16 ก.พ. 2556

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 8

หน่วยที่ 8 สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา

1. สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาประเภทเสียงประกอบด้วย เครื่องขยายเสียงและลำโพง
2. สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาประเภทฉายครอบคลุม เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ การผลิตแผ่นใส และการเก็บรักษาแผ่นใสเพื่อใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
3. สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาประเภทดิจิตอล ครอบคลุม วีซีดีเพื่อการศึกษา เครื่องฉายภาพแอลซีดี กล้องถ่ายภาพประเภทดิจิตัล และ เครื่องพิมพ์

ตอนที่ 8.1 สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาประเภทเสียง

 8.1.1 เครื่องขยายเสียง เครื่องขยายเสียงมีหน้าที่ขยายสัญญานไฟฟ้า ประกอบด้วยภาค ปรีแอมป์ และพาวเวอร์แอมป์
(1.) ภาคปรีแอมป์ เป็นส่วนแรกของเครื่องขยายที่ทำหน้าที่รับสัญญานจากแหล่งกำเนิดสัญญานต่างๆ ขยายและปรับแต่งความถี่ให้เสียงมีคุณภาพก่อนที่จะส่งไปยัง Power Amplifier
(2.) พาวเวอร์แอมป์ หรือภาคขยายกำลัง  ทำหน้าที่รับสัญญานที่ได้ถูกปรับแต่งแล้วจากภาคปรีแอมป์ มาขยายให้สัญญานมีกำลังมากขึ้น แล้วส่งต่อไปยังลำโพง เพื่อให้เกิดเสียงตามที่เราต้องการต่อไป

8.1.2 ลำโพง ลักษณะของตู้ลำโพงเป็นแบบปิดหรือแบบเปิด โดยมีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ลำโพงมี 3 ประเภทคือ Woofer  Midrange  Tweeter 
(1.) Woofer มีหน้าที่หลักในการให้เสียงต่ำ เสียงทุ้ม หรือเสียงเบส
(2.) Midrange เป็นลำโพงที่มีหน้าที่หลักในการให้เสียงกลาง จะมีขนาดรองลงมา เมื่อเปรียบเทียบกับลำโพงประเภทอื่นที่อยู่ในตู้เดียวกัน
(3.)Tweeter เป็นลำโพงที่มีหน้าที่หลักในการให้เสียงแหลมและมีขนาดเล็กที่สุด
วงจรสำหรับตัดเสียงแบ่งความถี่ในระดับต่างๆทั้ง 3 ความถี่ มีชื่อเรียกว่า Crossover

ตอนที่ 8.2 สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาประเภทใช้ฉาย

8.2.1 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ   
คุณลักษณะเด่นของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะคือ 1.ใช้ได้ง่าย 2.ใช้ในท้องที่ที่มีแสงสว่าง 3.ผู้บรรยายหันหน้าทางผู้ฟัง 4.การผลิตแผ่นใสทำได้ไม่ยาก 5.แผ่นใสสามารถนำมาใช้ได้หลายครั้ง 6.สามารถดูแผ่นใสก่อนเตรียมบรรยายได้ 7.เครื่องฉายมีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายสะดวก 8.สามารเขียนโน๊ตย่อไว้บนกรอบแผ่นใส เพื่อช่วยจำในรายละเอียด
ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ประกอบด้วย  พัดลม กระจกเงา หลอดฉาย เลนส์ควบคุมแสง เลนส์เกลี่ยแสง เลนส์ฉาย ปุ่มปรับความชัด และกระจกฉาย
Keystone Effect คือปัญหาภาพบนจอเบี้ยวหรือเฉ เป็นสี่เหลี่ยมคางหมู เกิดจากเลนส์ฉายไม่ตั้งฉากหรือขนานกับจอภาพ

8.2.2 การผลิตแผ่นใส การผลิตแผ่นใสทำได้ 3 วิธีคือ เขียนด้วยมือ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และแผ่นใสลักษณะวางซ้อนกันหลายแผ่น

8.2.3 การเก็บรักษาแผ่นใส การเก็บรักษาแผ่นใสต้องใช้กระดาษคั่นระหว่างแผ่น เก็บในที่ไม่มีแสงแดด ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่มีฝุ่นละออง และจัดหมวดหมู่


ตอนที่ 8.3 สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาประเภทดิจิทัล

8.3.1 ดีวีดีเพื่อการศึกษา ดีวีดีเป็นแหล่งโปรแกรมที่ทำหน้าที่อ่านสัญญานภาพและเสียงก่อนที่จะถูกส่งไปยังภาคขยายลำโพงและจอภาพต่อไป 
ลักษณะเด่นของดีวีดี ให้ภาพที่คมชัด เสียงที่เสมือนจริง ใส่คำบรรยายได้หลายภาษา เก็บข้อมูลได้มาก
ประเภทของดีวีดี มี 2 ประเภทคือ DVD-R และ DVD-RW 
การเลือกดีวีดี ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนย้ายไดรฟ์ เครื่องที่จะนำมาใช้ ความเร็ว มีเทคโนโลยีสำหรับป้องกันแผ่นเสีย และพิจารณาโซน

8.3.2 เครื่องฉายภาพแอลซีดี เป็นเครื่องฉายที่ฉายจากด้านหน้า มีน้ำหนักเบา ใช้สะดวก ติดตั้งง่าย ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวิดี เครื่องเล่นวิดิโอ มีรูปแบบตั้งโต๊ะและติดบนเพดาน

8.3.3 กล้องถ่ายภาพประเภทดิจิทัล ใช้อิมเมจเซนเซอร์รับภาพแทนบิลบี้ น้ำหนักเบา สะดวกพกพา ไม่ต้องเสียค่าฟิล์ม ดูภาพที่จะถ่ายได้ทันที บันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ ถ่ายโอนไปกลับไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และดูจากเครื่องรับโทรทัศน์ ข้อเสียของกล้องดิจิตัลคือ ข้อจำกัดเรื่องราคา หน่วยความจำมีราคาค่อนข้างแพง และ แบตเตอรี่หมดเร็ว

8.3.4 เครื่องพิมพ์ จำแนกเป็น 
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ราคาสูง เหมาะกับการใช้งานพิมพ์ที่ต้องการความคมชัด สูง หรืองานพิมพ์จำนวนมาก ที่นิยมใช้กันมากเป็นงานพิมพ์ขาวดำ ในสำนักงาน
เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต เป็นเครื่องพิมพ์แบบหมึกฉีด มีทั้งเครื่องพิมพ์สำหรับงานเอกสารและเครื่องพิมพ์สำหรับภาพถ่าย
เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริก เป็นเครื่องพิมพ์ระบบเข็มจิ้ม วัดความเร็วเป็นอักขระต่อวินาที (CPS) เหมาะกับงานเอกสารที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก และสามารถก็อปปี้ซ้อนกันได้หลายแผ่น พิมพ์ได้ทั้งกระดาษชนิดต่อเนื่องและกระดาษธรรมดา
เครื่องพิมพ์แบบ Dye-Sublimation เป็นเครื่องที่พัฒนาสำหรับการพิมพ์ภาพถ่ายโดยเฉพาะ ใช้หลักความร้อนละลายหมึก ใช้เวลาการพิมพ์นาน ได้คุณภาพใกล้เคียงกับภาพที่ไปอัดจากร้านถ่ายรูป มีภอร์ต USB ที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากกล้องโดยตรงได้ บางรุ่นมีจอ LCD ติดเหนือเครื่องพิมพ์ด้วย

แบบประเมิน
1. ส่วนแรกของเครื่องขยายเสียงที่ปรับแต่งเสียงก่อนส่งไปยังพาวเวอร์แอมป์คือ Pre-Amplifier
2. ลำโพงที่ให้เสียงย่านความถี่ต่ำมาก Sub woofer
3. การบอกกำลังขับในชั่วพริบตาของเครื่องขยายเสียงจะบอกในรูปแบบ PMPO
4. เลนส์ในเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะที่ทำหน้าที่เกลี่ยแสงมีชื่อว่า Fresnel Lense
5. ลักษณะของภาพฉายที่ปรากฎบนจอเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูมักเกิดจาก เลนส์ฉายไม่ตั้งฉากกับจอ
6. ปากกาเขียนแผ่นใสที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ตัวปากกาเขียนไว้ด้วยตัว F
7. ปากกาที่ใช้เขียนแผ่นใสเป็นการถาวรจะเขียนที่ด้านปากกาว่า Waterproof - Permanent
8. การผลิตแผ่นใสโดยการนำมาซ้อนกันหลายแผ่นเพื่อนำเสนอในเรื่องเดียวกันเรียกว่า Overlay
9. เครื่องฉายภาพที่สามารถต่อจากเครื่องเล่นดีวีดี หรือ วีซีดี เพื่อฉายไปยังจอรับภาพมีชื่อว่า Liquid Crystral Display
10.ส่วนของกล้องถ่ายภาพในระบบดิจิตัลที่ทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดภาพเรียกว่า Image Sensor.

1. เครื่องขยายเสียงเสียงที่นำเอาภาคพรีแอมป์ และพาวเวอร์แอมป์มารวมกันเรียกว่า Integrated Amplifier
2. ลำโพงใดให้เสียงย่านความถี่สูง Tweeter
3. การบอกกำลังขับของเครื่องขยายเสียงรูปแบบใดมักมีตัวเลขสูงเมื่อเทียบกับการบอกแบบอื่น PMPO
4. เลนส์ในเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ที่ทำให้แสงไปในทิศทางเดียวกันเรียกว่า Condensing Lens
5. ลักษณะของภาพที่ฉายจากเครื่องฉายที่ปรากฎบนจอเบี้ยว หรือ เฉ เพราะ เลนส์ฉายไม่ตั้งฉากกับจอ
6. ปากกาเขียนแผ่นใสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ตัวปากกาเขียนไว้ด้วยตัว L
7. ปากกาที่ใช้เขียนแผ่นใสแบบชั่วคราวจะเขียนว่า Watersolube หรือ Non Permanent
8. การผลิตแผ่นใสโดยการนำมาซ้อนกันหลายแผ่นเพื่อนำเสนอในเรื่องเดียวกันเรียกว่า Overlay
9. เครื่องฉายภาพที่สามารถต่อจากเครื่องเล่นดีวีดี หรือ วีซีดี เพื่อฉายไปยังจอรับภาพมีชื่อว่า Liquid Crystral Display
10.ส่วนของกล้องถ่ายภาพในระบบดิจิตัลที่ทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดภาพเรียกว่า Image Sensor.

<<< ย้อนกลับ หน่วยที่ 7   อ่านต่อ หน่วยที่ 9 >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน