หน่วยที่9 สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
9.1 สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
9.2 สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
9.3 สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
9.1 สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
1. ความหมาย ความเป็นมา และความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง ข้อเขียนที่เขียนในรูปข่าวสารและความรู้ โดยผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดประโยชน์ทางความรู้แก่ผู้อ่านเป็น สำคัญ แล้วถ่ายทอดข้อเขียนด้วยการพิมพ์หรือเขียนบนกระดาษหรือฟิล์ม หรือวัสดุพื้นราบอื่นๆ เพื่อให้แพร่กระจายไปถึงผู้อ่านได้จำนวนมาก
ความเป็นมาของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
ไซลั่น - คิดวิธีทำกระดาษ ลอกรูป (ต้นแบบการพิมพ์ร่องลึก)
ชาวจีนใช้เขม่าไฟทำหมึกดำ ใช้ทาตราประทับบนกระดาษ เป็นการเริ่มต้นแม่พิมพ์พื้นนูน
ชาวจีนเริ่มการพิมพ์ด้วยไม้ พิมพ์ได้ทั้งตัวหนังสือและภาพลวดลาย
ไปเช็ง คิดวิธีพิมพ์โดยทำตัวพิมพ์จากดินเหนียว แยกเป็นคำๆเก็บไว้ใช้ซ้ำได้
เกาหลีริเริ่มหล่อตัวพิมพ์ด้วยโลหะสัมฤทธิ์
โจฮันกูเทนเบิร์ก (บิดาแห่งการพิมพ์) หล่อตัวพิมพ์ด้วยโลหะ เรียงพิมพ์และแยกเก็บได้ พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรป คือไบเบื้ล
อลัวเซเนเฟลเดอร์ พิมพ์หิน (พิมพ์แบบพื้นราบ) ซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นการพิมพ์ออฟเซ็ต
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการพิมพ์ในระยะแรกของไทยจัดตั้งโรงพิมพ์ที่ลพบุรีใช้อักษรโรมัน
แอน ฮาเซลไทน์ จัดสัน ทำการหล่อตัวพิมพ์อักษรไทย
หมอบีช แบรดเลย์ ได้มีการออกหนังสือพิมพ์ บางกอกริคอร์ดเดอร์
ร.5 ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นการพิมพ์เริ่มแรกของการพิมพ์ของคนไทย และ นสพ ฉบับแรกชื่อ ดรุโณวาท
ความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก ถ่ายทอดความรู้หรือเหตุการณ์ได้รวดเร็วและซับซ้อนได้ดี มีความคงทนถาวร เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ เพิ่มประสิทธิภาพและการเรียนการสอน
2.ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อใช้ในการเรียนโดยตรงได้แก่ หนังสือตำรา แบบฝึกปฏิบัติ เอกสารสำเนา
สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการค้นคว้าอ้างอิง ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสาร หนังสืออ้างอิง(พจนานุกรม สารานุกรม หนัวสือรายปี นามานุกรม อักขรานุกรมชีวประวัติ หนังสือ้างอิงภูมิศาสตร์) รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฟิล์มย่อส่วน
สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้อยู่ในรูปภาพ ได้แก่ หนังสือภาพและภาพชุดต่างๆ การ๋ตูนและการ์ตูนเรื่อง แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์ แผ่นพับ แผนที่
3.การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
(1.) ใช้สำหรับการเรียนการสอนโดยตรง แบ่งเป็น
สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับผู้เรียน ได้แก่ หนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน แบบทดสอบ ภาพ แผนภูมิ โปสเตอร์
สื่อสิ่งพิมพ์สำรับผู้สอน ได้แก่ คู่มือครู แผนการสอนใบความรู้และใบงาน แบบทดสอบ ภาพประกอบการสอน
(2.) ใช้สำหรับการค้นคว้างอ้างอิง การนำอ้างอิงมาเสนอ ควรวงเล็บต่อท้ายตามลำดับคือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และบางครั้งอาจจะระบุเลขหน้าด้วย
(3.) ใช้สำหรับความรู้ทั่วไป เช่น นสพ รายวัน นิตยสาร วารสาร และ จุลสารต่างๆ
(4.) การใช้สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับความบันเทิง เช่น นวนิยาย นิทาน การ์ตูน
(5.) ใช้เป็นสื่อหลักและสื่อเสริมเพื่อการศึกษา สื่อหลักคือใช้หนังสือหรือตำราเรียนและเสริมโดยสื่ออื่นๆเช่นวิทยุ เทปเสียง เทปภาพ ส่วนสื่อเสริมคือใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประกอบการเรียน เช่นเป็นคู่มือ โดยผู้เรียนศึกษาจากสื่ออื่นเช่น E learning เป็นต้น
4.ปัญหาการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
(1.) ปัญหาด้านการแพร่กระจายสู่ชุมชน ความล่าช้าของการจัดส่ง จำนวนน้อย และไม่ทั่วถึง
(2.) ปัญหาด้านการเลือกหนังสือ ความมีอิสระในการเลือก ขาดการแนะนำ หนังสือที่ไม่เหมาะสมวางจำหน่าย
(3.) ปัญหาด้านการอ่าน อ่านไม่คล่อง และ อ่านไม่ออก
(4.) ปัญหาด้านราคา ต้นทุนกระดาษ กระบวนการผลิต จำนวนพิมพ์
(5.) ปัญหาด้านอิทธิพลจากสื่ออื่น โดยเฉพาะอิทธิพลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออินเทอร์เน็ต
5.แนวโน้มการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
(1.) แนวโน้มด้านการแพร่กระจายสู่ชุมชน มีแนวโน้มจะได้รับการแก้ไขให้การคมนาคมเป็นไปอย่างสะดวก ส่งผลให้สื่อสิ่งพิมพ์ไปถึงชุมชนได้มากขึ้นและทั่วถึง
(2.) แนวโน้มด้านการเลือกหนังสือ มีการกวดขันจับกุมหนังสือประเภทที่ไม่เหมาะสม และ คำแนะนำการเลือกหนังสือจากผู้ปกครอง ครู สื่อมวลชน และการจัดประกวดหนังสือของสถาบันต่างๆ
(3.) แนวโน้มด้านการอ่าน แนวโน้มด้านการอ่านไม่คล่องและอ่านไม่ออกกำลังจะหมดไป เพราะรัฐส่งเสริมให้คนเรียนหนังสือและเด็กทุกคนต้องเข้าโรงเรียนอย่างน้อย 6 ปี ตามกฏหมาย
(4.) แนวโน้มด้านราคา ราคาของสื่อสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
(5.) แนวโน้มด้านอิทธิพลจากสื่ออื่น โดยเฉพาะอิทธิพลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออินเทอร์เน็ต
9.2 สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
เป็นการแพร่เสียง เพื่อความรู้ ไปยังผู้ฟังโดยการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือเึครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือแพร่เสียงตามสาย1.ความเป็นมาของการใช้วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยครอบคลุม วิทยุโทรเลขและวิทยุกระจายเสียง และการจัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ และสามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายห่างไกล
ผู้ทรงริเริ่มกิจการวิทยุโทรเลขและวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยคือ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัคร โยธิน
การถ่ายทอดเสียงทางวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรก ในกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โครงการเกี่ยวกับการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยได้แก่ โครงการวืทยุศึกษา โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุกระจายเสียงของหน่วยราชการ โครงการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเครือข่าย2เพื่อการศึกษาของกรมประชาสัมพันธ์
วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษามีความสำคัญคือ ถ่ายทอความรู้ไผปยังผู้เรียนจำนวนมาก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ และสามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายห่างไกล
2. รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาแยกได้ 2 ประเภทคือ รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาทั่วไป และรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอน รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้มากเพื่อการศึกษาได้แก่ บทความหรือบรรยายคนเดียว สนทนา อภิปราย สัมภาษณ์ ละคร สารคดี สาระสะคร นิตยสารทางอากาศ และ ถ่ายทอดสด
รายการสนทนา รายการที่มีคนมาพูดกันสองคน ทั้ง 2 คนเป็นผู้ถามและคู่สนทนา
รายการวิทยุเพื่อการศึกษา รายการที่มุ่งให้ความรู้ทั่วไป สำหรับประชาชนและผู้เรียน
รายการสาระละคร รายการที่ผสมผสานรูปแบบรายการสารคดีเข้ากับรูปแบบรายการละคร
รายการสารคดี รายการที่มีหลายรูปแบบรายการรวมกันเนื้อหาสาระเป็นเรื่องเดียวกันตลอด
รายการละคร รายการที่เสนอเรื่องราวต่างๆด้วยการจำลองสถานการณ์
3. การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการสอนโดยตรงและเพื่อประกอบการสอนให้คววามรู้ทั่วไป ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และใช้เป็นสื่อหลักและสื่อเสริม
4. ปัญหาการใช้รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับ
นโยบายของสถาบันการศึกษา ขาดนโยบายที่เด่นชัด
การสนับสนุนด้านการผลิตรายการ ไม่ได้งบประมาณเพียงพอในการผลิตรายการ
การออกอากาศรายการ หน่วยงานที่มีสถานีออกอากาศแต่ได้เวลาไม่เหมาะสม และหน่วยงานที่ไม่มีสถานีออกอากาศต้องเช้าหรือซื้อเวลาออกอากาศ
คุณภาพรายการ รายการส่วนใหญ่ ใช้รูปแบบรายการง่ายๆ ทำให้คุณภาพรายการไม่ดีเท่าที่ควร
ผู้รับฟังรายการ ส่วนใหญ่ชอบรายการบันเทิงมากกว่าความรู้
5. การใช้รายการวิทยุเพื่อการศึกษามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน จำนวนเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง การเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียง และการขยายตัวของการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาทางไกล
แนวโน้มด้านความรู้ ข่าวสารและข้อมูลของประชาชนทำให้วิทยุเป็นสื่อที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
แนวโน้มด้านจำนวนเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงและราคาที่ถูกลง ประชาชนสามารถหาซื้อเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงได้ง่ายขึ้น
แนวโน้มด้านการเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียง ทั้งระบบเอเอ็ม และระบบเอฟเอ็ม เป็นจำนวนมาก
แนวโน้มด้านการขยายตัวของการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาทางไกลย่อมประสงค์จะเพิ่มรายการเพื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
9.3 สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
เป็นการแพร่ภาพและเสียงเพื่อความรู้ไปยังผู้ชมโดยการออกอากาศทางสถานีวืยุโทรทัศน์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฟรือแพร่ภาพพร้อมเสียงตามสาย1. วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นการแพร่ภาพควบเสียงเพื่อความรู้ไปยังผู้ชม โดยการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือแพร่ภาพควบเสียงตามสาย
พัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์เริ่มจากต่างประเทศมาในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ส่วนความสำคัญคือ ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เสียค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำ สามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล และทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหมายของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาคือ
การแพร่ภาพควบเสียง ให้ความรู้ไปยังชุมชน สถานีวิทยุโทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพร่ภาพควบเสียงตามสาย
ความสัมพันธ์ของปี พ.ศ.กับความเป็นมาของการจัดตั้งวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
พ.ศ. 2494 ตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด
พ.ศ. 2503 กรมประชาสัมพันธ์ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น 3 สถานี
พ.ศ. 2510 ตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง7
พ.ศ. 2513 เกิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3
พ.ศ. 2518 เกิดสถานีวิทยุโทรทัศน์สีช่อง 9 อ.ส.ม.ท
พ.ศ. 2521 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขยายเครือข่ายทั่วประเทศ
พ.ศ. 2532 ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เสรี ITV
พ.ศ. 2548 มีเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ออกอากาศแบบ VHF UHF และความถี่ 25,000
โครงการเกี่ยวกับการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย
การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระดับกระทรวงศึกษาธิการ การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะการปฏิรูปการศึกษาปี 2517 แนวทางการใช้วิทยุโทรทัศน์ของแผนปฏิรูปการศึกษา การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ความสำคัญของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
เสนอความรู้ - ค่าใช้จ่ายถูก - รวดเร็วทันเหตุการณ์ - ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย - เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
2. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจำแนกได้ 2 ประเภทคือ รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสอน โดยมีรูปแบบที่นิยมใช้มากเพื่อการศึกษาได้แก่ พูดคนเดียวหรือบรรยายคนเดียว สัมภาษณ์ สนทนา อภิปราย สาระละคี ละคี สารคดี นิตยสาร ถ่ายทอดสด สาธิตและทดลอง ตอบปัญหา โต้วาที ห้องเรียนจำลอง
รูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่ไม่ได้จัดอยู่ในรูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
รายการถ่ายทอดสด รายการสาธิตและทดลอง รายการตอบปัญหา รายการโต้วาที รายการห้องเรียนจำลอง
3. การใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย ใช้เป็นเครื่องมือในการสอนโดยตรงและเพื่อประกอบการสอน ให้ความรู้ ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และใช้เป็นสื่อหลักและสื่อเสริม
วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาใช้ 3 แนวทางคือ
(1.) เครื่องมือในการสอนตรง และเพื่อประกอบการสอน การสอนตรงให้นักเรียนได้รับชมตามเวลาออกอากาศ และเพื่อประกอบการสอนในขั้นใดขั้นหนึ่งของการสอนได้แก่ ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน ขั้นสอน หรือ ขั้นสรุป
(2.) ให้ความรู้ใน 2 ลักษณะคือ ความรู้พื้นฐานและเพื่อเสริมทักษะอาชีพ
(3.) เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองตามลำพังหรือเป็นกลุ่มย่อย
4. ปัญหาการใช้รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยได้แก่ ปัญหาในการผลิตรายการ และปัญหาในการออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
(1.) ปัญหาด้านงบประมาน (2.) ปัญหาด้านบุคคลากร (3.) ปัญหาด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการผลิต (4.) ปัญหาด้านคุณภาพการผลิต (5.) ปัญหาเรื่องพัสดุ (6.) ปัญหาของการกำหนดช่วงเวลาออกอากาศ
(7.) ปัญหาเกี่ยวกับการรับสัญญานวิทยุโทรทัศน์ไม่ชัดเจน (8.) ปัญหาเกี่ยวกับไม่ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย
5. แนวโน้มการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษามีสูงขึ้นในรูปของการจัดตั้งเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้นใหม่ และการกำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีอยู่แล้วจัดสรรเวลาและช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
(1.) แนวโน้มด้านความจำเป็นในการจัดตั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้นใหม่ เพื่อรองรับการออกอากาศรายการที่เพิ่มขึ้นและเวลาที่จัดสรรลดน้อยลง
(2.) แนวโน้มด้านจัดสรรเวลาที่เหมาะสมเพื่อออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ความไม่พอใจของหน่วยงานในการจัดสรรเวลาออกอากาศ
แบบประเมิน
1. บิดาแห่งการพิมพ์ โจอัน กูเทนเบิร์ก
2. สิ่งพิมพ์ประเภทรายงานการวิจัย เหมาะที่สุดที่จะนำมาใช้อ้างอิง การวิจัย
3. สื่อที่มีแนวโน้มเข้ามาแทนสื่อสิ่งพิมพ์คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. ข้อใดคือความสำคัญที่สุดของวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ถ่ายทอดความรู้ได้รวดเร็วทันเหตุการณ์
5. รูปแบบรายการวิทยุใดมีหลายรูปแบบรายการรวมกัน เนื้อหาสาระเป็นเรื่องเดียวกันตลอดรายการ รายการสารคดี
6. ข้อใดคือปัญหาสำคัญของการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในไทย ปัญหาด้านงบประมานการผลิต และการออกอากาศรายการ
7. แนวโน้มในการใช้รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยมีลักษณะใด จำนวนเครื่องรับวิทยุเพิ่มมากขึ้นและราคาถูกลง
8. สถานีวิทยุโทรทัศน์ได้ได้ดำเนินการมี 11 เครือข่าย ITV
9. รายการวิทยุโทรทัศน์ประเภทใดที่เสนอกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ผู้ชมได้แนวทางนำไปใช้ รายการสาธิตและทดลอง
10.ข้อใดคือแนวโน้มการใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทย จัดสรรเวลาที่เหมาะสมเพื่อการออกอากาศ
1. การพิมพ์ระยะแรกเริ่มมีขึ้นในสมัย อยุธยา
2. สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดมีลักษณะคล้ายข้อสอบมีการถามให้ตอบ แบบฝึกปฏิบัติ
3. เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญต่อแนวโน้มการใช้สื่อสิ่งพิมพ์อย่างไร แนวโน้มเข้ามาแทนสื่อสิ่งพิมพ์
4. วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนมีความสำคัญคือ ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนจำนวนมาก
5. รูปแบบรายการวิทยุใดมีการผสมผสานรายการสาระคดีเข้ากับรายการละคร สาระละคร
6. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในไทย ปัญหาด้านผู้รับฟังรายการ
7. ข้อใดคือแนวโน้มการใช้รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในไทย 1) มีการใช้กันมากขึ้นเพราะการขยายตัวของการศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาทางไกล 2) มีความต้องการความรู้ ข่าวสารและข้อมูล 3.)จำนวนเครื่องรับวิทยุและราคาที่ถูกลง 4.)การเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุกระจายเสียง
8. ในปี 2494 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 4
9. รายการวิทยุโทรทัศน์ประเภทใดที่เสนอเนื้อหาสาระด้วยภาพและเสียงบรรยายตลอดรายการ โดยไม่มีผู้ดำเนินรายการ อาจจะมีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องอยู่บ้าง รายการสารคดีเต็มรูปแบบ
10. การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยมีแนวโน้มอย่างไร มีความจำเป็นต้องจัดตั้งเครือข่าววิทยุโทรทัศน์
<<< ย้อนกลับหน่วยที่ 8 อ่านต่อหน่วยที่ 10 >>>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น