19 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่3

หน่วยที่ 3 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อกิจกรรมการศึกษานอกระบบ

3.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการและการประสานงานการใช้สื่การศึกษานอกระบบ
3.2 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนกลาง
3.3 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนท้องถิ่น

3.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการและการประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. การจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
การจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ เป็นการจัดระบบพัฒนาและใช้สื่อที่ต้องอาศัย บุคคล วัสดุอุปกรณ์ องค์กร ของหน่วยงานหลายๆฝ่ายร่วมกันดำเนินงานในทุกระดับจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
การจัดการจะประกอบไปด้วยการจัดตั้งองค์กร การจัดทำแผนและกำหนดแนวทาง การกำกับและควบคุมการจัดการที่ดีจะช่วยทำให้การใช้สื่อและการรับบริการสื่อของกลุ่มเป้าหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการเพื่อใช้สื่อสำหรับการศึกษานอกระบบ
กระบวนการจัดการสื่อเพื่อการศึกษานอกระบบที่สำคัญจะต้องคำนึงถึง
1) การจัดตั้งองค์กร
2) การจัดทำแผนและการกำหนดแนวทาง
3) การกำกับและควบคุม
ตัวอย่างการจัดการเพื่อการใช้สื่อสำหรับการศึกษานอกระบบคือ โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการด้านบริหาร และการดำเนินงานทั้งในระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อให้การเผยแพร่สื่อที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และหนังสืออ่านประกอบเข้าถึงตัวผู้เรียนได้อย่างทันเวลา ซึ่งทำให้ไทยได้รับการยกย่องจากยูเนสโก้ว่าเป็น)ระเทศหนึ่งที่สามารถลดอัตราความไม่รู้หนังสือของพลเมืองได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา

2. การประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
การประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ เป็นการร่วมแรงร่วมใจของบุคคลและหน่วยงานในการพัฒนาและใช้สื่อเพื่อการกระจายและเผยแพร่สื่อที่มีอยู่ไปให้ถึงแหล่งและกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
การประสานงานแบ่งออกเป็น การประสานงานภายในหน่วยงาน การประสานงานภายนอกหน่วยงาน และการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
การประสานงานการใช้สื่อที่มีอย่างคุ้มค่า สามารถกระจายไปได้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในส่วนของการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายจะทำให้ทราบข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับและพัฒนาสื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการอีกด้วย
การประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
1) การประสานงานภายในหน่วยงาน เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันช่วยพัฒนาและใช้สื่เพื่อการศึกษานอกระบบต่อกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ลฝ่าขององค์กรที่อยู่ในหน่วยงานระดับ กรม กอง และสำนักงานของตนเอง
2) การประสานงานภายนอกหน่วยงานมีลักษระคล้ายข้อ 1 แต่เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายนอกสำนักงาน กรม สมาคม มูลนิธิ โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะให้บริการสื่อกับผู้รับบริการกลุ่มเดียวกัน
3) การประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นการประสานระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ผู้ให้ได้แก่ กลุ่มผู้พัฒนาและเผยแพร่สื่อ ส่วนผู้รับเป็นผู้ใช้สื่อนั้นโดยตรง เพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาสื่อตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการมากที่สุด

3. การกระจายและเผยแพร่สื่อ และการหมุนเวียนสื่อการศึกษานอกระบบ
การกระจาย เผยแพร่และหมุนเวียนสื่อ เป็นการจัดระบบการนำส่งสื่อที่ผลิตและพัฒนาขึ้นแล้วไปให้ถึงแหล่งผู้ใช้และผู้รับบริการซึ่งกระจายอยู่ตามพื้นที่ทั้งในชุมชนและชนบทที่ห่างไกล การกระจายและเผยแพร่สื่อเป็นการส่งสื่อต่อกันไปในระดับล่างลงไป ส่วนการหมุนเวียนสื่อเป็นการแลกเปลี่ยนสื่อที่ใช้แล้วเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายอื่นได้มีโอกาสใช้บ้าง
อธิบายการกระจายและเผยแพร่สื่อและหมุนเวียนสื่อสำหรับการศึกษานอกระบบพร้อมตัวอย่าง
1) การกระจายและเผยแพร่สื่อ เป็นการจัดระบบการส่งสื่อทุกประเภท ทุกชนิดที่ได้มีการผลิตและพัฒนาแล้วไปให้ถึงกลุ่มเป็ษหมายผู้รับบริการ สื่อส่วนใหญ่มักจัดทำในส่วนกลางหรือระดับภาคและเขตการศึกษา ดังนั้น จึงต้องมีการวางระบบการจัดส่งสื่อไปให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
การกระจายและเผยแพร่สื่อที่ผลิตและพัฒนาแล้วจะอาศัยช่องทางและองค์กรที่มีอยู่ในทุกระดับ และสามารถดำเนินการในรูปของการค้าได้อีกด้วย
ตัวอย่างการเผยแพร่สื่อที่มีอยู่ ได้แก่ การจัดส่งสื่อทางพัสดุไปรษณีย์ การจัดส่งสื่อผ่านทางหน่วยงานที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน หน่วยการศึกษาประชาชนในพื้นที่
2) การหมุนเวียนสื่อ เป็ฯการกระจายและเผยแพร่สื่อที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียนให้กับผู้รับบริการที่กระจายอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่น การหมุนเวียนหนังสือระหว่างห้องสมุดประชาชน และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน การหมุนเวียนสื่อโสตทัศน์ที่เป็นตัวเทป ระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อจัดสื่อบริการให้กับประชาชนโดยตรง

3.2 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนกลาง

1. หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อในส่วนกลาง
หน่วยงานและองค์กรที่จัดการศึกษานอกระบบมีด้วยกัน 10 กระทรวง 43 กรม องค์กรต่างๆมีทั้งที่เป็นของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่เป็นสมาคม มูลนิธิ ในแต่ละหน่วยงานมีกิจกรรมและโครงการทั้งที่จัดให้กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือจัดเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในลักษณะฝึกอบรมให้ข่าวสารข้อมูล และฝึกทักษาอาชีพ ในทุกหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษานอกระบบ จะมีการใช้สื่อต่างๆตามลักษณะประเภทของกิจกรรม
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบในส่วนกลาง
1) กระทรวงมหาดไทย
2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3) กระทรวงสาธารณสุข
4) กระทรวงศึกษาธิการ
5) สำนักนายกรัฐมนตรี
6) กระทรวงอุตสาหกรรม
7) กระทรวงยุติธรรม
8) กระทรวงคมนาคม
9) กระทรวงกลาโหม
10) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11) สำนักกรุงเทพมหานคร
12) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

2. การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อของหน่วยงานต่างๆในส่วนกลาง
การพัฒนาและการใช้สื่อส่วนกลาง มีการจัดการและการประสานงานโดยอาศัยหน่วยงานและองค์กรต่างๆร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม หรือจัดตั้งองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการและคณะทำงานที่มีผู้แทนของแต่ละหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการ
การจัดการและการประสานงานแบ่งเป็น การจัดการและการประสานงานภายในหน่วยงาน การจัดการและการประสานงานภายนอกหน่วยงาน
1) การจัดการและประสานงานภายในหน่วยงาน เป็นการจัดการและประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในสำนักงาน กรม กระทรวง หรือทบวงด้วยกันเอง การจัดการจะอาศัยองค์กรในระบบราชการตามสายงานในหน่วยงานหรือแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อดำเนินการทั้งการผลิต พัฒนาและใช้สื่อในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
2) การจัดการและการประสานงานนอกหน่วยงาน เป็นการจัดการและประสานงานการใช้สื่อที่อยู่ต่างหน่วยงานหรือต่างกระทรวงกันออกไป การจัดการและประสานงานส่วนใหญ่จะดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในโครงการใดโครงการหนึ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งที่อยู่ในภาครัฐและเอกชน

3. กรณีตัวอย่างการจัดการและประสานงานการใช้สื่อในส่วนกลาง
กรณีตัวอย่างการจัดการและการประสานงานการจัดสื่อการศึกษานอกระบบมีทั้งการประสานงานภายในและภายนอกหน่วยงาน การจัดการและการประสานงายภายในจะมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นแกนกลาง หน่วยงานอื่นจะมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตและใช้แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ซ้ำกัน เป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมได้ครบทุกด้าน ส่วนการจัดการและการประสานงานภายนอกหน่วยงานระดับ กระทรวง กรม สมาคม และมูลนิธิต่างๆ จะดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจกรรมเป็นฝ่ายจัดการประสานในภาพรวม
ลักษณะการจัดการและประสานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบจากกรณีตัวอย่างหรือยกสถานการณ์อื่นที่ใกล้เคียง
การจัดการและประสานงานการใช้สื่อมีทั้งส่วนที่เป็นการจัดการและประสานงานภายในหน่วยงานและการจัดการและประสานงานภายนอกหน่วยงาน
"การจัดศูนย์การเรียนและเครือข่ายการเรียนรู้" จากกรณีตัวอย่าง เป็นการจัดการและประสานงานภายในหน่วยงานระดับกรม มีกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ โดยมีหน่วยงานกลางได้แก่ กองปฏิบัติการ และสำนักงานเลขานุการกรมเป็นหน่วยประสานและจัดส่งสื่อที่พัฒนาและผลิตแล้วจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและผู้รับบริการในท้องถิ่นระดับตำบล หมู่บ้าน
ส่วนกรณีตัวอย่าง "โครงการรณรงค์เพื่อรู้หนังสือแห่งชาติ" เป็นการจัดการและประสานงานภายนอกหน่วยงานในส่วนกลางที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพัฒนาและใช้สื่อเพื่อช่วยกันดำเนินการแก้ไขการไม่รู้หนังสือของประชาชนทุกหน่วยงานจะช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำสื่อ รวมทั้งติดตามและประเมินผลร่วมกันด้วย โดยมีหน่วยงานกลางได้แก่ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่วางแผนประสานงานและเป็นฝ่ายเลขานุการของโครงการ

3.3 การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบในส่วนท้องถิ่น

1. หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อในส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หน่วยงานแต่ละระดับมีส่วนในการพัฒนาและผลิตสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป
หน่วยงานระดับจังหวัดได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานศึกษาธิการ สำนักงานเกษตร สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานอุตสาหกรรม โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา
ในระดับอำเภอ ก็จะมีเครือข่ายของแต่ละหน่วยงานกระจายออกไปทุกอำเภอ
ในระดับตำบล เจ้าหน้าที่หน่วยงานจาก 4 กระทรวงหลัก คือ พัฒนากร เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล ครูประถมศึกษา หรือครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน หน่วยงานและองค์การในแต่ละระดับมีหน้าที่ในการกระจาย และเผยแพร่สื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายตามลำดับ
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อการศึกษานอกระบบส่วนท้องถิ่น
 1 ) ระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียนสารพัดช่าง โรงเรียนประถม และมัธยมศึกาาประจำจังหวัด ศูนย์อนามัยแม่และเด็ก ห้องสมุดประชาชนจังหวัด
2 ) ระดับอำเภอ ได้แก่ สำนักงานของ 4 กระทรวงหลัก เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียนประถมและมัธยมประจำอำเภอ ห้องสมุดประชาชนอำเภอเป็นต้น
3 ) ระดับตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของ 4 กระทรวงคือ พัฒนากรประจำตำบล เกษตรตำบล สาธารณสุขตำบล สถานีอนามัย ศาลาประชาคม ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์การเรียน แหล่งความรู้
4 ) ระดับหมู่บ้าน ได้แก่ ศูนย์การเรียน แหล่งความรู้หมู่บ้าน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และแหล่งวิทยาการต่างๆในหมู่บ้าน

2 . การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับจังหวัดและอำเภอ
การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อ กศน ในส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัดและระดับอำเภอจะอาศัยโครงสร้างของคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ) และคณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ) ทำหน้าที่จัดทำและประสานแผนปฏิบัติการจัดกิจกรรมและโครงการโดยให้มีการกระจายและเผยแพร่สื่อไปยังตำบลและหมู่บ้าน รวมทั้งนิเทศ ติดตามและประเมินการใช้สื่อเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ
ในระดับจังหวัดและอำเภอมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสื่อที่เป็นเครือข่ายของแต่ละกระทรวงและกรมจากจังหวัดลงสู่อำเภอ ได้แก่ พัฒนาการจังหวัด และพัฒนาการอำเภอ เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอ นอกจากนี้ยังมีแหล่งกลางที่จัดบริการสื่อส่งเสริมการอ่านและให้ข่าวสารข้อมูลได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด และห้องสมุดประชาชนอำเภอ
การจัดการและการประสานงานเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับท้องถิ่นทำได้อย่างไรบ้าง
การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อ กศน ในระดับท้องถิ่น ได้แก่ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดการและการประสานงานทำได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
ในแนวตั้ง การจัด การกระจายและเผยแพร่สื่อจะดำเนินการผ่านจากจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
ถ้าเป็นในระดับแนวนอน จะอาศัยองค์การของคณะกรรมการพัฒนาชนบท ซึ่งมีสำนักงานและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของกระทรวงหลัก ได้แก่ พัฒนาการจังหวัด และ พัฒนาการอำเภอ เกษตรจังหวัดและ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัดและศึกษาธิการอำเภอ โดยแต่ละหน่วยงานจะประสานและทำหน้าที่พัฒนาและกระจายสื่อจากจังหวัดลงสู่อำเภอ และจากอำเภอลงสู่ตำบล หมู่บ้าน จนถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายในที่สุด

3. การจัดการและประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในตำบลและหมู่บ้าน
การจัดการและการประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับตำบลและหมู่บ้านซึ่งเป็นการประสานงานในระดับล่างสุด การจัดการและการประสานงานจะอาศัยองค์กรที่มีอยู่แล้วในการพัฒนาชนบท (กชช) คือ คณะกรรมการจากสภาตำบล (กสต) คณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อช่วยประมวลความต้องการการจัดกิจกรรม และการใช้สื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสื่อการศึกษานอกระบบในระดับอำเภอ โดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวงหลัก ได้แก่ เกษตรกรตำบล พัฒนากรตำบล สาธารณสุขตำบล และ ครูประถมศึกษาที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภาตำบล
ลักษณะการจัดการและประสานงานการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในระดับตำบลและหมู่บ้าน
การจัดและประสานงานใช้สื่อการศึกษานอกระบบในท้องถิ่นระดับตำบลและหมู่บ้าน ได้อาศัยองค์กรของสภาตำบล และคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ฝ่ายกิจการปกครอง ฝ่ายกิจการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย ฝ่ายกิจการคลัง ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายกิจการศึกษาและวัฒนธรรม ฝ่ายกิจการสวัสดิการและสังคม แต่ละฝ่ายจะมีกรรมการรับผิดชอบโดยมีการจัดตั้งกลุ่มเช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรีและแม่บ้าน กลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มพัฒนาอาชีพลักษณะต่างๆ การจัดการกระจายและใช้สื่อตะอาศัยเครือข่ายจากตำบลลงไปสู่หมู่บ้าน และจากผู้แทนของหมู่บ้านลงไปสู่ประธานหรือหัวหน้ากลุ่ม จนกระทั่งถึงกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนผู้รับบริการ
ในระดับหมู่บ้านมีแหล่งรวมให้บริการสื่อได้แก่ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สื่อที่แต่ละหน่วยงานนพัฒนาและผลิตขึ้ยจะถูกนำมาไว้ ณ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สื่อส่วนใหญ่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านจะเป็นแหล่งความรู้ที่ให้ยริการการศึกษานอกระบบกับชาวบ้าน ชาวบ้านจะจัดการและดูแลกันเอง โดยมีคณะกรรมการที่อ่านหนังสือคอยช่วยให้คำปรึกษา และให้การสนับสนุนที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านอย่างใกล้ชิด

แบบประเมิน
1. การจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วยการจัดการตั้งองค์กร การจัดทำแผนและกำหนดแนวทาง กับอีกปัจจัยหนึ่งคือ การกำกับและควบคุม
2. การจัดตั้งองค์กร มีผลดีต่อการใช้สื่อการศึกษานอกระบบในแง่ใด มีการประสานสัมพันธ์และใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกัน
3. ข้อใด "ไม่เกี่ยวข้อง" กับการวางแผนการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ การประชาสัมพันธ์ (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การสำรวจข้อมูล จัดทำโครงการ การประสานแผนและโครงการ)
4. การจัดการและประสานงานการใช้สื่อมีประโยชน์ตรงกับข้อใด ทั้งการผลิต การใช้ และการปรับปรุงสื่อ
5. ข้อใดจัดเป็นการประสานงานภายนอกหน่วยงาน กรมกับสมาคมหรือมูลนิธิต่างๆ
6. ข้อใดเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการกระจายและเผยแพร่สื่อ สื่อต้องถึงผู้รับบริการ
7. ข้อใด "ไม่ใช่" หน่วยงานในการจัดสื่อของส่วนท้องถิ่น กอง (ข้อที่ใช่คือ สำนักงาน อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)
8. หน่วยงานของกระทรวงใดที่รับผิดชอบการจัดสื่อในโครงการศึกษานอกระบบมากที่สุด กระทรวงมหาดไทย
9. การตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาและใช้สื่อมีความมุ่งหมายที่สำคัญได้แก่ข้อใด การประสานงาน
10. เครือข่าในการจัดการและประสานงานการใช้สื่อที่เป็นไปตามลำดับได้แก่ข้อใด กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

1. ข้อใดต่อไปนี้ "ไม่เกี่ยวข้อง" กับหลักการจัดการเพื่อใช้สื่อการศึกษานอกระบบ การเสนอความต้องการ (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การจัดตั้งองค์กร การจัดทำแผน การกำกับและควบคุม)
2. วิธีที่ดีที่สุดในการประสานงานการใช้สื่อได้แก่ข้อใด การจัดตั้งคณะกรรมการ
3. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการวางแผนเพื่อการใช้สื่อ การสำรวจความต้องการ
4. การประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเป็นการประสานงานในลักษณะ แนวตั้ง
5. การประสานงานภายในหน่วยงานมีลักษณะตรงกับข้อใด งานที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน
6. การหมุนเวียนสื่อทำเพื่อแก้ปัญหาในด้าน การมีจำนวนสื่อไม่เพียงพอกับผู้ใช้
7. หน่วยงานในระดับท้องถิ่นในข้อใดที่อยู่ในระดับล่างสุด หมู่บ้าน
8. หน่วยงานใดในระดับท้องถิ่นที่ "ไม่ใช่" แหล่งผลิตและพัฒนาสื่อ หมู่บ้านและครัวเรือน (ข้อที่ใช่คือ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)
9. ข้อใดมีผลประโยชน์น้อยที่สุดในการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาและใช้สื่อ การสำรวจความต้องการ
10. ข้อใดเป็นการกระจายสื่อจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น  กรม > จังหวัด

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 2  อ่านต่อหน่วยที่ 4 >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน