5 ต.ค. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่7

หน่วยที่7 การประเมิณทางการศึกษา

ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมิณทางการศึกษา

แนวคิดของการประเมิณทางการศึกษา

1. ความหมายของการประเมิณการศึกษา คือ กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด สิ่งที่มุ่งประเมิณทางการศึกษาได้แก่ หลักสูตร โครงการ สื่อ ผู้เรียน ครู การวัดและเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการคือ
1.1 การวัด คือการกำหนดตัวเลขที่แทนคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีกฎเกณฑ์ เช่น การวัดความยาวห้อง 5 เมตร วัดความรู้วิชา 78 คะแนน เป็นต้น
1.2  เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน ได้แก่ วัตถุประสงค์ มาตรฐานของงาน มาตรฐานการเรียนรู้ เงื่อนไขความสำเร็จ การเทียบกับสิ่งเป็นเลิศ การวิจัยเป็นต้น  เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินต้องเป็นที่ยอมรับ โปร่งใส เปิดเผย

2. หลักการของการประเมิณทางการศึกษา
2.1 เน้นการพัฒนามากกว่าจะเป็นการให้คุณโทษแก่ผู้ที่ถูกประเมิณ
2.2 ยึดหลักการเที่ยงธรรม โปร่งใส ตามหลักสภาพความเป็นจริง บนข้อมูลที่เชื่อถือได้
2.3 เน้นการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตร มากกว่าการกำกับและควบคุม
2.4 สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้อย่างชัดเจนเปิดเผย และผู้ประเมิณมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบผลการประเมิณได้
2.5 ผลการประเมิณสามารถนำไปใช้ได้จริงมีประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง และเสร็จทันเวลาที่จะนำผลงานไปใช้

3. ประโยชน์ของการประเมิณทางการศึกษา
การประเมิณมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจดำเนินการต่างๆ เนื่องจากทำให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ดังนี้
3.1 เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย และวางแผนงานได้ถูกทิศทาง เพราะจะทำให้ทราบว่า ค่าใช้จ่ายเท่าใด คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ บริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เป็นต้น
3.2 ทำให้ปรับปรุงพัฒนาในส่วนที่เป็นปัจจัยนำเข้า การประเมิณทำให้ทราบงบประมาณ บุคคลากร วัสดุต่างๆที่ได้รับในการดำเนินงานว่าเพียงพอหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อการปรับวิธีการ หรือเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เพียงพอ
3.3 ทำให้ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ทำให้ทราบจุดเด่นจุดด้อยของการปฏิบัติงาน ทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนแสวงหาแนวทางอื่นๆที่จะลดความสูยเปล่าของการปฏิบัติงาน
3.4 เป็นแนวทางในการกำหนดทางเลือกว่าควรดำเนินงานในช่วงต่อไป หรือยุติชั่วคราว หรือยกเลิก เนื่องจากผลการประเมิณทำให้ทราบถึงความสำเร็จและความล้มเหลว
3.5 เป็นการทบทวนการปฏิบัติงาน ว่าความพยายามที่ใช้ไปทั้งหมดได้ผลเพียงไร กิจกรรมที่ลงทุนไปคุ้มค่าหรือไม่ เป็นกลไลในการกระตุ้นการทำงานของบุคคลากร สร้างแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติงาน
3.6 เป็นการแสดงความรับผิดชอบในภารกิจของหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายจากสังคม ชุมชน โดยรายงานผลการประเมิณให้สาธารณชนทราบ

4. ขอบข่ายของการประเมิณทางการศึกษา
(1.) การประเมิณโครงการ (2.)การประเมิณสื่อการสอน (3.) การประเมิณการสอน (4.) การประเมิณการเรียน

ขั้นตอนของการประเมิณทางการศึกษา
1. ศึกษาและวิเคราะห์สิ่งที่มุ่งประเมิณ - ประเมิณอะไร จัดทำเป็นตัวชี้วัดที่วัดได้ตรวจสอบได้
2. กำหนดจุดมุ่งหมายหลักและวัตถุประสงค์ของการประเมิณ - ทำไมจึงประเมิณ
3. ออกแบบการประเมิณ - ประเมิณอย่างไร โดยกำหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมิณ เป็นกรอบการประเมิณ ว่าตัวชี้วัดในแต่ละจุดประสงค์มีอะไรบ้าง จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน เวลาใด ใช้วิธีการและเครื่องมือประเภทใด จะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาอย่างไร ใช้เกณฑ์ใดตัดสิน
4. สร้างเครื่องมือวัด ประเมิณ ให้สอดคล้องและครอบคลุมกับลักษณะหรือพฤติกรรมของสิ่งที่จะวัด การให้ผู้เชี่ยวชาญวัดความตรงของเครื่องมือ ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง (ที่คล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมาย) ปรับปรุงและจัดทำฉบับสมบูรณ์
5. ทำการวัด (เก็บข้อมูล) กับแหล่งข้อมูลที่กำหนด แหล่งข้อมูลที่ควรเก็บข้อมูลประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายคือ (1.) กลุ่มผู้ให้บริการ- ผู้ปฏิบัติโครงการ (2.)กลุ่มผู้รับบริการ-ผู้รับการอบรม (3.) กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง-ผู้บังคับบัญชาของผู้รับการอบรม ประชาชานที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน
6. วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ
7. ตัดสินผลประเมิณ
8.นำผลประเมิณไปใช้ ผู้ประเมิณจัดทำรายงานเสนอผู้เกี่ยวข้อง

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมิณการศึกษา

1.วิธีการที่ใช้ในการประเมิณทางการศึกษา
1.1 การประเมิณตนเอง - เป็นการให้ผู้ถูกประเมิณตรวจสอบตัดสินตนเองตามรายการที่กำหนด ข้อดีคือ ผู้ประเมิณรู้จักตัวเองดี ข้อจำกัด ผู้ประเมิณมักเข้าข้างตนเอง
1.2 การให้ทำแบบสอบถาม - ข้อดีคือตั้งคำถามได้จำนวนมาก ผู้ตอบมีเวลาคิด ข้อจำกัดคือ อาจจะตอบไม่ตรงประเด็น อาจจะได้รับคืนกลับมาไม่หมด หรือจำนวนน้อย หรืออาจจะให้ผู้อื่นทำแบบสอบถามแทน
1.3 การสัมภาษณ์ - ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึ้งซึ้ง แต่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
1.4 การสังเกต - นิยมใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อดีคือได้เห็นข้อมูลจริง ทั้งจิตพิสัย และ ทักษะพิสัย ข้อจำกัดคือใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูง
1.5 การทดสอบ - เป็นวิธีวัดการทดสอบทางสมอง สะท้อนผลที่ได้จากการเรียน การอบรม แต่ไม่สามารถวัดการปฏิบัติ และคุณธรรมจริยธรรมได้
1.6 การตรวจสอบเอกสาร/หลักฐาน - เช่นแฟ้มสะสมงาน การบ้าน ข้อดีคือ เป็นข้อมูลแสดงความสามารถของผู้เรียนตามความเป็นจริง ข้อจำกัดคือหากให้ความสำคัญกับวิธีนี้มากอาจทำให้เกิดการสร้างเอกสารที่ไม่ใช่สภาพเป็นจริงขึ้น
1.7 การใช้เทคนิคเดลไฟ - เป็นการเก็บข้อมูลหลายรอบจากกลุ่มผู้เชี่ยวลาญทรงคุณวุฒิ รอบแรกคือสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลมาสร้างแบบสอบถาม ส่งแบบสอบถามไปสอบถามอีกครั้ง นำผลการตอบมาวิเคราะห์สถิติเบื้องต้น กรณีที่มีผู้ตอบต่างจากกลุ่มให้ถามหาเหตุผลและติดตามเป็นรายบุคคล จนกว่าจะได้คำตอบที่คงเส้นคงวา จึงสิ้นสุดกระบวนการ ข้อดีคือมั่นใจในคุณภาพและความถูกต้อง ข้อจำกัดคือยุ่งยากและใช้เวลานาน
1.8 เทคนิคการสนทนากลุ่ม - เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีภูมิหลังใกล้เคียงกัน โดยพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น ตลอดจนการให้เหตุผลอย่างกว้างขวาง ข้อดีคือ ได้ข้อมูลหลากหลาย ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ข้อจำกัดคือได้รับข้อมูลจากการบอกเล่าไม่ได้เห็นจริง
1.9 การใช้เทคนิคเดคัม - การประชุมของผู้ปฏิบัติงาน 8-12 คน มี 3 ขั้นตอนคือ การระดมสมอง เขียนข้อความที่เสนอ ไม่มีการอภิปรายหรือโต้แย้ง ต่อมาจึงเป็นขั้นตอนการอภิปราย และสุดท้ายคือลงฉันทามติ ข้อดีคือ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ความเห็นหลากหลาย ข้อเสียคือได้รับข้อมูลจากคำบอกเล่าไม่ได้เห็นจริง
1.10 การเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ คือการใช้ข้อมูลที่มีผู้อื่นได้เก็บข้อมูล หรือวิเคราะห์ผลแล้ว เช่นรายงานประจำปีของหน่วยงาน รายงานการวิจัย หลักการเลือกใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ตอบสนองวัตถุประสงค์การใช้ ตรงประเด็น มีความทันสมัย มีความชัดเจนและน่าเชื่อถือ หากข้อมูลไม่ชัดเจนควรเก็บข้อมูลใหม่

2. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิณ
2.1 แบบสอบถาม - ใช้ถามความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้ตอบ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง โดยกำหนดความคิดเห็น 5 ระดับ แบบสอบถามนี้ตอบง่าย แต่คนส่วนใหญ่นิยมตอบว่าเห็นด้วย จึงควรมีทั้งข้อความที่เป็นบวกและลบอยู่ในแบบสอบถาม
2.2 แบบสัมภาษณ์ - เป็นวิธีที่จะได้คำตอบเชิงลึกมากกว่าแบบสอบถาม เพราะเก็บข้อมูลด้วยการพูดคุย
2.3 แบบสังเกต - แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบที่มีการกำหนดรายการประเด็นสังเกตล่วงหน้า และแบบที่เป็นการจดบันทึกไปตามสิ่งที่เห็นไม่มีการกำหนดประเด็นล่วงหน้า
2.4 แบบทดสอบ - เป็นเครื่องมือที่วัดความสามารถทางสมอง กระบวนการคิด แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ปรนัย และ อัตนัย แบบทดสอบปรนัยจะได้ข้อมูลที่เที่ยงธรรมและไม่มีอคติในการตรวจ แบบทดสอบแบบอัตนัยเหมาะกับการวัดสามารถทางการบรรยาย ความคิดสร้างสรรค์ การให้เหตุผล แต่คะแนนอาจจะผันแปรตามผู้ตรวจแต่ละคน

3. การเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือการเก็บข้อมูล
3.1 วัตถุประสงค์ของการประเมิณ - หากเพื่อปรับปรุงพัฒนาควรเลือกใช้วิธีประเมิณตนเอง การรับรองผลงานตามมาตรฐาน ควรใช้ข้อมูลหลายๆด้าน
3.2 คุณลักษณะ/พฤติกรรมที่วัด - การวัดความรู้ควรใช้เครื่องมือวัดเป็นแบบทดสอบ, พฤติกรรมด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย ควรใช้เครื่องมือวัดคือ แบบบันทึกการสังเกต, สำหรับการวัดความคิดเห็น ทัศนคติ ควรใช้ การสอบถาม และ การสัมภาษณ์
3.3 ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ - หากมีปริมาณคำถามมากควรใช้แบบสอบถาม หากต้องการข้อมูลเชิงลึกควรใช้แบบสัมภาษณ์ หากต้องการข้อมูลเชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิควรใช้แบบเดลไฟ
3.4 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถามเหมาะกับข้อมูลจากคนจำนวนมากๆผู้ตอบกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ หากเก็บข้อมูลจากคนอ่านหนังสือไม่ออกควรใช้การสัมภาษณ์ หากต้องการทราบความคิดเห็นจากกลุ่มคนอาชีพหรือภูมิหลังใกล้เคียงกัน ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม หรือ เดคัม
3.5 ระยะเวลาการเก็บข้อมูล - ไม่มากค่อนข้างจำกัด ใช้แบบสอบถาม
3.6 จุดเด่นและข้อจำกัดของวิธีการและเครื่องมือแต่ละประเภท หากเป็นไปได้ควรใช้หลายประเภทประกอบกันเพื่อลดข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลวิธีเดียว

ตอนที่ 2 การประเมิณโครงการและสื่อการศึกษา

1.การประเมิณโครงการทางการศึกษา เป็นการตัดสินคุณค่าของกลุ่มกิจกรรมทางการศึกษาที่มีเป้าหมายเดียวกันโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ โครงการค่ายเยาวชน โครงการการฝึกอบรมครู มีความสำคัญต่อการวางแผนงาน ปรับปรุงพัฒนาดำเนินกิจกรรมโครงการ ทำให้ทราบถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการ

การประเมิณโครงการมีหลายประเภท แบ่งตามบทบาทของการประเมิณ แบ่งตามแหล่งที่มาของผู้ประเมิณ และแบ่งตามระยะเวลาการประเมิณ

รูปแบบการประเมิณครอบคลุม การประเมิณที่ยึดจุดมุ่งหมาย การประเมิณเชิงระบบ การประเมิณแบบซิป และการประเมิณแบบมีส่วนร่วม การประเมิณแบบเคริกแพททริก การประเมิณแบบเคาน์ทิแนนช์ของสเตค และการประเมิณของแนตตัน

2. การประเมิณสื่อการศึกษา เป็นการตัดสินคุณค่าของสื่อการศึกษาเทียบกับเกณฑ์ มีความสำคัญเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน เป็นการยืนยันคุณภาพของสื่อ เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาสื่อการศึกษา และทราบถึงผลการใช้สื่อการศึกษา

การประเมิณสื่อการศึกษาจำแนกเป็น การประเมิณความจำเป็นของการจัดหาสื่อ การประเมิณคุณภาพภายในตัวสื่อ การตรวจสอบประสิทธิภาพสื่อ การติดตามการใช้/ผลิตสื่อ และประเมิณผลการใช้สื่อ

3 ต.ค. 2555

26301 การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ หน่วยที่1

หน่วยที่1 ความรู้พื้นฐานการศึกษาตลอดชีวิต

ตอนที่ 1 ความเป็นมาและความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต

1. การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว แต่ได้เริ่มพัฒนาให้ชัดเจนขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

สังคมโบราณดำรงอยู่โดยอาศัยการสืบต่อทางขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมนั้นๆ
เช่น พิธีกรรมเพื่อเข้าสู่สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ initiation ceremony ไทย-โกนจุก บวชพระ, อิสลาม - พิธีเข้าสุหนัด, พราหมณ์ - พิธีคล้องสายธุรำ

พลูตาค (กรีก) - "เมืองเป็นครูที่ดีที่สุด" การศึกษาขอชาวเอเธนเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สถานที่ให้ความรู้ก็คือเมืองเอเธนส์ทั้งหมด ชาวเอเธนส์ได้รับการศึกษาโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดระหว่างกัน

ศาสนาฮินดู คัมภีร์ภัควัทคีตา ว่าด้วย"โยคะแห่งปัญญา"  - การเข้ามาเป็นศิษย์หรือผู้เรียน การค้นคว้า การรับใช้ เป็นลักษณะของการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ

พุทธศาสนา - มีกระบวนการฝึกมนุษย์ให้พ้นจากกิเลสไปเรื่อยๆ และให้เจริญด้วยปัญญาเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งชีวิตถึขั้นสูงสุด

ศาสนาอิสลาม - การแสวหาความรู้เป็นหน้าที่จำเป็นแก่มุสลิมทั้งชายหญิง จงศึกษาตั้แต่เปลจนถึหลุมฝังศพ ทานที่ประเสริฐสุดคือการศึกษาหาความรู้แล้วบุคคลนั้นได้แนะนำสั่สอนต่อ

จอห์น อมอส คอมมีเนียส เขียนหนัสือชื่อ แพมแพเดีย - เสนอให้มีโรงเรียนในทุกช่วงอายุ คือ โรงเรียนเด็กทารก โรงเรียนเด็กปฐมวัย โรงเรียนเด็กเล็ก โรงเรียนหนุ่มสาว โรงเรียนสำหรับคนบรรลุนิติภาวะ โรงเรียนผู้ใหญ่ โรงเรียนคนชรา และโรงเรียนเตรียมตัวไปสู่ความตาย

ปี ค.ศ. 1960 ยูเนสโกจัดประชุมระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษาผู้ใหญ่ ณ กรุงมอนทรีออล แคนาดา - เริ่มมอเห็นความสำคัญขอการศึกษาตลอดชีวิตเป็นครั้งแรก
มีการประชุมการศึกษาผู้ใหญ่ครั้งต่อมา ณ กรุงโตเกียว ปีค.ศ1972 และปี 1976 การประชุมของยูเนสโก กรุงไนโรปี เคนยา ก็ได้ย้ำความสำคัญขอการศึกษาผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตลอดชีวิต

ปี 1972 ที่ประชุมยูเนสโก ก็ได้ให้ความสนับสนุนเรื่องนี้อีก ที่ประชุมได้ยอมรับรายงานชื่อ "การศึกษาเพื่อชีวิต-โลกของการศึกษาปัจจุบันและอนาคต" Learning to be: The World of Education Today and Tomorrow" ซึ่่งเสนอให้ประเทศต่าๆใช้การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวความคิดหลักในการพัฒนาประเทศ

ปี 1976 ในสหรัฐอเมริกา ออกกฏหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตเรียกว่า กฎหมายมอลเดล

ในยุโรป มีการเสนอแนวคิดให้ผู้เรียนอาจกลับเข้ามาเรียนได้อีกต่อประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ OECD ซึ่มีประเทศยุโรปเป็นส่วนใหญ่ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี

ในแผนการศึกษาแห่ชาติของประเทศไทย ได้มีการเน้นเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตในแผนฯปี 2520 และ ปี2535

2. การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึงการศึกษาที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลตั้งแต่เกิดจนอายุขัย จึงรวมถึงการศึกษาทุกประเภท ทั้การศึกษาในโรงเรียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการหรือการศึกษาตามอัธยาศัย

การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึงการจัดกระบวนการให้มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีลักษณะดังนี้
(1.) เป็นการดำเนินการตลอดชีวิตของบุคคล
(2.) เป็นการจัดที่มีการวางแผน ทำให้ได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ อันจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ซึ่เกิดขึ้นตลอดเวลา จนในที่สุดทำให้บุคคลได้พัฒนาตนอย่าเต็มศักยภาพ
(3.) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากแรงจูงใจของผู้เรียน ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
(4.) ใช้แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท ทั้งแบบในระบบ นอกระบบ และไม่เป็นทางการหรือตามอัธยาศัย

การศึกษาตามอัธยาศัย  หมายถึงการศึกษาที่เกิดขึ้นจากแหล่งการเรียนที่ไม่เป็นทางการ เช่น จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว การทำาน การพักผ่อน แหล่งการเรียนประเภทนี้ส่วนมากมักจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น แต่มีผลพลอยได้ทำให้เกิดความรู้แก่บุคคลได้ด้วย

3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2535 ของไทย ยอมรับแนวคิดว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตในการจัดการการศึกษาแห่ชาติ และได้บรรจุไว้เป็นหลักการสำคัญในแผน

ตอนที่2 รากฐานของการศึกษาตลอดชีวิต

1. ในเชิงปรัชญา การศึกษาตลอดชีวิต

จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง - สามารถปรับตนตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบในทางเสียหายแก่มนุษย์

จำเป็นต่อการพัฒนาตนเองให้บรรลุความสมบูรณ์ - คือต้องพัฒนาทั้งกาย ปัญญา สังคม อารมณ์ มนุษย์เราต้อใช้เวลายาวนานเพื่อจะสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตนเอง

จำเป็นต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ - มุ่งสร้างคนให้เป็นคนใหม่ มีความอยากรู้อยากเห็นตลอดชีวิต มอเห็นลำดับของสิ่งสำคัญต่างๆ และสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล

จำเป็นต่อสังคมแห่งประชาธิปไตย - เพื่อความเสมอภาคและมีส่วนร่วมขอทุกคนในสัคม ให้คนได้คิดเห็นข่าวสารและข้อมูลระหว่างกัน ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ได้ดีขึ้น

การศึกษาเป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดแก่มนุษย์ มนุษย์จึงมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่แล้ว การจัดความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ เท่ากับเป็นการส่งเสริมสิทธิขอมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั่นเอง

2. ในเชิงจิตวิทยา การศึกษาตลอดชีวิตสอดคล้องกับความจริงที่ว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดจนอายุขัย อุปสรรคของการเรียนในเชิงจิตวิทยานั้นแก้ไขได้

การเรียนรู้ก่อนวัยเรียน - เด็กก่อนวัยเรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มาก ซึ่งสติปัญญาเกิดขึ้นถึง50% เมื่ออายุ 4 ขวบ การให้การศึกษาแก่เด็กก่อนวัยเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาต่อไป

การเรียนรู้หลังออกจากโรงเรียน - ผู้ใหญ่สามารถเรียนได้โดยสติปัญญาไม่ได้ลดน้อยลงตามวัย และความสามารถในการเรียนจะคงอยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้ความสามารถนั้น การเสื่อมถอยจะเกิดขึ้นเฉพาะอย่าง เช่น ความเร็ว คุณลักษณะขั้นสูงขอการรับรู้ แต่ไม่เสื่อมถอยในส่วนที่เกี่ยวกับประสบการณ์และความรู้

ปัจจัยที่ยับยั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคคลคือ
(1.)การไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ และไม่มีการติดตามข้อมูลใหม่ๆ
(2.)การสร้างความชำนาญเฉพาะทางเกินสมควร ทำให้เกิดทรรศนะที่แคบ ในที่สุดจะปรับตัวเรียนรู้สิ่งอื่นๆได้ยาก
(3.)การจัดเงื่อนไขซึ่งทำให้ผู้มีอายุมากขึ้นขาดแรงจูงใจในการเรียน เพราะการจ้างงานนิยมจ้างหนุ่มสาวเท่านั้น สังคมควรปรับปรุงให้อค์การยินยอมให้คนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และจัดการ เมื่อมีบทบาทย่อมมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ 

3. ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม การศึกษาตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อการพัฒนาให้บุคคลรู้จักเลือกในสังคมที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ต้องมีการบูรณาการการศึกษากับชีวิต ต้องพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถเข้ารับบทบาทต่างๆในชีวิต
(1.) การรู้จักเลือกในสังคมที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น - เช่นจะเลือกรับค่านิยมใด ระหว่างค่านิยมเก่าและใหม่ที่เกิดขึ้นและขัดแย้งกัน จะวางแผนชีวิตตนเออย่างไร การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น รู้จักเลือกเฟ้นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเอและสังคมมากที่สุด
(2.) การบูรณาการการศึกษากับชีวิต - การนำเอาวิชาการต่างๆมาสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับวิชาการแขนงต่างๆในชีวิตความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น
(3.) การศึกษาเพื่อการเข้ารับบทบาทต่างๆในชีวิต - เช่นการศึกษาเพื่อครอบครัว การศึกษาเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม อาชีวศึกษา วิชาชีพต่อเนื่อง การศึกษาตลอดชีวิตมีหน้าที่ให้การศึกษาประเภทนี้เพิ่มเติม เพื่อส่งเาริมให้สมาชิกในสังคมทำหน้าที่ในบทบาทต่างๆของตนได้ดียิ่งขึ้น
(4.) การศึกษาเพื่อความเสมอภาค - การศึกษาตลอดชีวิต มีบทบาทสำคัญที่จะลดช่องว่างความไม่เสมอภาคทางการศึกษา เช่นจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่องให้แก่บุคคลที่ขาดโอกาสในวัยเด็ก จัดแหล่งวิชาเช่นห้องสมุด ที่อ่านหนังสือในเมืองและหมู่บ้าน จัดบริการความรู้และข่าวสารทางสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
(5.) การศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต - แม้จะแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำทาตรงไม่ได้ แต่สามารถสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนได้ ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสามารถเลือกปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตน ละเว้นสิ่งที่เป็นโทษได้ และเมื่อสังคมมีการตระหนักร่วมกันก็อาจร่วมมือกันระงับสิ่งที่เป็นผลเสียได้ เช่นการเรียกร้อไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น

รากฐานทางวัฒนธรรม อาจจะจำแนกเป็นสองส่วนคือ วัฒนธรรมทางวัตถุ (อาหารการกิน เสื้อผ้า) และวัฒนธรรมทางจิตใจ (ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ) การศึกษาวัฒนธรรมในอดีตมักจะศึกษาตามรูปแบบที่รัฐเห็นว่าเป็นสิ่งดีและสนับสนุน ส่วนใหญ่จึงเป็นวัฒนธรรมของชาวเมือง และวัฒนธรรมพื้นบ้านถูกละเลย ซึ่งความเป็นจริงแล้วสังคมใหญ่ของชาติหนึ่งๆมักจะมีวัฒนธรรมย่อยอยู่หลากหลาย
ประโยชน์ของวัฒนธรรม คือ การเป็นแบบอย่างให้บุคคลเรียนรู้และรับเอาพฤติกรรมต่างๆมาปฏิบัติเพื่อเข้ากับกลุ่มได้ ทำให้เกิดเอกภาพและการอยู่รอดขอสังคม มีสภาพบังคับทั้งการให้รางวัลและลงโทษ ทำให้มีความรู้สึกร่วมกัน อาจจะกล่าวได้ว่าการถ่ายทอดวัฒนธรรมเป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตอย่าหนึ่ง และควรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของบุคคล

4. ในเชิงเศรษฐกิจ การศึกษาตลอดชีวิตมีความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการบูรณาการการงานกับชีวิต
(1.) การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เนื่องจากแรงานส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถม การผลิตกำลังคนระดับกลางและระดับสูงไม่ตรงต่อความต้อการของตลาดแรงงาน แรงงานส่วนมากขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานอาชีพและสภาพการทำงาน ซึ่ตามทฤษฎีทุนมนุษย์ ผลผลิตย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของคนงาน การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มี 2 แนวทางคือ
แนวคิดที่1 การศึกษาทำหน้าที่ฝึกคุณลักษณะที่ดีให้คนงาน
แนวคิดที่2 การศึกษาเป็นเพียงเครื่อมือคัดกรองคนที่เหมาะสมให้แก่นายจ้าง แต่นายจ้างต้องไปฝึกทักษะเอง ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมาก
 (2.) การศึกษากับการเปลี่ยนสภาพการแบ่งงานกันทำ แนวคิดนี้เห็นว่า ความสามารถในการผลิตของคนงานนั้น เกิดขึ้นจากการปฏิบัติานจริงของคนงานในกิจการของนายจ้างนั่นเอง (แนวคิดของเกอเธ) การศึกษาตามความหมายนี้จึงไม่แยกงานและชีวิตออกจากกัน คือ ฝึกหัดและให้เรียนรู้ไปพร้อมการทำงาน ได้ประสปการณ์จากการทำานและการดำเนินชีวิต ซึ่แนวปฏิบัติในกลุ่มประเทศ OECD มุ่งเน้นการฝึกวิชาชีพไปพร้อมกับการศึกษาวิชาสามัญ และให้การแนะแนวในการเลือกอาชีพให้เหมาะสม การฝึกอบรมไม่เพียงแต่เน้นการปรับตัวเข้ากับงานที่มีอยู่ แต่ต้องพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการสร้างชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอีกด้วย

ตอนที่ 3 หลักการและแนวปฏิบัติของการศึกษาตลอดชีวิต

1. การศึกษาตลอดชีวิต เป็นระบบรวมของการศึกษาทุกประเภท และมีหลักการร่วมที่ใช้ได้ในการจัดการศึกษาทุกประเภท
2. การศึกษาตลอดชีวิต มุ่งเปลี่ยนแนวคิดที่ว่า การศึกษามีข้อจำกัดโดยช่วงเวลา สถานที่เรียน วิธีการเรียน เป็นการศึกษาระบบเปิด เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้โดยสะดวก และทั่วถึงตลอดชีวิต
3.แนวปฏิบัติของการศึกษาตลอดชีวิต เริ่มด้วยการสร้างเครื่อมือและความสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการให้การศึกษาพื้นฐาน เพื่อสร้างความพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป
4. หลังจากการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตอาจทำได้ด้วยการสอน การฝึกอบรม และการศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ

หลักการของการศึกษาตลอดชีวิต
1. การศึกษาไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อบุคคลจบจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
2. การศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วยการศีกษาในระบบ นอกระบบ และไม่เป็นทางการ
3. บ้านย่อมมีบทบาทสำคัญอันดับแรกในการให้การศึกษาตลอดชีวิต
4. ชุมชนเป็นแหล่ให้การศึกษาลำดับถัดมา
5. สถาบันการศึกษา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่ให้การศึกษาตลอดชีวิต
6. การศึกษาตลอดชีวิตจะต้อดำเนินการต่อเนื่องและผสมผสานบูรณาการกับการศึกษาระดับอื่นในทางตั้ง คือสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้โดยสะดวก สามารถเข้ามาเรียนเมื่อใดและออกไปเมื่อใดก็ได้
7. การศึกษาตลอดชีวิต จะต้องดำเนินการให้ผสมผสานหรือบูรณาการในทางราบ และทางลึก คือ สามารถเรียนได้หลายวิธี จากในโรงเรียน จากนอกระบบ จากฝึกอบรม และเรียนให้ครบทุกด้านของมนุษย์ คือ กาย ปัญญา สังคม อารมณ์ และเรียนให้ลึกซึ้ตามลำดับไปจนถึงแก่นสาระของสิ่งนั่นๆ
8. การศึกษาตลอดชีวิตควรจัดให้แพร่หลายทั่วถึง แม้คนที่อยู่ไกลและด้อยโอกาส
9. การศึกษาตลอดชีวิตมีลักษณะยืดหยุ่น และหลากหลายในด้านเนื้อหา เครื่องมือ วิธีการ และเวลา
10.การศึกษาตลอดชีวิตยินยอมให้ใช้ทางเลือกและวิธีการศึกษาอื่นๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกให้เหมาะกับเวลาและความสะดวกของตนได้
11.การศึกษาตลอดชีวิตประกอบด้วยเนื้อหากว้างๆ 2พวกคือ สายสามัญและสายวิชาชีพ ซึ่งต้อสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
12. การศึกษาตลอดชีวิตแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการศึกษาปัจจุบัน ที่ไม่สอดคล้องกับชีวิต ไร้ความหมาย ซึ่งการศึกษาตลอดชีวิตจะผนวกการศึกษาในโรงเรียนและนอกโรงเรียนเข้าด้วยกัน
13.เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาตลอดชีวิตคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
14. สิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาตลอดชีวิต คือ โอกาส แรงจูใจ และความสามารถที่จะศึกษา
15 การศึกษาตลอดชีวิต เป็นหลักการที่ใช้ในการจัดการศึกษาทุกอย่างได้
ประการแรก การศึกษาตลอดชีวิต กล่าวถึง ชีวิต บุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ประการที่สอง การศึกษาตลอดชีวิตครอบคลุมพัฒนาการทุกอย่างของมนุษย์ (กาย ปัญญา สังคม อารมณ์)
ประการที่สาม การศึกษาตลอดชีวิต ครอบคลุมบทบาทขอมนุษย์ที่จะมีในทุกสถานการณ์จนตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็ก มีคู่ครอง เป็นบิดามารดา เป็นคนงาน เป็นผู้นำชุมชน
16. การศึกษาตลอดชีวิต เป็นระบบรวมของการศึกษาทุกประเภท

แนวปฏิบัติของการศึกษาตลอดชีวิต
1.  การจัดการศึกษาพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อการศึกษาตลอดฃีวิต
การเรียนรู้ให้สามารถอ่านและเขียนตัวอักษร หรือหนังสือได้ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาเบื้องต้นรวมถึงความรู้ เจตคติ และทักษะที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับพลเมืองด้วย
ลักษณะของการศึกษาพื้นฐานคือ
- เป็นการศึกษาสำหรับทุกเพศทุกวัน
-มุ่งหมายสร้างความรู้พื้นฐานให้แก่ผู้เรียนในเรื่อง การรู้หนังสือ การคิดคำนวณ และเนื้อหาที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตเช่น สุขภาพอนามัย
- มุ่งหมายสร้างทักษะที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มุ่งสร้างเจตคติที่จำเป็นในเรื่อง ความอยากเรียนอยากรู้ ความเต็มใจที่จะมีบทบาทในสังคม ความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ความเต็มใจที่จะทำานร่วมกับผู้อื่น

แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาพื้นฐานเป็นเบื้องต้นขอการศึกษาตลอกชีวิตนั้น กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้กำหนดรูปแบบไว้ดังนี้
(1.) การศึกษาพื้นฐาน จัดเป็นระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยม
(2.) การให้บริการข่าวสารข้อมูลเพื่อให้คนที่มีการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถเรียนรู้ต่อเนื่องได้ เช่นห้อสมุดประชาชน วิทยุ โทรทัศน์ นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์
(3.) การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติมด้วยการฝึกอบรม เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่

2. การจัดเครือข่ายเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ ควรจะสัมพันธ์กันและสามารถถ่ายโอนผลการเรียนระหว่างกันได้ ด้วยการสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่าง คน กลุ่มคน ชุมชน อค์กร ให้เชื่อมโยงและเกื้อกูลกันและกัน โดยมีแนวทางส่งเสริมเครือข่ายคือ
(1.) การแสวงหา - รวบรวมหน่วยงานว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร จัดขึ้นเป็นทำเนียบ
(2.) การสร้างแนวร่วม - จัดทำแผนกำหนดหลักการเป้าหมาย และแนวทางร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
(3.) การส่งเสริม - สร้างความพร้อมในการจัดบริการการศึกษาตลอดชีวิตแก่หน่วยงาน เช่น การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนด้านสื่อการเรียน การสนับสนุนงบประมาณ การสนับสนุนด้านการจัดการ
(4.) การพัฒนาและรักษาเครือข่าย - พัฒนาประสิทธิภาพโดยการ ฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ เสริมแรเพื่อเพิ่มกำลังใจ เช่น การให้รางวัลและประกาศนียบัตร
สำหรับวิชาสามัญสามารถโอนการเรียนส่วนหนึ่งจากในระบบมาเป็นนอกระบบได้แต่ก็ยังทำได้ในวงจำกัด และการโอนผลการเรียนจากนอกระบบมาเป็นการเรียนในระบบยังไม่สามารถปฏิบัติได้ นอกจากจะเรียนจบตัวประโยคแต่ละระดับ รับใบประกาศนียบัตรของ ม.ต้น ม.ปลาย จึสามารถเข้าต่อสถานศึกษาในระบบได้

3. การจัดให้มีกองทุนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและคูปอง
เป็นวิธีที่จะส่งเสริมให้งานการศึกษาตลอดชีวิตขยายกว้างออกไป โดยการแจกคูปอการศึกษาแก่ผู้ที่มีคุณสมบัติที่ระบุไว้เพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษาต่างๆได้

4. การจัดการศึกษาให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
(1.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกได้-เข้าได้ตามความจำเป็น หลังการศึกษาภาคบังคับ Recurrent education บุคคลสามารถออกไปทำงานก่อนแล้วกลับมาเรียนสลับกันไปก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าผู้เรียนจะอายุเท่าไหร่
(2.) เปิดโอกาสให้เรียนเร็ว-ช้า ได้ตามสามารถ
(3.)เปิดโอกาสให้เลือกได้หลายๆวิธี

5.การจัดหลักสูตรให้กว้างและผสมผสาน
(1.) วิชาที่เป็นเครื่องมือ สำหรับนำไปใช้หาวิชาความรู้ต่อไปคือ วิชาภาษา
(2.)เนื้อหาหลักสูตรควรสอดคล้องกับชีวิต เช่น การผลิตอาหาร
(3.)หลักสูตรควรผสมผสานทั้งวิชาสามัญและการงาน ทั้การเรียนในระบบและนอกระบบ

6. การจัดหลักสูตรให้สอดคล้อกับบทบาทต่างๆขอชีวิตมนุษย์ 
ในช่วงชีวิตต่างๆของมนุษย์บทบาทจะเปลี่ยนแปลงไป การจัดการศึกษาควรจะคำนึงถึบทบาทที่ทุกคนจะต้องมีในแต่ละช่วงชีวิต เช่น บทบาทในฐานะที่เป็นตัวขอตัวเอง สามชิกขอครอบครัว สมาชิกของชุมชน พลเมือของประเทศ สมาชิกของกลุ่มอาชีพ และสมาชิกขอกลุ่มวัฒนธรรม

7. การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอแก่ผู้เรียน
การศึกษาตลอดชีวิตจะเป็นจริได้เมื่อผู้เรียนได้พัฒนาให้ตนเองมีทักษะเหล่านี้คือ
1.) การอ่าน การเขียน จนสามารถค้นคว้าได้
2.) รู้จักการเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น เรียนกับครู หรือเรียนเอโดยไม่ต้อมีครู เรียนเป็นกลุ่ม
3.) รู้จักคิด รู้จักหาเหตุผล รู้จักแปลความ รู้จักค้นคว้า
4.) รู้จักใช้สื่อต่าๆ เช่นแบบเรียน แบบฝึกหัด หนัสืออ่านทั่วไป วิทยุ โทรทัศน์ แบบเรียนสำเร็จรูป
5.) รู้จักชี้ระบุความต้องการขอตนเอ รู้จักวางแผนดำเนินการการศึกษาเล่าเรียนและประเมิณผล
6.) รู้จักใช้แหล่วิทยาการในชุมชนให้เป็นประโยชน์ เช่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม

8. การประเมิณผลให้สอดคล้อกับหลักการศึกษาตลอดชีวิต 
1.) ควรฝึกให้ผู้เรียนสามารถประเมิณผลได้ด้วยตนเอง
2.) การประเมิณควรเน้นทักษะการเรียนรู้ว่าก้าวหน้าไปเพียงไร

9. การปรับบทบาทของครูให้สอดคล้อกับการศึกษาตลอดชีวิต
สิ่งที่ครูจะต้อปรับเปลี่ยนและจะต้อทำคือ
1.) ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น ให้บุคคลได้เรียนรู้ เป็นผู้ประสานในกิจกรรมการเรียน บางทีก็อาจเป็นผู้เรียนร่วมไปกับผู้อื่น
2.)ต้องคุ้นเคยกับแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต สถาบันฝึกหัดครูจะต้องฝึกครูให้เป็นผู้มีเจตคติเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต และพร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ สอนให้นักเรียนรู้จักการวางแผนการเรียน

10. การจัดแหล่งความรู้ให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลและใช้ศึกษาหาความรู้อย่างทั่วถึง
การศึกษาตลอดชีวิตจะบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องมีแหล่งความรู้ให้ประชาชนรับทราบข่าวสารข้อมูล แหล่งความรู้แบ่ออกเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทบุคคล ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทสื่อ ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่6

หน่วยที่ 6 การจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา

ตอนที่ 1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน

1. สภาพแวดล้อมการเรียนการสอน หมายถึง สภาวะที่อยู่รอบตัวครูและนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมมีหลักการด้านจรรโลงใจ สะอาดเรียบร้อย การประหยัด การเน้นประโยชน์ สะดวกต่อการใช้สอย และสวยงาม และมีประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้

2. วิธีการจัดสภาพแวดล้อมมี 3 ประเภทคือ

(1.)วิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ - การกำหนดที่ตั้งห้องเรียน การควบคุมอุณหภูมิ การจัดเก้าอี้และโต๊ะเรียน การจัดกระดานนิเทศ ตำแหน่งโต๊ะครู มุมวิชาการ มุมหนังสือ ศูนย์การเรียน เฟอร์นิเจอร์ และ สิ่งอำนวยความสะดวก

(2.)วิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางจิตภาพ - วิธีการพัฒนาบุคลิกภาพ อารมณ์ ความสนใจ ความเป็นกันเอง การเปิดใจ รับฟังนักเรียน ความเข้าใจภูมิหลังและสภาพจิตใจผู้เรียน

(3.)วิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม - สภาพทางครอบครัว ความเชื่อ การอบรมเลี้ยงดู กฎระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความสัมพันธ์ของครูและนักเรียน ครูจำเป็นต้องหาวิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ตนเองจะปรับเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครูคนอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน

3. การประเมิณการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน อาจทำได้ด้วยการ
ตรวจตามมาตรฐานที่กำหนด
การประเมิณผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่เรียนและผู้เกี่ยวข้อง

ตอนที่ 2 ภาพนึกใหม่ของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและนอกห้องเรียน

1. ภาพใหม่ของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน คือ

การจัดวิหคทัศน์ (Bird eye's View) ของโรงเรียน ครอบคลุมวัตถุประสงค์เพื่อ
(1.) การเสาะแสวงหาความรู้เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(2.) เป็นที่อบรมนิสัยให้คำแนะนำคุณธรรมและดำรงชีวิต
(3.) เป็นแหล่งความรู้เพื่อการศึกษาวิจัย
(4.) เป็นที่ฝึกปฏิบัติทักษะความชำนาญ
(5.) เป็นที่ให้คำปรึกษาปัญหาส่วนตัวสำหรับผู้เรียน
(6.) ให้บริการคณาจารย์
(7.) เป็นที่ฝึกประสบการณ์เฉพาะเรื่อง
(8.) เป็นที่พัฒนาสุขภาพพลานามัย
(9.) เป็นที่หารายได้แก่โรงเรียนและเพิ่มสวัสดิการแก่นักศึกษาตามกิจกรรมวิสาหกิจ
(10.)พัฒนาสุขภาพสมรรถนะทางกายและสมอง
(11.) ให้ได้รับโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะ
(12.) กำกับควบคุมการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี มีประสิทธิภาพ
(13.) การวางแผนระบบจราจรที่เอื้อต่อการสัญจรไปมาและสะดวกปลอดภัย

ภาพใหม่ของกิจกรรมการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เผชิญประสบการณ์ ผู้เรียนต้องดำเนินงานตาม 7 ขั้นตอนคือ
(1.) การประเมิณก่อนเผชิญประสปการณ์
(2.) ปฐมนิเทศ โดยครูเจ้าของวิชาชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียด
(3.) ผู้เรียนเผชิญประสปการณ์ตามแผนเผชิญฯด้วยตนเอง, เข้ากลุ่มเพื่อเรียนหรือทำงานกับเพื่อน, เรียนกับครู การศึกษาค้นคว้าอาจทำจากเอกสาร หรือ จากอินเตอร์เน็ต
(4.) รายงานความก้าวหน้าให้ครูและเพื่อนๆในวิชาเดียวกันได้ทราบ
(5.) รายงานผลสุดท้ายหลังประกอบภารกิจเสร็จ
(6.) สรุปประสปการณ์ เพื่อชี้ให้เห็นขั้นตอนอย่างชัดเจน
(7.) ประเมิณหลังเผชิญประสปการณ์

2. การจัดองค์ประกอบที่เอื้อต่อการจัดสถาปัตยกรรมของสถานศึกษา ได้แก่
อาคารบริหาร - ศูนย์กลางการวางแผน ประสานงาน และรายงานผล
อาคารห้องเรียน - จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนแบบอบอุ่น เหมือนบ้าน
ฐานความรู้ - หอความรู้ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และสื่อในท้องถิ่น
สถานปฏิบัติการ - ห้องฝึกปฏิบัติเสริมประสปการณ์ เช่น ห้องปฏิบัติการภาษา, วิทยาศาสตร์
ลานเผชิญประสบการณ์ - บริเวณอเนกประสงค์
สถานบริการศึกษา - เช่นศูนย์แนะแนว, ศูนย์สอนเสริม ควรอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหอความรู้
สนามกีฬา - ควรตั้งบริเวณด้านหน้าของโรงเรียน
อุทยานการศึกษา - สวนหรือบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้
สถานบริการเฉพาะทาง - ศูนย์วิชาการที่สอดคล้องกับเนื้อหาในท้องถิ่น เช่น ศูนย์ศิลปาชีพ
สถานวิสาหกิจ - สหกรณ์ ศูนย์หนังสือ ร้านค้า ซึ่งเป็นสถานฝึกงานของผู้เรียนได้
สถานที่เก็บเครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวก - โรงซ่อม โรงเก็บเครื่องมือ ควรอยู่ไกลจากศูนย์กลางการบริหาร วิชาการ และ บริการ
สถานโภชนาการและโรงอาหาร - ไม่ควรอยู่กลางบริเวณเพราะอาจจะมีปัญหากลิ่นและความสะอาด แต่ก็ไม่ควรอยู่ไกลศูนย์กลางนัก เพื่อความสะดวก
ถนนหนทางและที่จอดรถ - ควรกำหนด ส่วนนอก ส่วนใน และ ส่วนหนีภัย

ตอนที่ 3 การพัฒนาสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนการสอน

1. การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนตามแนวปฏิรูปจะเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ส่วนคือ

1.1.บริเวณกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของห้องเรียนใช้ประกอบกิจจกรรมทางวิชาการได้แก่
(1.) การประชุม
การประชุมรวม - อบรมสั่งสอนตอนเช้า สอนเรื่องใหม่ๆ การประเมิณก่อนเผชิญประสปการณ์ ปฐมนิเทศก่อนเผชิญประสปการณ์ รายงานความก้าวหน้า สรุปประสปการณ์ และ ประเมิณผลหลังประสปการณ์ และกิจกรรมที่ต้องการให้นร.อยู่รวมกัน เวลาประชุมนักเรียนนั่งรอบโต๊ะใหญ่
การประชุมกลุ่มย่อย - สำหรับการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนกับครู และทำกิจกรรมอื่นๆเช่นการเตรียมงานของห้องเรียน โต๊ะแต่ละตัวแยกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 6-8 คน
(2.)ที่จัดนิทรรศการ สำหรับผลงานที่สำเร็จจากประสปการณ์ คือ ส่วนที่จัดตามฤดูกาลอาจยาวนาน 2-4 สัปดาห์ และ ส่วนที่จัดเฉพาะกิจ ใช้เวลาสั้น 1 วันหรือ 1 สัปดาห์ ไว้เสนองาน นร.
(3.)มุมความรู้ เป็นห้องสมุดประจำห้องเรียนที่ครูและนักเรียนจัดหามา เช่นหิ้งหนังสือ หิ้งซีดี หนังสืออ้างอิง หนังสือประเภทต่างๆ

1.2.ห้องเรียนคือบ้าน เป็นส่วนที่จัดเตรียมไว้สำหรับเก็บของส่วนตัว และที่พักผ่อน มีตู้เก็บของที่ล็อกกุญแจได้จำนวนเท่ากับนักเรียนแบบบิวท์อิน มีชุดรับแขกไว้พักผ่อน หรือพื้นห้องที่ปูเสื่อ

1.3.ส่วนทำงานครู ควรมีโต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายใน เอกสารคู่มือการทำงาน อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์โสตทัศน์

2. การจัดแหล่งวิทยบริการ ประกอบด้วย 

2.1 ฐานความรู้ เป็น หอความรู้เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์การเรียนเฉพาะด้าน ซึ่งฐานความรู้มีทั้งฐานความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ อิงสื่อพื้นฐานเช่นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อที่พบได้ตามท้องถิ่น

2.2 สถานปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของหอเผชิญประสปการณ์ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางภาษา มีซีดี หูฟัง ไมโครโฟน , ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องเคมี ห้องฟิสิกซ์ ห้องไฟฟ้า, ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อด้วยระบบ LAN ,ห้องปฏิบัติการประชาธิปไตย  มีการพัฒนาแบบจำลองประชาธิปไตย เผยแพร่ชุดฝึกอบรม3ชุดคือ การเมืองกับชีวิต ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และ การมีส่วนร่วม มีห้องประชุมสำหรับจำลองห้องประชุมสภา มีชุดฝึกอบรม เอกสาร สารานุกรม ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไว้ค้นคว้าด้วย

2.3 ลานเผชิญประสปการณ์ที่โรงเรียนจะต้องเตรียมไว้ ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและเผชิญประสปการณ์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
กิจกรรมภายใน - กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเขียนรายงาน ประสปการณ์ที่เกี่ยวกับการสร้างต้นแบบ ชิ้นงาน  ตามโครงการหรือโครงงาน หรือการทดลองที่ไม่ต้องใช้บริเวณหรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่
กิจกรรมภายนอก - อาจะเน้นลานประสปการณ์ขนาดใหญ่ เช่นแปลงเกษตร โรงงาน โรงยิม

1 ต.ค. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่5

หน่วยที่ 5 พฤติกรรมและวิธีการทางการศึกษา

ตอนที่1. พฤติกรรมและวิธีการทางการศึกษา

1. พฤติกรรมทางการศึกษา หมายถึง การกระทำของนักบริหาร นักวิชาการ และ นักบริการ ในการจัดการศึกษา จัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนการจัดการศึกษาและจัดการเรียนการสอน
มีขอบข่ายครอบคลุมพฤติกรรมด้านบริหาร วิชาการ และบริการ

พฤติกรรมด้านบริหาร - ทำหน้าที่วางแผน จัดการองค์กร นำองค์กร เพื่อให้การศึกษาบีีลุวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ

พฤติกรรมด้านวิชาการ - ทำหน้าที่สอน วิจัย เพื่อให้การเรียนการสอนบรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการศึกษา

พฤติกรรมด้านบริการ - ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาของนักบริหาร และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของนักวิชาการ

2. วิธีการทางการศึกษา หมายถึง การทำงานตามขั้นตอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และ การสนับสนุนการจัดการศึกษา
มีขอบข่ายครอบคลุม วิธีการด้านบริหาร วิธีการด้านวิชาการ วิธีการด้านบริการ

ตอนที่2. พฤติกรรมและวิธีการด้านบริหารทางการศึกษา

1. นักบริหาร มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการศึกษา

การจัดการ มี 4 องค์ประกอบคือ
- การวางแผน Planning
- การจัดองค์กร Organizing
- การนำองค์กร Leading
- การควบคุมองค์กร Controlling

วัตถุประสงค์ทางการศึกษา  เป็นคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากสำเร็จการศึกษา เช่นมาตรฐานผลลัพธ์ 12 รายการที่ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้

พฤติกรรมด้านการบริหารการศึกษา จำแนกเป็น

พฤติกรรมด้านปัจจัยนำเข้า  - การทำตนให้เป็นผู้มีความพร้อมในการบริหาร เช่น
พฤติกรรมที่ 1 ทำตนให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และ แบบอย่างที่ดี
พฤติกรรมที่ 2 ทำตนให้เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร จัดการ

พฤติกรรมด้านกระบวนการ - ได้แก่ พฤติกรรมการจัดการ (P,O,L,C) เช่น
1.) การจัดองค์กร โครงสร้าง และบริหารอย่างเป็นระบบ ครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา
2.) การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
3.) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของผู้เรียน
4.) การส่งเสริมและพัฒนาครู บุคคลากร ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
5.) การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
6.) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. วิธีการบริหาร เป็นการทำงานตามขั้นตอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการ (1.) ทำด้วยตนเอง (2.) ทำร่วมกับผู้อื่น (3.) หรือมอบให้ผู้อื่นทำ

วิธีการบริหารตามทฤษฎีXY(ของดักกลาส) ยึดหลักมอบหมายงานให้เหมาะสมกับลักษณะของคนทำงาน ถ้าผู้ร่วมงานทำงานที่ได้รับมอบหมายให้องค์กรก็ประสบความสำเร็จ  ซึ่งผู้ร่วมงานของดักกลาส แมคเกรเกอร์ ถูกแยกเป็น 2 ลักษณะ คือ X กับ Y

แบบ X - ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยง ต้องโดนบังคับ กำกับ ข่มขู่ ลงโทษ ขาดความทะเยอทะยาน ต้องการความมั่นคง ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้บริหารต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด เช่นใช้บัตรตอก ใช้ตารางเวลางาน

แบบ Y - ชอบทำงาน ใช้ความพยายามทั้งร่างกายและจิตใจ สั่งการและควบคุมเอง รางวัลเป็นการตอบสนองความต้องการระดับเกียรติยศ ชื่อเสียง และความสมหวังในชีวิต รับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีศักยภาพและองค์กรใช้ศักยภาพน้อยไป ซึ่งผู้บริหารควรให้มีส่วนร่วม

ตอนที่ 3 พฤติกรรมและวิธีการด้าน วิชาการทางการศึกษา

1. นักวิชาการทางการศึกษา มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนด้วยการ วางแผนการสอน ดำเนินการสอน และการประเมิณผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา

พฤติกรรมด้านวิชาการทางการศึกษาจำแนกเป็น
พฤติกรรมด้านปัจจัยนำเข้า - การทำตนให้เป็นผู้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน เช่น
(1.) การทำตนให้เป็นผู้มีวิญญานความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม
(2.) การทำตนให้เป็นผู้มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นศุนย์กลาง
(3.) การทำตนให้เป็นผู้มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
(4.) การทำตนให้เป็นผู้มีคุณวุฒิ / ความรู้ และมีความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ

พฤติกรรมด้านกระบวนการ - ได้แก่ พฤติกรรมวางแผนการสอน การสอน การประเมิณผล เช่น
(1.) การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
(2.) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2. วิธีการด้านวิชาการทางการศึกษาที่จำแนกเป็น
วิธีจัดการเรียนการสอนที่ใช้ได้ทั่วไปกับกลุ่มสาระวิชา
วิธีจัดการเรียนการสอนที่ใช้ได้เฉพาะกลุ่มสาระวิชาใดวิชาหนึ่ง

ตอนที่ 4 พฤติกรรมและวิธีการด้านบริการทางการศึกษา

1. นักบริการทางการศึกษามีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของนักบริหาร และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการ

ระบบการบริการประกอบด้วย
(1.)สิ่งที่ให้บริการ เช่นสื่อการเรียน เอกสารการสอน (จับต้องได้) , คำปรึกษา (จับต้องไม่ได้)
(2.)วิธีบริการ ช่วยเหลือแบบเผชิญหน้า เช่น การยืมเอกสารที่ห้องสมุด ,ช่วยเหลือแบบไม่เผชิญหน้า เช่น การสืบค้นข้อมูลผ่านทางเครือข่าย
วิธีบริการประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ [การวางแผน] > [การเตรียมการ] > [การช่วยเหลือ หรือลงมือผลิตสิ่งที่ต้องการ] > [การติดตามและประเมิณผลสิ่งที่ผลิตให้]
(3.)ผลที่ได้จากการบริการ

พฤติกรรมด้านการบริหารทางการศึกษาจำแนกเป็น
พฤติกรรมด้านปัจจัยนำเข้า เช่น
(1.) การทำตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม แบบอย่างที่ดี
(2.) การทำตนให้เป็นผู้มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริการจัดการ
(3.) การทำตนให้เป็นนักบริการที่ดี
พฤติกรรมด้านกระบวนการ เช่น
(1.) ออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน
(2.)ออกแบบเพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอน
(3.)ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(4.) วิจัยและพัฒนา
(5.) ประเมิณผลภายในและภายนอก
ฯลฯ

2. วิธีการบริการทางการศึกษาจำแนกเป็น 
1.วิธีการสั่งให้ทำ - [รับมอบงาน] > [ดำเนินการผลิต] > [มอบงาน]
2.วิธีการบอกให้ไปทำเอง - [การสร้างสัมพันธ์ภาพ] > [การให้คำปรึกษา] > [ยุติการให้การปรึกษา]
3.วิธีทำงานร่วมกัน - [วางแผนร่วมกัน]>[เตรียมการร่วมกัน]>[ผลิตด้วยกัน]>[ประเมิณผลร่วมกัน]

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน