1 ต.ค. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่5

หน่วยที่ 5 พฤติกรรมและวิธีการทางการศึกษา

ตอนที่1. พฤติกรรมและวิธีการทางการศึกษา

1. พฤติกรรมทางการศึกษา หมายถึง การกระทำของนักบริหาร นักวิชาการ และ นักบริการ ในการจัดการศึกษา จัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนการจัดการศึกษาและจัดการเรียนการสอน
มีขอบข่ายครอบคลุมพฤติกรรมด้านบริหาร วิชาการ และบริการ

พฤติกรรมด้านบริหาร - ทำหน้าที่วางแผน จัดการองค์กร นำองค์กร เพื่อให้การศึกษาบีีลุวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ

พฤติกรรมด้านวิชาการ - ทำหน้าที่สอน วิจัย เพื่อให้การเรียนการสอนบรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการศึกษา

พฤติกรรมด้านบริการ - ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาของนักบริหาร และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของนักวิชาการ

2. วิธีการทางการศึกษา หมายถึง การทำงานตามขั้นตอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และ การสนับสนุนการจัดการศึกษา
มีขอบข่ายครอบคลุม วิธีการด้านบริหาร วิธีการด้านวิชาการ วิธีการด้านบริการ

ตอนที่2. พฤติกรรมและวิธีการด้านบริหารทางการศึกษา

1. นักบริหาร มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการศึกษา

การจัดการ มี 4 องค์ประกอบคือ
- การวางแผน Planning
- การจัดองค์กร Organizing
- การนำองค์กร Leading
- การควบคุมองค์กร Controlling

วัตถุประสงค์ทางการศึกษา  เป็นคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากสำเร็จการศึกษา เช่นมาตรฐานผลลัพธ์ 12 รายการที่ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้

พฤติกรรมด้านการบริหารการศึกษา จำแนกเป็น

พฤติกรรมด้านปัจจัยนำเข้า  - การทำตนให้เป็นผู้มีความพร้อมในการบริหาร เช่น
พฤติกรรมที่ 1 ทำตนให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และ แบบอย่างที่ดี
พฤติกรรมที่ 2 ทำตนให้เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร จัดการ

พฤติกรรมด้านกระบวนการ - ได้แก่ พฤติกรรมการจัดการ (P,O,L,C) เช่น
1.) การจัดองค์กร โครงสร้าง และบริหารอย่างเป็นระบบ ครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา
2.) การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
3.) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของผู้เรียน
4.) การส่งเสริมและพัฒนาครู บุคคลากร ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
5.) การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
6.) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. วิธีการบริหาร เป็นการทำงานตามขั้นตอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการ (1.) ทำด้วยตนเอง (2.) ทำร่วมกับผู้อื่น (3.) หรือมอบให้ผู้อื่นทำ

วิธีการบริหารตามทฤษฎีXY(ของดักกลาส) ยึดหลักมอบหมายงานให้เหมาะสมกับลักษณะของคนทำงาน ถ้าผู้ร่วมงานทำงานที่ได้รับมอบหมายให้องค์กรก็ประสบความสำเร็จ  ซึ่งผู้ร่วมงานของดักกลาส แมคเกรเกอร์ ถูกแยกเป็น 2 ลักษณะ คือ X กับ Y

แบบ X - ไม่ชอบทำงาน หลีกเลี่ยง ต้องโดนบังคับ กำกับ ข่มขู่ ลงโทษ ขาดความทะเยอทะยาน ต้องการความมั่นคง ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้บริหารต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด เช่นใช้บัตรตอก ใช้ตารางเวลางาน

แบบ Y - ชอบทำงาน ใช้ความพยายามทั้งร่างกายและจิตใจ สั่งการและควบคุมเอง รางวัลเป็นการตอบสนองความต้องการระดับเกียรติยศ ชื่อเสียง และความสมหวังในชีวิต รับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีศักยภาพและองค์กรใช้ศักยภาพน้อยไป ซึ่งผู้บริหารควรให้มีส่วนร่วม

ตอนที่ 3 พฤติกรรมและวิธีการด้าน วิชาการทางการศึกษา

1. นักวิชาการทางการศึกษา มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนด้วยการ วางแผนการสอน ดำเนินการสอน และการประเมิณผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา

พฤติกรรมด้านวิชาการทางการศึกษาจำแนกเป็น
พฤติกรรมด้านปัจจัยนำเข้า - การทำตนให้เป็นผู้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน เช่น
(1.) การทำตนให้เป็นผู้มีวิญญานความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม
(2.) การทำตนให้เป็นผู้มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นศุนย์กลาง
(3.) การทำตนให้เป็นผู้มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
(4.) การทำตนให้เป็นผู้มีคุณวุฒิ / ความรู้ และมีความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ

พฤติกรรมด้านกระบวนการ - ได้แก่ พฤติกรรมวางแผนการสอน การสอน การประเมิณผล เช่น
(1.) การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
(2.) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2. วิธีการด้านวิชาการทางการศึกษาที่จำแนกเป็น
วิธีจัดการเรียนการสอนที่ใช้ได้ทั่วไปกับกลุ่มสาระวิชา
วิธีจัดการเรียนการสอนที่ใช้ได้เฉพาะกลุ่มสาระวิชาใดวิชาหนึ่ง

ตอนที่ 4 พฤติกรรมและวิธีการด้านบริการทางการศึกษา

1. นักบริการทางการศึกษามีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของนักบริหาร และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการ

ระบบการบริการประกอบด้วย
(1.)สิ่งที่ให้บริการ เช่นสื่อการเรียน เอกสารการสอน (จับต้องได้) , คำปรึกษา (จับต้องไม่ได้)
(2.)วิธีบริการ ช่วยเหลือแบบเผชิญหน้า เช่น การยืมเอกสารที่ห้องสมุด ,ช่วยเหลือแบบไม่เผชิญหน้า เช่น การสืบค้นข้อมูลผ่านทางเครือข่าย
วิธีบริการประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ [การวางแผน] > [การเตรียมการ] > [การช่วยเหลือ หรือลงมือผลิตสิ่งที่ต้องการ] > [การติดตามและประเมิณผลสิ่งที่ผลิตให้]
(3.)ผลที่ได้จากการบริการ

พฤติกรรมด้านการบริหารทางการศึกษาจำแนกเป็น
พฤติกรรมด้านปัจจัยนำเข้า เช่น
(1.) การทำตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม แบบอย่างที่ดี
(2.) การทำตนให้เป็นผู้มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริการจัดการ
(3.) การทำตนให้เป็นนักบริการที่ดี
พฤติกรรมด้านกระบวนการ เช่น
(1.) ออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน
(2.)ออกแบบเพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอน
(3.)ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(4.) วิจัยและพัฒนา
(5.) ประเมิณผลภายในและภายนอก
ฯลฯ

2. วิธีการบริการทางการศึกษาจำแนกเป็น 
1.วิธีการสั่งให้ทำ - [รับมอบงาน] > [ดำเนินการผลิต] > [มอบงาน]
2.วิธีการบอกให้ไปทำเอง - [การสร้างสัมพันธ์ภาพ] > [การให้คำปรึกษา] > [ยุติการให้การปรึกษา]
3.วิธีทำงานร่วมกัน - [วางแผนร่วมกัน]>[เตรียมการร่วมกัน]>[ผลิตด้วยกัน]>[ประเมิณผลร่วมกัน]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน