำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการจากสื่อนั้น
3) สามารถมองเห็นแนวโน้มในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมสนองตอบต่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการ
4) มีการเลือกสื่อ ชนิดของสื่อ และกำหนดวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อวีดิทัศน์ในมุมเด็กนั้นท่านคิดว่ามีความเหมาะสมเพียงใด
การใช้วีดิทัศน์ในมุมเด็กนั้นนับได้ว่าเป็นการเลือกใช้สื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพราะวีดิทัศน์สามารถนำมาใช้ในมุมเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งม้วนวีดิทัศน์สำหรับเด็กก็มีการผลิตหรือเลือกหาได้ตามท้องตลาด เช่น นิทาน การ์ตูน ดนตรี เกมส์ และสารคดีสำหรับเด็ก สื่อเช่นนี้จะช่วยให้เด็กได้รับสาระ ความรู้ ความบันเทิง สามารถเลือกเกมให้สอดคล้องกับความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย

6.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและแหล่งความรู้

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านนั้น ควรใช้สื่ออย่างมีแผนล่วงหน้า ใช้สื่อที่มีอยู่ในท้องถิ่นและใช้ให้ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน สื่อในการจัดแหล่งความรู้โดยส่วนใหญ่นั้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ก็ควรพยายามให้มีสื่อโสตทัศนูปกรณ์ด้วย โดยควรมีการจัดสื่อเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่เพื่อใช้งานสะดวก และจัดให้ตรงกับรสนิยมของชาวบ้าน
1) สื่อในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมีอะไรบ้าง เรียงลำดับตามปริมาณ
หนังสือเล่ม วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์รายวัน โปสเตอร์ แผ่นพับ
2) แหล่งความรู้มีจุดประสงค์หลักอย่างไร
เพื่อให้เป็นกลไกในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวบ้าน
3) สื่อประเภทใดของแหล่งความรู้ในหมู่บ้าที่มีแรงจูงใจสูง
วิดิทัศน์ และ หนังสือพิมพ์รายวัน

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และแหล่งความรู้ส่วนใหญ่ขาดผู้ดูแลประจำ และอยู่ในที่ห่างไกล จากการนิเทศและติดตามผลงาน บางครั้งประชาชนสร้างขึ้นเพราะต้องการผลกระทบอย่างอื่นจากทางราชการ สื่อล้าสมัยไม่ต่อเนื่อง ขาดการหมุนเวียนของสื่อ และจำนวนผู้ใช้สื่อน้อยกว่าที่ทางการคาดหวัง
1) สื่อใดบ้างในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านที่ได้รับเฉพาะงบประมาณของรัฐบาล
ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน วารสาร และสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนและหน่วยงานของราชการอื่นๆ
2) ปัญหาที่เกิดจากระบบการจัดส่งของสื่อไปยังที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมีอะไรบ้าง
สิ่งพิมพ์สูญหาย ถึงไม่ตรงเวลา และขาดการติดตามผล
3) สื่อส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในแหล่งความรู้เป็นสื่อประเภทใด
สื่อสิ่งพิมพ์
4) เพราะเหตุใดการใช้สื่อประเภทโทรทัศน์และวีดิทัศน์ในแหล่งความรู้จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
แพงเกินไป แหล่งความรู้ไม่สามารถจัดหาเองได้ และขาดการผลิตเพื่อป้อนเนื้อหาที่ทันสมัย และตรงต่อความต้องการของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและแหล่งความรู้นั้นมีลักษณะเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น ขาดระบบในการจัดเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ และสภาพปัญหาของชุมชน ขาดผู้มีความรู้ในการจัด เมื่อถึงจุดหนึ่งไม่มีผู้มาใช้สื่อ สื่อสูญหาย หรือไม่ทำทะเบียนการเก็บและหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ
1) สื่อที่ใช้มากในแหล่งความรู้และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านคือสื่อประเภทใด เพราะเหตุใด
สื่อสิ่งพิมพ์ เพราะราคาถูก ใช้ได้ง่าย ใช้ได้นาน ใช้ได้หลายครั้ง และส่วนใหญ่ได้จากการบริจาค
2) เพราะเหตุใดการใช้สื่อ วีดิทัศน์ในแหล่งความรู้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
เพราะราคาแพง และขาดระบบการผลิตม้วนเทปป้อนที่ต่อเนื่อง
3) อะไรเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้แหล่งความรู้และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมีผู้ไปใช้บริการสื่อน้อย
สื่อเก่า ล้าสมัย และ ขาดสื่อที่ตอบสนองต่อสภาพและความต้องการของชาวบ้าน
4) การจัดสื่อสิ่งพิมพ์เป็นมุมต่างๆมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
มีข้อดี เพราะง่ายไม่เป็นทางการ เหมาะต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านและดูเป็นกันเอง

6.4 การใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ
การให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆนั้น ได้แก่ การจัดนิทรรศการ หน่วยเคลื่อนที่ พิพิธภัณฑ์ การจัดแสดง การจัดฝึกอบรม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หอกระจายข่าว
การเลือกใช้สื่อต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการให้ความรู้ข่าวสาร  กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ งบประมาณ ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการให้บริการและขีดจำกัดในเรื่องต่างๆ และไม่ว่าจะใช้สื่อชนิดใดควรมุ่งให้ตอบสนองความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายโดยเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนระบุความต้องการในการผลิต ดำเนินการอภิปราย ให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดำเนินการใช้สื่อได้มีโอกาสปรับปรุงให้การใช้สื่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อธิบายการเลือกใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารแก่ประชาชน ประเภท
1) หน่วยเคลื่อนที่ การใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสาร โดยหน่วยเคลื่อนที่นั้นใช้ในกรณีที่ต้องการบริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดาร หรือผู้ไม่สะดวกในการเดินทางมายังสถานบริการ หน่วยเคลื่อนที่นี้อาจดำเนินการโดยใช้รถยนตร์ รถบรรทุกเล็ก เรือยนตร์ บางประเทศใช้สัตว์ในการบรรทุกหรือลากจูง เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ของอินเดีย ประเทศไทยเรามีหีบหนังสือ ถุงหนังสือเคลื่อนที่หมุนเวียนไปตามหมู่บ้านของกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดหาสื่อควรศึกษาความต้องการของประชาชน ถ้าสามารถเจาะลึกลงไปถึงสภาพปัญหาของหมู่บ้าน แล้วจัดสื่อให้สอดคล้องเหมาะสมยิ่งเป็นการดี
2) การฝึกอบรม การใช้สื่อเพื่อการอบรมนั้นใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย การเลือกใช้สื่อต้องช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สื่ออบรมควรคำนึงถึงขีดจำกัดบางประการ สำหรับการฝึกอบรมชาวบ้านแล้ว การเลือกใช้สื่ออาจเป็นของจริงในหมู่บ้าน เป็นสื่อที่ชาวบ้านคุ้นเคยเช่น การฝึกอบรมการทำอาหารควรใช้สื่อที่เป็นวัตถุดิบในหมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านนำไปใช้ภายหลังการอบรมได้ การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อนั้นมีความเป็นไปได้ และช่วยให้ชาวบ้านสนใจและกระตือรือร้นที่จะรับความรู้ข่าวสารจากสื่อนั้นๆ

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ
สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ นั้น มีดังต่อไปนี้คือ คุณภาพของสื่อไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน เนื้อหาล้าสมัย เคลือบแฝงการโฆษณาชวนเชื่อ การใช้สื่อขาดความต่อเนื่อง ไม่สมบูรณ์ การนำเสนอสื่อแต่ละประเภทก็โดดเดี่ยว ไม่สัมพันธ์กัน หรือ เกิดความซับซ้อน ไม่ตรงตามความต้องการหรือความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
1.) จงระบุสภาพของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ 
สภาพของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆนั้นได้แก่ คุณภาพของสื่อไม่ตรงตามความต้องการ และความสนใจของประชาชน สื่อมีความล้าสมัย มีการโฆษณาชวนเชื่อ มากกว่าจะให้ประชาชนได้คิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง ใช้สื่อโดยขาดความต่อเนื่อง การนำเสนอสื่อเป็นไปอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีการวางแผนให้เกิดความสัมพันธ์กัน และทำให้เกิดความซับซ้อน สิ้นเปลือง
2.) ปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ มีอะไรบ้าง
ปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ มีดังต่อไปนี้ คือ ผู้ผลิตสื่อขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายขาดแรงจูงใจที่จะมาใช้สื่อ ขาดความเป็นไปได้ในการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารเพราะข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และอื่นๆ ปัญหาเรื่องข้อจำกัดอันเกิดจากประเภทของการผลิตสื่อและการนำเสนอ และปัญหาเรื่องการขาดกิจกรรมต่อเนื่อง
3.) จงเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ
แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ การเพิ่มขีดความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ของผู้ผลิตสื่อโดยการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การทำโครงการทดลองเกี่ยวกับการผลิต และการใช้สื่อ การให้การสนับสนุนด้านนโยบาย และงบประมาณในการผลิตสื่อ การวางแผนผลิตสื่อต่างๆให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ควรมีการทดสอบสื่อก่อนนำไปใช้จริงและติดตามผลการใช้สื่อ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารแบบอื่นๆ
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้และข่าวสารแสดงให้เห็นถึงการใช้สื่อสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ตามจุดประสงค์ของโครงการ ช่วยให้เห็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อบริการความรู้ข่าวสารแก่ประชาชน
1) จงอธิบายถึงความเหมาะสมของการใช้วิดิทัศน์เพื่อปลุกจิตสำนึก
การใช้วิดิทัศน์เพื่อปลุกจิตสำนึก นับว่าเป็นการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม เพราะวิดิทัศน์สามารถบันทึกภาพได้ครบถ้วนตรงกับความเป็นจริง โดยไม่ต้องมีการเสริมเติมแต่ง วิดิทัศน์ช่วยสะท้อนภาพความเป็นอยู่ ผู้เข้าอบรมสามารถมองเห็นภาพได้ตรงกัน พร้อมกัน การใช้วิดิทัศน์ในกรณีตัวอย่างจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่ช่วยให้ภาพที่ชัดเจน ชาวบ้านสามารถร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาอันอาจเกิดจากสภาพความเป็นอยู่นั้น และเมื่อนำวิดิทัศน์การพัฒนาของหมู่บ้านอื่นมาฉายเปรียบเทียบ ยิ่งกระตุ้นให้ชาวบ้านมองเห็นความแตกต่างได้ด้วยตนเอง จึงนับเป็นสื่อที่ปลุกจิตสำนึกได้เป็นอย่างดี
2) จากกรณีตัวอย่างห้องสมุดอูฐเคลื่อนที่ของอินเดียนั้นท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
ถือได้ว่าเป็นการให้บริการความรู้ข่าวสารที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น เพราะเหตุว่าอูฐเป็นสัตว์ที่ผู้คนแถบนั้นคุ้นเคย เป็นสัตว์พาหนะของอินเดีย มีความอดทน หากนำมาใช้ในการศึกษาก็เสียค่าใช้จ่ายน้อย รูปแบบการให้บริการก็เรียบง่ายเหมาะกับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การให้บริการในรูปแบบของอูฐเคลื่อนที่นี้ต้องเป็นระบบ เช่นนานสักกี่วันอูฐตัวนั้นจึงจะเวียนนำหนังสือมาให้ชาวบ้านอ่าน และแต่ละครั้งชาวบ้านขอยืมได้จำนวนละกี่เล่ม นอกจากนี้คุณภาพของหนังสือบนหลังอูฐก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

แบบประเมิณ
1. เพราะเหตุใดสื่อประเภทบันเทิงในห้องสมุดประชาชนจึงมีน้อยกว่าสื่อประเภทวิชาการ ติดขัดด้วยข้อกำหนดทางงบประมาณ
2. กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูลก่อให้เกิดผลข้อใดมากที่สุดต่อผู้ใช้บริการ ความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงแข่งขัน
3. ข้อใดเป็นผลพลอยได้จากการทำหนังสือพิมพ์ฝาผนังของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ช่วยป้องกันการลืมหนังสือของประชาชน
4. การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดนั้น ควรคำนึงถึงหลักข้อใดมากที่สุด เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
5. การจัดสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่มาใช้บริการนั้นห้องสมุดควรทำอย่างไร จัดมุมต่างๆในห้องสมุด
6.  "แหล่งความรู้" แตกต่างจากที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านอย่างไร เป็นสัดส่วนถาวรและมีสื่อหลายประเภท
7. ข้อใดเป็นปัญหาและอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สื่อมีน้อยและล้าสมัย
8. ข้อใดเป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของการให้บริการความรู้ข่าวสารโดยหน่วยเคลื่อนที่ ขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร
9. การนำการแสดงพื้นบ้านมาใช้เพื่อถ่ายทอดสาระความรู้แก่ประชาชนควรทำอย่างไร ถ่ายทอดสาระความรู้แก่ศิลปิน
10. หอกระจายข่าวสารข้อมูลของหมู่บ้านสามารถใช้ได้เหมาะสมมากที่สุดในข้อใด ประกาศแจ้งข่าวสารที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

1. ข้อกำหนดงบประมาณว่าด้วยการจัดสื่อให้แก่ห้องสมุดประชาชนมีผลต่อปริมาณของสื่ออย่างไร สื่อด้านบันเทิง
2. เพราะเหตุใดกรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือพิมพ์ฝาผนัง เพื่อป้องกันการลืมหนังสือ
3. กิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนประเภทข่าวสารข้อมูลมุ่งแก้ปัญหาข้อใดมากที่สุดให้แก่ประชาชน การใช้ข่าวสารข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
4. การเลือกใช้สื่อเพื่อจัดบริการในห้องสมุด ควรคำนึงถึงสื่อใดมากที่สุด เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ
5. การจัดมุมต่างๆในห้องสมุดให้ประโยชน์ในเรื่องใดมากที่สุด ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
6. ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านแตกต่างจาก "แหล่งความรู้" อย่างไร ประเภทและปริมาณของสื่อ
7. "สื่อมีน้อยและค่อนข้างล้าสมัย" เป็นปัญหาและอุปสรรคของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูลแบบใด ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
8. การใช้หน่วยเคลื่อนที่เพื่อบริการความรู้ข่าวสารแก่ประชาชนนั้น ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคืออะไร การขาดแคลนงบประมาณและบุคคลากร
9. การนำศิลปินพื้นบ้าน มาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาควรปฏิบัติอย่างไร ถ่ายทอดเนื้อหาสาระความรู้แก่ศิลปิน
10. การแจ้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวในหมู่บ้านให้ได้อย่างรวดเร็วควรใช้สื่อประเภทใดมากที่สุด หอกระจายข่าว

<<< กลับไป หน่วยที่ 5   อ่านต่อหน่วยที่ 7 >>>

24 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 5

หน่วยที่ 5 การใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ

5.1 ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ
5.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ
5.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกีีมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว

5.1 ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ
การศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพเป็นกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทหนึ่งทีีมุ่งให้ความรู้ทางด้านทักษะการประกอบอาชีพสาขาต่างๆ แก่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้อยู่นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพื้นฐานความรู้ทางวิชาชีพที่จะไปปรับปรุงอาชีพเดิมหรือสร้างอาชีพใหม่เพื่อเพิ่มพูนรายได้และปรับสภาพความเป็นอยู่ กิจกรรมประเภทนี้จัดในหลายลักษณะ ลักษณะที่สำคัญคือการจัดอบรมในลักษณะของกลุ่มสนใจ และการอบรมระยะสั้นและระยะยาว
ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทอาชีพมีดังนี้คือ
1) ด้านวัตถุประสงค์ จัดบริการฝึกอบรมทางด้านอาชีพ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านทักษะอาชีพต่างๆตามความสนใจ ความถนัด เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงอาชีพเดิมของตนหรือสร้างอาชีพใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของตนและครอบครัวต่อไป
2) ด้านหลักสูตร หลักสูตรที่เปิดสอนมีความหลากหลายมากเพื่อให้ผู้สนใจได้เรียนตรงกับควสใชอบ ความต้องการ เพื่อยึดเป็นอาชีพต่อไป หลักสูตรจะมีความยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ของท้องถิ่น เบ็ดเสร็จในตัวเอง ผู้เรียนสามารถเรียนจบได้ในระยะเวลาสั้นๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที
3) ด้านประเภทของการฝึกอบรม อาจจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
- การฝึกอบรมอาชีพในลักษณะของกลุ่มสนใจ
- การฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นและระยะยาว

2. หลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรม กศน ประเภททักษะอาชีพ
หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพนั้นนับเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดกิจกรรมจะใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อ ซึ่งในหลักการดังกล่าวมีปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้สื่ออยู่หลายประเภทได้แก่ รายละเอียดเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อจำกัดของสื่อแต่ละชนิด  สภาพพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย  ประเภทของกิจกรรม  ระยะทางระหว่างผู้จัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย  งบประมาณ  บุคคลากรของหน่วยงานผู้จัด  และสภาพทั่วๆไปของชุมชนของกลุ่มเป้าหมาย
หลักที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพได้แก่
1) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสื่อแต่ละชนิด
2) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรม
3) ศึกษาเนื้อหาของกิจกรรม
4) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย
5) สำรวจจำนวนของกลุ่มเป้าหมาย

5.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ
1. หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ
การใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจนั้น ควรคำนึงถึงหลักทั่วไปในการใช้สื่อและหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับวิธีการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจนั้นจะมีระบบของการเริ่มตั้งแต่ การกำหนดวัตถุประสงค์ ไปจะถึงวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ
กลุ่มสนใจ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจที่จะศึกษาและจัดกิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องความรู้ทั่วไปและความรู้ด้านวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น และมีชีวิติยู่อย่างมีความหมาย
หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ ควร ยึดหลักทั่วไปในการใช้สื่อประกอบ กับ หลักจิตวิยาการเรียนรู้
หลักทั่วไปในการเลือกใช้สื่อ - ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับกิจกรรม ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ควรเป็นสื่อที่ช่วยเสริมความคิด คำนึงถึงระยะเวลา สถานที่ และบรรยากาศ เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากๆ ควรเป็นสื่อที่เป็นเครื่องมือสำเร็จรูป
หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้เรียน - ผู้ใหญ่จะเรียนเมื่อเขาต้องการที่จะเรียน  ผู้ใหญ่จะเรียนเฉพาะสิ่งที่เขามีความรู้สึกว่ามีความจำเป็นจะต้องเรียน  ผู้ใหญ่เรียนรู้โดยการกระทำ ประสปการณ์มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเรียนได้ดีเมื่อบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นกันเอง การสอนผู้ใหญ่ควรใช้วิธีการหลายๆวิธี ผู้ใหญ่ต้องการการแนะแนวไม่ใช่คะแนน

2. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจนั้นครอบคลุมตั้งแต่ปัญหาในการผลิตสื่อ ข้อจำกัดของสื่อ ปัญหาการขนย้ายสื่อไปจนถึงทักษะในการใช้สื่อของผู้จัดกิจกรรม
1) ปัญหาในการผลิตสื่อ ส่วนใหญ่แล้วผู้สอนไม่ได้ผลิตสื่อเอง ดังนั้นจึงใช้วิธีการแสวงหาสื่อที่คิดว่าใกล้เคียงกับเนื้อหามากที่สุดมาจากหลายๆแหล่ง จึงอาจจะทำให้สื่อการสอนไม่มีคุณภาพเต็มที่
2) ข้อจำกัดของสื่อแต่ละประเภท เป็นการยากที่สื่อประเภทใดประเภทหนึ่งจะมีคุณสมบัติครบถ้วน ในทางปฏิบัติจริงจำเป็นต้องใช้สื่อหลายๆชนิดประกอบกัน
3) ปัญหาเกี่ยวกับการขนย้ายสื่อ การเคลื่อนย้ายสื่อบางชนิดไปปฏิบัติงานตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลไม่อาจกระทำได้ง่ายๆ ผู้สอนจึงแก้ปัญหาโดยใช้สื่อที่มีอยู่ใกล้มือเท่าที่พอจะหาได้ ทำให้ไม่เกิดผลเต็มที่ตามที่ต้องการ

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจ
การใช้สื่อในการจัดกลุ่มสนใจไม่ส่าจะจัดโดยหน่วยงานใดส่วนใหญ่จะมีการใช้สื่อในลักษณะของสื่อประสมหลายๆชนิดด้วยกันซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาของกิจกรรม กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นการประมวลเอาแนวทางการจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจของหน่วยงานต่างๆมาสร้างเป็นกรณีตัวอย่างขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าลักษณะการจัดกลุ่มสนใจโดยทั่วๆไปเป็นอย่างไร
ตัวอย่างสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจ
- สื่อสิ่งพิมพ์
- แผ่นใส
- วีดิทัศน์
- สื่อบุคคล
- วัสดุปุปกรณ์ของจริง

5.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกีีมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว

1. หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว
การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมทักษะอาชีพ อาจยึดหลักการของการใช้สื่อทั่วๆไป ประกอบกับหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อการฝึกวิชาชีพโดยเฉพาะ หลักการสำคัญนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การคำนึงถึงความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียนไปจนถึงการประเมินผลการใช้สื่อ
การใช้สื่อเพื่อการฝึกทักษะวิชาชีพมีหลักการสำคัญที่ควรจะพิจารณาในเรื่องใดบ้าง
การใช้สื่อเพื่อการฝึกทักษะอาชีพ ควรพิจารณาในประเด็นต่างๆเช่น กลุ่มผู้เรียน เวลา ผู้สอน วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สถานที่ ข้อดี ข้อจำกัดของสื่อ การเตรียมสื่อ กิจกรรมประกอบการใช้สื่อ และการประเมินผล

2. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว
ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาวนั้นมีอยู่มากมาย แต่ปัญหาหลักๆนั้นครอบคลุมตั้งแต่การใช้สื่อได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสภาพอาคารสถานที่ ไปจนถึงการใช้สื่อผิดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปัญหาอุปสรรคที่พบในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพระยะสั้นระยะยาวได้แก่
1) สื่อใช้ได้ไม่เต็มที่เนื่องจากสภาพอาคารสถานที่
2) สื่อขาดความเหมาะสมในตัวเอง
3) การนำสื่อไปใช้ไม่ถูกหลักเกณฑ์
4) การใช้สื่อผิดเวลาและโอกาส
5) การใช้สื่อไม่เหมาะกับเทคนิคการสอนหรือการอบรม
6) การใช้สื่อผิดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว
กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นกิจกรรมการฝึกทักษะอาชีพระยะสั้นของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนแห่งหนึ่ง จากการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมมีการใช้สื่อในขั้นตอนใดบ้างและแต่ละขั้นตอน ใช้สื่ออะไร เป็นสื่อชนิดเดียวหรือสื่อประสม

แบบประเมิน
1. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ วิชาที่เปิดสอนจะยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ท้องถิ่น
2. หลักการสำคัญประการหนึ่งในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะวิชาชีพคือ "ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสื่อแต่ละชนิด" หลักการข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ผู้ใช้จะต้องศึกษาว่าสื่อชนิดนั้นๆใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
3. หลักทั่วไปในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจคือ "ควรเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากๆ" ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร เป็นสื่อที่ผู้เรียนได้ร่วมใช้ระหว่างที่เข้าร่วมกิจกรรม
4. ในการเลือกใช้สื่อเพื่อกิจกรรมกลุ่มสนใจนั้นนอกจากจะคำนึงถึงหลักทั่วๆไปแล้ว ผุ้จัดยังต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาชองกลุ่มเป้าหมายด้วย หลักจิตวิทยาข้อหนึ่งกล่าวว่า "ประสบการณ์มีผลต่อการเรียนของผู้ใหญ่คือข้อใด" นาย ก เข้ารับการฝึกขับรถยนต์ นาย ก เคยขับรถไถได้อยู่แล้วจึงทำให้ขับรถยนต์เป็นไวขึ้น
5. เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจ ปัญหาข้อหนึ่งคือ "ปัญหาข้อจำกัดของสื่อแต่ละประเภท" ปัญหาข้อนี้หมายความว่าอย่างไร สื่อชนิดต่างๆ จะมีจุดเด่นจุดอ่อนต่างกัน ผู้ใช้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
6. สมมุติว่าท่านเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ไปจัดกลุ่มสนใจเรื่องการติดตา ต่อกิ่ง แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในขั้นตอนของการดำเนินการบรรยายก่อนฝึกปฏิบัติจริงนั้น สื่อที่ท่านจะใช้ควรมีลักษณะเช่นไร ควรเป็นสื่อที่แสดงรายละเอียดทุกขั้นตอนของเนื้อหา
7. หลักสำคัญในการใช้สื่อเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพข้อหนึ่งที่กล่าวว่า "ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียน" หมายความว่าอย่างไร ผู้ใช้สื่อจะต้องพิจารณาดูว่ากลุ่มผู้เรียนมีขนาดเท่าไร
8. หลักสำคัญในการใช้สื่อเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพทั้งระยะสั้นและระยะยาวข้อหนึ่งกล่าวว่า "ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้สอน" หมายความว่าอย่างไร ผู้สอนมีทักษะในการใช้สื่อนั้นเพียงไร
9. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาวข้อหนึ่งคือ "สื่อใช้ได้ไม่เต็มที่ หรือใช้สื่อได้ไม่เต็มที่" นั้นหมายความว่าอย่างไร สถานที่ที่นำสื่อไปใช้ไม่มีความพร้อมพอเพียงที่จะใช้สื่อนั้นๆเช่น ไม่มีจอภาพ
10. ในการจัดอบรมวิชาชีพระยะสั้นเรื่องการทอผ้าในหมู่บ้าหนึ่ง ท่านคิดว่าในขั้นประชาสัมพันธ์ควรจะใช้สื่ออะไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด แจกใบปลิว

1. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนนำไปปฏิบัติจริงได้ทันทีไม่เน้นภาคทฤษฎีมาก
2. หลักการข้อหนึ่งในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดการศึกษานอกระบบคือ "การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย" หลักการข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ผู้จัดจะต้องศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมายมีพื้นฐานความรู้อย่างไร
3. หลักทั่วไปในการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจคือ "ควรเป็นสื่อที่ช่วยเสริมความคิด" ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร เป็นสื่อที่ให้ข้อมูลในหลายๆทาง หลายๆแนว
4. ในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจนั้น นอกจากจะคำนึงถึงหลักทั่วๆไปแล้ว ผู้จัดยังต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายด้วย ที่ว่า "ผู้ใหญ่จะเรียนเฉพาะสิ่งที่เขามีความรู้สึกว่าจำเป็นจะต้องเรียน" นาย ค มีอาชีพทอผ้า ต่อมามีหน่วยงานมาจัดอบรมเรื่องการทอผ้าในหมู่บ้าน นาย ค อยากรู้วิธีทอผ้าแบบใหม่ๆจึงเข้ารับการอบรม
5. เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจ ปัญหาข้อหนึ่งคือ "ปัญหาการผลิต" ผู้สอนไม่ได้ผลิตสื่อเอง บางครั้งสื่อที่ใช้จึงไม่เหมาะสมกับเนื้อหา
6. สมมติว่าท่านเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานแห่งหนึ่งและจัดกลุ่มสนใจเรื่องการทำปุ๋ยคอกให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในขั้นนำเข้าสู่การอบรมจริงนั้นสื่อที่ท่านจะใช้ควรมีลักษณะอย่างไร ควรเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ
7. หลักสำคัญในการเลือกใช้สื่อเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพข้อหนึ่งกล่าวว่า "จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับเวลา" หมายความว่า ผู้จัดต้องพิจารณาว่าระยะเวลาของกิจกรรมที่จะใช้สื่อประกอบนั้นมีแค่ไหน
8. หลักสำคัญในการเลือกใช้สื่อเพื่อการฝึกทักษะวิชาชีพไม่ว่าระยะสั้นหรือระยะยาวข้อหนึ่งกล่าวว่า "ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับสถานที่" หมายความว่าอย่างไร สถานที่มีอุปกรณ์พร้อมที่จะใช้สื่อแต่ละชนิดได้หรือไม่
9. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาวข้อหนึ่งคือ "การนำสื่อไปใช้ไม่ถูกหลักเกณฑ์" หมายความว่าอย่างไร  ผู้จัดใช้สื่อมากเกินไป  ผู้จัดใช้สื่อน้อยเกินไป  ผู้จัดเลือกใช้สื่อที่ไม่สามารถสรุปประเด็นสำคัญแก่กลุ่มเป้าหมายได้
10. ในการจัดอบรมวิชาชีพระยะยาวเรื่องการตัดเย็บเสื้อผ้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ท่านคิดว่าในขั้นการติดตามประเมินผล ควรใช้สื่ออะไรนอกจากสื่อบุคคล ใช้เอกสารสิ่งพิมพ์

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 4  อ่านต่อหน่วยที่ 6 >>>

22 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่4

หน่วยที่ 4 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมนอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน

4.1 สภาพของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
4.2 การใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
4.3 การใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง

4.1 สภาพของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน 
กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการศึกษาพื้นฐานและต่อเนื่องที่จัดให้กับผู้ที่พลาดและไม่มีโอกาสศึกษาในระบบโรงเรียน ตั้งแต่ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
การศึกษาทุกระดับเมื่อผู้เรียนศึกษาได้ครบตามรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว ก็สามารถมาเทียบเท่ามีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกับการศึกษาในระบบทุกประการ
1) ลักษณะของการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
การศึกษาประเภทความรู้พื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บุคคลโดยทั่วไปอ่านออกเขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ตลอดจนมีความรู้ ความสามารถในการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การได้รับความรู้พื้นฐานของแต่ละบุคคลมีต่างระดับการศึกษาด้วยเช่น ระดับอ่านออกเขียนได้ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ ตอนปลาย รวมทั้งกาศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษาที่สูงขึ้นไปอีกด้วย
2) ตัวอย่างกิจกรรมประเภทอ่านออกเขียนได้
ได้แก่ โครงการการสอนอ่านเขียน โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน และส่วนที่จัดให้กลุ่มเป้าหมายต่างวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป
3) กิจกรรมประเภทการศึกษาสามัญและต่อเนื่อง 
ได้แก่ การเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และการศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษา ที่ใช้สื่อทางไกลมาช่วยจัดการเรียนการสอน

2. หลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานในแต่ละลักษณะของกิจกรรมต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรมการเรียนรู้ และความมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมลักษณะนั้น
1) หลักการการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานที่สำคัญๆ
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
3. ความมุงหมายของการจัดโครงการประเภทนั้นๆ
2) การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้มีขั้นตอนที่จำเป็นอะไรบ้าง
1. การวางแผนการใช้สื่อ
2. การกระจายสื่อ
3. การเลือกชนิดของสื่อ
4. การกำกับและติดตามผลการใช้เพื่อนำมาปรับปรุงการใช้ในครั้งต่อๆไป
3) ปัจจัยที่สำคัญๆ ในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่องมีอะไรบ้าง
ต้องคำนึงถึง กลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน เนื้อหาวิชา การเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการใช้ตลอดจนความคุ้มค่าในการลงทุนที่จะเลือกใช้สื่อประเภทต่างๆด้วย

4.2 การใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ สามารถนำสื่อมาใช้ได้ทั้งในลักษณะการเรียนการสอนและการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ โน้มน้าวให้ผู้เรียนอยากเรียน และช่วยส่งเสริมการฝึกทักษะการอ่านเขียนให้ต่อเนื่องกันไปเพื่อป้องกันการลืมหนังสืออีกด้วย การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนเพื่อทักษะ การอ่านเขียนและคิดเลข จะใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน อย่างไรก็ตามสื่อที่ใช้จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
จงอธิบายแนวทางการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ตามสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
แนวทางการเลือกใช้สื่อในการจัดกิจกรรมอ่านออกเขียนได้ต้องคำนึงถึง
1) ความต้องการและความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
2) วิธีการและข้อจำกัดของการใช้สื่อแต่ละประเภท
3) ความสำคัญและประโยชน์ของสื่อที่เลือกใช้
ในทุกกลุ่มเป้าหมายการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ส่วนใหญ่ในการเรียนการสอนจะใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน แบบฝึกหัด และแผ่นเรียน เพื่อช่วยในการอภิปราย โดยยกปัญหามาจากสภาพจริงในสังคมของผู้เรียน การใช้คู่มือเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับ ภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียนเป็นสำคัญ สิ่งที่ใช้กันอยู่เป็นแผ่นเรียนโดยใช้ภาษา และเนื้อหาที่ได้มาจากสภาพของชุมชนที่เขาดำรงชีวิตอยู่
นอกจากนี้ ต้องใช้สื่อโสตทัศน์ เช่น ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ และไสลด์ ในการโน้มน้าว กระตุ้น และจูงใจให้ผู้เรียนตื่นตัวอยากรู้ อยากเรียนอยู่เสมอ รายการวิทยุและโทรทัศน์ สื่อพื้นบ้าน จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ ให้มีการสมัครเรียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งช่วยในการแสวงหาบุคคลที่เป็นอาสาสมัครมาช่วยสอนเป็นอย่างดี
 สำหรับการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมต่อเนื่องต้องพิจารณาถึงรูปแบบ และเนื้อหา ที่ใช้ส่วนมากจะเป็นหนังสืออ่านประกอบที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ และความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
สภาพการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ใช้กันมาตั้งแต่เดิมและยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การเรียนการสอนแบบตัวต่อตัว มีผู้เรียนและอาสาสมัครสอนที่สามารถเรียนกันได้สะดวกทุกเวลา และสื่อสารเข้าใจกันได้ง่ายและรวดเร็ว สื่อที่ใช้มีทั้งส่วนที่เป็นแบบเรียนและสื่อที่สามารถหยิบหาได้ในครอบครัว ส่วนปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อมักอยู่ที่ความสนใจและทักษะการอ่านเขียนของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่
จงบอกถึงสภาพและปัญหาอุปสรรคการใช้สื่อการอ่านออกเขียนได้ว่ามีอะไรบ้าง
1) เนื้อหาในแบบเรียนไม่เป็นที่สนใจและต้องการของผู้เรียน
2) ผู้สอนหรืออาสาสมัครขาดเทคนิคในการเรียนการสอน
3) การใช้สื่อจะใช้แต่เพียงสื่อที่เป็นการอ่านเพียงด้านเดียว
4) ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเร็วเกินไป
5) ผู้เรียนที่มีอายุมากมักประสบปัญหาด้านสายตา การอ่านเขียน
6) ไม่มีเอกสารประกอบการอ่านเขียน ที่เพียงพอในท้องถิ่นที่ห่างไกล

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ เป็นข้อมูลแสดงถึงความมุ่งหมายของการเรียนการสอน วิธีการเรียนรู้ การใช้สื่อช่วยการเรียน และลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย การศึกษากรณีตัวอย่างจะช่วยให้ได้ทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงเพื่อให้มองเห็นช่องทางการเลือกใช้สื่อเพื่อช่วยให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้อ่านออกเขียนได้มากยิ่งขึ้น

4.3 การใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง
การเลือกใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง สามารถนำสื่อทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และชุดฝึกอบรม มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเลือกใช้สื่อต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนและหลักการจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิธีการเรียนการสอนซึ่งมีทั้ง การเรียนแบบชั้นเรียน การเรียนแบบทางไกล และการเรียนด้วยตนเองโดยใช้สื่อ
จงอธิบายการเลือกใช้สื่เพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่องตามวิธีการเรียน
1) วิธีเรียนแบบชั้นเรียน การใช้สื่อจะคล้ายกับการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน สื่อที่ใช้เช่น แบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน คู่มือแบบฝึกรายวิชา สื่อที่ใช้ช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นได้แก่ สไลดฺ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ เทปเสียง และ คอมพิวเตอร์เป็นต้น การเรียนการสอนจะใช้สื่อชนิดใดขึ้นอยู่กับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) วิธีเรียนแบบทางไกล จะใช้สื่อประสม เช่น คู่มือเรียน หรือชุดการเรียน รายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การเรียนการสอนแบบทางไกลจะมีผลดีต่อเมื่อมีการพบกลุ่มผู้เรียน  โดยมีครูประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษาแนะนำ นอกจากนี้ผู้เรียนจะต้องมีสื่อเอกสารสอนเสริมการออกอากาศเพื่อศึกษาประกอบการเรียนการสอนแบบทางไกลด้วย
3) วิธีเรียนด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่ใช้สื่อเอกสาร ได้แก่คู่มือการเรียนการสอน แบบเรียน คู่มือแบบฝึกหัด โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองทั้งหมด สื่อที่ใช้ทั้งหมดเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่สอดคล้องกับวิชาที่ลงทะเบียนเรียน

2. สภาพแลปัญหาอุปสรรคการใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง
สภาพการใช้สื่อการศึกษาสายสามัญทั้ง 3 วิธีการเรียน ส่วนใหญ่จะใช้สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ ที่เป็นแบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน แบบฝึกหัด เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียนการสอน เทปวิทยุ วีดิทัศน์ และ แผ่นโปร่งใส
สำหรับการศึกษาทางไกลจะใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และสื่อประสมหลายๆอย่าง
ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อที่พบเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่ คุณภาพของตัวสื่อ ความไม่พร้อมของผู้เรียน การใช้สื่อไม่ตรงคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการและความสนใจ และเทคนิคการใช้สื่อประเภทต่างๆไม่ถูกวิธี
สภาพปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกลในการจัดการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง สามารถพิจารณาจากสื่อที่ใช้ได้ดังนี้
1) คู่มือเรียน ตารางออกอากาศ ไม่ถึงมือผู้เรียนเมื่อมีการเรียนการสอน
2) ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีเงินซื้อหาหนังสือ และคู่มือเรียนเนื่องจากยากจน
3) การฟังรายการทั้งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รับฟังและชมได้ไม่ชัดเจน ไม่มีเวลาฟัง ไม่มีเครื่องรับที่ดี เวลาการจัดรายการไม่เหมาะสม และเนื้อหายังไม่น่าสนใจ
4) การพบกลุ่ม ปฏิบัติได้ไม่สะดวก ระยะทางไกล และไม่มีเวลาว่าง นอกจากนั้นการพบกลุ่มมุ่งเน้นแต่การสรุปและติวข้อทดสอบเป็นส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลแสดงให้เห็นถึงลักษณะและความมุ่งหมายของกิจกรรม วิธีการใช้สื่อประเภทต่างๆที่สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการของกิจกรรมนั้น
ข้อมูลในกรณีตัวอย่างของแต่ละกิจกรรมหรือการใช้สื่อในลักษณะต่างๆช่วยให้เห็นแนวทางและการพัฒนารูปแบบและการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆในโอกาสต่อไป

แบบประเมิน
1. กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานหมายถึง การศึกษาตั้งแต่อ่านออกเขียนได้จนถึงอุดมศึกษา
2. ข้อใด "ไม่เกี่ยวข้อง" กับกิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ การศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ การศึกษาขั้นมูลฐาน การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ)
3. ปัจจัยในข้อใดที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมประเภทความรู้พื้นฐาน วัตถุประสงค์
4. บุคคลในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อด้วยตนเองมากที่สุด ครูและวิทยากร
5. สื่อในข้อใดที่ใช้ในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอ่านออกเขียนได้น้อยที่สุด แผ่นพับ (ข้อที่โน้มน้าวมากคือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โปสเตอร์)
6. ทักษะในข้อใดเป็นการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการรู้หนังสือมากที่สุด การอ่านเขียน
7. สื่อพื้นบ้านที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้พื้นฐานในลักษณะใด โน้มน้าวและประชาสัมพันธ์
8. สื่อในข้อใดที่ทันสมัยที่สุดในการนำมาใช้เพื่อจัดกิจกรรมสายสามัญและสายต่อเนื่อง วีดิทัศน์
9. อุปสรรคที่สำคัญข้อใดที่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการจัดกิจกรรมอ่านออกเขียนได้ การกระจายสื่อให้ถึงผู้เรียน
10. สื่อที่จัดว่า "ง่ายที่สุดในการใช้ส่งเสริมการอ่านเขียนได้แก่" ป้ายประกาศ

1. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
2. การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จมีลักษณะตรงกับข้อใด การศึกษาเพื่อการอ่านออกเขียนได้
3. ข้อใด "ไม่ใช่" ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้สื่อในการจัดกิจกรรมประเภทความรู้พื้นฐาน สภาพแวดล้อมและชุมชน
4. ผู้ตัดสินใจในการเลือกใช้สื่อที่สำคัญที่สุดได้แก่ข้อใด ผู้สอนหรือผู้ให้บริการ
5. สื่อในข้อใดที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด วิทยุโทรทัศน์
6. สื่อประเภทใดที่ใช้ในกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องจากการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด แผ่นเรียนและหนังสืออ่านประกอบ
7. สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมประเภทการให้ความรู้พื้นฐานน้อยที่สุดได้แก่ข้อใด สื่อพื้นบ้าน
8. สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนกิจกรรมสายสามัญและต่อเนื่องมากที่สุดได้แก่ข้อใด สื่อโสตทัศน์
9. ปัญหาในข้อใดพบมากที่สุดในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้ไม่รู้หนังสือ สุขภาพและสายตา
10. การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองควรใช้สื่อลักษณะใด สื่อประสม

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 3   อ่านต่อหน่วยที่ 5 >>>

20 ก.พ. 2556

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 10

หน่วยที่ 10 สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

10.1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
10.2 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการผลิตและเผยแพร่สื่อเพื่อการศึกษา
10.3 การผลิตและการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
10.4 สภาพการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

10.1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

1. ความหมายและความสำคัญของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา เป็นสื่อการเรียนการสอน การฝึกอบรม ที่ผลิตขึ้นสำหรับการเรียนการสอนการฝึกอบรมในรูปของแถบแม่เหล็ก การ์ดความจำ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี หรือฮาร์ดดิสก์ และเผยแพร่โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารระบบดิจิทัล สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญในด้านความจำเป็นต่อการศึกษา และความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และการทำให้สมบูรณ์กับสถานการณ์และเวลา

2. ประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ แบบเอกเทศ โดยผ่านเครือข่ายและ ผ่านระบบการกระจายสัญญาน
1) แบบเอกเทศ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมโดยไม่เชื่อมต่อเครือข่าย สามารถใช้งานได้ตามลำพัง ได้แก่ เทปเสียง เทปภาพ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี แผ่นการ์ดบันทึกความจำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบของแผ่น CD
Red Book - CD เพลง   Yellow Book - เก็บข้อมูล   Green Book - การบันทึกสำหรับ Compact Disc Interactive ผู้ใช้สามารถเลือกเล่นภาพและเสียงได้   White Book - VDO CD   Blue Book - ซีดี Extra หรือรูปแบบเป็น Laser Disc     CD Extra - เป็นรูปการบันทึกของ Compact Disc Digital Audio และข้อมูล CD-ROM/XA รูปแบบที่เชื่อมระหว่าง Yellow Book และ Compact Disc Interactive ที่สามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดได้และชนิดแก้ข้อมูลที่ผิดไม่ได้
2.) ผ่านระบบเครือข่าย ได้แก่ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อาศัยระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการรับ ส่ง ข้อมูลโดยอาศัยเครือข่ายแบบ LAN WAN หรือเครือข่าย INTERNET 
3) ผ่านระบบกระจายสัญญาน ได้แก่ สัญญานวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ส่งจากด่าวเทียม หรือสถานีภาคพื้นดินไปยังผู้รับเฉพาะกลุ่ม โดยมีการเข้ารหัสสัญญานไว้ ผู้รับจะเข้าถึงได้โดยซื้อเครื่องถอดรหัสสัญญานและเครื่องรับ สัญญานประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การกระจายสัญญานแบบกว้าง ได้แก่สัญญานดาวเทียม C-Band และ KU-Band และสัญญานแบบแถบสัญญานแคบ ได้แก่สัญญานตัววิ่งให้ภาพจอโทรทัศน์เป็นต้น

10.2 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการผลิตและเผยแพร่สื่อเพื่อการศึกษา

1.อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผลิตสื่อเพื่อการศึกษาประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์และจอภาพ โมเด็ม เครื่องอ่านและเขียนซีดี โทรศัพท์ เครื่องกวาดภาพ ไมโครโฟน กล้องถ่ายดิจิทัล เครื่องเล่นเทปเสียง และเครื่องเล่นเทปภาพ และ กล้องถ่ายดิจิทัล

2.อุปกรณ์เผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
อุปกรณืเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
ประเภทแบบเอกเทศ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์
ประเภทเครือข่าย ได้แก่ คอมพิวเตอรื เซอร์ฟเวอร์ อินเตอร์-เฟสการ์ด อุปกรณ์ทวนสัญญาน และอุปกรณ์เลือกเส้นทาง เสาไมโครเวฟ และสายนำสัญญานระบบ ISDN และ
ประเภทกระจายสัญญานคือ สถานีส่งสัญญานวืทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และดาวเทียมค้างฟ้า

10.3 การผลิตและการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

1. การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนการผลิต การเตรียมการผลิต การดำเนินการผลิต และ การประเมินผลิต

2. การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี2แนวทางคือ (1.)ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ครอบคุม การใช้แบบ เอกเทศ ใช้กับระบบเครือข่ายระยะใกล้และไกล ใช้กับระบบกระจายสัญญานอินเตอร์เน็ต  และ (2.)ใช้ตามรูปแบบของการออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การศึกษาเนื้อหา การฝึกทบทวน การสร้างสถานการณ์จำลอง เกมการสอน และแบบใช้ทดสอบ


10.4 สภาพการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

1.สภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย
การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยนั้นสรุปได้ดังนี้
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบบเอกเทศ มีใช้กันอยู่ปานกลางค่อนข้างมาก แต่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมของต่างประเทศ และการผลิตภายในประเทศยังอยู่ในวงจำกัด
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่จะมีใช้ในระดับอุดมศึกษา และมีปัญหาเรื่องระบบเครือข่าย ISBN ยังไม่สมบูรณ์และไม่มีประสิทธิภาพดีพอ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาผ่านระบบกระจายสัญญาน มีอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา มีปัญหาในด้านของงบประมาณสนับสนุน และรายการยังไม่กว้างขวางหลากหลายวิชา

2.สภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาในต่างประเทศ
การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา ในต่างประเทศเช่น ยุโรป อเมริกา อยู่ในขั้นก้าวหน้า ใช้กันอย่างกว้างขวางทุกรูปแบบ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกด้าน และมีงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ มีการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้กันแพร่หลายในด้านการศึกษาแบบเอกเทศ การศึกษาป่านระบบเครือข่าย และการศึกษาผ่านระบบกระจายสัญญาน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา

แบบประเมิน
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาหมายถึง เนื้อหาบทเรียนระบบดิจิทัล 
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษามีความจำเป็นมากที่สุดเรื่องใด เพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภท CD ที่เขียนว่า CD-I คือ ผู้ใช้สามารถเลือกเล่นภาพและเสียงได้
4. Modem มีหน้าที่ในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาอย่างไร แปลงสัญญานอนาล็อกและดิจิทัล
5. คอมพิวเตอร์เซอร์ฟเวอร์มีประโยชน์ต่อระบบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ลูกข่าย 
6. เส้นใยนำแสงมีประโยชน์ต่อระบบเครือข่ายอิเล็กส์ทรอนิกส์เพื่อการศึกษามากในข้อใด เปิดรับช่องสัญญานได้จำนวนมากในขณะเดียวกัน
7. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นที่นิยมใช้เรียนตามลำพังด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาที่สำคัญคือ ผู้เรียนทราบผลคะแนนทันที
8. การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์การศึกษาประเภท E-learning มีจุดเด่นคือ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนสูง
9. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เนื่อการศึกษาที่ใช้กันมากในไทยคือ สื่อใช้แบบเอกเทศ
10. การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาในต่างประเทศเป็นไปอย่างแพร่หลายเพราะ นโยบายสนับสนุน

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาหมายถึง เนื้อหาบทเรียนระบบดิจิทัล 
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษามีความสำคัญมากเรื่อง ความยืดหยุ่มเรื่องเวลาและสถานที่ไปโรงเรียน
3. แผ่นซีดีประเภท Redbook มีไว้บันทึก เพลง
4. อุปกรณ์ Repeater มีหน้าที่ ขยายสัญญาน
5. ในระบบเครือข่ายใช้คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ด้วยวัตถุประสงค์เรื่อง ความเร็ว
6. เส้นใยนำแสงมีประโยชน์มากคือ ทำให้การค้างรับข้อมูลน้อยลง
7. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์คือ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
8. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ E-learning มีองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ Homepage
9. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาที่ใช้กันน้อยที่สุดในประเทศไทยคือ E-book
10. JANET เป็นเครือข่ายรวมทางวิชาการเพื่อการศึกษาที่ใช้กันมากใน ประเทศอังกฤษ
    
<<<< ย้อนอ่านหน่วยที่ 9   อ่านต่อหน่วยที่ 11 >>>>
       


19 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่3

หน่วยที่ 3 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อกิจกรรมการศึกษานอกระบบ

3.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการและการประสานงานการใช้สื่การศึกษานอกระบบ
3.2 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนกลาง
3.3 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนท้องถิ่น

3.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการและการประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. การจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
การจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ เป็นการจัดระบบพัฒนาและใช้สื่อที่ต้องอาศัย บุคคล วัสดุอุปกรณ์ องค์กร ของหน่วยงานหลายๆฝ่ายร่วมกันดำเนินงานในทุกระดับจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
การจัดการจะประกอบไปด้วยการจัดตั้งองค์กร การจัดทำแผนและกำหนดแนวทาง การกำกับและควบคุมการจัดการที่ดีจะช่วยทำให้การใช้สื่อและการรับบริการสื่อของกลุ่มเป้าหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการเพื่อใช้สื่อสำหรับการศึกษานอกระบบ
กระบวนการจัดการสื่อเพื่อการศึกษานอกระบบที่สำคัญจะต้องคำนึงถึง
1) การจัดตั้งองค์กร
2) การจัดทำแผนและการกำหนดแนวทาง
3) การกำกับและควบคุม
ตัวอย่างการจัดการเพื่อการใช้สื่อสำหรับการศึกษานอกระบบคือ โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการด้านบริหาร และการดำเนินงานทั้งในระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อให้การเผยแพร่สื่อที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และหนังสืออ่านประกอบเข้าถึงตัวผู้เรียนได้อย่างทันเวลา ซึ่งทำให้ไทยได้รับการยกย่องจากยูเนสโก้ว่าเป็น)ระเทศหนึ่งที่สามารถลดอัตราความไม่รู้หนังสือของพลเมืองได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา

2. การประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
การประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ เป็นการร่วมแรงร่วมใจของบุคคลและหน่วยงานในการพัฒนาและใช้สื่อเพื่อการกระจายและเผยแพร่สื่อที่มีอยู่ไปให้ถึงแหล่งและกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
การประสานงานแบ่งออกเป็น การประสานงานภายในหน่วยงาน การประสานงานภายนอกหน่วยงาน และการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
การประสานงานการใช้สื่อที่มีอย่างคุ้มค่า สามารถกระจายไปได้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในส่วนของการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายจะทำให้ทราบข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับและพัฒนาสื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการอีกด้วย
การประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
1) การประสานงานภายในหน่วยงาน เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันช่วยพัฒนาและใช้สื่เพื่อการศึกษานอกระบบต่อกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ลฝ่าขององค์กรที่อยู่ในหน่วยงานระดับ กรม กอง และสำนักงานของตนเอง
2) การประสานงานภายนอกหน่วยงานมีลักษระคล้ายข้อ 1 แต่เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายนอกสำนักงาน กรม สมาคม มูลนิธิ โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะให้บริการสื่อกับผู้รับบริการกลุ่มเดียวกัน
3) การประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นการประสานระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ผู้ให้ได้แก่ กลุ่มผู้พัฒนาและเผยแพร่สื่อ ส่วนผู้รับเป็นผู้ใช้สื่อนั้นโดยตรง เพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาสื่อตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการมากที่สุด

3. การกระจายและเผยแพร่สื่อ และการหมุนเวียนสื่อการศึกษานอกระบบ
การกระจาย เผยแพร่และหมุนเวียนสื่อ เป็นการจัดระบบการนำส่งสื่อที่ผลิตและพัฒนาขึ้นแล้วไปให้ถึงแหล่งผู้ใช้และผู้รับบริการซึ่งกระจายอยู่ตามพื้นที่ทั้งในชุมชนและชนบทที่ห่างไกล การกระจายและเผยแพร่สื่อเป็นการส่งสื่อต่อกันไปในระดับล่างลงไป ส่วนการหมุนเวียนสื่อเป็นการแลกเปลี่ยนสื่อที่ใช้แล้วเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายอื่นได้มีโอกาสใช้บ้าง
อธิบายการกระจายและเผยแพร่สื่อและหมุนเวียนสื่อสำหรับการศึกษานอกระบบพร้อมตัวอย่าง
1) การกระจายและเผยแพร่สื่อ เป็นการจัดระบบการส่งสื่อทุกประเภท ทุกชนิดที่ได้มีการผลิตและพัฒนาแล้วไปให้ถึงกลุ่มเป็ษหมายผู้รับบริการ สื่อส่วนใหญ่มักจัดทำในส่วนกลางหรือระดับภาคและเขตการศึกษา ดังนั้น จึงต้องมีการวางระบบการจัดส่งสื่อไปให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
การกระจายและเผยแพร่สื่อที่ผลิตและพัฒนาแล้วจะอาศัยช่องทางและองค์กรที่มีอยู่ในทุกระดับ และสามารถดำเนินการในรูปของการค้าได้อีกด้วย
ตัวอย่างการเผยแพร่สื่อที่มีอยู่ ได้แก่ การจัดส่งสื่อทางพัสดุไปรษณีย์ การจัดส่งสื่อผ่านทางหน่วยงานที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน หน่วยการศึกษาประชาชนในพื้นที่
2) การหมุนเวียนสื่อ เป็ฯการกระจายและเผยแพร่สื่อที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียนให้กับผู้รับบริการที่กระจายอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่น การหมุนเวียนหนังสือระหว่างห้องสมุดประชาชน และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน การหมุนเวียนสื่อโสตทัศน์ที่เป็นตัวเทป ระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อจัดสื่อบริการให้กับประชาชนโดยตรง

3.2 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนกลาง

1. หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อในส่วนกลาง
หน่วยงานและองค์กรที่จัดการศึกษานอกระบบมีด้วยกัน 10 กระทรวง 43 กรม องค์กรต่างๆมีทั้งที่เป็นของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่เป็นสมาคม มูลนิธิ ในแต่ละหน่วยงานมีกิจกรรมและโครงการทั้งที่จัดให้กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือจัดเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในลักษณะฝึกอบรมให้ข่าวสารข้อมูล และฝึกทักษาอาชีพ ในทุกหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษานอกระบบ จะมีการใช้สื่อต่างๆตามลักษณะประเภทของกิจกรรม
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบในส่วนกลาง
1) กระทรวงมหาดไทย
2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3) กระทรวงสาธารณสุข
4) กระทรวงศึกษาธิการ
5) สำนักนายกรัฐมนตรี
6) กระทรวงอุตสาหกรรม
7) กระทรวงยุติธรรม
8) กระทรวงคมนาคม
9) กระทรวงกลาโหม
10) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11) สำนักกรุงเทพมหานคร
12) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

2. การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อของหน่วยงานต่างๆในส่วนกลาง
การพัฒนาและการใช้สื่อส่วนกลาง มีการจัดการและการประสานงานโดยอาศัยหน่วยงานและองค์กรต่างๆร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม หรือจัดตั้งองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการและคณะทำงานที่มีผู้แทนของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการ
การจัดการและการประสานงานแบ่งเป็น การจัดการและการประสานงานภายในหน่วยงาน การจัดการและการประสานงานภายนอกหน่วยงาน
1) การจัดการและประสานงานภายในหน่วยงาน เป็นการจัดการและประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในสำนักงาน กรม กระทรวง หรือทบวงด้วยกันเอง การจัดการจะอาศัยองค์กรในระบบราชการตามสายงานในหน่วยงานหรือแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อดำเนินการทั้งการผลิต พัฒนาและใช้สื่อในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
2) การจัดการและการประสานงานนอกหน่วยงาน เป็นการจัดการและประสานงานการใช้สื่อที่อยู่ต่างหน่วยงานหรือต่างกระทรวงกันออกไป การจัดการและประสานงานส่วนใหญ่จะดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในโครงการใดโครงการหนึ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งที่อยู่ในภาครัฐและเอกชน

3. กรณีตัวอย่างการจัดการและประสานงานการใช้สื่อในส่วนกลาง
กรณีตัวอย่างการจัดการและการประสานงานการจัดสื่อการศึกษานอกระบบมีทั้งการประสานงานภายในและภายนอกหน่วยงาน การจัดการและการประสานงายภายในจะมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นแกนกลาง หน่วยงานอื่นจะมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตและใช้แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ซ้ำกัน เป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมได้ครบทุกด้าน ส่วนการจัดการและการประสานงานภายนอกหน่วยงานระดับ กระทรวง กรม สมาคม และมูลนิธิต่างๆ จะดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจกรรมเป็นฝ่ายจัดการประสานในภาพรวม
ลักษณะการจัดการและประสานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบจากกรณีตัวอย่างหรือยกสถานการณ์อื่นที่ใกล้เคียง
การจัดการและประสานงานการใช้สื่อมีทั้งส่วนที่เป็นการจัดการและประสานงานภายในหน่วยงานและการจัดการและประสานงานภายนอกหน่วยงาน
"การจัดศูนย์การเรียนและเครือข่ายการเรียนรู้" จากกรณีตัวอย่าง เป็นการจัดการและประสานงานภายในหน่วยงานระดับกรม มีกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ โดยมีหน่วยงานกลางได้แก่ กองปฏิบัติการ และสำนักงานเลขานุการกรมเป็นหน่วยประสานและจัดส่งสื่อที่พัฒนาและผลิตแล้วจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและผู้รับบริการในท้องถิ่นระดับตำบล หมู่บ้าน
ส่วนกรณีตัวอย่าง "โครงการรณรงค์เพื่อรู้หนังสือแห่งชาติ" เป็นการจัดการและประสานงานภายนอกหน่วยงานในส่วนกลางที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพัฒนาและใช้สื่อเพื่อช่วยกันดำเนินการแก้ไขการไม่รู้หนังสือของประชาชนทุกหน่วยงานจะช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำสื่อ รวมทั้งติดตามและประเมินผลร่วมกันด้วย โดยมีหน่วยงานกลางได้แก่ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่วางแผนประสานงานและเป็นฝ่ายเลขานุการของโครงการ

3.3 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนท้องถิ่น

1. หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อในส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หน่วยงานแต่ละระดับมีส่วนในการพัฒนาและผลิตสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป
หน่วยงานระดับจังหวัดได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานศึกษาธิการ สำนักงานเกษตร สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานอุตสาหกรรม โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา
ในระดับอำเภอ ก็จะมีเครือข่ายของแต่ละหน่วยงานกระจายออกไปทุกอำเภอ
ในระดับตำบล เจ้าหน้าที่หน่วยงานจาก 4 กระทรวงหลัก คือ พัฒนากร เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล ครูประถมศึกษา หรือครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน หน่วยงานและองค์การในแต่ละระดับมีหน้าที่ในการกระจาย และเผยแพร่สื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายตามลำดับ
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อการศึกษานอกระบบส่วนท้องถิ่น
 1 ) ระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียนสารพัดช่าง โรงเรียนประถม และมัธยมศึกาาประจำจังหวัด ศูนย์อนามัยแม่และเด็ก ห้องสมุดประชาชนจังหวัด
2 ) ระดับอำเภอ ได้แก่ สำนักงานของ 4 กระทรวงหลัก เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียนประถมและมัธยมประจำอำเภอ ห้องสมุดประชาชนอำเภอเป็นต้น
3 ) ระดับตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของ 4 กระทรวงคือ พัฒนากรประจำตำบล เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล สถานีอนามัย ศาลาประชาคม ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์การเรียน แหล่งความรู้
4 ) ระดับหมู่บ้าน ได้แก่ ศูนย์การเรียน แหล่งความรู้หมู่บ้าน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และแหล่งวิทยาการต่างๆในหมู่บ้าน

2 . การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับจังหวัดและอำเภอ
การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อ กศน ในส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัดและระดับอำเภอจะอาศัยโครงสร้างของคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ) และคณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ) ทำหน้าที่จัดทำและประสานแผนปฏิบัติการจัดกิจกรรมและโครงการโดยให้มีการกระจายและเผยแพร่สื่อไปยังตำบลและหมู่บ้าน รวมทั้งนิเทศ ติดตามและประเมินการใช้สื่อเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ
ในระดับจังหวัดและอำเภอมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสื่อที่เป็นเครือข่ายของแต่ละกระทรวงและกรมจากจังหวัดลงสู่อำเภอ ได้แก่ พัฒนาการจังหวัด และพัฒนาการอำเภอ เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอ นอกจากนี้ยังมีแหล่งกลางที่จัดบริการสื่อส่งเสริมการอ่านและให้ข่าวสารข้อมูลได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด และห้องสมุดประชาชนอำเภอ
การจัดการและการประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับท้องถิ่นทำได้อย่างไรบ้าง
การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อ กศน ในระดับท้องถิ่น ได้แก่ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดการและการประสานงานทำได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
ในแนวตั้ง การจัด การกระจายและเผยแพร่สื่อจะดำเนินการผ่านจากจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
ถ้าเป็นในระดับแนวนอน จะอาศัยองค์การของคณะกรรมการพัฒนาชนบท ซึ่งมีสำนักงานและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของกระทรวงหลัก ได้แก่ พัฒนาการจังหวัด และ พัฒนาการอำเภอ เกษตรจังหวัดและ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัดและศึกษาธิการอำเภอ โดยแต่ละหน่วยงานจะประสานและทำหน้าที่พัฒนาและกระจายสื่อจากจังหวัดลงสู่อำเภอ และจากอำเภอลงสู่ตำบล หมู่บ้าน จนถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายในที่สุด

3. การจัดการและประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในตำบลและหมู่บ้าน
การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับตำบลและหมู่บ้านซึ่งเป็นการประสานงานในระดับล่างสุด การจัดการและการประสานงานจะอาศัยองค์กรที่มีอยู่แล้วในการพัฒนาชนบท (กชช) คือ คณะกรรมการจากสภาตำบล (กสต) คณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อช่วยประมวลความต้องการการจัดกิจกรรม และการใช้สื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อการศึกษานอกระบบในระดับอำเภอ โดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวงหลัก ได้แก่ เกษตรกรตำบล พัฒนากรตำบล สาธารณสุขตำบล และ ครูประถมศึกษาที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภาตำบล
ลักษณะการจัดการและประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับตำบลและหมู่บ้าน
การจัดและประสานงานใช้สื่อการศึกษานอกระบบในท้องถิ่นระดับตำบลและหมู่บ้าน ได้อาศัยองค์กรของสภาตำบล และคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ฝ่ายกิจการปกครอง ฝ่ายกิจการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย ฝ่ายกิจการคลัง ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายกิจการศึกษาและวัฒนธรรม ฝ่ายกิจการสวัสดิการและสังคม แต่ละฝ่ายจะมีกรรมการรับผิดชอบโดยมีการจัดตั้งกลุ่มเช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรีและแม่บ้าน กลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มพัฒนาอาชีพลักษณะต่างๆ การจัดการกระจายและใช้สื่อตะอาศัยเครือข่ายจากตำบลลงไปสู่หมู่บ้าน และจากผู้แทนของหมู่บ้านลงไปสู่ประธานหรือหัวหน้ากลุ่ม จนกระทั่งถึงกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนผู้รับบริการ
ในระดับหมู่บ้านมีแหล่งรวมให้บริการสื่อได้แก่ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สื่อที่แต่ละหน่วยงานนพัฒนาและผลิตขึ้ยจะถูกนำมาไว้ ณ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สื่อส่วนใหญ่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านจะเป็นแหล่งความรู้ที่ให้ยริการการศึกษานอกระบบกับชาวบ้าน ชาวบ้านจะจัดการและดูแลกันเอง โดยมีคณะกรรมการที่อ่านหนังสือคอยช่วยให้คำปรึกษา และให้การสนับสนุนที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านอย่างใกล้ชิด

แบบประเมิน
1. การจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วยการจัดการตั้งองค์กร การจัดทำแผนและกำหนดแนวทาง กับอีกปัจจัยหนึ่งคือ การกำกับและควบคุม
2. การจัดตั้งองค์กร มีผลดีต่อการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในแง่ใด มีการประสานสัมพันธ์และใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกัน
3. ข้อใด "ไม่เกี่ยวข้อง" กับการวางแผนการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ การประชาสัมพันธ์ (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การสำรวจข้อมูล จัดทำโครงการ การประสานแผนและโครงการ)
4. การจัดการและประสานงานการใช้สื่อมีประโยชน์ตรงกับข้อใด ทั้งการผลิต การใช้ และการปรับปรุงสื่อ
5. ข้อใดจัดเป็นการประสานงานภายนอกหน่วยงาน กรมกับสมาคมหรือมูลนิธิต่างๆ
6. ข้อใดเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการกระจายและเผยแพร่สื่อ สื่อต้องถึงผู้รับบริการ
7. ข้อใด "ไม่ใช่" หน่วยงานในการจัดสื่อของส่วนท้องถิ่น กอง (ข้อที่ใช่คือ สำนักงาน อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)
8. หน่วยงานของกระทรวงใดที่รับผิดชอบการจัดสื่อในโครงการศึกษานอกระบบมากที่สุด กระทรวงมหาดไทย
9. การตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาและใช้สื่อมีความมุ่งหมายที่สำคัญได้แก่ข้อใด การประสานงาน
10. เครือข่าในการจัดการและประสานงานการใช้สื่อที่เป็นไปตามลำดับได้แก่ข้อใด กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

1. ข้อใดต่อไปนี้ "ไม่เกี่ยวข้อง" กับหลักการจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ การเสนอความต้องการ (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การจัดตั้งองค์กร การจัดทำแผน การกำกับและควบคุม)
2. วิธีที่ดีที่สุดในการประสานงานการใช้สื่อได้แก่ข้อใด การจัดตั้งคณะกรรมการ
3. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการวางแผนเพื่อการใช้สื่อ การสำรวจความต้องการ
4. การประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเป็นการประสานงานในลักษณะ แนวตั้ง
5. การประสานงานภายในหน่วยงานมีลักษณะตรงกับข้อใด งานที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน
6. การหมุนเวียนสื่อทำเพื่อแก้ปัญหาในด้าน การมีจำนวนสื่อไม่เพียงพอกับผู้ใช้
7. หน่วยงานในระดับท้องถิ่นในข้อใดที่อยู่ในระดับล่างสุด หมู่บ้าน
8. หน่วยงานใดในระดับท้องถิ่นที่ "ไม่ใช่" แหล่งผลิตและพัฒนาสื่อ หมู่บ้านและครัวเรือน (ข้อที่ใช่คือ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)
9. ข้อใดมีผลประโยชน์น้อยที่สุดในการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาและใช้สื่อ การสำรวจความต้องการ
10. ข้อใดเป็นการกระจายสื่อจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น  กรม > จังหวัด

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 2  อ่านต่อหน่วยที่ 4 >>>

16 ก.พ. 2556

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 9

หน่วยที่9 สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา


9.1 สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
9.2 สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
9.3 สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

9.1 สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา 

1. ความหมาย ความเป็นมา และความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง ข้อเขียนที่เขียนในรูปข่าวสารและความรู้ โดยผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดประโยชน์ทางความรู้แก่ผู้อ่านเป็น สำคัญ แล้วถ่ายทอดข้อเขียนด้วยการพิมพ์หรือเขียนบนกระดาษหรือฟิล์ม หรือวัสดุพื้นราบอื่นๆ เพื่อให้แพร่กระจายไปถึงผู้อ่านได้จำนวนมาก
ความเป็นมาของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา 
ไซลั่น - คิดวิธีทำกระดาษ ลอกรูป (ต้นแบบการพิมพ์ร่องลึก)
ชาวจีนใช้เขม่าไฟทำหมึกดำ ใช้ทาตราประทับบนกระดาษ เป็นการเริ่มต้นแม่พิมพ์พื้นนูน
ชาวจีนเริ่มการพิมพ์ด้วยไม้ พิมพ์ได้ทั้งตัวหนังสือและภาพลวดลาย
ไปเช็ง คิดวิธีพิมพ์โดยทำตัวพิมพ์จากดินเหนียว แยกเป็นคำๆเก็บไว้ใช้ซ้ำได้
เกาหลีริเริ่มหล่อตัวพิมพ์ด้วยโลหะสัมฤทธิ์
โจฮันกูเทนเบิร์ก (บิดาแห่งการพิมพ์) หล่อตัวพิมพ์ด้วยโลหะ เรียงพิมพ์และแยกเก็บได้ พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรป คือไบเบื้ล
อลัวเซเนเฟลเดอร์ พิมพ์หิน (พิมพ์แบบพื้นราบ) ซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นการพิมพ์ออฟเซ็ต
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการพิมพ์ในระยะแรกของไทยจัดตั้งโรงพิมพ์ที่ลพบุรีใช้อักษรโรมัน
แอน ฮาเซลไทน์ จัดสัน ทำการหล่อตัวพิมพ์อักษรไทย
หมอบีช แบรดเลย์ ได้มีการออกหนังสือพิมพ์ บางกอกริคอร์ดเดอร์
ร.5 ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นการพิมพ์เริ่มแรกของการพิมพ์ของคนไทย และ นสพ ฉบับแรกชื่อ ดรุโณวาท
ความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก ถ่ายทอดความรู้หรือเหตุการณ์ได้รวดเร็วและซับซ้อนได้ดี มีความคงทนถาวร เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ เพิ่มประสิทธิภาพและการเรียนการสอน

2.ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อใช้ในการเรียนโดยตรงได้แก่ หนังสือตำรา แบบฝึกปฏิบัติ เอกสารสำเนา
สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการค้นคว้าอ้างอิง ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสาร หนังสืออ้างอิง(พจนานุกรม สารานุกรม หนัวสือรายปี นามานุกรม อักขรานุกรมชีวประวัติ หนังสือ้างอิงภูมิศาสตร์) รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฟิล์มย่อส่วน
สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้อยู่ในรูปภาพ ได้แก่  หนังสือภาพและภาพชุดต่างๆ การ๋ตูนและการ์ตูนเรื่อง แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์ แผ่นพับ แผนที่

3.การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
(1.) ใช้สำหรับการเรียนการสอนโดยตรง แบ่งเป็น
สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับผู้เรียน ได้แก่ หนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน แบบทดสอบ ภาพ แผนภูมิ โปสเตอร์
สื่อสิ่งพิมพ์สำรับผู้สอน ได้แก่ คู่มือครู แผนการสอนใบความรู้และใบงาน แบบทดสอบ ภาพประกอบการสอน
(2.) ใช้สำหรับการค้นคว้างอ้างอิง การนำอ้างอิงมาเสนอ ควรวงเล็บต่อท้ายตามลำดับคือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และบางครั้งอาจจะระบุเลขหน้าด้วย
(3.) ใช้สำหรับความรู้ทั่วไป เช่น นสพ รายวัน นิตยสาร วารสาร และ จุลสารต่างๆ
(4.) การใช้สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับความบันเทิง เช่น นวนิยาย นิทาน การ์ตูน
(5.) ใช้เป็นสื่อหลักและสื่อเสริมเพื่อการศึกษา สื่อหลักคือใช้หนังสือหรือตำราเรียนและเสริมโดยสื่ออื่นๆเช่นวิทยุ เทปเสียง เทปภาพ  ส่วนสื่อเสริมคือใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประกอบการเรียน เช่นเป็นคู่มือ โดยผู้เรียนศึกษาจากสื่ออื่นเช่น E learning เป็นต้น

4.ปัญหาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
(1.) ปัญหาด้านการแพร่กระจายสู่ชุมชน ความล่าช้าของการจัดส่ง จำนวนน้อย และไม่ทั่วถึง
(2.) ปัญหาด้านการเลือกหนังสือ ความมีอิสระในการเลือก ขาดการแนะนำ หนังสือที่ไม่เหมาะสมวางจำหน่าย
(3.) ปัญหาด้านการอ่าน อ่านไม่คล่อง และ อ่านไม่ออก
(4.) ปัญหาด้านราคา ต้นทุนกระดาษ กระบวนการผลิต จำนวนพิมพ์
(5.) ปัญหาด้านอิทธิพลจากสื่ออื่น โดยเฉพาะอิทธิพลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออินเทอร์เน็ต

5.แนวโน้มการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา 
(1.) แนวโน้มด้านการแพร่กระจายสู่ชุมชน มีแนวโน้มจะได้รับการแก้ไขให้การคมนาคมเป็นไปอย่างสะดวก ส่งผลให้สื่อสิ่งพิมพ์ไปถึงชุมชนได้มากขึ้นและทั่วถึง
(2.) แนวโน้มด้านการเลือกหนังสือ มีการกวดขันจับกุมหนังสือประเภทที่ไม่เหมาะสม และ คำแนะนำการเลือกหนังสือจากผู้ปกครอง ครู สื่อมวลชน และการจัดประกวดหนังสือของสถาบันต่างๆ
(3.) แนวโน้มด้านการอ่าน แนวโน้มด้านการอ่านไม่คล่องและอ่านไม่ออกกำลังจะหมดไป เพราะรัฐส่งเสริมให้คนเรียนหนังสือและเด็กทุกคนต้องเข้าโรงเรียนอย่างน้อย 6 ปี ตามกฏหมาย
(4.) แนวโน้มด้านราคา ราคาของสื่อสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
(5.) แนวโน้มด้านอิทธิพลจากสื่ออื่น โดยเฉพาะอิทธิพลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออินเทอร์เน็ต
 

9.2 สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา 

เป็นการแพร่เสียง เพื่อความรู้ ไปยังผู้ฟังโดยการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือเึครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือแพร่เสียงตามสาย
1.ความเป็นมาของการใช้วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยครอบคลุม วิทยุโทรเลขและวิทยุกระจายเสียง และการจัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ และสามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายห่างไกล
ผู้ทรงริเริ่มกิจการวิทยุโทรเลขและวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยคือ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัคร โยธิน
การถ่ายทอดเสียงทางวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรก ในกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โครงการเกี่ยวกับการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยได้แก่ โครงการวืทยุศึกษา โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุกระจายเสียงของหน่วยราชการ โครงการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเครือข่าย2เพื่อการศึกษาของกรมประชาสัมพันธ์
วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษามีความสำคัญคือ ถ่ายทอความรู้ไผปยังผู้เรียนจำนวนมาก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ และสามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายห่างไกล

2. รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาแยกได้ 2 ประเภทคือ รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาทั่วไป และรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอน รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้มากเพื่อการศึกษาได้แก่ บทความหรือบรรยายคนเดียว สนทนา อภิปราย สัมภาษณ์ ละคร สารคดี สาระสะคร นิตยสารทางอากาศ และ ถ่ายทอดสด
รายการสนทนา รายการที่มีคนมาพูดกันสองคน ทั้ง 2 คนเป็นผู้ถามและคู่สนทนา
รายการวิทยุเพื่อการศึกษา รายการที่มุ่งให้ความรู้ทั่วไป สำหรับประชาชนและผู้เรียน
รายการสาระละคร รายการที่ผสมผสานรูปแบบรายการสารคดีเข้ากับรูปแบบรายการละคร
รายการสารคดี รายการที่มีหลายรูปแบบรายการรวมกันเนื้อหาสาระเป็นเรื่องเดียวกันตลอด
รายการละคร รายการที่เสนอเรื่องราวต่างๆด้วยการจำลองสถานการณ์

3. การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการสอนโดยตรงและเพื่อประกอบการสอนให้คววามรู้ทั่วไป ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และใช้เป็นสื่อหลักและสื่อเสริม

4. ปัญหาการใช้รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับ
นโยบายของสถาบันการศึกษา ขาดนโยบายที่เด่นชัด
การสนับสนุนด้านการผลิตรายการ ไม่ได้งบประมาณเพียงพอในการผลิตรายการ
การออกอากาศรายการ หน่วยงานที่มีสถานีออกอากาศแต่ได้เวลาไม่เหมาะสม และหน่วยงานที่ไม่มีสถานีออกอากาศต้องเช้าหรือซื้อเวลาออกอากาศ
คุณภาพรายการ รายการส่วนใหญ่ ใช้รูปแบบรายการง่ายๆ ทำให้คุณภาพรายการไม่ดีเท่าที่ควร
ผู้รับฟังรายการ ส่วนใหญ่ชอบรายการบันเทิงมากกว่าความรู้

5. การใช้รายการวิทยุเพื่อการศึกษามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน จำนวนเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง การเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียง และการขยายตัวของการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาทางไกล
แนวโน้มด้านความรู้ ข่าวสารและข้อมูลของประชาชนทำให้วิทยุเป็นสื่อที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
แนวโน้มด้านจำนวนเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงและราคาที่ถูกลง ประชาชนสามารถหาซื้อเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงได้ง่ายขึ้น
แนวโน้มด้านการเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียง ทั้งระบบเอเอ็ม และระบบเอฟเอ็ม เป็นจำนวนมาก
แนวโน้มด้านการขยายตัวของการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาทางไกลย่อมประสงค์จะเพิ่มรายการเพื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

9.3 สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา 

เป็นการแพร่ภาพและเสียงเพื่อความรู้ไปยังผู้ชมโดยการออกอากาศทางสถานีวืยุโทรทัศน์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฟรือแพร่ภาพพร้อมเสียงตามสาย
1. วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นการแพร่ภาพควบเสียงเพื่อความรู้ไปยังผู้ชม โดยการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือแพร่ภาพควบเสียงตามสาย
พัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์เริ่มจากต่างประเทศมาในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ส่วนความสำคัญคือ ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ สามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล และทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหมายของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาคือ
การแพร่ภาพควบเสียง  ให้ความรู้ไปยังชุมชน สถานีวิทยุโทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพร่ภาพควบเสียงตามสาย
ความสัมพันธ์ของปี พ.ศ.กับความเป็นมาของการจัดตั้งวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
พ.ศ. 2494 ตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด
พ.ศ. 2503 กรมประชาสัมพันธ์ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น 3 สถานี
พ.ศ. 2510 ตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง7
พ.ศ. 2513 เกิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3
พ.ศ. 2518 เกิดสถานีวิทยุโทรทัศน์สีช่อง 9 อ.ส.ม.ท
พ.ศ. 2521 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขยายเครือข่ายทั่วประเทศ
พ.ศ. 2532 ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เสรี  ITV
พ.ศ. 2548 มีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ออกอากาศแบบ VHF UHF และความถี่ 25,000
โครงการเกี่ยวกับการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย
การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระดับกระทรวงศึกษาธิการ การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะการปฏิรูปการศึกษาปี 2517 แนวทางการใช้วิทยุโทรทัศน์ของแผนปฏิรูปการศึกษา การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ความสำคัญของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
เสนอความรู้ - ค่าใช้จ่ายถูก - รวดเร็วทันเหตุการณ์ - ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย - เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

2. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจำแนกได้ 2 ประเภทคือ รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสอน โดยมีรูปแบบที่นิยมใช้มากเพื่อการศึกษาได้แก่ พูดคนเดียวหรือบรรยายคนเดียว สัมภาษณ์ สนทนา อภิปราย สาระละคี ละคี สารคดี นิตยสาร ถ่ายทอดสด สาธิตและทดลอง ตอบปัญหา โต้วาที ห้องเรียนจำลอง
รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่ไม่ได้จัดอยู่ในรูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
รายการถ่ายทอดสด รายการสาธิตและทดลอง รายการตอบปัญหา รายการโต้วาที รายการห้องเรียนจำลอง

3. การใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย ใช้เป็นเครื่องมือในการสอนโดยตรงและเพื่อประกอบการสอน ให้ความรู้ ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และใช้เป็นสื่อหลักและสื่อเสริม
วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาใช้ 3 แนวทางคือ
(1.) เครื่องมือในการสอนตรง และเพื่อประกอบการสอน การสอนตรงให้นักเรียนได้รับชมตามเวลาออกอากาศ และเพื่อประกอบการสอนในขั้นใดขั้นหนึ่งของการสอนได้แก่ ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน ขั้นสอน หรือ ขั้นสรุป
(2.) ให้ความรู้ใน 2 ลักษณะคือ ความรู้พื้นฐานและเพื่อเสริมทักษะอาชีพ
(3.) เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองตามลำพังหรือเป็นกลุ่มย่อย

4. ปัญหาการใช้รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยได้แก่ ปัญหาในการผลิตรายการ และปัญหาในการออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
(1.) ปัญหาด้านงบประมาน (2.) ปัญหาด้านบุคคลากร (3.) ปัญหาด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการผลิต (4.) ปัญหาด้านคุณภาพการผลิต (5.) ปัญหาเรื่องพัสดุ (6.) ปัญหาของการกำหนดช่วงเวลาออกอากาศ
(7.) ปัญหาเกี่ยวกับการรับสัญญานวิทยุโทรทัศน์ไม่ชัดเจน (8.) ปัญหาเกี่ยวกับไม่ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย

5. แนวโน้มการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษามีสูงขึ้นในรูปของการจัดตั้งเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้นใหม่ และการกำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีอยู่แล้วจัดสรรเวลาและช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
(1.) แนวโน้มด้านความจำเป็นในการจัดตั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้นใหม่ เพื่อรองรับการออกอากาศรายการที่เพิ่มขึ้นและเวลาที่จัดสรรลดน้อยลง
(2.) แนวโน้มด้านจัดสรรเวลาที่เหมาะสมเพื่อออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ความไม่พอใจของหน่วยงานในการจัดสรรเวลาออกอากาศ

แบบประเมิน
1. บิดาแห่งการพิมพ์ โจอัน กูเทนเบิร์ก
2. สิ่งพิมพ์ประเภทรายงานการวิจัย เหมาะที่สุดที่จะนำมาใช้อ้างอิง การวิจัย
3. สื่อที่มีแนวโน้มเข้ามาแทนสื่อสิ่งพิมพ์คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. ข้อใดคือความสำคัญที่สุดของวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ถ่ายทอดความรู้ได้รวดเร็วทันเหตุการณ์
5. รูปแบบรายการวิทยุใดมีหลายรูปแบบรายการรวมกัน เนื้อหาสาระเป็นเรื่องเดียวกันตลอดรายการ รายการสารคดี
6. ข้อใดคือปัญหาสำคัญของการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในไทย ปัญหาด้านงบประมานการผลิต และการออกอากาศรายการ
7. แนวโน้มในการใช้รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยมีลักษณะใด จำนวนเครื่องรับวิทยุเพิ่มมากขึ้นและราคาถูกลง
8. สถานีวิทยุโทรทัศน์ได้ได้ดำเนินการมี 11 เครือข่าย ITV
9. รายการวิทยุโทรทัศน์ประเภทใดที่เสนอกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ผู้ชมได้แนวทางนำไปใช้ รายการสาธิตและทดลอง
10.ข้อใดคือแนวโน้มการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย จัดสรรเวลาที่เหมาะสมเพื่อการออกอากาศ

1. การพิมพ์ระยะแรกเริ่มมีขึ้นในสมัย อยุธยา
2. สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดมีลักษณะคล้ายข้อสอบมีการถามให้ตอบ แบบฝึกปฏิบัติ
3. เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญต่อแนวโน้มการใช้สื่อสิ่งพิมพ์อย่างไร แนวโน้มเข้ามาแทนสื่อสิ่งพิมพ์
4. วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนมีความสำคัญคือ ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก
5. รูปแบบรายการวิทยุใดมีการผสมผสานรายการสาระคดีเข้ากับรายการละคร สาระละคร
6. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในไทย ปัญหาด้านผู้รับฟังรายการ
7. ข้อใดคือแนวโน้มการใช้รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในไทย 1) มีการใช้กันมากขึ้นเพราะการขยายตัวของการศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาทางไกล 2) มีความต้องการความรู้ ข่าวสารและข้อมูล 3.)จำนวนเครื่องรับวิทยุและราคาที่ถูกลง 4.)การเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียง
8. ในปี 2494 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 4
9. รายการวิทยุโทรทัศน์ประเภทใดที่เสนอเนื้อหาสาระด้วยภาพและเสียงบรรยายตลอดรายการ โดยไม่มีผู้ดำเนินรายการ อาจจะมีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องอยู่บ้าง รายการสารคดีเต็มรูปแบบ
10. การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยมีแนวโน้มอย่างไร มีความจำเป็นต้องจัดตั้งเครือข่าววิทยุโทรทัศน์

<<< ย้อนกลับหน่วยที่ 8  อ่านต่อหน่วยที่ 10 >>>                     

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน