22 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่4

หน่วยที่ 4 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมนอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน

4.1 สภาพของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
4.2 การใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
4.3 การใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง

4.1 สภาพของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน 
กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการศึกษาพื้นฐานและต่อเนื่องที่จัดให้กับผู้ที่พลาดและไม่มีโอกาสศึกษาในระบบโรงเรียน ตั้งแต่ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
การศึกษาทุกระดับเมื่อผู้เรียนศึกษาได้ครบตามรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว ก็สามารถมาเทียบเท่ามีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกับการศึกษาในระบบทุกประการ
1) ลักษณะของการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
การศึกษาประเภทความรู้พื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บุคคลโดยทั่วไปอ่านออกเขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ตลอดจนมีความรู้ ความสามารถในการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การได้รับความรู้พื้นฐานของแต่ละบุคคลมีต่างระดับการศึกษาด้วยเช่น ระดับอ่านออกเขียนได้ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ ตอนปลาย รวมทั้งกาศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษาที่สูงขึ้นไปอีกด้วย
2) ตัวอย่างกิจกรรมประเภทอ่านออกเขียนได้
ได้แก่ โครงการการสอนอ่านเขียน โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน และส่วนที่จัดให้กลุ่มเป้าหมายต่างวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป
3) กิจกรรมประเภทการศึกษาสามัญและต่อเนื่อง 
ได้แก่ การเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และการศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษา ที่ใช้สื่อทางไกลมาช่วยจัดการเรียนการสอน

2. หลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานในแต่ละลักษณะของกิจกรรมต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรมการเรียนรู้ และความมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมลักษณะนั้น
1) หลักการการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานที่สำคัญๆ
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
3. ความมุงหมายของการจัดโครงการประเภทนั้นๆ
2) การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้มีขั้นตอนที่จำเป็นอะไรบ้าง
1. การวางแผนการใช้สื่อ
2. การกระจายสื่อ
3. การเลือกชนิดของสื่อ
4. การกำกับและติดตามผลการใช้เพื่อนำมาปรับปรุงการใช้ในครั้งต่อๆไป
3) ปัจจัยที่สำคัญๆ ในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่องมีอะไรบ้าง
ต้องคำนึงถึง กลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน เนื้อหาวิชา การเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการใช้ตลอดจนความคุ้มค่าในการลงทุนที่จะเลือกใช้สื่อประเภทต่างๆด้วย

4.2 การใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ สามารถนำสื่อมาใช้ได้ทั้งในลักษณะการเรียนการสอนและการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ โน้มน้าวให้ผู้เรียนอยากเรียน และช่วยส่งเสริมการฝึกทักษะการอ่านเขียนให้ต่อเนื่องกันไปเพื่อป้องกันการลืมหนังสืออีกด้วย การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนเพื่อทักษะ การอ่านเขียนและคิดเลข จะใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน อย่างไรก็ตามสื่อที่ใช้จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
จงอธิบายแนวทางการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ตามสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
แนวทางการเลือกใช้สื่อในการจัดกิจกรรมอ่านออกเขียนได้ต้องคำนึงถึง
1) ความต้องการและความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
2) วิธีการและข้อจำกัดของการใช้สื่อแต่ละประเภท
3) ความสำคัญและประโยชน์ของสื่อที่เลือกใช้
ในทุกกลุ่มเป้าหมายการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ส่วนใหญ่ในการเรียนการสอนจะใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน แบบฝึกหัด และแผ่นเรียน เพื่อช่วยในการอภิปราย โดยยกปัญหามาจากสภาพจริงในสังคมของผู้เรียน การใช้คู่มือเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับ ภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียนเป็นสำคัญ สิ่งที่ใช้กันอยู่เป็นแผ่นเรียนโดยใช้ภาษา และเนื้อหาที่ได้มาจากสภาพของชุมชนที่เขาดำรงชีวิตอยู่
นอกจากนี้ ต้องใช้สื่อโสตทัศน์ เช่น ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ และไสลด์ ในการโน้มน้าว กระตุ้น และจูงใจให้ผู้เรียนตื่นตัวอยากรู้ อยากเรียนอยู่เสมอ รายการวิทยุและโทรทัศน์ สื่อพื้นบ้าน จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ ให้มีการสมัครเรียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งช่วยในการแสวงหาบุคคลที่เป็นอาสาสมัครมาช่วยสอนเป็นอย่างดี
 สำหรับการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมต่อเนื่องต้องพิจารณาถึงรูปแบบ และเนื้อหา ที่ใช้ส่วนมากจะเป็นหนังสืออ่านประกอบที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ และความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
สภาพการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ใช้กันมาตั้งแต่เดิมและยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การเรียนการสอนแบบตัวต่อตัว มีผู้เรียนและอาสาสมัครสอนที่สามารถเรียนกันได้สะดวกทุกเวลา และสื่อสารเข้าใจกันได้ง่ายและรวดเร็ว สื่อที่ใช้มีทั้งส่วนที่เป็นแบบเรียนและสื่อที่สามารถหยิบหาได้ในครอบครัว ส่วนปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อมักอยู่ที่ความสนใจและทักษะการอ่านเขียนของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่
จงบอกถึงสภาพและปัญหาอุปสรรคการใช้สื่อการอ่านออกเขียนได้ว่ามีอะไรบ้าง
1) เนื้อหาในแบบเรียนไม่เป็นที่สนใจและต้องการของผู้เรียน
2) ผู้สอนหรืออาสาสมัครขาดเทคนิคในการเรียนการสอน
3) การใช้สื่อจะใช้แต่เพียงสื่อที่เป็นการอ่านเพียงด้านเดียว
4) ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเร็วเกินไป
5) ผู้เรียนที่มีอายุมากมักประสบปัญหาด้านสายตา การอ่านเขียน
6) ไม่มีเอกสารประกอบการอ่านเขียน ที่เพียงพอในท้องถิ่นที่ห่างไกล

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ เป็นข้อมูลแสดงถึงความมุ่งหมายของการเรียนการสอน วิธีการเรียนรู้ การใช้สื่อช่วยการเรียน และลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย การศึกษากรณีตัวอย่างจะช่วยให้ได้ทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงเพื่อให้มองเห็นช่องทางการเลือกใช้สื่อเพื่อช่วยให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้อ่านออกเขียนได้มากยิ่งขึ้น

4.3 การใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง
การเลือกใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง สามารถนำสื่อทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และชุดฝึกอบรม มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเลือกใช้สื่อต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนและหลักการจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิธีการเรียนการสอนซึ่งมีทั้ง การเรียนแบบชั้นเรียน การเรียนแบบทางไกล และการเรียนด้วยตนเองโดยใช้สื่อ
จงอธิบายการเลือกใช้สื่เพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่องตามวิธีการเรียน
1) วิธีเรียนแบบชั้นเรียน การใช้สื่อจะคล้ายกับการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน สื่อที่ใช้เช่น แบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน คู่มือแบบฝึกรายวิชา สื่อที่ใช้ช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นได้แก่ สไลดฺ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ เทปเสียง และ คอมพิวเตอร์เป็นต้น การเรียนการสอนจะใช้สื่อชนิดใดขึ้นอยู่กับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) วิธีเรียนแบบทางไกล จะใช้สื่อประสม เช่น คู่มือเรียน หรือชุดการเรียน รายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การเรียนการสอนแบบทางไกลจะมีผลดีต่อเมื่อมีการพบกลุ่มผู้เรียน  โดยมีครูประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษาแนะนำ นอกจากนี้ผู้เรียนจะต้องมีสื่อเอกสารสอนเสริมการออกอากาศเพื่อศึกษาประกอบการเรียนการสอนแบบทางไกลด้วย
3) วิธีเรียนด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่ใช้สื่อเอกสาร ได้แก่คู่มือการเรียนการสอน แบบเรียน คู่มือแบบฝึกหัด โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองทั้งหมด สื่อที่ใช้ทั้งหมดเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่สอดคล้องกับวิชาที่ลงทะเบียนเรียน

2. สภาพแลปัญหาอุปสรรคการใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง
สภาพการใช้สื่อการศึกษาสายสามัญทั้ง 3 วิธีการเรียน ส่วนใหญ่จะใช้สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ ที่เป็นแบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน แบบฝึกหัด เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียนการสอน เทปวิทยุ วีดิทัศน์ และ แผ่นโปร่งใส
สำหรับการศึกษาทางไกลจะใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และสื่อประสมหลายๆอย่าง
ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อที่พบเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่ คุณภาพของตัวสื่อ ความไม่พร้อมของผู้เรียน การใช้สื่อไม่ตรงคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการและความสนใจ และเทคนิคการใช้สื่อประเภทต่างๆไม่ถูกวิธี
สภาพปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกลในการจัดการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง สามารถพิจารณาจากสื่อที่ใช้ได้ดังนี้
1) คู่มือเรียน ตารางออกอากาศ ไม่ถึงมือผู้เรียนเมื่อมีการเรียนการสอน
2) ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีเงินซื้อหาหนังสือ และคู่มือเรียนเนื่องจากยากจน
3) การฟังรายการทั้งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รับฟังและชมได้ไม่ชัดเจน ไม่มีเวลาฟัง ไม่มีเครื่องรับที่ดี เวลาการจัดรายการไม่เหมาะสม และเนื้อหายังไม่น่าสนใจ
4) การพบกลุ่ม ปฏิบัติได้ไม่สะดวก ระยะทางไกล และไม่มีเวลาว่าง นอกจากนั้นการพบกลุ่มมุ่งเน้นแต่การสรุปและติวข้อทดสอบเป็นส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลแสดงให้เห็นถึงลักษณะและความมุ่งหมายของกิจกรรม วิธีการใช้สื่อประเภทต่างๆที่สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการของกิจกรรมนั้น
ข้อมูลในกรณีตัวอย่างของแต่ละกิจกรรมหรือการใช้สื่อในลักษณะต่างๆช่วยให้เห็นแนวทางและการพัฒนารูปแบบและการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆในโอกาสต่อไป

แบบประเมิน
1. กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานหมายถึง การศึกษาตั้งแต่อ่านออกเขียนได้จนถึงอุดมศึกษา
2. ข้อใด "ไม่เกี่ยวข้อง" กับกิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ การศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ การศึกษาขั้นมูลฐาน การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ)
3. ปัจจัยในข้อใดที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมประเภทความรู้พื้นฐาน วัตถุประสงค์
4. บุคคลในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อด้วยตนเองมากที่สุด ครูและวิทยากร
5. สื่อในข้อใดที่ใช้ในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอ่านออกเขียนได้น้อยที่สุด แผ่นพับ (ข้อที่โน้มน้าวมากคือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โปสเตอร์)
6. ทักษะในข้อใดเป็นการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการรู้หนังสือมากที่สุด การอ่านเขียน
7. สื่อพื้นบ้านที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้พื้นฐานในลักษณะใด โน้มน้าวและประชาสัมพันธ์
8. สื่อในข้อใดที่ทันสมัยที่สุดในการนำมาใช้เพื่อจัดกิจกรรมสายสามัญและสายต่อเนื่อง วีดิทัศน์
9. อุปสรรคที่สำคัญข้อใดที่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการจัดกิจกรรมอ่านออกเขียนได้ การกระจายสื่อให้ถึงผู้เรียน
10. สื่อที่จัดว่า "ง่ายที่สุดในการใช้ส่งเสริมการอ่านเขียนได้แก่" ป้ายประกาศ

1. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
2. การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จมีลักษณะตรงกับข้อใด การศึกษาเพื่อการอ่านออกเขียนได้
3. ข้อใด "ไม่ใช่" ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้สื่อในการจัดกิจกรรมประเภทความรู้พื้นฐาน สภาพแวดล้อมและชุมชน
4. ผู้ตัดสินใจในการเลือกใช้สื่อที่สำคัญที่สุดได้แก่ข้อใด ผู้สอนหรือผู้ให้บริการ
5. สื่อในข้อใดที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด วิทยุโทรทัศน์
6. สื่อประเภทใดที่ใช้ในกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องจากการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด แผ่นเรียนและหนังสืออ่านประกอบ
7. สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมประเภทการให้ความรู้พื้นฐานน้อยที่สุดได้แก่ข้อใด สื่อพื้นบ้าน
8. สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนกิจกรรมสายสามัญและต่อเนื่องมากที่สุดได้แก่ข้อใด สื่อโสตทัศน์
9. ปัญหาในข้อใดพบมากที่สุดในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้ไม่รู้หนังสือ สุขภาพและสายตา
10. การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองควรใช้สื่อลักษณะใด สื่อประสม

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 3   อ่านต่อหน่วยที่ 5 >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน