29 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่4

หน่วยที่4 การจัดระบบและออกแบบระบบทางการศึกษา

ตอนที่1 ระบบและการจัดการระบบ

สามัญทัศน์เกี่ยวกับระบบ

1. ระบบ หมายถึง องค์ประกอบหลายองค์ประกอบมารวมกันเป็นโครงสร้างที่แน่นอน มีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ องค์ประกอบแ่ละองค์ประกอบทำงานเป็นอิสระ และมีปฏิสัมพันธ์กัน

2. โครงสร้างระบบ เป็นสิ่งที่ประกอบเป็นระบบหรือเกิดขึ้นจากการรวมตัวขององค์ประกอบต่างๆได้แก่
2.1 ขอบเขตและสภาพแวดล้อม
ขอบเขต- เส้นแบ่งระหว่างองค์ประกอบของระบบและส่วนที่ไม่เกี่ยวกับระบบ
สภาพแวดล้อม - สิ่งที่ไม่ใช่ระบบแต่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อระบบ
2.2 องค์ประกอบและปฏิสัมพันธ์
องค์ประกอบ-อาจเป็นกิจกรรมหรือวัตถุสิ่งของ
ปฏิสัมพันธ์-องค์ประกอบตั้งแต่สองอย่างที่มีผลกระทบต่อกันและกันแบบสองทาง
2.3 ระบบย่อยและระบบชั้น
ระบบย่อย-เป็นระบบสมบูรณ์ในตัวเองที่ทำงานให้ระบบใหญ่
ระบบชั้น- ประกอบด้วย ส่วนประกอบ> องค์ประกอบ> ระบบย่อย> ระบบใหญ่ ตามลำดับ

สามัญทัศน์เกี่ยวกับการจัดระบบ

1. การจัดระบบหมายถึง การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยเน้นที่ขั้นตอน

2. ความสำคัญของการจัดระบบ
2.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
2.2 สื่อสาร - เพื่อไปสู่การเผยแพร่และปฏิบัติตามระบบ
2.3 ประกันคุณภาพ - ต้องมีการทดสอบระบบในสถาณการร์จำลอง ที่ที่ใกล้เคียงสถานการณ์จริงก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าระบบมีคุณภาพ
2.4 การประเมิณ ควบคุม ติดตามและตรวจสอบ - เพื่อควบคุมการดำเนินงานและแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
2.5 ฐานะเครื่องมือใช้ในการสร้างนวกรรม
2.6 ฐานะเครื่องมือในการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

3. องค์ประกอบของการจัดระบบ
ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญคือ สภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท -- ปัจจัยนำเข้า -- กระบวนการผลลัพธ์ -- และผลย้อยกลับเพื่อควบคุมและปรับปรุง

ตอนที่2 ขั้นตอนการจัดระบบทางการศึกษา

1. การวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา
การวิเคราะห์ระบบทางการศึกษาจะเกิดขึ้นในเวลาที่ระบบทางการศึกษาทั้งระบบหรือบางส่วนเสื่อมหรือมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง

การวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา เป็นการหาข้อมูลของระบบหรือการดำเนินการในปัจจุบัน
ความจำเป็นของการวิเคราะห์ระบบทางการศึกษา
- มีความเป็นพลวัตของระบบ > คือปรับเปลี่ยนตามสถาณการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสม
- ความหย่อนสมรรถภาพของระบบ
- ความยุ่งยากซับซ้อนของปัจจัยนำเข้า >  เช่น ประเภท ปริมาณ เวลา สถานที่ และวิธีการ

ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบประกอบด้วย
1.1 พิจารณาองค์ประกอบหรือการดำเนินงานที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
1.2 ระบุรายละเอียดขององค์ประกอบ
1.3 พิจารณาจุดดี จุดด้อย ขององค์ประกอบ

2. การสังเคราะห์ระบบการศึกษา
เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการสร้างระบบใหม่โดยกำหนด องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ ทิศทาง และลำดับขั้นตอนของระบบใหม่

ความจำเป็นในการสังเคราะห์ระบบ
- เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างระบบใหม่
- ช่วยให้มีการระบุส่วนประกอบและองค์ประกอบของระบบ
- ช่วยให้มีการจัดเรียงองค์ประกอบเข้าเป็นขั้นตอน

ขั้นตอนการสังเคราะห์ระบบประกอบด้วย
2.1 พิจารณาองค์ประกอบเดิม
2.2 กำหนดองค์ประกอบ > องค์ประกอบหลัก Ci, Cp, Co และองค์ประกอบรอง Ci1,Cp1,Co2
2.3 กำหนดวิธีระบบ > การกำหนดเส้นทางไหลเวียนขององค์ประกอบ จาก input - output และกระบวนการย้อนกลับ
2.4 จัดเรียงองค์ประกอบตามลำดับก่อนหลัง
2.5 ใส่รหัสแสดงขั้นตอน 1.0​, 2.0, 3.0 เป็นรหัสขั้นตอนหลัก 1.1, 1.2, 1.3, รหัสขั้นตอนย่อยของแต่ละขั้นตอน
2.6 อธิบายรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ใช้คำขึ้นต้นว่า กำหนด ระบุ วิเคราะห์ ทดสอบ ทำการประเมิณ
2.7 ตั้งชื่อระบบที่พัฒนาขึ้น มักใช้คำว่า แผน นำหน้าแล้วจึงตามด้วยชื่อระบบ

3.การสร้างแบบจำลองระบบทางการศึกษา
เป็นแผนถูมิลำดับกรอบที่แสดงส่วนประกอบ องค์ประกอบ โครงสร้าง ขั้นตอน วิถี ทิศทาง และเงื่อนไขความสัมพันธ์ และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของระบบโดยใช้ ภาพ สัญลักษณ์ และสิ่งที่กำหนดขึ้นมาแทนองค์ประกอบ

ความสำคัญของแบบจำลองระบบ
- สื่อความหมาย
- กำกับกระบวนการ
- ดำเนินงาน
- ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน
- พัฒนาระบบ

ขั้นตอนการสร้างแบบจำลองทางการศึกษา
3.1 พิจารณาขั้นตอนอย่างละเอียด
3.2 กำหนดประเภทของแบบจำลอง > แบบรูปภาพ, แบบเปรียบเทียบ, แบบแนวคิด, แบบสัญลักษณ์
3.3 กำหนดรูปแบบของแบบจำลอง > แนวนอน, แนวตั้ง, ผสมตั้ง+นอน, แผนวงกลมและวงรี
3.4 กำหนดสัญลักษณ์
3.5 ร่างแบบจำลอง
3.6 ตรวจสอบและปรับปรุง
3.7 เขียนแบบจำลอง

4. การทดสอบระบบทางการศึกษา
เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบก่อนนำไปใช้จริง

ความจำเป็นของการทดสอบระบบทางการศึกษา
- ครอบคลุมการประกันคุณภาพของระบบ
- สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ระบบ
- ประหยัดเวลาและงบประมาณ

แนวทางในการทดสอบระบบทางการศึกษา
4.1 ทดสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ > การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก การกำหนดองค์ประกอบ การกำหนดเครื่องมือสำหรับทดสอบ การนำเสนอ การวิเคราะห์และปรับปรุง
4.2 ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอ > การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบระบบ การกำหนดเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานผลการทดสอบระบบ

ตอนที่ 3 การออกแบบระบบทางการศึกษา

1. การออกแบบการสอน เป็นขั้นตอนของการกำหนดรายละเอียดขององค์ประกอบ วิถี และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลัก

ความสำคัญ
- เครื่องประกันประสิทธิภาพการเรียนการสอน
- เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้สอน
- เป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
- เป็นเครื่องมือวิจัยการเรียนการสอนในชั้นเรียน
- เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการสอน

ขั้นตอนการออกแบบระบบการสอนครอบคลุม 10 ขั้นตอนคือ
1.) วิเคราะห์ผู้เรียน
2.) กำหนดวัตถุประสงค์
3.) วิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสปการณ์
4.) กำหนดและพัฒนาขั้นตอนการสอน
5.) กำหนดวิธีการสอน
6.) กำหนดสื่อการสอน
7.) กำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน
8.) การจัดการเรียนรู้
9.)กำหนดแนวการประเมิณการสอน
10.)สร้างแบบจำลองการสอน

2. การออกแบบระบบการฝึกอบรมครอบคลุม 11 ขั้นตอนคือ
1.) วิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการในการฝึกอบรม
2.) กำหนดและวิเคราะห์ผู้รับการฝึกอบรม
3.) กำหนดวัตถุประสงค์
4.) กำหนดและวิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสปการณ์
5.) กำหนดวิธีการและเทคนิคการฝึกอบรม
6.) พัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรม
7.) กำหนดช่องทาง สื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม
8.)กำหนดสภาพแวดล้อมการฝึกอบรม
9.) กำหนดแนวทางการจัดฝึกอบรม
10.)กำหนดแนวทางประเมิณการฝึกอบรม
11.)สร้างแบบจำลองการฝึกอบรม

กิจกรรม 4.3.2
1. กำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในส่วนวิทยากรและผู้รับการฝึกอบรม
(ซ) กำหนดแนวทางการจัดการฝึกอบรม

2. เพศ วัย ระดับการศึกษา และประสปการณ์ของผู้รับการฝึกอบรม
(ก) วิเคราะห์ผู้รับการฝึกอบรม

3. ศึกษาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
(ค) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพความต้องการในการฝึกอบรม

4. เขียนแผนผังแนวคิดสัมพันธ์
(ง) กำหนดและวิเคราะห์เนื้อหาสาระและประสปการณ์

5. ฝึกอบรมแบบบรรยาย
(ฉ) กำหนดวิธีการและเทคนิคการฝึกอบรม

6. ขนาดห้องฝึกอบรม
(จ) กำหนดสภาพแวดล้อมการฝึกอบรม

7.การติดต่อและเชิญวิทยากรการฝึกอบรม
(ช)พัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรม

27 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่3

หน่วยที่ 3 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษา

ตอนที่ 1. พัฒนาการความสำพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับระบบทางการศึกษา

3.1.1 ระบบทางการศึกษา กับ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
การศึกษา เป็นกระบวนการถ่ายทอด สร้างสรรค์ และสั่งสมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของปัจเจกชนและสังคม
ระบบทางการศึกษาประกอบด้วย
1. การศึกษาในระบบโรงเรียน
2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน
3. การศึกษาตามอัธยาศัย - การศึกษาโดยบังเอิญ , สิกขบันเทิง, สิกขชีวี
4. การฝึกอบรม - อบรมก่อนทำงาน, อบรมขณะทำงาน, อบรมเพื่อเปลี่ยนหน้าที่
5. การศึกษาทางไกล - จัดรูปแบบโดยยึดผู้เรียน, จัดรูปแบบโดยยึดระบบการถ่ายทอด, จัดรูปแบบโดยยึดโครงสร้างของสื่อการศึกษา

3.1.2 อิทธิพลของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาต่อการศึกษา
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีอิทธิพลต่อการศึกษาโดยมีบทบาทเป็นวัฏจักรภายในวงจรพัฒนาการของสังคมซึ่งประกอบด้วย - วิทยาการ เทคโนโลยี และ การศึกษา  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี และเป็นองค์ประกอบของระบบทางการศึกษา

1.อิทธิพลต่อการศึกษาในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม 
1.1 อิทธิพลต่อด้านวิชาการทางการศึกษา - หลักสูตรและการสอน ซึ่งหลากหลายและแตกต่างกันไปตามสำนักวิชา
1.2 อิทธิพลต่อด้านบริหารการศึกษา - จัดการแบบรวมศูนย์ แบ่งเป็นฝ่าย กลุ่มอายุ ตามความสามารถ ตามถนัด ตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้เรียน
1.3 อิทธิพลต่อด้านบริการทางการศึกษา - ระบบการให้บริการยืมสื่อการศึกษา-ห้องสมุด

2.อิทธิพลต่อการศึกษาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
2.1 อิทธิพลต่อด้านวิชาการทางการศึกษา - หลักสูตรสาขาวิชา ครูเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ขยายรายละเอียดของตำรา สาธิต และถ่ายทอดประสปการณ์
2.2 อิทธิพลต่อด้านบริหารทางการศึกษา - บริหารแบบระบบโรงเรียน
2.3 อิทธิพลต่อด้านบริการการศึกษา - บริการห้องสมุดสารสนเทศ บริการการสอนทางวิทยุกระจายเสียง บริการการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ บริการภาพยนต์การศึกษาเป็นต้น

3. อิทธิพลต่อการศึกษาในยุคสังคมข่าวสาร 
3.1 อิทธิพลในการกระตุ้นระบบทางการศึกษา - ให้เป็นระบบเปิดแบบเครือข่ายมากขึ้น บุคคลได้รับข้อมูลและสารสนเทศอย่างสะดวกรวดเร็ว
3.2 อิทธิพลต่อระบบการศึกษาให้มีความยืดหยุ่น - สามารถเลือกใช้ให้ตรงกับความจำเป็นและความต้องการได้
3.3 อิทธิพลต่อการสร้างเจตนาร่วมและกำหนดทิศทางการศึกษาของสังคม - ในด้านข้อมูลข่าวสารที่ตรงกันกับนโยบายของสังคม ทำให้ข้อมูลแพร่หลายและง่ายต่อการเข้าถึง

ภายใต้อิทธิพลของคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม สังคมโลกจะพัฒนาไปสู่สังคมแบบกระจายเครือข่ายระบบสารสนเทศพัฒนาไปสู่ระบบฐานความรู้ และระบบอุตสาหกรรมความรู้ ดังนั้นการศึกษาจึงมีแนวโน้มที่สำคัญต่อไปนี้
1. สถาบันการศึกษาจะลดบทบาทการเป็นห้องเรียนลง
2. การศึกษาจะเป็นระบบการศึกษารายบุคคลมากขึ้น
3. การศึกษาตามอัธยาสัยโดยเฉพาะ สิกขบันเทิง และ สิกขชีวี จะมีบทบาทมากขึ้น

ตอนที่ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับระบบทางการศึกษา

3.2.1 ความสัมพันธ์กับการศึกษาในระบบโรงเรียน
แนวคิด
- การศึกษาเป็นกระบวนการบูรณาการชีวิต เพื่อเป็นเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
- การศึกษาเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดจนตาย
- หลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและเทคโนโลยีร่วมสมัย
รูปแบบ
- อาศัยครูเป็นแหล่งวิชาการ คือ แบบครูเป็นใหญ่
- ครูกับสื่อแบ่งปันหน้าที่กันในการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน เรียกว่า ครูคู่หูสื่อ
- อาศัยสื่อเป็นฐานหลักของการศึกษา คือ แบบสื่อเป็นใหญ่

3.2.2 ความสัมพันธ์กับการศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษานอกระบบโรงเรียนแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มที่พลาดโอกาสในการศึกษาในระบบ - หลักสูตรยึดตามหลักสูตรในระบบ ขอบข่ายที่มีบทบาทและอิทธิพลมากได้แก่ เทคโนโลยีการจัดระบบ เทคโนโลยีวิธีการสื่อสารการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา เทคโนโลยีด้านสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
2.กลุ่มเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - เข้าศึกษาในสถาบันวิชาชีพ ,หรือ ศึกษาวิชาชีพด้วยตนเองจากชุดการศึกษาทางไกล
3. กลุ่มประกอบอาชีพ - เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

3.2.3 ความสัมพันธ์กับการศึกษาตามอัธยาศัย
1. กับการศึกษาโดยบังเอิญ
แหล่งวิทยาการชุมชน - เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ศูนย์สื่อการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์สาธิต
สื่อมวลชน - หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อเครือข่ายโลก
กิจกรรมสันทนาการชุมชน- เน้นการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารไปพร้อมการสันทนาการ
2. กับสิกขบันเทิง มุ่งให้เนื้อหา สาระ และเจตคติแฝงมากับกิจกรรมบันเทิง การแข่งขัน สันทนาการ งานอดิเรก
3. กับสิกขชีวี เป็นระบบการศึกษาทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาโดยตรง เพราะต้องใช้ขอบข่ายทั้ง7มาสร้างสรรค์ให้เป็นโปรแกรมเบ็ดเสร็จ การศึกษารายบุคคล การศึกษาตามต้องการ

21 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่2

หน่วยที่ 2 การสื่อสารการศึกษา

ตอนที่1. สามัญทัศน์การสื่อสารการศึกษา

2.1.1 ความหมาย และ ความสำคัญของการสื่อสารการศึกษา
การสื่อสารการศึกษา เป็นกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การฝึกฝนและการอบรมจากผู้ส่สารฝ่ายหนึ่งไปยังผู้รับสารอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผ่านสื่อหรือช่อทางเพื่อให้ผู้รับเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

การสื่อสารการศึกษามีความสำคัญด้าน การถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ การอบรม การมอบหมายและส่งงาน การประสานงาน การสนทนาโต้ตอบ

2.1.2 องค์ประกอบและกระบวนการของการสื่อสารการศึกษา
องค์ประกอบฯประกอบด้วย ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message) สื่อ/ชื่อทาง(Media/Channel) และผู้รับสาร (Reciever)

กระบวนการสื่อสาร เริ่มที่ผู้ส่งสารส่งสาร - นำสารเข้ารหัสเป็นสาร - ใช้ช่องทางหรือสื่อเพื่อส่งสาร - ผู้รับถอดรหัส - เกิดผลคือเข้าใจตอบสนองกลับ

2.1.3 รูปแบบของการสื่อสารการศึกษา มี 3 รูปแบบ
1. จำแนกตามลักษณะภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง และสัญลักษณ์ต่างๆ
2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การสื่อสารการศึกษาทางตรง และ การสื่อสารการศึกษาทางอ้อม
3. จำแนกตามความสามารถในการโต้ตอบของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การสื่อสารการศึกษาทางเดียว และ การสื่อสารการศึกษาสองทาง

ตอนที่ 2. บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา

2.2.1 บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา-ด้านบริหารการศึกษา
ครอบคลุม การรับส่งข้อมูลและสารสนเทศ การติดต่อประสานงาน การประชาสัมพันธ์ การประชุม

2.2.2 บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา-ด้านวิชาการ
 ครอบคลุม การเรียนการสอน การวัดและการประเมิณผล การลงทะเบียน

2.2.3 บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา-ด้านบริการการศึกษา
ครอบคลุม ห้องสมุดอิเลฌกทรอนิคส์ ห้องสมุดเสมือนจริง วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ตอนที่ 3. วิธีการและเครื่องมื่อในการสื่อสารการศึกษา

2.3.1 วิธีการสื่อสารการศึกษา
ครอบคลุม การสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคลกับบุคคล - แบบเผชิญหน้า และ แบบไม่เผชิญหน้า
และการสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล - แบบเผชิญหน้า และ แบบไม่เผชิญหน้า

2.3.2 เครื่องมือสื่อสารการศึกษา มี 3 ประเภทคือ
(1.) ด้านสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
(2.) ด้านสื่อมวลชน ได่แก่ สื่อสิ่พิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
(3.) ด้านอิเล็กทรอนิก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร

แบบประเมิณ
1. ตัวอย่างการสื่อสารการศึกษา มานิตสอนการบ้านน้อง
2.  "ผู้อำนวยการประชุมนักเรียนใหม่เกี่ยวกับกฎระเบียบโรงเรียน" สาร คือ กฎระเบียบ
3. "สมศักดิ์ส่งหนังสือเชิญประชุมครู" เป็นการสื่อสารแบบ ทางอ้อมและทางเดียว
4. ข้อใดแสดงบทบาทการสื่อสารการศึกษา ด้านบริหารการศึกษา - การรับส่งข้อมูลข่าวสาร
5. ข้อใดเป็นการประยุกต์การสื่อสารการศึกษาด้านบริการการศึกษา - E-library
6. วิธีการสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคล-กับบุคคล แบบไม่เผชิญหน้าที่นิยมคือ สื่อสารผ่านโทรศัพท์
7.วิธีการสื่อสารวิธีใดเหมาะกับการแจ้งข่าวการปฐมนิเทศของนักเรียนใหม่ให้ผู้ปกครองทราบ - วิธีการสื่อสารการศึกษาผ่านสิ่งพิมพ์
8. ข้อใดคือเครื่องมือด้านสื่อโสตทัศน์ - เทปเสียง
9. เอกสารการสอนของ มสธ. จัดเป็นเครื่องมือการสื่อสารการศึกษาประเภทใด - สื่อมวลชน
10.การสื่อสารการศึกษาด้านบริการการศึกษา - การวัดและการประเมิน 


1. ข้อใดตรงกับความหมายการสื่อสารการศึกษา - สมคิดดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา มสธ.
2. "ผู้อำนวยการประชุมนักเรียนใหม่เกี่ยวกับกฎระเบียบโรงเรียน" ผู้ส่งคือ ผู้อำนวยการ
3. "นาตยาโทรศัพท์คุยกับทองคำ" เป็นการสื่อสารแบบ ทางอ้อมและสองทาง
4. บทบาทการสื่อสารการศึกษาด้านวิชาการการศึกษา - ด้านการเรียนการสอน
5. ข้อใดเป็นการประยุกต์สื่อสารการศึกษาด้านวิชาการ E-learning
6.วิธีการสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคลกับบุคคลแบบไม่เผชิญหน้า - โทรศัพท์
7. วิธีการสื่อสารการศึกษาวิธีใด เหมาะสมกับการแจ้งข่าวกิจกรรมทัศนศึกษาของโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบ - วิธีการสื่อสารการศึกษาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์
8. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือโสตทัศน์ - แผนภูมิ
9. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของ มสธ. จัดเป็นเครื่องมือสื่อสารการศึกษาประเภท - สื่อมวลชน
10.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการสื่อสารการศึกษา - โทรสารเป็นเครื่องมือสื่อสารการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์

<<< กลับ หน่วยที่ 1    อ่านต่อหน่วยที่ 3 >>>

20 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่1

หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

ตอนที่ 1 แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา จำแนกได้ 2 แนวคิดคือ
1.) แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ - การนำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมมาใช้ ในรูปของวัสดุและอุปกรณ์
2.)แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ - เน้นวิธีการ

1.2 พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
1.) โซฟิสต์ - บรรยายและเสวนา
2.) โซเครติส - สอนแบบถามนำให้ผู้เรียนตอบตามชุดคำถาม
3.) ปิแอร์ อาลิบาร์ด - หนังสือ"ใช่-ไม่ใช่"
4.) โจฮาน โคมินิฮุส - หนังสือ"วิธีการสอนอันยิ่้งใหญ่" และหนังสือ "โลกในภาพ"
5.) โจเซฟ แลงแคสเตอร์ - ใช้หัวหน้าสอนเพื่อน (Monitoring System)
6.) เพตาลอสซี่ - เน้นประสปการณ์ตรงของผู้เรียน
7.) เฟรอเบล - อนุบาลศึกษาแนวสวนเด็ก
8.) แฮร์บาท - หนังสือ"ศาสตร์แห่งการศึกษา" และ "ขอบข่ายวิชาชีพศึกษาศาสตร์"
9.) ธอร์นไดค์ - กลุ่มเชื่อมโยงนิยม ให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง
10.) ดิวอี้ และ คิลแพรทริค - กลุ่มพัฒนาการนิยม ดิวอี้-แก้ปัญหา คิลแพรทริค-โครงการ
11.) การสอนแบบโปรแกรม - วางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้า
12.) การสอนแบบศูนย์การเรียน (ดร.ชัยยงค์) - นำเนื้อหามาแยกเป็น 14-16 หน่วย หน่วยละ 4-6 หัวเรื่อง (แผนจุฬาฯ)
13.)การศึกษาทางไกล - ยึดสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก/ ยึดสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นหลัก/ ยึดเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นสื่อหลัก

1.3 นวัตกรรมจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการศึกษา
สิ่ที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมมีเกณฑ์พิจารณา 4 อย่างคือ
1.) ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
2.) มีการนำวิธีจัดระบบมาใช้ (input process output)
3.) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างวิจัยว่า"สิ่งใหม่" มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
4.) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

หากสิ่งใหม่เป็นที่ยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของของระบบงานที่ดำเนินอยู่ ก็ไม่ถือว่าสิ่ใหม่นั้นเป็นนวัตกรรมอีกต่อไปแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยี

ตอนที่ 2 ขอบข่ายและบทบาทของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

2.1 ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.) ตามสาระ (แนวตั้ง)
1.1 การจัดระบบ และออกแบบ
> การจัดระบบ - วิเคราะห์ / สังเคราะห์ / สร้างแบบจำลอง / ทดสอบระบบ
> การออกแบบระบบ - ปัจจัยนำเข้า / กระบวนการ / ผลลัพธ์
1.2 พฤติกรรม > พฤติกรรมการบริหาร, พฤติกรรมด้านวิชาการ, พฤติกรรมด้านบริการ
1.3 วิธีการ > วิธีการศึกษาทั่วไป, วิธีการเรียนการสอน
1.4 สื่อสาร > ผู้ส่งสาร, สาร, ช่อทางและสื่อ, ผู้รับสาร
1.5 สภาพแวดล้อม > ทางกายภาพ, ทางจิตภาพ, ทางสังคม
1.6 การจัดการ
1.7 การประเมิณ > ประเมิณปัจจัยนำเข้า, ประเมิณกระบวนการ, ประเมิณผล

2.) ตามภารกิจ (แนวนอน)
2.1 ด้านบริหาร
2.2 ด้านวิชาการ
2.3 ด้านบริการ

3.) ตามบริบท (แนวลึก)
3.1 การใช้เทคโนโลยีการศึกษาในระบบโรงเรียน
3.2 การใช้เทคโนโลยีการศึกษานอกระบบโรงเรียน
3.3 การใช้เทคโนโลยีการศึกษาการศึกษาทางไกลและการเผยแพร่และการฝึกอบรม

2.2 บทบาทขอเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.) ฐานะอค์ความรู้
- ระดับป.ตรี
- ระดับป.โท
- ระดับป.เอก

2.) ฐานะเครื่องมือบริการ
- การจัดระบบการบริหาร
- ธุรการ
- บุคคลากร
- วิชาการ
- เผยแพร่ประสบการณ์
- พัฒนาบุคคลากร

3.) ฐานะเครื่องมือทาวิชาการ
- ยึดสื่อคน
-ยึดสื่อสิ่งของ

ตอนที่ 3 ปัจจัยและแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

3.1ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.) ภาพนึกเก่าของบุคคลากรทางการศึกษา คลอบคลุมการศึกษาจำกัดอยู่ในสถาบันการศึกษาห้องเรียน มีกระดานดำแขวนและครูยืนอยู่หน้าชั้น นักเรียนต้องเงียบ ครูต้อทำหน้าที่ทุกอย่าง

2.) ความเชื่อในปรัชญาการศึกษาทั้ง 4 กลุ่มคือ
- กลุ่มสารนิยม (ครูและตำราเป็นแหล่งความรู้หลัก)
- กลุ่มจริยสุนทรียนิยม (เน้นการอบรมจิตใจให้ผ่องแผ้ว)
- กลุ่มพิพัฒนาการนิยม (เรียนจากประสปการณ์ การปฏิบัติกิจกรรม)
- กลุ่มสวภาพนิยม (จัดการเรียนรู้ตามสภาพความเหมาะสมของผู้เรียน)

3.) การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงจิตวิทยามี 2 กลุ่มคือ
- จิตวิทยากลุ่มเชื่อมโยงนิยม (การเรียนรู้เกิดจาก ตัวเร้า การตอบสนอง การเสริมแรง)
- จิตวิทยาในกลุ่มประสปการณ์นิยม (การเรียนรู้เมื่ออยู่ในปัญหาและความต้อการแก้ปัญหา)

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กระทำใน 4 สถานการณ์คือ
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
2. ให้ผู้เรียนได้รับทราบผลย้อนกลับทันที
3. ให้ผู้เรียนได้รับความรู้สึกภาคภูมิใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทีละน้อยตามลำดับขั้น

3.2 แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
1.) ด้านบริการ ต้องปรับตัวกับการใช้ การจัดหา สนับสนุน และใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้
3.) วิธีการเรียนการสอน การใช้แหล่วิทยาการและการเรียนรู้นอกห้องเรียน
4.) การฝึกหัดครุศึกษา ผลิตครูที่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ให้การศึกษาครูใหม่และฝึกอบรมครูประจำการให้พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
5.) การจัดแหล่งวิทยบริการและแหล่สารสนเทศ จัดตั้งศุนย์ผลิตสื่อการสอน และการสอนผ่านจอภาพ
6.) บทบาทสถานศึกษาและการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เป็นศูนย์การเรียนหรือศูนย์การศึกษาชุมชน
7.) การเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงของทางบ้านและทางโรงเรียน จัดหาอุปกรณ์การสื่อสาร ให้โอกาสนักเรียนจะได้ศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ
8.) การสนับสนุนของรัฐบาล เอื้ออำนวยในการจัดซื้ออุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

3.3 แนวคิดการนำเทคโนโลยีการศึกษาให้สอดคล้อกับ พรบ. การศึกษาแห่ชาติ พ.ศ.2542

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่นำมาใช้ให้สอดคล้อง ทั้ง 4 กลุ่ม
1.) เทคโนโลยีพื้นฐาน - สื่อโสตทัศน์ รูปภพ แผ่นใส ของจรืงที่หาได้ง่าย
2.) สื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา - สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสีย ภาพยนตร์
3.) สารสนเทศเพื่อการศึกษา - คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เทเลคอนเฟอเร้นซ์
4.) วิทยบริการ - ศูนย์ความรู้ ห้องสมุด หอสมุด พิพิธภัณฑ์ เน้นการจัดสภาพแวดล้อม

พรบ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 หมวด9
ม.63 ช่องทางหรือโครงสร้างพื้นฐาน
ม.64 การพัฒนาสื่อประเภทวัสดุหรือซอฟแวร์
ม.65 การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ม.66 การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือ
ม.67 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ม.68 การตั้กองทุนการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ม.69 การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติ

แบบประเมิณ
1. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์
2. โลกในภาพ (Orbus Picture) เป็นหนังสือภาพประกอบที่สมบูรณ์เล่มแรกของ โคมินิอุส
3. เกณฑ์การกำหนด นวกรรมคือ มีวิธีการจัดระบบมาใช้
4. ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามขอบข่ายเชิงสาระคือ จัดระบบและออกแบบระบบ
5. ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางสื่อสาร ผู้รับสาร จัดอยู่ในขอบข่าย สื่อสารทางการศึกษา
6. ขอบข่ายแนวนอนด้านวิชาการคือ การพัฒนาหลักสูตร
7. เทคโนลียีการศึกษา มีบทบาทในฐานะ เป็นศาสตร์ หรือ องค์ความรู้
8. กลุ่มสภวภาพนิยม คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
9. แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษามุ่งเน้นในหลายข้อ ยกเว้น การจัดการสื่อแบบสองทาง
10. พรบ. การศึกษาแห่งชาติปี 2542 หมวด 9 มาตรา 66 เน้นเตรียมผู้เรียนให้มีทัศนะ ใช้เครื่องมือเพื่อรับสื่อ

1. แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ เน้นวิธีการ
2. การสอนตามแนวของแลงเคสเตอร์คือ ให้หัวหน้านักเรียนสอนเพื่อนนักเรียนในกลุ่มตน
3. เกณฑ์กำหนดนวกรรม 
   1.) ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
   2.) มีการนำวิธีจัดระบบมาใช้ (input process output)
   3.) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างวิจัยว่า"สิ่งใหม่" มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
   4.) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
4. ขอบข่ายเชิงสาระ การจัดระบบ และออกแบบ  พฤติกรรม  วิธีการ  สื่อสาร  สภาพแวดล้อม การจัดการ การประเมิณ 
5. ขอบข่ายเชิงสาระด้านการจัดการทางการศึกษาครอบคลุมเรื่อง การจัดการผู้สอนและผู้เรียน
6. ขอบข่ายแนวลึกเป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในระบบ ระดับชั้น อนุบาล-อุดมศึกษา
7. เทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทในฐานะ เครื่องมือนักบริหาร นักวิชาการ นักบริการ
8. ปรัชญาการศึกษากลุ่ม สวภาพนิยม มีสาระสำคัญคือ เน้นความแตกต่างของผู้เรียน
9. การจัดการศึกษาแบบสองทาง ไม่ใช่แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
10.พรบ.การศึกษาแห่งชาติ2542 หมวด 9 มาตรา 64 มุ่งเน้นเรื่อง การพัฒนาสื่อประเภทวัสดุหรือซอร์ฟแวร์ 

 >> อ่านต่อ หน่วยที่ 2 -20301

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน