หน่วยที่ 6 การจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
ตอนที่ 1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน
1. สภาพแวดล้อมการเรียนการสอน หมายถึง สภาวะที่อยู่รอบตัวครูและนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมมีหลักการด้านจรรโลงใจ สะอาดเรียบร้อย การประหยัด การเน้นประโยชน์ สะดวกต่อการใช้สอย และสวยงาม และมีประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
2. วิธีการจัดสภาพแวดล้อมมี 3 ประเภทคือ
(1.)วิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ - การกำหนดที่ตั้งห้องเรียน การควบคุมอุณหภูมิ การจัดเก้าอี้และโต๊ะเรียน การจัดกระดานนิเทศ ตำแหน่งโต๊ะครู มุมวิชาการ มุมหนังสือ ศูนย์การเรียน เฟอร์นิเจอร์ และ สิ่งอำนวยความสะดวก
(2.)วิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางจิตภาพ - วิธีการพัฒนาบุคลิกภาพ อารมณ์ ความสนใจ ความเป็นกันเอง การเปิดใจ รับฟังนักเรียน ความเข้าใจภูมิหลังและสภาพจิตใจผู้เรียน
(3.)วิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม - สภาพทางครอบครัว ความเชื่อ การอบรมเลี้ยงดู กฎระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความสัมพันธ์ของครูและนักเรียน ครูจำเป็นต้องหาวิธีการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ตนเองจะปรับเปลี่ยนได้ โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครูคนอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
3. การประเมิณการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน อาจทำได้ด้วยการ
ตรวจตามมาตรฐานที่กำหนด
การประเมิณผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่เรียนและผู้เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 2 ภาพนึกใหม่ของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและนอกห้องเรียน
1. ภาพใหม่ของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน คือ
การจัดวิหคทัศน์ (Bird eye's View) ของโรงเรียน ครอบคลุมวัตถุประสงค์เพื่อ
(1.) การเสาะแสวงหาความรู้เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(2.) เป็นที่อบรมนิสัยให้คำแนะนำคุณธรรมและดำรงชีวิต
(3.) เป็นแหล่งความรู้เพื่อการศึกษาวิจัย
(4.) เป็นที่ฝึกปฏิบัติทักษะความชำนาญ
(5.) เป็นที่ให้คำปรึกษาปัญหาส่วนตัวสำหรับผู้เรียน
(6.) ให้บริการคณาจารย์
(7.) เป็นที่ฝึกประสบการณ์เฉพาะเรื่อง
(8.) เป็นที่พัฒนาสุขภาพพลานามัย
(9.) เป็นที่หารายได้แก่โรงเรียนและเพิ่มสวัสดิการแก่นักศึกษาตามกิจกรรมวิสาหกิจ
(10.)พัฒนาสุขภาพสมรรถนะทางกายและสมอง
(11.) ให้ได้รับโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะ
(12.) กำกับควบคุมการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี มีประสิทธิภาพ
(13.) การวางแผนระบบจราจรที่เอื้อต่อการสัญจรไปมาและสะดวกปลอดภัย
ภาพใหม่ของกิจกรรมการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เผชิญประสบการณ์ ผู้เรียนต้องดำเนินงานตาม 7 ขั้นตอนคือ
(1.) การประเมิณก่อนเผชิญประสปการณ์
(2.) ปฐมนิเทศ โดยครูเจ้าของวิชาชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียด
(3.) ผู้เรียนเผชิญประสปการณ์ตามแผนเผชิญฯด้วยตนเอง, เข้ากลุ่มเพื่อเรียนหรือทำงานกับเพื่อน, เรียนกับครู การศึกษาค้นคว้าอาจทำจากเอกสาร หรือ จากอินเตอร์เน็ต
(4.) รายงานความก้าวหน้าให้ครูและเพื่อนๆในวิชาเดียวกันได้ทราบ
(5.) รายงานผลสุดท้ายหลังประกอบภารกิจเสร็จ
(6.) สรุปประสปการณ์ เพื่อชี้ให้เห็นขั้นตอนอย่างชัดเจน
(7.) ประเมิณหลังเผชิญประสปการณ์
2. การจัดองค์ประกอบที่เอื้อต่อการจัดสถาปัตยกรรมของสถานศึกษา ได้แก่
อาคารบริหาร - ศูนย์กลางการวางแผน ประสานงาน และรายงานผล
อาคารห้องเรียน - จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนแบบอบอุ่น เหมือนบ้าน
ฐานความรู้ - หอความรู้ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และสื่อในท้องถิ่น
สถานปฏิบัติการ - ห้องฝึกปฏิบัติเสริมประสปการณ์ เช่น ห้องปฏิบัติการภาษา, วิทยาศาสตร์
ลานเผชิญประสบการณ์ - บริเวณอเนกประสงค์
สถานบริการศึกษา - เช่นศูนย์แนะแนว, ศูนย์สอนเสริม ควรอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหอความรู้
สนามกีฬา - ควรตั้งบริเวณด้านหน้าของโรงเรียน
อุทยานการศึกษา - สวนหรือบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้
สถานบริการเฉพาะทาง - ศูนย์วิชาการที่สอดคล้องกับเนื้อหาในท้องถิ่น เช่น ศูนย์ศิลปาชีพ
สถานวิสาหกิจ - สหกรณ์ ศูนย์หนังสือ ร้านค้า ซึ่งเป็นสถานฝึกงานของผู้เรียนได้
สถานที่เก็บเครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวก - โรงซ่อม โรงเก็บเครื่องมือ ควรอยู่ไกลจากศูนย์กลางการบริหาร วิชาการ และ บริการ
สถานโภชนาการและโรงอาหาร - ไม่ควรอยู่กลางบริเวณเพราะอาจจะมีปัญหากลิ่นและความสะอาด แต่ก็ไม่ควรอยู่ไกลศูนย์กลางนัก เพื่อความสะดวก
ถนนหนทางและที่จอดรถ - ควรกำหนด ส่วนนอก ส่วนใน และ ส่วนหนีภัย
ตอนที่ 3 การพัฒนาสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนการสอน
1. การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนตามแนวปฏิรูปจะเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ส่วนคือ
1.1.บริเวณกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของห้องเรียนใช้ประกอบกิจจกรรมทางวิชาการได้แก่
(1.) การประชุม
การประชุมรวม - อบรมสั่งสอนตอนเช้า สอนเรื่องใหม่ๆ การประเมิณก่อนเผชิญประสปการณ์ ปฐมนิเทศก่อนเผชิญประสปการณ์ รายงานความก้าวหน้า สรุปประสปการณ์ และ ประเมิณผลหลังประสปการณ์ และกิจกรรมที่ต้องการให้นร.อยู่รวมกัน เวลาประชุมนักเรียนนั่งรอบโต๊ะใหญ่
การประชุมกลุ่มย่อย - สำหรับการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนกับครู และทำกิจกรรมอื่นๆเช่นการเตรียมงานของห้องเรียน โต๊ะแต่ละตัวแยกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 6-8 คน
(2.)ที่จัดนิทรรศการ สำหรับผลงานที่สำเร็จจากประสปการณ์ คือ ส่วนที่จัดตามฤดูกาลอาจยาวนาน 2-4 สัปดาห์ และ ส่วนที่จัดเฉพาะกิจ ใช้เวลาสั้น 1 วันหรือ 1 สัปดาห์ ไว้เสนองาน นร.
(3.)มุมความรู้ เป็นห้องสมุดประจำห้องเรียนที่ครูและนักเรียนจัดหามา เช่นหิ้งหนังสือ หิ้งซีดี หนังสืออ้างอิง หนังสือประเภทต่างๆ
1.2.ห้องเรียนคือบ้าน เป็นส่วนที่จัดเตรียมไว้สำหรับเก็บของส่วนตัว และที่พักผ่อน มีตู้เก็บของที่ล็อกกุญแจได้จำนวนเท่ากับนักเรียนแบบบิวท์อิน มีชุดรับแขกไว้พักผ่อน หรือพื้นห้องที่ปูเสื่อ
1.3.ส่วนทำงานครู ควรมีโต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายใน เอกสารคู่มือการทำงาน อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์โสตทัศน์
2. การจัดแหล่งวิทยบริการ ประกอบด้วย
2.1 ฐานความรู้ เป็น หอความรู้เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์การเรียนเฉพาะด้าน ซึ่งฐานความรู้มีทั้งฐานความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ อิงสื่อพื้นฐานเช่นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อที่พบได้ตามท้องถิ่น
2.2 สถานปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของหอเผชิญประสปการณ์ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางภาษา มีซีดี หูฟัง ไมโครโฟน , ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องเคมี ห้องฟิสิกซ์ ห้องไฟฟ้า, ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อด้วยระบบ LAN ,ห้องปฏิบัติการประชาธิปไตย มีการพัฒนาแบบจำลองประชาธิปไตย เผยแพร่ชุดฝึกอบรม3ชุดคือ การเมืองกับชีวิต ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และ การมีส่วนร่วม มีห้องประชุมสำหรับจำลองห้องประชุมสภา มีชุดฝึกอบรม เอกสาร สารานุกรม ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไว้ค้นคว้าด้วย
2.3 ลานเผชิญประสปการณ์ที่โรงเรียนจะต้องเตรียมไว้ ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและเผชิญประสปการณ์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
กิจกรรมภายใน - กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเขียนรายงาน ประสปการณ์ที่เกี่ยวกับการสร้างต้นแบบ ชิ้นงาน ตามโครงการหรือโครงงาน หรือการทดลองที่ไม่ต้องใช้บริเวณหรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่
กิจกรรมภายนอก - อาจะเน้นลานประสปการณ์ขนาดใหญ่ เช่นแปลงเกษตร โรงงาน โรงยิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น