29 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่4

หน่วยที่4 การจัดระบบและออกแบบระบบทางการศึกษา

ตอนที่1 ระบบและการจัดการระบบ

สามัญทัศน์เกี่ยวกับระบบ

1. ระบบ หมายถึง องค์ประกอบหลายองค์ประกอบมารวมกันเป็นโครงสร้างที่แน่นอน มีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ องค์ประกอบแ่ละองค์ประกอบทำงานเป็นอิสระ และมีปฏิสัมพันธ์กัน

2. โครงสร้างระบบ เป็นสิ่งที่ประกอบเป็นระบบหรือเกิดขึ้นจากการรวมตัวขององค์ประกอบต่างๆได้แก่
2.1 ขอบเขตและสภาพแวดล้อม
ขอบเขต- เส้นแบ่งระหว่างองค์ประกอบของระบบและส่วนที่ไม่เกี่ยวกับระบบ
สภาพแวดล้อม - สิ่งที่ไม่ใช่ระบบแต่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อระบบ
2.2 องค์ประกอบและปฏิสัมพันธ์
องค์ประกอบ-อาจเป็นกิจกรรมหรือวัตถุสิ่งของ
ปฏิสัมพันธ์-องค์ประกอบตั้งแต่สองอย่างที่มีผลกระทบต่อกันและกันแบบสองทาง
2.3 ระบบย่อยและระบบชั้น
ระบบย่อย-เป็นระบบสมบูรณ์ในตัวเองที่ทำงานให้ระบบใหญ่
ระบบชั้น- ประกอบด้วย ส่วนประกอบ> องค์ประกอบ> ระบบย่อย> ระบบใหญ่ ตามลำดับ

สามัญทัศน์เกี่ยวกับการจัดระบบ

1. การจัดระบบหมายถึง การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยเน้นที่ขั้นตอน

2. ความสำคัญของการจัดระบบ
2.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
2.2 สื่อสาร - เพื่อไปสู่การเผยแพร่และปฏิบัติตามระบบ
2.3 ประกันคุณภาพ - ต้องมีการทดสอบระบบในสถาณการร์จำลอง ที่ที่ใกล้เคียงสถานการณ์จริงก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าระบบมีคุณภาพ
2.4 การประเมิณ ควบคุม ติดตามและตรวจสอบ - เพื่อควบคุมการดำเนินงานและแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
2.5 ฐานะเครื่องมือใช้ในการสร้างนวกรรม
2.6 ฐานะเครื่องมือในการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

3. องค์ประกอบของการจัดระบบ
ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญคือ สภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท -- ปัจจัยนำเข้า -- กระบวนการผลลัพธ์ -- และผลย้อยกลับเพื่อควบคุมและปรับปรุง

ตอนที่2 ขั้นตอนการจัดระบบทางการศึกษา

1. การวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา
การวิเคราะห์ระบบทางการศึกษาจะเกิดขึ้นในเวลาที่ระบบทางการศึกษาทั้งระบบหรือบางส่วนเสื่อมหรือมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง

การวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา เป็นการหาข้อมูลของระบบหรือการดำเนินการในปัจจุบัน
ความจำเป็นของการวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา
- มีความเป็นพลวัตของระบบ > คือปรับเปลี่ยนตามสถาณการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสม
- ความหย่อนสมรรถภาพของระบบ
- ความยุ่งยากซับซ้อนของปัจจัยนำเข้า >  เช่น ประเภท ปริมาณ เวลา สถานที่ และวิธีการ

ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบประกอบด้วย
1.1 พิจารณาองค์ประกอบหรือการดำเนินงานที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
1.2 ระบุรายละเอียดขององค์ประกอบ
1.3 พิจารณาจุดดี จุดด้อย ขององค์ประกอบ

2. การสังเคราะห์ระบบการศึกษา
เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการสร้างระบบใหม่โดยกำหนด องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ ทิศทาง และลำดับขั้นตอนของระบบใหม่

ความจำเป็นในการสังเคราะห์ระบบ
- เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างระบบใหม่
- ช่วยให้มีการระบุส่วนประกอบและองค์ประกอบของระบบ
- ช่วยให้มีการจัดเรียงองค์ประกอบเข้าเป็นขั้นตอน

ขั้นตอนการสังเคราะห์ระบบประกอบด้วย
2.1 พิจารณาองค์ประกอบเดิม
2.2 กำหนดองค์ประกอบ > องค์ประกอบหลัก Ci, Cp, Co และองค์ประกอบรอง Ci1,Cp1,Co2
2.3 กำหนดวิธีระบบ > การกำหนดเส้นทางไหลเวียนขององค์ประกอบ จาก input - output และกระบวนการย้อนกลับ
2.4 จัดเรียงองค์ประกอบตามลำดับก่อนหลัง
2.5 ใส่รหัสแสดงขั้นตอน 1.0​, 2.0, 3.0 เป็นรหัสขั้นตอนหลัก 1.1, 1.2, 1.3, รหัสขั้นตอนย่อยของแต่ละขั้นตอน
2.6 อธิบายรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ใช้คำขึ้นต้นว่า กำหนด ระบุ วิเคราะห์ ทดสอบ ทำการประเมิณ
2.7 ตั้งชื่อระบบที่พัฒนาขึ้น มักใช้คำว่า แผน นำหน้าแล้วจึงตามด้วยชื่อระบบ

3.การสร้างแบบจำลองระบบทางการศึกษา
เป็นแผนถูมิลำดับกรอบที่แสดงส่วนประกอบ องค์ประกอบ โครงสร้าง ขั้นตอน วิถี ทิศทาง และเงื่อนไขความสัมพันธ์ และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของระบบโดยใช้ ภาพ สัญลักษณ์ และสิ่งที่กำหนดขึ้นมาแทนองค์ประกอบ

ความสำคัญของแบบจำลองระบบ
- สื่อความหมาย
- กำกับกระบวนการ
- ดำเนินงาน
- ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน
- พัฒนาระบบ

ขั้นตอนการสร้างแบบจำลองทางการศึกษา
3.1 พิจารณาขั้นตอนอย่างละเอียด
3.2 กำหนดประเภทของแบบจำลอง > แบบรูปภาพ, แบบเปรียบเทียบ, แบบแนวคิด, แบบสัญลักษณ์
3.3 กำหนดรูปแบบของแบบจำลอง > แนวนอน, แนวตั้ง, ผสมตั้ง+นอน, แผนวงกลมและวงรี
3.4 กำหนดสัญลักษณ์
3.5 ร่างแบบจำลอง
3.6 ตรวจสอบและปรับปรุง
3.7 เขียนแบบจำลอง

4. การทดสอบระบบทางการศึกษา
เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบก่อนนำไปใช้จริง

ความจำเป็นของการทดสอบระบบทางการศึกษา
- ครอบคลุมการประกันคุณภาพของระบบ
- สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ระบบ
- ประหยัดเวลาและงบประมาณ

แนวทางในการทดสอบระบบทางการศึกษา
4.1 ทดสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ > การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก การกำหนดองค์ประกอบ การกำหนดเครื่องมือสำหรับทดสอบ การนำเสนอ การวิเคราะห์และปรับปรุง
4.2 ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอ > การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบระบบ การกำหนดเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานผลการทดสอบระบบ

ตอนที่ 3 การออกแบบระบบทางการศึกษา

1. การออกแบบการสอน เป็นขั้นตอนของการกำหนดรายละเอียดขององค์ประกอบ วิถี และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลัก

ความสำคัญ
- เครื่องประกันประสิทธิภาพการเรียนการสอน
- เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้สอน
- เป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
- เป็นเครื่องมือวิจัยการเรียนการสอนในชั้นเรียน
- เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการสอน

ขั้นตอนการออกแบบระบบการสอนครอบคลุม 10 ขั้นตอนคือ
1.) วิเคราะห์ผู้เรียน
2.) กำหนดวัตถุประสงค์
3.) วิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสปการณ์
4.) กำหนดและพัฒนาขั้นตอนการสอน
5.) กำหนดวิธีการสอน
6.) กำหนดสื่อการสอน
7.) กำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน
8.) การจัดการเรียนรู้
9.)กำหนดแนวการประเมิณการสอน
10.)สร้างแบบจำลองการสอน

2. การออกแบบระบบการฝึกอบรมครอบคลุม 11 ขั้นตอนคือ
1.) วิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการในการฝึกอบรม
2.) กำหนดและวิเคราะห์ผู้รับการฝึกอบรม
3.) กำหนดวัตถุประสงค์
4.) กำหนดและวิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสปการณ์
5.) กำหนดวิธีการและเทคนิคการฝึกอบรม
6.) พัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรม
7.) กำหนดช่องทาง สื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม
8.)กำหนดสภาพแวดล้อมการฝึกอบรม
9.) กำหนดแนวทางการจัดฝึกอบรม
10.)กำหนดแนวทางประเมิณการฝึกอบรม
11.)สร้างแบบจำลองการฝึกอบรม

กิจกรรม 4.3.2
1. กำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในส่วนวิทยากรและผู้รับการฝึกอบรม
(ซ) กำหนดแนวทางการจัดการฝึกอบรม

2. เพศ วัย ระดับการศึกษา และประสปการณ์ของผู้รับการฝึกอบรม
(ก) วิเคราะห์ผู้รับการฝึกอบรม

3. ศึกษาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
(ค) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพความต้องการในการฝึกอบรม

4. เขียนแผนผังแนวคิดสัมพันธ์
(ง) กำหนดและวิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสปการณ์

5. ฝึกอบรมแบบบรรยาย
(ฉ) กำหนดวิธีการและเทคนิคการฝึกอบรม

6. ขนาดห้องฝึกอบรม
(จ) กำหนดสภาพแวดล้อมการฝึกอบรม

7.การติดต่อและเชิญวิทยากรการฝึกอบรม
(ช)พัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน