16 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่1

หน่วยที่1 สื่อสำหรับการศึกษานอกระบบ

1.1 ความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ
1.2 วิวัฒนาการของการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบ
1.3 ประเภทของสื่อเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบ

ตอนที่ 1.1 ความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ

1. ความหมายของสื่อและความหมายของระบบ
สื่อ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารตรงกันได้ตามวัตถุประสงค์
ระบบ หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สัมพันธ์กัน

2. หลักการของวิธีระบบ
วิธีระบบคือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งกำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานและการแก้ปัญหาไว้อย่างชัดเจน

3. องค์ประกอบพื้นฐานของวิธีระบบและขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
องค์ประกอบของวิธีระบบ มี 3 ส่วนคือ
(1.) สิ่งที่ป้อนเข้าไป - ทรัพยากร ข้อมูล วัตถุประสงค์ ขั้นการวางแผน การเตรียมการ
(2.) กระบวนการ - การดำเนินการตามแผนที่วางไว้โดยอาศัยข้อมูลหรื่อทรัพยากรที่เตรียมในขั้นแรก
(3.) ผลที่ได้ออกมา - การประเมินผล
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินและนำมาแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่างๆเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ และเรียกการกระทำในขั้นตอนนี้ว่า การวิเคราะห์ระบบ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ 8 ขั้นตอนคือ 
(1.) กำหนดปัญหา  (2.) กำหนดวัตถุประสงค์  (3.) สร้างเครื่องมือวัดผล  (4.) เลือกวิธีการ  (5.) ตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด  (6.) ขั้นทดลอง  (7.) การวัดและประเมินผล  (8.) ปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน
ระบบสื่อการศึกษา เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีการกำหนดขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน 5 ขั้นตอนคือ (1.) การวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้เรียน (2.) กำหนดจุดมุ่งหมาย (3.) ออกแบบสื่อ (4.) การใช้สื่อ (5.) การวัดผล

4. ความสำคัญของสื่อเพื่อการจัดการการศึกษา 
สื่อการสอนเป็นประโยชน์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวในการผลิตวัสดุใหม่ๆ

5. ความสำคัญของสื่อเพื่อจัดการศึกษานอกระบบ
สื่อมีความสำคัญต่อการศึกษานอกระบบ 3 ประการได้แก่ คุณค่าทางวิชาการ จิตวิทยา และ เศรษฐกิจ

ตอนที่ 1.2 วิวัฒนาการของการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบ

1.พัฒนาการของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบยุคแรกเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถึง ศต.17
พัฒนาการของการใช้สื่อ กศน ในยุคแรกมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย พัฒนาการสูงสุดในยุคนี้คือ การมีแบบเรียนที่มีภาพประกอบ มีหนังสือแบบเรียนเกิดขึ้นในไทย มีการถ่ายทอดกันโดยการเล่า การเทศนา เป็นสื่อประเภทสื่อพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่
การใช้สื่อเพื่อจัดการศึกษานอกระบบในยุคแรกเริ่มของไทย ครอบคลุมตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถึงสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากในสมัยสุโขทัยมีการประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อถึงสมัยกรุงศรีอยุธยามีแบบเรียนเล่มแรกชื่อ จินดามณี ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีมีสื่อที่เป็นวรรณกรรมเท่านั้น

2.พัฒนาการของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วง ศต.18-19
เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากในวงการทั่วไป โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม แต่เทคโนโลยีทางด้านการศึกษายังจัดว่ามีบทบาทน้อยมาก
การใช้สื่อเพื่อจัด กศน ของไทยในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ครอบคลุมตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 1 จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่สื่อและนวกรรมทางการศึกษาขยายตัวเป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาเป็นระบบแบบแผนมากขึ้นแต่การใช้สื่อเป็นสื่อการศึกษานอกระบบ ในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดใช้โรงทานเป็นสถานที่ให้การศึกษา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชตุพน และจัดระบบสื่อการศึกษาจากหลักศิลาจารึกซึ่งมีเนื้อหาวิชาต่างๆ เช่น วิชาแพทย์ ช่าง ดาราศาสตร์
  พ.ศ. 2434 มีการจัดหนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารความรู้เป็นครั้งแรก และต่อมามีสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเล่มเพื่อให้ความรู้ต่างๆ และความบันเทิง ตลอดจนการทำหนังสือแบบเรียน
  พ.ศ. 2448 มีการนำสื่อประเภทสื่อโสตทัศน์เข้ามาในประเทศไทย และวิทยุกระจายเสียงเริ่มมีเข้ามาในสมัย รัชกาลที่5

3.พัฒนาการของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วง ศต.20-ปัจจุบัน
เริ่มมีการเกิดขึ้นอย่างจริงจัง มีการเน้นถึงเรื่องการใช้สื่ออุปกรณ์ต่างๆที่ประหยัด และมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงให้ผลคุ้มค่า
การเคลื่อนไหวที่สำคัญของการใช้สื่อเพื่อ กศน ในยุคปัจจุบัน มีดังนี้ หลังจากการตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมีจุดเน้นที่การแก้ไขการไม่รู้หนังสือของประชาชน ซึ่งถือเป็นงานสำคัญทางการศึกษานอกระบบมาจนถึงปัจจุบันงานหนึ่งซึ่งเป็นยุคที่มีความเจริญสูงสุดเพราะมีการใช้สื่อหลายชนิดมาใช้กับงานการศึกษานอกระบบได้แก่ สื่อโสตทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อพื้นบ้าน

ตอนที่ 1.3 ประเภทของสื่อเพื่อจัดการศึกษานอกระบบ

1. สื่อโสตทัศน์ คือ สื่อที่สัมผัสได้ด้วยการได้ยิน และ เห็นด้วยตาโดยไม่ออกอากาศ
สื่อโสตทัศน์ หมายถึง ตัวกลางที่สามารถสัมผัสได้ด้วยการได้ยินและการมองเห็นเพื่อให้การส่งและการรับสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของสื่อโสตทัศน์ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1) โสตทัศนวัสดุ 2) เครื่องมือโสตทัศน์ 3) กิจกรรมทางโสตทัศน์
โสตทัศนวัสดุได้แก่ 1) ภาพนิ่ง เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย 2) วัสดุลายเส้น เช่น แผนภูมิ แผนสถิติ การ์ตูน 3)วัสดุมีทรง เช่น หุ่นจำลอง ไดออร์ดราม่า
เครื่องมือโสตทัศน์ ได้แก่ 1) เครื่องเสียง เช่นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่น แผ่นเสียง เครื่องขยายเสียง 2) เครื่องฉาย เช่น เครื่องฉายไสลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป ภาพยนตร์
กิจกรรมทางโสตทัศน์ เช่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

2. สื่อสิ่งพิมพ์ คือ สื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียน โดยใช้วัสดุ กระดาษ พิมพ์ออกมาพร้อมกัน เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้อ่านได้คราวละมากๆ ครอบคลุมตั้งแต่ โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ฝาผนัง หนังสือเสริมการอ่านและแผ่นพับ

3. สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คือ สื่อที่สามารถนำเสนอเรื่องราวและทักษะต่างๆได้เป็นอย่างดีเป็นสื่อการสอนที่สามารถนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างมาใช้รวมกันได้อย่างสะดวก เป็นการใช้สื่อที่เรียกว่าสื่อประสม เป็นแหล่งวิทยาการที่สมบูรณ์แหล่งหนึ่ง และสามารถพัฒนาคุณภาพของประชาชนได้ผลอย่างรวดเร็วและประหยัด
สื่อวิทยุกระจายเสียง มีคุณลักษณะคือ เป็นการสื่อสารได้เร็วที่สุดส่งไปได้ทุกหนทุกแห่ง สามารถเร้าหรือจูงใจผู้ฟังให้รู้สึกว่ามีส่วนร่วม สามารถนำผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาให้ความรู้แก่ผู้ฟัง เป็นสื่อมวลชนที่มีราคาค่อนข้างถูกสื่อสารไปสู่มวลชนและให้ความเพลิดเพลินโดยไม่ต้องลงทุนมาก
สื่อวิทยุโทรทัศน์ เป็น การนำสื่อการสอนหลายอย่างมาใช้ร่วมกันที่เรียกว่าสื่อประสม ซึ่งได้ผลอย่างรวดเร็ว ประหยัด และสามารถให้การศึกษาในระดับต่างๆได้เป็นอย่างดี

4. สื่อคอมพิวเตอร์ เป็นการนำเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์มาทำงานแทนมนุษย์เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ โดยทำให้การเรียนการสอนมีการตอบโต้กันได้ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนที่อยู่ในห้องตามปกติ
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ที่มีต่องานการศึกษา เช่น ใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้ในการบริหาร ใช้ในการประเมินผล ใช้เป็นสื่อในการเร้าความสนใจของผู้เรียนในลักษณะของเกมส์เพื่อการศึกษา

5. สื่อพื้นบ้าน คือ รูปแบบของสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับกลุ่มคน หรือกลุ่มคนกับกลุ่มคน ที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิดเป็นความเคยชินเป็นประเพณี ตัวอย่างของสื่อพื้นบ้านได้แก่ เพลงพื้นบ้าน ละครพื้นบ้านและการละเล่น
ตัวอย่างสื่อพื้นบ้าน โนรา ลิเก หมอลำ หุ่นกระบอก หนังตะลุง ละครพื้นบ้าน โขน

6. ชุดฝึกอบรม เป็นสื่อที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากร กศน โดยมีลักษณะที่เอื้อต่อการขยายโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้จากการอบรมโดยการ ศึกษาจากชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง
ลักษณะที่สำคัญของชุดฝึกอบรม มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่อง เป็นสื่อประสม ศึกษาได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาฝึกอบรมสั้น ใช้ได้กับทุกสถานที่และเวลา เบ็ดเสร็จในตัวเอง
ชุดฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1) ชุดฝึกอบรมเสริมกิจกรรมการฝึกอบรม 2) ชุดฝึกอบรมที่ศึกษาด้วยตนเอง

แบบประเมิณ
1. สื่อการสอนและสื่อการศึกษา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เหมือนกัน คือ ในวิธีการ อุปกรณ์ที่ช่วยนำกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
2. วิธีระบบประกอบด้วยอะไรบ้าง สิ่งที่ป้อนเข้าไป กระบวน ผลที่ออกมา ข้อมูลย้อนกลับ
3. การที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยการแสดงความคิดเห็น และผู้สอนได้ช่วยแก้ข้อสงสัยในทันที การกระทำนี้เรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ
4. คุณค่าของสื่อการสอนมีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันและเกิดประสบการณ์ร่วมกัน
5. สื่อการศึกษานอกระบบที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมความคิดและการแก้ปัญหาเป็นคุณค่าของสื่อการศึกษานอกระบบด้านใด วิชาการ
6. การพัฒนาระบบการสอนรายบุคคล โดยใช้การสอนแบบฝึกฝีมือมีขึ้นในยุคใด ยุคแรกเริ่ม
7. สื่อและนวกรรมทางการศึกษาที่นับว่ามีพัฒนาการสูงสุดสำหรับยุคแรกเริ่มของไทยคือ หนังสือจินดามณี
8. วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญเริ่มมีขึ้นในสมัยใด รัชกาลที่ 5
9. งานหลักของกองการศึกษาผู้ใหญ่ในช่วงแรกคือ งานแก้ไขการไม่รู้หนังสือ
10. ข้อใดต่อไปนี้เป็นโสตทัศน์วัสดุทั้งหมด ภาพนิ่ง วัสดุลายเส้น

1. คำว่า"ระบบ" หมายถึง ผลรวมของส่วนประกอบต่างๆที่สัมพันธ์กันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. การชมโทรทัศน์ เป็นการสื่อสารแบบใด การสื่อสารทางเดียว เพราะผู้ส่ง-ผู้รับ ไม่สามารถมีปฏิกริยาสนองกลับต่อกันได้ทันที
3. การวางแผนการสอนที่ใช้สื่อร่วมด้วยลำดับแรกที่ต้องกระทำคือ การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน
4. คุณค่าของสื่อการสอนมีประโยชน์ต่อผู้สอนอย่างไร เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวเสมอในการเตรีมสื่อการสอนและเตรียมเนื้อหาน้อยลง
5. สื่อการศึกษานอกระบบที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจต้องการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆทำให้มีมโนทัศน์ที่ถูกต้อง เป็นคุณค่าของสื่อการศึกษานอกระบบด้านใด จิตวิทยา
6. ยุคเริ่มต้นของการศึกษาไทยเกิดขึ้นในสมัยใด กรุงสุโขทัย
7. แนวโน้มที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การแสดงนิทรรศการ American Schools
8. การเคลื่อนไหวที่สำคัญของการใช้สื่อเพื่อการศึกษานอกระบบของไทยในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่
9. การแสดงบทบาทสมมติให้แก่ผู้เรียนเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใด ประสบการณ์นาฏการ
10. หนังสือเสริมการอ่านมีลักษณะอย่างไร รูปเล่มบางๆ ใช้ภาษาง่ายๆ

อ่านต่อ หน่วยที่ 2 >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน