21 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่2

หน่วยที่ 2 การสื่อสารการศึกษา

ตอนที่1. สามัญทัศน์การสื่อสารการศึกษา

2.1.1 ความหมาย และ ความสำคัญของการสื่อสารการศึกษา
การสื่อสารการศึกษา เป็นกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การฝึกฝนและการอบรมจากผู้ส่สารฝ่ายหนึ่งไปยังผู้รับสารอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผ่านสื่อหรือช่อทางเพื่อให้ผู้รับเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

การสื่อสารการศึกษามีความสำคัญด้าน การถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ การอบรม การมอบหมายและส่งงาน การประสานงาน การสนทนาโต้ตอบ

2.1.2 องค์ประกอบและกระบวนการของการสื่อสารการศึกษา
องค์ประกอบฯประกอบด้วย ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message) สื่อ/ชื่อทาง(Media/Channel) และผู้รับสาร (Reciever)

กระบวนการสื่อสาร เริ่มที่ผู้ส่งสารส่งสาร - นำสารเข้ารหัสเป็นสาร - ใช้ช่องทางหรือสื่อเพื่อส่งสาร - ผู้รับถอดรหัส - เกิดผลคือเข้าใจตอบสนองกลับ

2.1.3 รูปแบบของการสื่อสารการศึกษา มี 3 รูปแบบ
1. จำแนกตามลักษณะภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง และสัญลักษณ์ต่างๆ
2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การสื่อสารการศึกษาทางตรง และ การสื่อสารการศึกษาทางอ้อม
3. จำแนกตามความสามารถในการโต้ตอบของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การสื่อสารการศึกษาทางเดียว และ การสื่อสารการศึกษาสองทาง

ตอนที่ 2. บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา

2.2.1 บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา-ด้านบริหารการศึกษา
ครอบคลุม การรับส่งข้อมูลและสารสนเทศ การติดต่อประสานงาน การประชาสัมพันธ์ การประชุม

2.2.2 บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา-ด้านวิชาการ
 ครอบคลุม การเรียนการสอน การวัดและการประเมิณผล การลงทะเบียน

2.2.3 บทบาทและการประยุกต์การสื่อสารการศึกษา-ด้านบริการการศึกษา
ครอบคลุม ห้องสมุดอิเลฌกทรอนิคส์ ห้องสมุดเสมือนจริง วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ตอนที่ 3. วิธีการและเครื่องมื่อในการสื่อสารการศึกษา

2.3.1 วิธีการสื่อสารการศึกษา
ครอบคลุม การสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคลกับบุคคล - แบบเผชิญหน้า และ แบบไม่เผชิญหน้า
และการสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล - แบบเผชิญหน้า และ แบบไม่เผชิญหน้า

2.3.2 เครื่องมือสื่อสารการศึกษา มี 3 ประเภทคือ
(1.) ด้านสื่อโสตทัศน์ ได้แก่ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
(2.) ด้านสื่อมวลชน ได่แก่ สื่อสิ่พิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
(3.) ด้านอิเล็กทรอนิก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร

แบบประเมิณ
1. ตัวอย่างการสื่อสารการศึกษา มานิตสอนการบ้านน้อง
2.  "ผู้อำนวยการประชุมนักเรียนใหม่เกี่ยวกับกฎระเบียบโรงเรียน" สาร คือ กฎระเบียบ
3. "สมศักดิ์ส่งหนังสือเชิญประชุมครู" เป็นการสื่อสารแบบ ทางอ้อมและทางเดียว
4. ข้อใดแสดงบทบาทการสื่อสารการศึกษา ด้านบริหารการศึกษา - การรับส่งข้อมูลข่าวสาร
5. ข้อใดเป็นการประยุกต์การสื่อสารการศึกษาด้านบริการการศึกษา - E-library
6. วิธีการสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคล-กับบุคคล แบบไม่เผชิญหน้าที่นิยมคือ สื่อสารผ่านโทรศัพท์
7.วิธีการสื่อสารวิธีใดเหมาะกับการแจ้งข่าวการปฐมนิเทศของนักเรียนใหม่ให้ผู้ปกครองทราบ - วิธีการสื่อสารการศึกษาผ่านสิ่งพิมพ์
8. ข้อใดคือเครื่องมือด้านสื่อโสตทัศน์ - เทปเสียง
9. เอกสารการสอนของ มสธ. จัดเป็นเครื่องมือการสื่อสารการศึกษาประเภทใด - สื่อมวลชน
10.การสื่อสารการศึกษาด้านบริการการศึกษา - การวัดและการประเมิน 


1. ข้อใดตรงกับความหมายการสื่อสารการศึกษา - สมคิดดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา มสธ.
2. "ผู้อำนวยการประชุมนักเรียนใหม่เกี่ยวกับกฎระเบียบโรงเรียน" ผู้ส่งคือ ผู้อำนวยการ
3. "นาตยาโทรศัพท์คุยกับทองคำ" เป็นการสื่อสารแบบ ทางอ้อมและสองทาง
4. บทบาทการสื่อสารการศึกษาด้านวิชาการการศึกษา - ด้านการเรียนการสอน
5. ข้อใดเป็นการประยุกต์สื่อสารการศึกษาด้านวิชาการ E-learning
6.วิธีการสื่อสารการศึกษาระหว่างบุคคลกับบุคคลแบบไม่เผชิญหน้า - โทรศัพท์
7. วิธีการสื่อสารการศึกษาวิธีใด เหมาะสมกับการแจ้งข่าวกิจกรรมทัศนศึกษาของโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบ - วิธีการสื่อสารการศึกษาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์
8. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือโสตทัศน์ - แผนภูมิ
9. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของ มสธ. จัดเป็นเครื่องมือสื่อสารการศึกษาประเภท - สื่อมวลชน
10.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการสื่อสารการศึกษา - โทรสารเป็นเครื่องมือสื่อสารการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์

<<< กลับ หน่วยที่ 1    อ่านต่อหน่วยที่ 3 >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน