16 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่2

หน่วยที่ 2 การจัดระบบสื่อเพื่อการศึกษานอกระบบ

2.1 ความคิดพื้นฐานของการจัดระบบสื่อในด้านการศึกษานอกระบบ
2.2 ขั้นตอนของการผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
2.3 กรณีตัวอย่างการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบ

ตอนที่ 2.1 ความคิดพื้นฐานของการจัดระบบสื่อในด้านการศึกษานอกระบบ

1. ความหมาย องค์ประกอบ และหลักการจัดระบบ สำหรับใช้ในการจัดระบบสื่อ กศน
ระบบ คือ ผลรวมของส่วนประกอบย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระต่อกันและมีการประสานสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ระบุไว้
องค์ประกอบของระบบ ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป กระบวนการ ผลลัพธ์ และ ผลย้อนกลับ
วิธีการจัดระบบ รวบรวมข้อมูลและทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา รวบรวมวิธีการเพื่อแก้ปัญหา ประเมิณผลลัพธ์ที่ได้และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ
หลักการจัดระบบการสื่อสารนอกระบบ
(1) จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม หมายรวมถึงสภาพแวดล้อมทั้งทาง กายภาพ และ จิตภาพ การจัดสภาพแวดล้อมประกอบด้วยหลักสำคัญๆ 4 ประการคือ 1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม กศน อย่างเต็มที่ 2. การสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองในทันที 3. การเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยด้วยตนเอง 4. การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนในลักษณะที่มีมิตรจิตมิตรใจ 
(2.) ความแตกต่างระหว่างบุคคล  วุฒิภาวะ ระดับสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สุขภาพ อายุ เพศ วัย เศรษฐกิจ และหมายรวมถึงการเรียนรู้และการรับรู้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคลด้วย
(3.) ธรรมชาติของเนื้อหาสาระและประมวลประสบการณ์ ควรจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถจดจำ และนำไปใช้ในสถานการร์อื่นต่อไปได้  ซึ่งการจัดลำดับจัดได้ตามเหตุและผล หรือลำดับเนื้อหาตามจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมาย
(4.) วิธีการสอนและการถ่ายทอด มีหลายลักษณะและหลายรูปแบบ ผู้จัดกิจกรรมควรเลือกสรรให้เหมาะกับกลุ่มประชากรและเนื้อหา โดยคำนึงถึง กระบวนการ ควบคู่ไปกับผลลัพธ์
(5.) โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีการสื่อสาร เนื่องจากความแตกต่างของโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีการสื่อสารในแต่ละท้องถิ่น
(6.) การประเมินผล การประเมิผลพฤติกรรมของผู้เรียนจะช่วยสนับสนุนและเสริมแรงความอยากเรียนรู้ของผู้เรียน กศน ดังนั้นผู้จัดกิจกรรมควรรายงานให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนอย่างสม่ำเสมอ
2. ขั้นตอนการจัดระบบการศึกษานอกระบบ
(1.) ขั้นตอนการจัดระบบทั่วไป
1. ขั้นตอนวิเคราะห์ระบบ - วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน, ภาระหน้าที่, งาน, วิธีการและสื่อ
2. ขั้นตอนสังเคราะห์ระบบ - เลือกวิธีการ, ทำการแก้ปัญหา, ประเมิณผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
3. ขั้นตอนสร้างแบบจำลอง - ด้วยการสร้างสัญลักษณ์
4. ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
(2.) ขั้นตอนการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบ
ระบบสื่อสารนอกระบบหมายถึง การผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ผู้จัดกินกรรมหรือผู้สอนกำหนดไว้
องค์ประกอบของระบบ ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป กระบวนการ ผลลัพธ์ ผลย้อนกลับ
ขั้นตอนการจัดระบบสื่อ กศน 
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน
2. การพิจารณาคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
3. การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
4. การกำหนดเนื้อหาสาระและประมาวลประสบการณ์ความรู้
5. การกำหนดวิธีการถ่ายทอดความรู้
6. การเตรียมทรัพยากรการผลิต
7. การเลือกและการผลิตสื่อ
8. การประเมินประสิทธิภาพของสื่อ
9. การปรับปรุงและแก้ไขสื่อ
10. การนำสื่อไปใช้
11. การประเมินผลการใช้สื่อ

2.2 ขั้นตอนของการผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. การผลิตสื่อการศึกษานอกระบบ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิต 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การเตรียมการผลิต การผลิต การประเมินผลการผลิตสื่อการศึกษานอกระบบ
การวางแผนผลิตสื่อการศึกษา ควรพิจารณาให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระถูกต้อง ทันสมัย เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย คุ้มค่าการลงทุน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
การเตรียมการผลิตสื่อ อาจจะเลือกหรือดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่หากมีความคิดเห็นว่าควรออกแบบสื่อใหม่ควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆเช่น ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา งบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ความชำนาญในการจัดทำ
การดำเนินการผลิตสื่อการศึกษานอกระบบ ผลิตตามความมุ่งหมายที่กำหนดและแผนการณ์ที่เตรียมไว้
การประเมินผลการผลิตสื่อ กศน เพื่อการนำไปแก้ไขปรับปรุง ให้เป็นไปได้จริงในครั้งต่อไป

2. การใช้สื่อการศึกษานอกระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรดำเนินงาน 7 ขั้นตอนได้แก่
1. ตรวจสอบสื่อก่อนจะใช้ - เพื่อดูว่าสื่อเหมาะสมกับสภาพผู้เรียนและจุดมุ่งหมายหรือไม่
2. ศึกษาเนื้อหาของสื่อ - เพื่อความแม่นยำในเนื้อหาที่จะนำเสนอ
3. เตรียมสถานที่ - ห้องเรียน ที่นั่ง วัสดุ อุปกรณ์ ปลั๊กไฟ เครื่องฉาย และควรทดลองใช้สื่อก่อนนำไปใช้
4. เตรียมตัวผู้เรียน - กล่าวนำผู้เรียนเข้าสู่บทเรียนเพื่อสร้างแรงจูงใจ หรืออธิบายศัพท์ที่เกี่ยวข้องก่อน
5.ลงมือใช้สื่อ - กระตุ้นและเร้าความสนใจการใช้สื่อ, นำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อ, ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อ, วิเคราะห์และฝึกปฏิบัติด้วยสื่อ, สรุปด้วยสื่อ
6.ประเมินผลการใช้สื่อ - การประเมินผลตัวสื่อโดยตรง, ประเมินการใช้สื่อ, ประเมินการเรียนการสอนของผู้เรียน
7.ปรับปรุงแก้ไขสื่อ - นำสื่อที่ได้รับการประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนำสื่อที่มีคุณภาพไปใช้งานในระบบต่อไป

2.3 กรณีตัวอย่างการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบ

1.กรณีตัวอย่าง โครงการพัฒนาศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์และวิดิโอเทปเพื่อการศึกษาของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน
มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป ได้แก่ การสำรวจปัญหาต่างๆ ความสนใจ ความต้องการ และแรงจูงใจของประชาชนที่มีต่อโทรทัศน์และวิดิทัสเพื่อการศึกษา และการกำหนดวัตถุประสงค์
กระบวนการ ได้แก่ การวางแผนผลิต การใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์และวิดิทัศน์เพื่อการศึกษา
ผลผลิต ได้แก่ สื่อรายการวิทยุโทรทัศน์และวิดิทัศน์เพื่อการศึกษาที่สมบูรณ์
2. กรณีตัวอย่างการจัดระบบสื่อการศึกษาทางวิทยุกระจายเสียงแทนซาเนีย
มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป ได้แก่ การสำรวจปัญหาของประเทศแทนซาเนีย ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดให้มีการรณรงค์ด้วยกลุ่มทางวิทยุกระจายเสียงในแทนซาเนีย กำหนดจุดประสงค์ของการรณรงค์
กระบวนการ ได้แก่ การวางแผนดำเนินงานการรณรงค์ด้วยกลุ่มศึกษาทางวิทยุกระจายเสียง 5 โครงการ และดำเนินการผลิตสื่อรายการวิทยุกระจายเสียง และ สื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับการรนรงค์ด้วยกลุ่มศึกษาทางวิทยุกระจายเสียงแต่ละโครงการ
ผลผลิต ได้แก่รายการวิทยุกระจายเสียงของแต่ละโครงการ เอกสารสิ่งพิมพ์ประกอบการเรียน หนังสือให้ความรู้ คู่มือสำหรับผู้นำกลุ่ม โปสเตอร์ ภาพพลิก

แบบประเมิน
1. คำว่าระบบหมายถึง ผลรวมของส่วนประกอบต่างๆที่สัมพันธ์กันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. ข้อมูลที่ป้อนเข้าของระบบการแก้ปัญหาที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบคืออะไร สภาพปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายประสบอยู่
3. การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมซึ่งเป็นหลักที่ใช้ในการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบ ควรมีลักษณะเช่นไร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม จัดสภาพแวดล้อมทางจิตภาพให้เหมาะสม
จัดลักษณะและบรรยากาศสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
4. การวางแผนผลิตสื่อการศึกษานอกระบบควรคำนึงถึงข้อใด สื่อที่ผลิตควรสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และเนื้อหาประมวลประสบการณ์
5. ข้อใด "ไม่ใช่" ขั้นตอนหนึ่งของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ การใช้สื่อตามความต้องการของผู้ใช้
6. การประเมินผลสื่อการศึกษานอกระบบสามารถประเมินได้ด้วยวิธีใด ประเมินผลตัวสื่อโดยตรง ประเมินผลจากคามสำเร็จของผู้เรียนจากการสอน ประเมินกระบวนการการเรียนการสอน
7. การกำหนดวัตถุประสงค์ในการผลิตเป็นองค์ประกอบในข้อใดของการจัดระบบการศึกษานอกระบบ
ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป
8. กระบวนการในการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบคือข้อใด การวางแผนผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
9. ขั้นตอนการจัดระบบทั่วไปมีอะไรบ้าง วิเคราะห์ระบบ สังเคราะห์ระบบ สร้างแบบจำลอง ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
10. ผลลัพธ์ในการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบคือข้อใด การได้สื่อตามต้องการ การทดสอบประสิทธิภาพสื่อ การประเมินผลการใช้สื่อและปรับปรุงแก้ไข

1. ข้อใดคือความหมายของระบบ ผลรวมของส่วนประกอบย่อยที่แต่ละส่วนประกอบทำงานเป็นอิสระและประสานสัมพันธ์กัน
2. การศึกษาสภาพปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายประสบอยู่ เป็นองค์ประกอบในส่วนใดของระบบ ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป
3. การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมที่ใช้เป็นหลักในการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบควรจัดอย่างไร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อย สนับสนุนให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองทันที
4. การวางแผนผลิตสื่อควรวางแผนอย่างไร พิจารณาเลือกผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเป็นปัจจุบัน ทันสมัย ถูกต้องน่าสนใจ และ พิจารณาผลิตสื่อให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
5. ข้อใดเป็นขั้นตอนหนึ่งของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ การเตรียมสถานที่และผู้เรียน
6. นักการศึกษานอกระบบควรประเมินผลสื่การศึกษานอกระบบอย่างไร  ประเมินผลจากตัวสื่อโดยตรง ประเมินผลจากกระบวนการเรียนการสอน
7. ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปในการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบคือ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการผลิต
8. การวางแผนผลิตและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบเป็นองค์ประกอบในข้อใดของการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบ กระบวนการ
9. ข้อใดเป็นลำดับขั้นตอนการจัดระบบทั่วไปที่ถูกต้อง วิเคราะห์ระบบ สังเคราะห์ระบบ สร้างแบบจำลอง ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
10. ผลลัพธ์ในการจัดระบบสื่อการศึกษานอกระบบคือข้อใด การได้สื่อตามความต้องการ และทดสอบประสิทธิภาพปรับปรุงแก้ไขสื่อ

<<< กลับไปหน่วยที่ 1  อ่านต่อหน่วยที่ 3 >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน