หน่วยที่1 ความรู้พื้นฐานการศึกษาตลอดชีวิต
ตอนที่ 1 ความเป็นมาและความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต
1. การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว แต่ได้เริ่มพัฒนาให้ชัดเจนขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
สังคมโบราณดำรงอยู่โดยอาศัยการสืบต่อทางขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมนั้นๆ
เช่น พิธีกรรมเพื่อเข้าสู่สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ initiation ceremony ไทย-โกนจุก บวชพระ, อิสลาม - พิธีเข้าสุหนัด, พราหมณ์ - พิธีคล้องสายธุรำ
พลูตาค (กรีก) - "เมืองเป็นครูที่ดีที่สุด" การศึกษาขอชาวเอเธนเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สถานที่ให้ความรู้ก็คือเมืองเอเธนส์ทั้งหมด ชาวเอเธนส์ได้รับการศึกษาโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดระหว่างกัน
ศาสนาฮินดู คัมภีร์ภัควัทคีตา ว่าด้วย"โยคะแห่งปัญญา" - การเข้ามาเป็นศิษย์หรือผู้เรียน การค้นคว้า การรับใช้ เป็นลักษณะของการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
พุทธศาสนา - มีกระบวนการฝึกมนุษย์ให้พ้นจากกิเลสไปเรื่อยๆ และให้เจริญด้วยปัญญาเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งชีวิตถึขั้นสูงสุด
ศาสนาอิสลาม - การแสวหาความรู้เป็นหน้าที่จำเป็นแก่มุสลิมทั้งชายหญิง จงศึกษาตั้แต่เปลจนถึหลุมฝังศพ ทานที่ประเสริฐสุดคือการศึกษาหาความรู้แล้วบุคคลนั้นได้แนะนำสั่สอนต่อ
จอห์น อมอส คอมมีเนียส เขียนหนัสือชื่อ แพมแพเดีย - เสนอให้มีโรงเรียนในทุกช่วงอายุ คือ โรงเรียนเด็กทารก โรงเรียนเด็กปฐมวัย โรงเรียนเด็กเล็ก โรงเรียนหนุ่มสาว โรงเรียนสำหรับคนบรรลุนิติภาวะ โรงเรียนผู้ใหญ่ โรงเรียนคนชรา และโรงเรียนเตรียมตัวไปสู่ความตาย
ปี ค.ศ. 1960 ยูเนสโกจัดประชุมระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษาผู้ใหญ่ ณ กรุงมอนทรีออล แคนาดา - เริ่มมอเห็นความสำคัญขอการศึกษาตลอดชีวิตเป็นครั้งแรก
มีการประชุมการศึกษาผู้ใหญ่ครั้งต่อมา ณ กรุงโตเกียว ปีค.ศ1972 และปี 1976 การประชุมของยูเนสโก กรุงไนโรปี เคนยา ก็ได้ย้ำความสำคัญขอการศึกษาผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตลอดชีวิต
ปี 1972 ที่ประชุมยูเนสโก ก็ได้ให้ความสนับสนุนเรื่องนี้อีก ที่ประชุมได้ยอมรับรายงานชื่อ "การศึกษาเพื่อชีวิต-โลกของการศึกษาปัจจุบันและอนาคต" Learning to be: The World of Education Today and Tomorrow" ซึ่่งเสนอให้ประเทศต่าๆใช้การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวความคิดหลักในการพัฒนาประเทศ
ปี 1976 ในสหรัฐอเมริกา ออกกฏหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตเรียกว่า กฎหมายมอลเดล
ในยุโรป มีการเสนอแนวคิดให้ผู้เรียนอาจกลับเข้ามาเรียนได้อีกต่อประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ OECD ซึ่มีประเทศยุโรปเป็นส่วนใหญ่ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
ในแผนการศึกษาแห่ชาติของประเทศไทย ได้มีการเน้นเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตในแผนฯปี 2520 และ ปี2535
2. การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึงการศึกษาที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลตั้งแต่เกิดจนอายุขัย จึงรวมถึงการศึกษาทุกประเภท ทั้การศึกษาในโรงเรียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึงการจัดกระบวนการให้มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีลักษณะดังนี้
(1.) เป็นการดำเนินการตลอดชีวิตของบุคคล
(2.) เป็นการจัดที่มีการวางแผน ทำให้ได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ อันจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ซึ่เกิดขึ้นตลอดเวลา จนในที่สุดทำให้บุคคลได้พัฒนาตนอย่าเต็มศักยภาพ
(3.) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากแรงจูงใจของผู้เรียน ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
(4.) ใช้แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท ทั้งแบบในระบบ นอกระบบ และไม่เป็นทางการหรือตามอัธยาศัย
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึงการศึกษาที่เกิดขึ้นจากแหล่งการเรียนที่ไม่เป็นทางการ เช่น จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว การทำาน การพักผ่อน แหล่งการเรียนประเภทนี้ส่วนมากมักจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น แต่มีผลพลอยได้ทำให้เกิดความรู้แก่บุคคลได้ด้วย
3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2535 ของไทย ยอมรับแนวคิดว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตในการจัดการการศึกษาแห่ชาติ และได้บรรจุไว้เป็นหลักการสำคัญในแผน
ตอนที่2 รากฐานของการศึกษาตลอดชีวิต
1. ในเชิงปรัชญา การศึกษาตลอดชีวิต
จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง - สามารถปรับตนตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบในทางเสียหายแก่มนุษย์
จำเป็นต่อการพัฒนาตนเองให้บรรลุความสมบูรณ์ - คือต้องพัฒนาทั้งกาย ปัญญา สังคม อารมณ์ มนุษย์เราต้อใช้เวลายาวนานเพื่อจะสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตนเอง
จำเป็นต่อสังคมแห่งการเรียนรู้ - มุ่งสร้างคนให้เป็นคนใหม่ มีความอยากรู้อยากเห็นตลอดชีวิต มอเห็นลำดับของสิ่งสำคัญต่างๆ และสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล
จำเป็นต่อสังคมแห่งประชาธิปไตย - เพื่อความเสมอภาคและมีส่วนร่วมขอทุกคนในสัคม ให้คนได้คิดเห็นข่าวสารและข้อมูลระหว่างกัน ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ได้ดีขึ้น
การศึกษาเป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดแก่มนุษย์ มนุษย์จึงมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตอยู่แล้ว การจัดความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ เท่ากับเป็นการส่งเสริมสิทธิขอมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั่นเอง
2. ในเชิงจิตวิทยา การศึกษาตลอดชีวิตสอดคล้องกับความจริงที่ว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดจนอายุขัย อุปสรรคของการเรียนในเชิงจิตวิทยานั้นแก้ไขได้
การเรียนรู้ก่อนวัยเรียน - เด็กก่อนวัยเรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มาก ซึ่งสติปัญญาเกิดขึ้นถึง50% เมื่ออายุ 4 ขวบ การให้การศึกษาแก่เด็กก่อนวัยเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาต่อไป
การเรียนรู้หลังออกจากโรงเรียน - ผู้ใหญ่สามารถเรียนได้โดยสติปัญญาไม่ได้ลดน้อยลงตามวัย และความสามารถในการเรียนจะคงอยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้ความสามารถนั้น การเสื่อมถอยจะเกิดขึ้นเฉพาะอย่าง เช่น ความเร็ว คุณลักษณะขั้นสูงขอการรับรู้ แต่ไม่เสื่อมถอยในส่วนที่เกี่ยวกับประสบการณ์และความรู้
ปัจจัยที่ยับยั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคคลคือ
(1.)การไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ และไม่มีการติดตามข้อมูลใหม่ๆ
(2.)การสร้างความชำนาญเฉพาะทางเกินสมควร ทำให้เกิดทรรศนะที่แคบ ในที่สุดจะปรับตัวเรียนรู้สิ่งอื่นๆได้ยาก
(3.)การจัดเงื่อนไขซึ่งทำให้ผู้มีอายุมากขึ้นขาดแรงจูงใจในการเรียน เพราะการจ้างงานนิยมจ้างหนุ่มสาวเท่านั้น สังคมควรปรับปรุงให้อค์การยินยอมให้คนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และจัดการ เมื่อมีบทบาทย่อมมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้
3. ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม การศึกษาตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อการพัฒนาให้บุคคลรู้จักเลือกในสังคมที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ต้องมีการบูรณาการการศึกษากับชีวิต ต้องพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถเข้ารับบทบาทต่างๆในชีวิต
(1.) การรู้จักเลือกในสังคมที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น - เช่นจะเลือกรับค่านิยมใด ระหว่างค่านิยมเก่าและใหม่ที่เกิดขึ้นและขัดแย้งกัน จะวางแผนชีวิตตนเออย่างไร การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น รู้จักเลือกเฟ้นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเอและสังคมมากที่สุด
(2.) การบูรณาการการศึกษากับชีวิต - การนำเอาวิชาการต่างๆมาสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับวิชาการแขนงต่างๆในชีวิตความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น
(3.) การศึกษาเพื่อการเข้ารับบทบาทต่างๆในชีวิต - เช่นการศึกษาเพื่อครอบครัว การศึกษาเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม อาชีวศึกษา วิชาชีพต่อเนื่อง การศึกษาตลอดชีวิตมีหน้าที่ให้การศึกษาประเภทนี้เพิ่มเติม เพื่อส่งเาริมให้สมาชิกในสังคมทำหน้าที่ในบทบาทต่างๆของตนได้ดียิ่งขึ้น
(4.) การศึกษาเพื่อความเสมอภาค - การศึกษาตลอดชีวิต มีบทบาทสำคัญที่จะลดช่องว่างความไม่เสมอภาคทางการศึกษา เช่นจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่องให้แก่บุคคลที่ขาดโอกาสในวัยเด็ก จัดแหล่งวิชาเช่นห้องสมุด ที่อ่านหนังสือในเมืองและหมู่บ้าน จัดบริการความรู้และข่าวสารทางสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
(5.) การศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต - แม้จะแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำทาตรงไม่ได้ แต่สามารถสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนได้ ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสามารถเลือกปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตน ละเว้นสิ่งที่เป็นโทษได้ และเมื่อสังคมมีการตระหนักร่วมกันก็อาจร่วมมือกันระงับสิ่งที่เป็นผลเสียได้ เช่นการเรียกร้อไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
รากฐานทางวัฒนธรรม อาจจะจำแนกเป็นสองส่วนคือ วัฒนธรรมทางวัตถุ (อาหารการกิน เสื้อผ้า) และวัฒนธรรมทางจิตใจ (ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ) การศึกษาวัฒนธรรมในอดีตมักจะศึกษาตามรูปแบบที่รัฐเห็นว่าเป็นสิ่งดีและสนับสนุน ส่วนใหญ่จึงเป็นวัฒนธรรมของชาวเมือง และวัฒนธรรมพื้นบ้านถูกละเลย ซึ่งความเป็นจริงแล้วสังคมใหญ่ของชาติหนึ่งๆมักจะมีวัฒนธรรมย่อยอยู่หลากหลาย
ประโยชน์ของวัฒนธรรม คือ การเป็นแบบอย่างให้บุคคลเรียนรู้และรับเอาพฤติกรรมต่างๆมาปฏิบัติเพื่อเข้ากับกลุ่มได้ ทำให้เกิดเอกภาพและการอยู่รอดขอสังคม มีสภาพบังคับทั้งการให้รางวัลและลงโทษ ทำให้มีความรู้สึกร่วมกัน อาจจะกล่าวได้ว่าการถ่ายทอดวัฒนธรรมเป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตอย่าหนึ่ง และควรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของบุคคล
4. ในเชิงเศรษฐกิจ การศึกษาตลอดชีวิตมีความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการบูรณาการการงานกับชีวิต
(1.) การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เนื่องจากแรงานส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถม การผลิตกำลังคนระดับกลางและระดับสูงไม่ตรงต่อความต้อการของตลาดแรงงาน แรงงานส่วนมากขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานอาชีพและสภาพการทำงาน ซึ่ตามทฤษฎีทุนมนุษย์ ผลผลิตย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของคนงาน การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มี 2 แนวทางคือ
แนวคิดที่1 การศึกษาทำหน้าที่ฝึกคุณลักษณะที่ดีให้คนงาน
แนวคิดที่2 การศึกษาเป็นเพียงเครื่อมือคัดกรองคนที่เหมาะสมให้แก่นายจ้าง แต่นายจ้างต้องไปฝึกทักษะเอง ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมาก
(2.) การศึกษากับการเปลี่ยนสภาพการแบ่งงานกันทำ แนวคิดนี้เห็นว่า ความสามารถในการผลิตของคนงานนั้น เกิดขึ้นจากการปฏิบัติานจริงของคนงานในกิจการของนายจ้างนั่นเอง (แนวคิดของเกอเธ) การศึกษาตามความหมายนี้จึงไม่แยกงานและชีวิตออกจากกัน คือ ฝึกหัดและให้เรียนรู้ไปพร้อมการทำงาน ได้ประสปการณ์จากการทำานและการดำเนินชีวิต ซึ่แนวปฏิบัติในกลุ่มประเทศ OECD มุ่งเน้นการฝึกวิชาชีพไปพร้อมกับการศึกษาวิชาสามัญ และให้การแนะแนวในการเลือกอาชีพให้เหมาะสม การฝึกอบรมไม่เพียงแต่เน้นการปรับตัวเข้ากับงานที่มีอยู่ แต่ต้องพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการสร้างชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอีกด้วย
ตอนที่ 3 หลักการและแนวปฏิบัติของการศึกษาตลอดชีวิต
1. การศึกษาตลอดชีวิต เป็นระบบรวมของการศึกษาทุกประเภท และมีหลักการร่วมที่ใช้ได้ในการจัดการศึกษาทุกประเภท
2. การศึกษาตลอดชีวิต มุ่งเปลี่ยนแนวคิดที่ว่า การศึกษามีข้อจำกัดโดยช่วงเวลา สถานที่เรียน วิธีการเรียน เป็นการศึกษาระบบเปิด เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้โดยสะดวก และทั่วถึงตลอดชีวิต
3.แนวปฏิบัติของการศึกษาตลอดชีวิต เริ่มด้วยการสร้างเครื่อมือและความสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการให้การศึกษาพื้นฐาน เพื่อสร้างความพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป
4. หลังจากการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตอาจทำได้ด้วยการสอน การฝึกอบรม และการศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ
หลักการของการศึกษาตลอดชีวิต
1. การศึกษาไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อบุคคลจบจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
2. การศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วยการศีกษาในระบบ นอกระบบ และไม่เป็นทางการ
3. บ้านย่อมมีบทบาทสำคัญอันดับแรกในการให้การศึกษาตลอดชีวิต
4. ชุมชนเป็นแหล่ให้การศึกษาลำดับถัดมา
5. สถาบันการศึกษา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่ให้การศึกษาตลอดชีวิต
6. การศึกษาตลอดชีวิตจะต้อดำเนินการต่อเนื่องและผสมผสานบูรณาการกับการศึกษาระดับอื่นในทางตั้ง คือสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้โดยสะดวก สามารถเข้ามาเรียนเมื่อใดและออกไปเมื่อใดก็ได้
7. การศึกษาตลอดชีวิต จะต้องดำเนินการให้ผสมผสานหรือบูรณาการในทางราบ และทางลึก คือ สามารถเรียนได้หลายวิธี จากในโรงเรียน จากนอกระบบ จากฝึกอบรม และเรียนให้ครบทุกด้านของมนุษย์ คือ กาย ปัญญา สังคม อารมณ์ และเรียนให้ลึกซึ้ตามลำดับไปจนถึงแก่นสาระของสิ่งนั่นๆ
8. การศึกษาตลอดชีวิตควรจัดให้แพร่หลายทั่วถึง แม้คนที่อยู่ไกลและด้อยโอกาส
9. การศึกษาตลอดชีวิตมีลักษณะยืดหยุ่น และหลากหลายในด้านเนื้อหา เครื่องมือ วิธีการ และเวลา
10.การศึกษาตลอดชีวิตยินยอมให้ใช้ทางเลือกและวิธีการศึกษาอื่นๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกให้เหมาะกับเวลาและความสะดวกของตนได้
11.การศึกษาตลอดชีวิตประกอบด้วยเนื้อหากว้างๆ 2พวกคือ สายสามัญและสายวิชาชีพ ซึ่งต้อสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
12. การศึกษาตลอดชีวิตแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการศึกษาปัจจุบัน ที่ไม่สอดคล้องกับชีวิต ไร้ความหมาย ซึ่งการศึกษาตลอดชีวิตจะผนวกการศึกษาในโรงเรียนและนอกโรงเรียนเข้าด้วยกัน
13.เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาตลอดชีวิตคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
14. สิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาตลอดชีวิต คือ โอกาส แรงจูใจ และความสามารถที่จะศึกษา
15 การศึกษาตลอดชีวิต เป็นหลักการที่ใช้ในการจัดการศึกษาทุกอย่างได้
ประการแรก การศึกษาตลอดชีวิต กล่าวถึง ชีวิต บุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ประการที่สอง การศึกษาตลอดชีวิตครอบคลุมพัฒนาการทุกอย่างของมนุษย์ (กาย ปัญญา สังคม อารมณ์)
ประการที่สาม การศึกษาตลอดชีวิต ครอบคลุมบทบาทขอมนุษย์ที่จะมีในทุกสถานการณ์จนตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็ก มีคู่ครอง เป็นบิดามารดา เป็นคนงาน เป็นผู้นำชุมชน
16. การศึกษาตลอดชีวิต เป็นระบบรวมของการศึกษาทุกประเภท
แนวปฏิบัติของการศึกษาตลอดชีวิต
1. การจัดการศึกษาพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อการศึกษาตลอดฃีวิต
การเรียนรู้ให้สามารถอ่านและเขียนตัวอักษร หรือหนังสือได้ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาเบื้องต้นรวมถึงความรู้ เจตคติ และทักษะที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับพลเมืองด้วย
ลักษณะของการศึกษาพื้นฐานคือ
- เป็นการศึกษาสำหรับทุกเพศทุกวัน
-มุ่งหมายสร้างความรู้พื้นฐานให้แก่ผู้เรียนในเรื่อง การรู้หนังสือ การคิดคำนวณ และเนื้อหาที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตเช่น สุขภาพอนามัย
- มุ่งหมายสร้างทักษะที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มุ่งสร้างเจตคติที่จำเป็นในเรื่อง ความอยากเรียนอยากรู้ ความเต็มใจที่จะมีบทบาทในสังคม ความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ความเต็มใจที่จะทำานร่วมกับผู้อื่น
แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาพื้นฐานเป็นเบื้องต้นขอการศึกษาตลอกชีวิตนั้น กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้กำหนดรูปแบบไว้ดังนี้
(1.) การศึกษาพื้นฐาน จัดเป็นระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยม
(2.) การให้บริการข่าวสารข้อมูลเพื่อให้คนที่มีการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถเรียนรู้ต่อเนื่องได้ เช่นห้อสมุดประชาชน วิทยุ โทรทัศน์ นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์
(3.) การให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติมด้วยการฝึกอบรม เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่
2. การจัดเครือข่ายเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ ควรจะสัมพันธ์กันและสามารถถ่ายโอนผลการเรียนระหว่างกันได้ ด้วยการสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่าง คน กลุ่มคน ชุมชน อค์กร ให้เชื่อมโยงและเกื้อกูลกันและกัน โดยมีแนวทางส่งเสริมเครือข่ายคือ
(1.) การแสวงหา - รวบรวมหน่วยงานว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร จัดขึ้นเป็นทำเนียบ
(2.) การสร้างแนวร่วม - จัดทำแผนกำหนดหลักการเป้าหมาย และแนวทางร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
(3.) การส่งเสริม - สร้างความพร้อมในการจัดบริการการศึกษาตลอดชีวิตแก่หน่วยงาน เช่น การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนด้านสื่อการเรียน การสนับสนุนงบประมาณ การสนับสนุนด้านการจัดการ
(4.) การพัฒนาและรักษาเครือข่าย - พัฒนาประสิทธิภาพโดยการ ฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ เสริมแรเพื่อเพิ่มกำลังใจ เช่น การให้รางวัลและประกาศนียบัตร
สำหรับวิชาสามัญสามารถโอนการเรียนส่วนหนึ่งจากในระบบมาเป็นนอกระบบได้แต่ก็ยังทำได้ในวงจำกัด และการโอนผลการเรียนจากนอกระบบมาเป็นการเรียนในระบบยังไม่สามารถปฏิบัติได้ นอกจากจะเรียนจบตัวประโยคแต่ละระดับ รับใบประกาศนียบัตรของ ม.ต้น ม.ปลาย จึสามารถเข้าต่อสถานศึกษาในระบบได้
3. การจัดให้มีกองทุนส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและคูปอง
เป็นวิธีที่จะส่งเสริมให้งานการศึกษาตลอดชีวิตขยายกว้างออกไป โดยการแจกคูปอการศึกษาแก่ผู้ที่มีคุณสมบัติที่ระบุไว้เพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษาต่างๆได้
4. การจัดการศึกษาให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
(1.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกได้-เข้าได้ตามความจำเป็น หลังการศึกษาภาคบังคับ Recurrent education บุคคลสามารถออกไปทำงานก่อนแล้วกลับมาเรียนสลับกันไปก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าผู้เรียนจะอายุเท่าไหร่
(2.) เปิดโอกาสให้เรียนเร็ว-ช้า ได้ตามสามารถ
(3.)เปิดโอกาสให้เลือกได้หลายๆวิธี
5.การจัดหลักสูตรให้กว้างและผสมผสาน
(1.) วิชาที่เป็นเครื่องมือ สำหรับนำไปใช้หาวิชาความรู้ต่อไปคือ วิชาภาษา
(2.)เนื้อหาหลักสูตรควรสอดคล้องกับชีวิต เช่น การผลิตอาหาร
(3.)หลักสูตรควรผสมผสานทั้งวิชาสามัญและการงาน ทั้การเรียนในระบบและนอกระบบ
6. การจัดหลักสูตรให้สอดคล้อกับบทบาทต่างๆขอชีวิตมนุษย์
ในช่วงชีวิตต่างๆของมนุษย์บทบาทจะเปลี่ยนแปลงไป การจัดการศึกษาควรจะคำนึงถึบทบาทที่ทุกคนจะต้องมีในแต่ละช่วงชีวิต เช่น บทบาทในฐานะที่เป็นตัวขอตัวเอง สามชิกขอครอบครัว สมาชิกของชุมชน พลเมือของประเทศ สมาชิกของกลุ่มอาชีพ และสมาชิกขอกลุ่มวัฒนธรรม
7. การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอแก่ผู้เรียน
การศึกษาตลอดชีวิตจะเป็นจริได้เมื่อผู้เรียนได้พัฒนาให้ตนเองมีทักษะเหล่านี้คือ
1.) การอ่าน การเขียน จนสามารถค้นคว้าได้
2.) รู้จักการเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น เรียนกับครู หรือเรียนเอโดยไม่ต้อมีครู เรียนเป็นกลุ่ม
3.) รู้จักคิด รู้จักหาเหตุผล รู้จักแปลความ รู้จักค้นคว้า
4.) รู้จักใช้สื่อต่าๆ เช่นแบบเรียน แบบฝึกหัด หนัสืออ่านทั่วไป วิทยุ โทรทัศน์ แบบเรียนสำเร็จรูป
5.) รู้จักชี้ระบุความต้องการขอตนเอ รู้จักวางแผนดำเนินการการศึกษาเล่าเรียนและประเมิณผล
6.) รู้จักใช้แหล่วิทยาการในชุมชนให้เป็นประโยชน์ เช่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
8. การประเมิณผลให้สอดคล้อกับหลักการศึกษาตลอดชีวิต
1.) ควรฝึกให้ผู้เรียนสามารถประเมิณผลได้ด้วยตนเอง
2.) การประเมิณควรเน้นทักษะการเรียนรู้ว่าก้าวหน้าไปเพียงไร
9. การปรับบทบาทของครูให้สอดคล้อกับการศึกษาตลอดชีวิต
สิ่งที่ครูจะต้อปรับเปลี่ยนและจะต้อทำคือ
1.) ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น ให้บุคคลได้เรียนรู้ เป็นผู้ประสานในกิจกรรมการเรียน บางทีก็อาจเป็นผู้เรียนร่วมไปกับผู้อื่น
2.)ต้องคุ้นเคยกับแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต สถาบันฝึกหัดครูจะต้องฝึกครูให้เป็นผู้มีเจตคติเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต และพร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ สอนให้นักเรียนรู้จักการวางแผนการเรียน
10. การจัดแหล่งความรู้ให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลและใช้ศึกษาหาความรู้อย่างทั่วถึง
การศึกษาตลอดชีวิตจะบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องมีแหล่งความรู้ให้ประชาชนรับทราบข่าวสารข้อมูล แหล่งความรู้แบ่ออกเป็น 4 ประเภทคือ ประเภทบุคคล ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทสื่อ ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น