หน่วยที่7 การประเมิณทางการศึกษา
ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมิณทางการศึกษา
แนวคิดของการประเมิณทางการศึกษา
1. ความหมายของการประเมิณการศึกษา คือ กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด สิ่งที่มุ่งประเมิณทางการศึกษาได้แก่ หลักสูตร โครงการ สื่อ ผู้เรียน ครู การวัดและเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการคือ
1.1 การวัด คือการกำหนดตัวเลขที่แทนคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีกฎเกณฑ์ เช่น การวัดความยาวห้อง 5 เมตร วัดความรู้วิชา 78 คะแนน เป็นต้น
1.2 เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน ได้แก่ วัตถุประสงค์ มาตรฐานของงาน มาตรฐานการเรียนรู้ เงื่อนไขความสำเร็จ การเทียบกับสิ่งเป็นเลิศ การวิจัยเป็นต้น เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินต้องเป็นที่ยอมรับ โปร่งใส เปิดเผย
2. หลักการของการประเมิณทางการศึกษา
2.1 เน้นการพัฒนามากกว่าจะเป็นการให้คุณโทษแก่ผู้ที่ถูกประเมิณ
2.2 ยึดหลักการเที่ยงธรรม โปร่งใส ตามหลักสภาพความเป็นจริง บนข้อมูลที่เชื่อถือได้
2.3 เน้นการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตร มากกว่าการกำกับและควบคุม
2.4 สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้อย่างชัดเจนเปิดเผย และผู้ประเมิณมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบผลการประเมิณได้
2.5 ผลการประเมิณสามารถนำไปใช้ได้จริงมีประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง และเสร็จทันเวลาที่จะนำผลงานไปใช้
3. ประโยชน์ของการประเมิณทางการศึกษา
การประเมิณมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจดำเนินการต่างๆ เนื่องจากทำให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ดังนี้
3.1 เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย และวางแผนงานได้ถูกทิศทาง เพราะจะทำให้ทราบว่า ค่าใช้จ่ายเท่าใด คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ บริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เป็นต้น
3.2 ทำให้ปรับปรุงพัฒนาในส่วนที่เป็นปัจจัยนำเข้า การประเมิณทำให้ทราบงบประมาณ บุคคลากร วัสดุต่างๆที่ได้รับในการดำเนินงานว่าเพียงพอหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อการปรับวิธีการ หรือเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เพียงพอ
3.3 ทำให้ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ทำให้ทราบจุดเด่นจุดด้อยของการปฏิบัติงาน ทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนแสวงหาแนวทางอื่นๆที่จะลดความสูยเปล่าของการปฏิบัติงาน
3.4 เป็นแนวทางในการกำหนดทางเลือกว่าควรดำเนินงานในช่วงต่อไป หรือยุติชั่วคราว หรือยกเลิก เนื่องจากผลการประเมิณทำให้ทราบถึงความสำเร็จและความล้มเหลว
3.5 เป็นการทบทวนการปฏิบัติงาน ว่าความพยายามที่ใช้ไปทั้งหมดได้ผลเพียงไร กิจกรรมที่ลงทุนไปคุ้มค่าหรือไม่ เป็นกลไลในการกระตุ้นการทำงานของบุคคลากร สร้างแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติงาน
3.6 เป็นการแสดงความรับผิดชอบในภารกิจของหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายจากสังคม ชุมชน โดยรายงานผลการประเมิณให้สาธารณชนทราบ
4. ขอบข่ายของการประเมิณทางการศึกษา
(1.) การประเมิณโครงการ (2.)การประเมิณสื่อการสอน (3.) การประเมิณการสอน (4.) การประเมิณการเรียน
ขั้นตอนของการประเมิณทางการศึกษา
1. ศึกษาและวิเคราะห์สิ่งที่มุ่งประเมิณ - ประเมิณอะไร จัดทำเป็นตัวชี้วัดที่วัดได้ตรวจสอบได้
2. กำหนดจุดมุ่งหมายหลักและวัตถุประสงค์ของการประเมิณ - ทำไมจึงประเมิณ
3. ออกแบบการประเมิณ - ประเมิณอย่างไร โดยกำหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมิณ เป็นกรอบการประเมิณ ว่าตัวชี้วัดในแต่ละจุดประสงค์มีอะไรบ้าง จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน เวลาใด ใช้วิธีการและเครื่องมือประเภทใด จะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาอย่างไร ใช้เกณฑ์ใดตัดสิน
4. สร้างเครื่องมือวัด ประเมิณ ให้สอดคล้องและครอบคลุมกับลักษณะหรือพฤติกรรมของสิ่งที่จะวัด การให้ผู้เชี่ยวชาญวัดความตรงของเครื่องมือ ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง (ที่คล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมาย) ปรับปรุงและจัดทำฉบับสมบูรณ์
5. ทำการวัด (เก็บข้อมูล) กับแหล่งข้อมูลที่กำหนด แหล่งข้อมูลที่ควรเก็บข้อมูลประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายคือ (1.) กลุ่มผู้ให้บริการ- ผู้ปฏิบัติโครงการ (2.)กลุ่มผู้รับบริการ-ผู้รับการอบรม (3.) กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง-ผู้บังคับบัญชาของผู้รับการอบรม ประชาชานที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน
6. วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ
7. ตัดสินผลประเมิณ
8.นำผลประเมิณไปใช้ ผู้ประเมิณจัดทำรายงานเสนอผู้เกี่ยวข้อง
วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมิณการศึกษา
1.วิธีการที่ใช้ในการประเมิณทางการศึกษา
1.1 การประเมิณตนเอง - เป็นการให้ผู้ถูกประเมิณตรวจสอบตัดสินตนเองตามรายการที่กำหนด ข้อดีคือ ผู้ประเมิณรู้จักตัวเองดี ข้อจำกัด ผู้ประเมิณมักเข้าข้างตนเอง
1.2 การให้ทำแบบสอบถาม - ข้อดีคือตั้งคำถามได้จำนวนมาก ผู้ตอบมีเวลาคิด ข้อจำกัดคือ อาจจะตอบไม่ตรงประเด็น อาจจะได้รับคืนกลับมาไม่หมด หรือจำนวนน้อย หรืออาจจะให้ผู้อื่นทำแบบสอบถามแทน
1.3 การสัมภาษณ์ - ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึ้งซึ้ง แต่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
1.4 การสังเกต - นิยมใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อดีคือได้เห็นข้อมูลจริง ทั้งจิตพิสัย และ ทักษะพิสัย ข้อจำกัดคือใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูง
1.5 การทดสอบ - เป็นวิธีวัดการทดสอบทางสมอง สะท้อนผลที่ได้จากการเรียน การอบรม แต่ไม่สามารถวัดการปฏิบัติ และคุณธรรมจริยธรรมได้
1.6 การตรวจสอบเอกสาร/หลักฐาน - เช่นแฟ้มสะสมงาน การบ้าน ข้อดีคือ เป็นข้อมูลแสดงความสามารถของผู้เรียนตามความเป็นจริง ข้อจำกัดคือหากให้ความสำคัญกับวิธีนี้มากอาจทำให้เกิดการสร้างเอกสารที่ไม่ใช่สภาพเป็นจริงขึ้น
1.7 การใช้เทคนิคเดลไฟ - เป็นการเก็บข้อมูลหลายรอบจากกลุ่มผู้เชี่ยวลาญทรงคุณวุฒิ รอบแรกคือสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลมาสร้างแบบสอบถาม ส่งแบบสอบถามไปสอบถามอีกครั้ง นำผลการตอบมาวิเคราะห์สถิติเบื้องต้น กรณีที่มีผู้ตอบต่างจากกลุ่มให้ถามหาเหตุผลและติดตามเป็นรายบุคคล จนกว่าจะได้คำตอบที่คงเส้นคงวา จึงสิ้นสุดกระบวนการ ข้อดีคือมั่นใจในคุณภาพและความถูกต้อง ข้อจำกัดคือยุ่งยากและใช้เวลานาน
1.8 เทคนิคการสนทนากลุ่ม - เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีภูมิหลังใกล้เคียงกัน โดยพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น ตลอดจนการให้เหตุผลอย่างกว้างขวาง ข้อดีคือ ได้ข้อมูลหลากหลาย ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ข้อจำกัดคือได้รับข้อมูลจากการบอกเล่าไม่ได้เห็นจริง
1.9 การใช้เทคนิคเดคัม - การประชุมของผู้ปฏิบัติงาน 8-12 คน มี 3 ขั้นตอนคือ การระดมสมอง เขียนข้อความที่เสนอ ไม่มีการอภิปรายหรือโต้แย้ง ต่อมาจึงเป็นขั้นตอนการอภิปราย และสุดท้ายคือลงฉันทามติ ข้อดีคือ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ความเห็นหลากหลาย ข้อเสียคือได้รับข้อมูลจากคำบอกเล่าไม่ได้เห็นจริง
1.10 การเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ คือการใช้ข้อมูลที่มีผู้อื่นได้เก็บข้อมูล หรือวิเคราะห์ผลแล้ว เช่นรายงานประจำปีของหน่วยงาน รายงานการวิจัย หลักการเลือกใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ตอบสนองวัตถุประสงค์การใช้ ตรงประเด็น มีความทันสมัย มีความชัดเจนและน่าเชื่อถือ หากข้อมูลไม่ชัดเจนควรเก็บข้อมูลใหม่
2. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิณ
2.1 แบบสอบถาม - ใช้ถามความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้ตอบ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง โดยกำหนดความคิดเห็น 5 ระดับ แบบสอบถามนี้ตอบง่าย แต่คนส่วนใหญ่นิยมตอบว่าเห็นด้วย จึงควรมีทั้งข้อความที่เป็นบวกและลบอยู่ในแบบสอบถาม
2.2 แบบสัมภาษณ์ - เป็นวิธีที่จะได้คำตอบเชิงลึกมากกว่าแบบสอบถาม เพราะเก็บข้อมูลด้วยการพูดคุย
2.3 แบบสังเกต - แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบที่มีการกำหนดรายการประเด็นสังเกตล่วงหน้า และแบบที่เป็นการจดบันทึกไปตามสิ่งที่เห็นไม่มีการกำหนดประเด็นล่วงหน้า
2.4 แบบทดสอบ - เป็นเครื่องมือที่วัดความสามารถทางสมอง กระบวนการคิด แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ปรนัย และ อัตนัย แบบทดสอบปรนัยจะได้ข้อมูลที่เที่ยงธรรมและไม่มีอคติในการตรวจ แบบทดสอบแบบอัตนัยเหมาะกับการวัดสามารถทางการบรรยาย ความคิดสร้างสรรค์ การให้เหตุผล แต่คะแนนอาจจะผันแปรตามผู้ตรวจแต่ละคน
3. การเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือการเก็บข้อมูล
3.1 วัตถุประสงค์ของการประเมิณ - หากเพื่อปรับปรุงพัฒนาควรเลือกใช้วิธีประเมิณตนเอง การรับรองผลงานตามมาตรฐาน ควรใช้ข้อมูลหลายๆด้าน
3.2 คุณลักษณะ/พฤติกรรมที่วัด - การวัดความรู้ควรใช้เครื่องมือวัดเป็นแบบทดสอบ, พฤติกรรมด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย ควรใช้เครื่องมือวัดคือ แบบบันทึกการสังเกต, สำหรับการวัดความคิดเห็น ทัศนคติ ควรใช้ การสอบถาม และ การสัมภาษณ์
3.3 ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ - หากมีปริมาณคำถามมากควรใช้แบบสอบถาม หากต้องการข้อมูลเชิงลึกควรใช้แบบสัมภาษณ์ หากต้องการข้อมูลเชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิควรใช้แบบเดลไฟ
3.4 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง - แบบสอบถามเหมาะกับข้อมูลจากคนจำนวนมากๆผู้ตอบกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ หากเก็บข้อมูลจากคนอ่านหนังสือไม่ออกควรใช้การสัมภาษณ์ หากต้องการทราบความคิดเห็นจากกลุ่มคนอาชีพหรือภูมิหลังใกล้เคียงกัน ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม หรือ เดคัม
3.5 ระยะเวลาการเก็บข้อมูล - ไม่มากค่อนข้างจำกัด ใช้แบบสอบถาม
3.6 จุดเด่นและข้อจำกัดของวิธีการและเครื่องมือแต่ละประเภท หากเป็นไปได้ควรใช้หลายประเภทประกอบกันเพื่อลดข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลวิธีเดียว
ตอนที่ 2 การประเมิณโครงการและสื่อการศึกษา
1.การประเมิณโครงการทางการศึกษา เป็นการตัดสินคุณค่าของกลุ่มกิจกรรมทางการศึกษาที่มีเป้าหมายเดียวกันโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ โครงการค่ายเยาวชน โครงการการฝึกอบรมครู มีความสำคัญต่อการวางแผนงาน ปรับปรุงพัฒนาดำเนินกิจกรรมโครงการ ทำให้ทราบถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการ
การประเมิณโครงการมีหลายประเภท แบ่งตามบทบาทของการประเมิณ แบ่งตามแหล่งที่มาของผู้ประเมิณ และแบ่งตามระยะเวลาการประเมิณ
รูปแบบการประเมิณครอบคลุม การประเมิณที่ยึดจุดมุ่งหมาย การประเมิณเชิงระบบ การประเมิณแบบซิป และการประเมิณแบบมีส่วนร่วม การประเมิณแบบเคริกแพททริก การประเมิณแบบเคาน์ทิแนนช์ของสเตค และการประเมิณของแนตตัน
2. การประเมิณสื่อการศึกษา เป็นการตัดสินคุณค่าของสื่อการศึกษาเทียบกับเกณฑ์ มีความสำคัญเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน เป็นการยืนยันคุณภาพของสื่อ เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาสื่อการศึกษา และทราบถึงผลการใช้สื่อการศึกษา
การประเมิณสื่อการศึกษาจำแนกเป็น การประเมิณความจำเป็นของการจัดหาสื่อ การประเมิณคุณภาพภายในตัวสื่อ การตรวจสอบประสิทธิภาพสื่อ การติดตามการใช้/ผลิตสื่อ และประเมิณผลการใช้สื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น