10 ก.พ. 2562

41211 แพ่ง1 : บุคคล นิติกรรม สัญญา

หน่วยที่1 การใช้การตีความกฎหมายและบททั่วไป

แนวคิด
  1.  วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์พื้นฐานหลายประการ ที่ผู้ศึกษากฎหมายจำเป็นต้องศึกษาหลักเกณฑ์พื้นฐานทางความคิดเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้การศึกษากฎหมายเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมีความคิดที่เป็นระบบ
  2. การศึกษากฎหมายก็เพื่อใช้กฎหมาย และในการใช้กฎหมายก็จำเป็นต้องมีการตีความกฎหมายโดยผู้ใช้กฎหมายด้วย
  3. หลักเกณฑ์ที่สำคัญประการหนึ่งของกฎหมายคือ กฎหมายจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลและบุคคลผู้มีสิทธินั้นก็ต้องใช้สิทธิ์ให้ถูกต้อง
  4. ในปพพ. (ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์) บรรพ1 หลักทั่วไป ได้บัญญัติบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่อาจนำไปใช้กับกรณีต่างๆไว้ในลักษณะ1

 

1.1 การใช้และการตีความกฎหมาย

แนวคิด
  1. การใช้กฎหมายมีความหมาย 2 ประการ คือ การบัญญัติกฎหมายตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ประการหนึ่ง และใช้กฎหมายข้อเท็จจริงประการหนึ่ง
  2. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงนั้นผู้เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากกฎหมายก็อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ใช้กฎหมายทั้งสิ้น (ผู้ใช้ กม. = ราษฎร เจ้าพนักงานของรัฐ ศาล)
  3. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงยังอาจแบ่งเป็นการใช้โดยตรงกับเทียบเคียง
  4. การตีความของกฎหมายแต่ละระบบหรือแต่ละประเทศก็มีการตีความที่แตกต่างกันและกฎหมายแต่ละประเภทกันก็ยังมีหลักเกณฑ์ในการตีความที่ต่างกันไป
  5. กฎหมายที่ใช้อยู่อาจมีช่องว่างในการใช้กฎหมายเกิดขึ้น จึงต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมายซึ่งกฎหมายนั้นอาจกำหนดวิธีการไว้ หรือบทกม.มิได้กำหนดวิธีการไว้ ก็ต้องเป็นไปตามหลักทั่วไป

-1.1.1 การใช้กฎหมาย

  • การใช้กฎหมาย หมายถึง การบัญญัติกฎหมายตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ หรือการบัญญัติกฎหมายตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ดังเช่นในปัจจุบันการบัญญัติกฎหมายคือ พระราชบัญญัติต่างๆ ก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550) นอกจากนี้การออกกฎหมายลำดับรองเช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ก็ต้องเป็นกรณีที่กม.แม่บทให้อำนาจออกได้ และกม.ที่ออกตาม กม.แม่บทนั้นจะขัดหรือแย้งกับ กม.แม่บทไม่ได้
  • การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง หมายถึง การนำกฎหมายที่เป็นข้อบังคับหรือเกณฑ์ทั่วไปมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป มีหลักเกณ์การใช้ดังนี้
    (1) เป็นเรื่องอะไร
    (2) มีหลักเกณฑ์ของกม.ในเรื่องนั้นๆอย่างไร
    (3) ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเข้ากับหลักกม.นั้นหรือไม่
    (4) เมื่อข้อเท็จจริงเข้ากับหลัก กม.แล้วผลเป็นอย่างไร
  • ประเภทของการใช้ กม. ตามข้อเท็จจริง อาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การใช้ กม.โดยตรงและการใช้ กม.โดยเทียบเคียง ตาม ปพพ.มาตรา4
    ขั้นตอนการใช้ กม.แบบเทียบเคียงมีหลักพิจารณาดังนี้
    (1) ตัวบทกม.ที่จะนำมาใช้ในฐานะบทใกล้เคียงอย่างยิ่งนั้น เป็นบทหลักหรือบทยกเว้น
    (2) ต้องมีเหตุผลที่พอจะใช้เทียบเคียงได้
    (3) ต้องแยกบทกม.ระหว่างส่วนที่เป็นสาระสำคัญกับส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ

-1.1.2 การตีความกฎหมาย

การตีความทั่วไปกับการตีความกฎหมายเฉพาะมีหลักเกณฑ์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
การตีความทั่วไป คือการหาความหมายที่แท้จริงของกม. หรือเจตนารมณ์ของกม. ส่วนการตีความ กม.พิเศษ มีหลักการตีความของตนเอง โดยจะนำหลักทั่วไปในการตีความมาใช้ด้วยไม่ได้ เช่น กม.
อาญาเป็นกม.ที่กำหนดความผิดและโทษจะต้องตีความเคร่งครัด

  • การตีความกฎหมายทั่วไป การตีความกฎหมายต้องพิเคราะห์ 2  ด้าน
    (1) การพิเคราะห์ตัวอักษร
    (2) พิเคราะห์เจตนารมณ์ของ กม. 
         1.ทฤษฎีอัตตวิสัย หรืออำเภอจิต ถือเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติทำให้ กม.ไม่ยืดหยุ่น
          2.ทฤษฎีภววิสัย หรือ อำเภอการณ์ พิจารณาตามภาวการณ์นั้นๆทำให้ กม.มีความยืดหยุ่น ไม่แน่นอน
  • การตีความกฎหมายพิเศษ มีหลักเกณฑ์การตีความของตนเองโดยเฉพาะ จะนำหลักทั่วไปมาใช้ในการตีความมิได้ เช่น กม.พิเศษได้แก่ กม.อาญา ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิเศษคือ
         1.กม.อาญาเป็น กม.ที่กำหนดความผิดและโทษจึงต้องตีความเคร่งครัว
         2. จะตีความโดยขยายความให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไม่ได้

    หลักการตีความต้องตีความตามตัวอักษรก่อน หากตัวอักษรมีถ้อยคำชัดเจนก็ใช้กฎหมายไปตามนั้น แต่หากตัวอักษรไม่ชัดเจนหรือมีปัญหา จึงมาพิจารณาความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของกม.นั้นไปพร้อมๆกัน เป็นหลักการตีความ

-1.1.3 การอุดช่องว่างของกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดวิธีอุดช่องว่างไว้ใน ปพพ.มาตรา4 กล่าวคือ ถ้าไม่มีกม.ลายลักษณ์อักษร ก็ให้วินิจฉันตามจารีตประเพณีแนวท้องถิ่น ถ้าไม่มีปจารีตประเพณีแนวท้องถิ่น ให้วินิจฉันคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ต้องใช้หลักกม.ทั่วไป

 

1.2 สิทธิและการใช้สิทธิ

แนวคิด
  1. สิทธิเป็นสถาบันหลักในกม. เมื่อกม.กำหนดสิทธิแล้วจะต้องมีบุคคลผู้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิของผู้ทรงสิทธินั้น
  2. สิทธิอาจแบ่งออกได้เป็นสิทธิตาม กม.มหาชน และ สิทธิตาม กม.เอกชน ซึ่งแต่ละประเภทยังอาจแบ่งออกย่อยๆได้อีก
  3. การมีสิทธิกับการใช้สิทธิแตกต่างกัน การใช้สิทธิต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์กม. เช่นต้องใช้สิทธิโดยสุจริต

-1.2.1 สิทธิและแนวคิดเรื่องสิทธิ

สิทธิหมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นสิทธิแล้วบุคคลอื่ีมีหน้าที่ต้องเคารพ
เสรีภาพได้แก่ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น หรือภาวะที่ปราศจากการหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง เสรีภาพจึงเป็นเรื่องของบุคคลที่จะกำหนด ตนเองจะกระทำการใดๆ โดยตนเองปราศจากการแทรกแซงขัดขวางจากภายนอก

องค์ประกอบแห่งสิทธิมีสาระสำคัญ 4  ประการคือ
(ก) ผู้ทรงสิทธิ์
(ข) การกระทำหรือละเว้นการกระทำ
(ค) วัตถุแห่งสิทธิ
(ง) บุคคลซึ่งมีหน้าที่


การแบ่งสิทธิตาม กม. เอกชน เป็นสิทธิที่รัฐยอมรับรองและบังคับการให้ เพราะเป็นสิทธิของเอกชนที่จะใช้ยันกับเอกชน ไม่ก่อผลมายันต่อรัฐไม่กระทบถึงอำนาจรัฐมากนัก แบ่งตามหลักเกณฑ์ต่างๆดังนี้
(ก) การแบ่งแยกตามสภาพของสิทธิ
- สิทธิสมบูรณ์

- สิทธิสัมพันธ์
(ข) การแบ่งแยกตามวัตถุแห่งสิทธิ

- สิทธิเกี่ยวกับบุคคล
- สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
- สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
(ค) การแบ่งแยกตามเนื้อหา
- สิทธิในทางลับ
- สิทธิในทางปฏิเสธ
(ง) การแบ่งแยกตามขอบเขตที่ถูกกระทบกระทั่งโดยสิทธิอื่นๆ
- สิทธิที่เป็นประธาน หมายถึง สิทธิที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่โดยตัวเอง มิได้ขึ้นอยู่กับสิทธิอื่น สิทธิที่เกิดขึ้นและเป็นอิสระไม่ขึ้นกับสิทธิอื่น

-1.2.2 การใช้สิทธิ

 การมีสิทธิกับการใช้สิทธินั้นแตกต่างกัน การมีสิทธินั้นเมื่อกม.รับรองก็มีสิทธิ แต่อาจถูกจำกัดการใช้สิทธิก็ได้ เช่นผู้เยาว์ แม้จะมีสิทธิในทรัพย์สิน แต่อาจถูกจำกัดการใช้สิทธิทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินได้
กฎหมายกำหนดแนวทางการใช้สิทธิไว้ โดยทั่วไปก็คือต้องไม่ใช้สิทธิให้เป็นการฝ่าฝืนกม. และต้องใช้สิทธิโดยสุจริต

 

1.3 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

แนวคิด
  1. บทบัญญัติที่เป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปนี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่อาจนำไปใช้กับกรณีต่างๆ ในประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ที่ไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้โดยเฉพาะ
  2.  การทำเอกสารที่ กม. กำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือนั้น กฎหมายวางหลักเกณฑ์ว่าต้องลงลายมือชื่อ
  3. เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุใดๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ใกล้จะประสปเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
  4. ดอกเบี้ยเป็นดอกผลนิตินัยอย่างหนึ่ง กม.กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ถ้าต้องเสียดอกเบี้ย แต่มิได้กำหนดอัตราไว้ ให้ใช้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

-1.3.1 การทำและการตีความเอกสาร

  การที่ กม. กำหนดว่า สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือนั้น คู่สัญญาเช่าซื้อไม่ต้องเขียนสัญญานั้นเอง แต่ต้องลงลายมือชื่อหรือลงเครื่องหมายแทนการลงมือชื่อโดยชอบตามมาตรา 9
  สัญญากู้มีข้อความซึ่งอาจแปลความได้สองนัย ถ้าแปลความนัยแรกจะเป็นคุณแก่ผู้ให้กู้ ถ้าแปลความตามนัยที่สองจะเป็นคุณแก่ผู้กู้ เมื่อเป็นดังนี้จะต้องตีความตามนัยสองคือ ต้องตีความให้เป็นคุณแก่คู่กรณี ฝ่ายที่ต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้คือลูกหนี้นั่นเองตามมาตรา 11

-1.3.2 เหตุสุดวิสัย

เหตุสุดวิสัยกับภัยธรรมชาติไม่เหมือนกัน เพราะเหตุสุดวิสัยอาจจะเกิดจากภัยธรรมชาติ หรืออาจจะเกิดจากการกระทำของคนก็ได้ และภัยธรรมชาติไม่เป็นเหตุสุดวิสัยก็ได้
การวินิจฉัยว่า กรณีใดเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ มีจุดสำคัญในประเด็นสำคัญที่ว่า บุคคลผู้ประสบหรือใกล้จะต้องประสบไม่อาจป้องกันได้ดี แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว


-1.3.3 ข้อกำหนดเรื่องดอกเบี้ย

กฎหมายในบทเบ็ดเสร็จทั่วไป กำหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ยไว้ในกำหนดมาตรา 7 ปพพ. กล่าวคือ ถ้าต้องเสียดอกเบี้ยให้กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใช้โดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งให้ใช้อัตราร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี

 

แบบประเมิณหน่วยที่ 1 และแนว ถาม-ตอบ

  1. การตีความกม.พิเศษ จะต้อง ตีความโดยเคร่งครัด
  2.  การอุดช่องว่างของ กม. ปพพ.มาตรา 4 ได้กำหนดลำดับไว้หากไม่มี กม.ลายลักษณ์อักษรใช้บังคับแล้วจะต้องนำหลักเกณฑ์ จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาบังคับ
    (มาตรา4  กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่ง กม.ตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ เมื่อไม่มีกม. ที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลัก กม.ทั่วไป)
  3. คำว่า เสรีภาพ ไม่ใช่ องค์ประกอบของสิทธิ
    คำว่า สิทธิ เป็นถ้อยคำที่มีบัญญัติในกม. เป็นข้อความที่เป็นรากฐานของ กม.
    สิทธิเป็นความชอบธรรมที่บุคคลอาจใช้ยันต่อผู้อื่น เพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนอันพึงมีพึงได้ของบุคคล สิทธิตามกม.ประกอบด้วย
    (ก) ความชอบธรรม คือความถูกต้อง ความรับผิดชอบ โดยความชอบธรรมนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของ กม. เพราะมีบางกรณีที่อาจมิใช่ความชอบธรรมแต่ กม.ก็ยอมรับว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความชอบธรรม เช่น กรณีขาดอายุความ ลูกหนี้ปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้ หรือกรณีครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 เช่นนี้เป็นความชอบธรรมตาม กฎหมายแต่ไม่ใช่ความถูกต้อง
    (ข) ผู้ทรงสิทธิ สิทธิจะต้องมีบุคคลเป็นผู้ถือสิทธิ หรือที่เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิ ซึ่งมีได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
    (ค) การกระทำหรือละเว้นการกระทำ สิทธิเป็นสิ่งที่ใช้ยืนยันกับบุคคลอื่นได้ การจะเกิดรู้ว่า สิทธิถูกรบกวนเมื่อใดนั้นก็ต้องรอให้เกิดการกระทำหรือละเว้นการกระทำเสียก่อน ผู้ทรงสิทธิจึงอ้างถึงสิทธิความชอบธรรมที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ เช่น การที่ลูกหนี้ปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ การกระทำที่เกิดขึ้นจากลูกหนี้คือ การปฏิเสธ ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ด้วยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับ
    (ง) วัตถุแห่งหนี้ วัตถุคือวัตถุสิ่งของ วัตถุแห่งหนี้จึงหมายถึงสิ่งของที่เป็นหนี้ เช่น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สิ่งของที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ก็คือทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตร่างกาย สิ่งที่เป็นวัตถุแห่งหนี้คือตัวบุคคล
    (จ) บุคคลซึ่งมีหน้าที่ กฎหมายคุ้มครองรับรองให้สิทธิแก่บุคคล เมื่อใดเกิดการฝ่าฝืนสิทธิจึงเกิดสภาพบังคับแห่งสิทธิเกิดขึ้นตามมา บุคคลผู้ถูกฝ่าฝืนความชอบธรรมคือ ผู้ทรงสิทธิ ส่วนบุคคลที่ทำการฝ่าฝืน คือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ และมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อผู้ทรงสิทธิ เช่น สิทธิของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงสิทธิ ลูกหนี้คือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ชำระหนี้
  4. หลักเกณฑ์ของการใช้สิทธิ์คือ ต้องใช้โดยสุจริต
    (มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต)
    (มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต)
  5. นาย ก ทำสัญญากู้ยืมเงินนาย ข 10,000 บาท แต่เนื่องจากนาย ก ไม่รู้หนังสือจึงได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ โดยมีนายนิดอายุ 16 ปี และนางสาวน้อยอายุ 16ปี ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองการพิมพ์ลายนิ้วมือของนาย ก สัญญากู้ฉบับนี้จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่
    (
    มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลจะต้องทำหนังสือ ไม่จำเป็นต้องเขียนเองแต่หนังสือนั้น ต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
       ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
       ความในวรรคสอง ไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่)
  6. หลักในการตีความเอกสารคือ ตีความให้เป็นคุณแก่คู่กรณีที่ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้(มาตรา 10  เมื่อข้อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอาตามนัยที่ไร้ผล)
    (มาตรา 11  ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งจะต้องเสียหายในมูลหนี้นั้น)
  7. เหตุสุดวิสัยก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายคือ เป็นเหตุยกเว้นความผิดของลูกหนี้(มาตรา 8 คำว่า เหตุสุดวิสัย หมายความว่าเหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น)
  8. ในสัญญากู้ยืมฉบับหนึ่ง กำหนดว่าจะต้องเสีญดอกเบี้ยในเงินกู้ยืมนั้น แต่คู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ในกรณีเช่นี้ลูกหนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
    (มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)
  9. สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคล เป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน
  10. บทกฎหมายที่ใช้โดยวิธีเทียบเคียงไม่ได้คือ บทยกเว้น

------------------------------------------
หน่วยที่ 2 บุคคลธรรมดา

แนวคิด
  1. บุคคลธรรมดาคือ มนุษย์ ซึ่งสามารถมีสิทธิและใช้สิทธิได้
  2. สภาพของบุคคลเริ่มเมือคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตายตามธรรมดา หรือตายโดยผลของกฎหมายคือสาบสูญ
  3. สาบสูญเป็นการสิ้นสภาพบุคคล โดยข้อสันนิษฐานของกม. หากบุคคลไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบแน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี ตามกรณีที่กฎหมายกำหนดและมีผู้ร้องขอ เมื่อศาลมีคำสั่งแสดงความสาบสูญแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้นตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว
  4. กฎหมายบัญญัติให้บุคคลต้องมีชื่อติดตัว และชื่อสกุล เพื่อเป็นสิ่งที่เรียกขานบุคคลและกำหนดให้ชัดเจนลงไปอีกว่าบุคคลนั้นเป็นใคร
  5. สถานะของบุคคลเป็นสิ่งประกอบสภาพบุคคลที่แสดงฐานะหรือตำแหน่งของบุคคล ซึ่งดำรงอยู่ในประเทศชาติและครอบครัว ทำให้ทราบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่พึงมีต่อประเทศชาติและครอบครัว
  6. ภูมิลำเนาเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าบุคคลมีที่อยู่ประจำที่ไหน ทำให้การกำหนดตัวบุคคลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภูมิลำเนาที่บุคคลอาจเลือกถือได้ตามใจสมัครและอาจมีหลายแห่ง

2.1 สภาพบุคคล

  1. หลักเกณฑ์การเริ่มสภาพบุคคลมี 2 ประเภทประกอบกันคือ การคลอดและการมีชีวิตรอดเป็นทารก ดังนั้นทารกในครรภ์มารดาจึงยังไม่มีสภาพบุคคล
  2. การคลอดหมายความถึง คลอดเสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ โดยทารกคลอดหมดตัวพ้นช่องคลอดไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเหลือติดอยู่
  3. การมีชีวิตรอดอยู่เป็นทารก หมายถึงการที่ทารกมีชีวิตอยู่โดยลำพังตนเองแยกต่างหากจากมารดา โดยถือการหายใจเป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยการเริ่มมีชีวิต
  4. ทารกในครรภ์มารดาหมายถึง ทารกที่อยู่ในครรภ์นับแต่วันที่ปฏิสนธิเป็นทารกจนถึงวันคลอด การหาวันปฏิสนธินั้นให้คำณวนนับแต่วันคลอดย้อนหลังขึ้นไป 30 วัน
  5. ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่างๆได้ต่อเมื่อมีชีวิตอยู่ภายหลังคลอด คือ มีสภาพบุคคลแล้ว และมีสิทธิย้อนหลังขึ้นไปถึงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานว่าเริ่มปฏิสนธิ
  6. การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับตั้งแต่วันเกิด ในกรณีที่บุคคลรู้เฉพาะเดือนเกิดแต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด หากไม่รู้เดือนเกิดและวันเกิดให้นับวันต้นปีที่บุคคลนั้นเกิดเป็นวันเกิด
  7. การตายธรรมดาเป็นเหตุแห่งการสิ้นสภาพบุคคลโดยถือตามคำวินิจฉัยของแพทย์ว่า ระบบสำคัญของร่างกายเพื่อการดำรงชีวิตหยุดทำงานหมด
  8. กรณีที่บุคคลหลายคนประสบเหตุร้ายร่วมกันและตายโดยไม่รู้ลำดับแน่นอนแห่งการตาย จะกำหนดว่าใครตายก่อนตายหลังต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องถือตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าบุคคลหลายคนนั้นตายพร้อมกัน

2.1.1 การเริ่มสภาพบุคคล

  1. ประโยชน์และความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่ามนุษย์มีสภาพบุคคลเกิดขึ้นเมื่อใด สิ้นสุดเมื่อใด ก็เพื่อวินิจฉัยปัญหากฎหมายบางประการ เช่น
    (ก) ในทางแพ่ง การรู้ว่าสภาพบุคคลเกิดขึ้นเมื่อใดก็เพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคลนั้นเอง รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความชอบที่เกี่ยวโยงและผูกพันถึงบุคคลอื่นด้วย เพราะสิทธิของบุคคลจะมีขึ้นตั้งแต่เกิดมารอดมีชีวิตอยู่ คือเริ่มมีสภาพบุคคล หรืออาจมีย้อนไปจนถึงวันที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่นสิทธิในการเป็นทายาทรับมรดก ตาม ปพพ.มาตรา 1604 ส่วนการตายทำให้สิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นสิ้นสุดลง และทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท การพิจารณากองมรดก ผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรบ้าง ผู้ตายมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร กับพิจารณาหาทายาทมารับมรดก กฎหมายให้พิจารณาในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การรู้วันเกิดวันตายของบุคคลจึงมีความสำคัญ
    (ข)ในทางอาญา การวินิจฉัยถึงความรับผิดชอบในทางอาญาของผู้กระทำผิดฐานฆ่าคนตาย ตาม ปอ. มาตรา 288 หรือฐานทำให้แท้งลูก ตาม ปอ. มาตรา 301 - 305 จำเป็นต้องวินิจฉันเสียก่อนว่าทารกมีสภาพบุคคลหรือไม่ ทารกตายก่อนคลอดหรือตายระหว่างคลอด เป็นการคลอดออกมาโดยไม่มีชีวิต ไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่เป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้ ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ปอ. มาตรา 301-305 มีโทษน้อยกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เมื่อบุคคลตายแล้ว สิ้นสภาพบุคคล ก็ไม่เป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้อีก
  2. การคลอดเสร็จบริบูรณ์ตามวิชาแพทย์ แผนปัจจุบัน ถือการคลอดเริ่มต้นตั้งแต่มีการเจ็บท้องและสิ้นสุดการคลอดถือเอาเมื่อเด็กและทารกคลอดแล้ว รวมทั้งการหดตัวของมดลูกเป็นไปโดยเรียบร้อย ซึ่งเป็นเวลา 15 นาที ถึง 2 ชั่วโมง หลังเด็กคลอด ซึ่งไม่เหมือนกันกับ การคลอดแล้วตาม ปพพ.มาตรา 15 การคลอดของรกหรือการหดตัวของมดลูก ไม่มีความหมายในการพิจารณาการเริ่มสภาพบุคคลตามกฎหมาย เพราะการพ้นช่องคลอดของทารกหมายถึงการแยกตัวออกเพื่อมีชีวิตเป็นอิสระจากมารดา นักกฎหมายพิจารณาการคลอดที่เกี่ยวกับตัวทารกเท่านั้น ไม่รวมถึงอาการของการคลอดในส่วนตัวมารดา เพราะกฎหมายมุ่งที่จะค้นหาเวลาเริ่มสภาพบุคคลของทารกเพียงประการเดียว
  3. หลักวินิจฉัยการเริ่มมีชีวิตของแพทย์และนักกฎหมายแตกต่างกัน และมีผลให้หลักเกณฑ์การเริ่มสภาพบุคคลเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
         นักกฎหมายถือการหายใจเป็นหลักฐานแสดงการเริ่มมีชีวิต ส่วนแพทย์ถือว่านอกจากการหายใจแล้วการเต้นของหัวใจ การเต้นของสายสะดือ การเคลื่อนไหวร่างกาย และหลักฐานอื่นก็แสดงว่าทารกมีชีวิตด้วย
         ผลของความเห็นที่แตกต่างนี้  ทำให้การวินิจฉัยจุดเริ่มต้นของการเริ่มสภาพบุคคลของนักกฎหมายแตกต่างกันเป็นสองความเห็นคือ
         ความเห็นแรก หากยึดหลักว่า การหายใจเป็นข้อสาระสำคัญของการเริ่มมีชีวิตเพียงประการเดียว จะถือว่าสภาพบุคคลเริ่มเมื่อทารกเริ่มหายใจ  โดยเห็นว่าการคลอดและการมีชีวิตรอดอยู่เป็นทารกเป็นหลักเกณฑ์พิจารณาการเริ่มสภาพบุคคลประกอบกัน
         ความเห็นที่สอ หากถือตามความเห็นของแพทย์ เมื่อทารกคลอดหมดตัวพ้นช่องคลอดโดยมีหลักฐานแสดงการมีชีวิตอย่างอื่นแล้ว ถือว่าเริ่มสภาพบุคคล จะหายใจหรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ และยึดหลักว่าการคลอดแล้วเป็นหลักของการเริ่มสภาพบุคคล การอยู่รอดเป็นพฤติการณ์ประกอบการคลอดว่าเป็นบุคคลตลอดไป มิใช่จุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล

2.1.2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา

บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองที่ว่า ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้หากว่าภายหลังเกิดมารอดอยู่ หมายความว่า 
     โดยหลักแล้ว บุคคลเท่านั้นที่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายได้ แต่บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองนี้เป็นข้อยกเว้น ให้ทารกในครรภ์มารดาแม้ยังไม่มีสภาพบุคคล ก็สามารถมีสิทธิได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ภายหลังทารกนั้นต้องเกิดมารอดอยู่ ทารกในครรภ์มารดา ที่เป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา ก็สามารถมีสิทธิได้ หากภายหลังเกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
     เจตนารมณ์ของกม. มี 2 ประการคือ
     (1) เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของทารกในครรภ์มารดา
     (2) เพื่อขจัดความไม่เสมอภาคในเรื่องสิทธิ

2.1.3 การนับอายุบุคคลกรณีไม่แน่นอนของการเริ่มสภาพบุคคล

การกำหนดวันเกิดของบุคคลต่อไปนี้
(1) รู้แต่เพียงว่า ก เกิดปี พศ. 2480 --> เกิดวันที่ 1 เมษายน 2480
(2) รู้แต่เพียงว่า ข เกิดปี พศ. 2493 --> เกิดวันที่ 1 มกราคม 2493
(3) รู้แต่เพียงว่า ค เกิดเดือนมีนาคม 2500 --> เกิดวันที่ 1 มีนาคม 2500(4) ไม่รู้ว่า ง เกิดเมื่อใด  --> เมื่อเป็นเช่นนี้ให้สอบสวนปีเกิดของ ง ก่อนว่าเกิดในปีใด ได้ปีเกิดแล้วนำ ปพพ. มาตรา 16 มาใช้หาวันเกิด

2.1.4 การสิ้นสภาพบุคคล (ตาย)

  1. หากไม่รู้ลำดับของการตายบุคคลจะเกิดปัญหาประการใด
    เกิดปัญหาเมื่อบุคคลสองคนหรือมากกว่า ต่างเป็นทายาทซึ่งกันและกัน ไปเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายร่วมกันเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านั้นตาย ไม่รู้ใครตายก่อนหลัง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการรับมรดก ซึ่งมีหลักเกณฑ์ว่า ทรัพย์สินของผู้ตายจะเป็นมรดกตกทอดได้ก็แต่ผู้ที่มีชีวิตอยู่ ขณะตายมารดกของผู้ตายก่อนจึงตกมาเป็นมรดกของผู้ตายทีหลัง แล้วผ่านไปยังทายาทของผู้ตายทีหลังนั้น เมื่อไม่รู้แน่ชัดว่าใครตายก่อนตายหลังกฎหมายจึงกำหนดสันนิษฐานไว้ว่า ตายพร้อมกันใครจะเป็นทายาทไม่ได้ และต่างไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
  2. คำว่าเหตุอันตรายร่วมกันนั้น หมายความว่า
    เหตุภยันตรายร่วมกัน หมายความว่าเหตุภยันตราเดียวกันที่บุคคลประสบด้วยกันในคราวเดียวกัน เช่น บุคคลหลายคนโดยสารเครื่องบินลำเดียวกัน แล้วเครื่องบินตก หรือโดยสารเครื่องบินไปคนละลำแล้วเครื่องบินสองลำเกิดชนกันก็ได้ แต่ถ้าโดยสารเครื่องบินไปคนละลำแล้วเครื่องบินทั้งสองลำต่างก็เกิดอุบัติเหตุตกเหมือนกัน เช่นนี้ ไม่ถือเป็นเหตุภยันตรายร่วมกัน
  3. ก ป่วยเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ ส่วน ข เป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ โดยสารเรือออกจากกรุงเทพฯไปสิงคโปร์ด้วยกัน เรือโดนมรสุมจม ต่อมามีผู้พบศพ ก และ ข ที่ชายฝั่ง เช่นนี้ ก และ ข บุคคลใดจะตายก่อนหลัง
       กฎหมายถือว่า ก และ ข ตายพร้อมกัน แม้ข้อเท็จจริง ก น่าจะตายก่อน หากเป็นการพ้นวิสัยที่จะพิสูจน์ได้ว่า ใครตายก่อนหลัง


2.2 สาบสูญ

  1. ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนา และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยที่บุคคลนั้นไม่ได้ตั้งตัวแทนในการจัดการทรัพย์สินไว้ ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถร้องขอต่อศาลจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ไปพลางก่อนตามที่จำเป็นนั้นได้
  2. ถ้าผู้ไม่อยู่ไปจากภูมิลำเนาเกินกว่า  1 ปี โดยไม่มีผู้รับข่าวหรือพบเห็น เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้นได้
  3. ผู้ไม่อยู่อาจตั้งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป หรือผู้รับมอบอำนาจเฉพาะการไว้ก็ได้
  4. ผู้จัดการทรัพย์สินที่ศาลตั้งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป
  5. สาบสูญเป็นเหตุแห่งการสิ้นสภาพบุคคลโดยกฎหมายให้สันนิษฐานว่าบุคคสาบสูญนั้นถึงแก่ความตาย
  6. สาบสูญคือ สภาพการณ์ที่บุคคลไปจากที่อยู่ โดยไม่รู้แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตยแล้ว หากหายไปนาน 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลไม่อยู่นั้นเป็นคนสาบสูฐ
  7. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดนั้น
  8. หากพิสูจน์ได้ว่าคนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดากเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นได้ เมื่อคนสาบสูญนั้นเอง ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล แต่การถอนคำสั่งย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการกระทำทั้งหลายอันได้กระทำไปโดยสุจริตในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

    2.2.1 ผู้ไม่อยู่และผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่
              ก หายไปจากที่อยู่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2500 เขียนจดหมายลงวันที่ 5 มีนาคม 2505 มาถึงญาตพี่น้องส่งข่าวให้ทราบ จดหมายถึงวันที่ 10 มีนาคม 2505 ต่อมาวันที่ 10 เมษายน 2510 มีผู้พบเห็น ก ที่จังหวัดภูเก็ต แล้วไม่มีใครทราบข่าวคราวของ ก อีกเลยว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เช่นนี้สภาพการณ์เป็นผู้ไม่อยู่ของ ก เริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด
              เริ่มเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2510 แต่ระยะเวลาการเป็นผู้ไม่อยู่ คงมีเรื่อยไปไม่สิ้นสุด เพราะไม่มีเหตุสิ้นสุดคือ ก ไม่ได้กลับมา ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ก ตายแล้ว และไม่มีผู้ใดร้องขอให้ศาลสั่งว่า ก เป็นคนสาบสูญ         

    หลักเกณฑ์การร้องขอเข้าจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่มีประการใดบ้างและผู้ร้องมีสิทธิขอจัดการได้เพียงใด

              พิจารณาตาม ปพพ. มาตรา 48 คือหลักเกณฑ์
    (1) ผู้ไม่อยู่ต้องมีสภาพการณ์เป็นผู้ใหญ่ คือหายไปจากที่อนู่ ไม่รู้ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว
    (2) ไม่ได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปแล้ว และได้บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียและพนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอ

    2.2.2 การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยที่ศาลสั่ง
    อำนาจของผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ที่ศาลตั้งมีประการใดบ้าง
    ผู้จัดการทรัพย์สินตาม ปพพ.มาตรา 54 ให้ผู้จัดการมีอำนาจจัดการอย่างตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปคือทำกิจการแทนผู้ไม่อยู่ได้ ยกเว้นตามข้อห้าม 6 ประการตามมาตรา 801 ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงกระทำได้

    2.2.3 การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ โดยผู้ไม่อยู่ตั้ง
    ตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปที่ผู้ไม่อยู่แต่งตั้งไว้มีอำนาจการจัดการทรัพย์สินเช่นเดียวกับตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปตามกฎหมายลักษณะตัวแทนหรือไม่
    มีอำนาจเช่นเดียวกันเพราะ ปพพ. มาตรา 60 ให้นำบทบัญญัติกฎหมายลักษณะตัวแทนมาใช้บังคับในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ เพียงที่ไม่ขัดแย้งกับกฎหมายเรื่องบุคคล เว้นแต่ข้อห้าม 6 ประการตาม ปพพ.มาตรา 801 หากจำเป็นต้องกระทำมีกฎหมายมาตรา 51 บัญญัติให้ขออนุญาตศาล เพราะไม่มีตัวการจะให้คำอนุญาติได้

    2.2.4 สาบสูญ
              มีหลักสำคัญประการใดบ้างที่ศาลจะมีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ
              การที่ศาลจะสั่งให้บุคคลเป็นบุคคลสาบสูญได้ตามที่มีผู้ร้องขอ ต้องพิจารณาความ 2 ประการคือ (1) บุคคลได้หายไปจากที่อยู่ โดยไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว (2) มีกำหนด 5 ปีในกรณีธรรมดา 2 ปีในกรณีพิเศษ

    2.2.5 ผลของการสาบสูญ
    คำสั่งศาลให้บุคคลเป็นคนสาบสูญ มีผลกระทบถึงการสมรสหรือไม่เพียงใด
    สาบสูญไม่เป็นเหตุให้ขาดการสมรส แต่เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้เท่านั้น

    2.2.6 การถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ
    กรณีใดบ้างที่จะร้องขอให้ศาลถอนคำสั่งสาบสูญได้ และผลของกฎหมายของการถอนคำสั่งสาบสูญนั้นมีประการใดบ้าง
    กรณีที่ร้องขอให้ศาลถอนคำสั่งแสดงสาบสูญ มี 2 ประการคือ (1) ผู้สาบสูญยังมีชีวิตอยู่ (2) ผู้สาบสูญตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้

2.3 ชื่อและสถานะของบุคคล

  1. ชื่อคือสิ่งที่ใช้เรียกขานเพื่อจำแนกตัวบุคคลทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่การใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่
  2. กฎหมายบัญญัติให้บุคคลทุกคนต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล แต่บุคคลอาจมีชื่ออื่นๆได้อีก เช่น ชื่อรอง ชื่อฉายา ชื่อแฝง และชื่อบรรดาศักดิ์
  3. ชื่ออื่นๆนั้น บุคคลอาจตั้งขึ้นเองหรือผู้อื่นตั้งให้ แต่ชื่อสกุลเป็นชื่อที่บุตรได้รับสืบเนื่องมาจากบิดา หรือภริยาได้รับสืบเนื่องมาจากสามี ถ้าเด็กไม่ปรากฏบิดามารดา ไม่อาจได้ชื่อสกุลจากบิดามารดาได้ก็ต้องตั้งชื่อสกุลให้ใหม่
  4. บุคคลอาจเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรองได้ตามใจสมัคร แต่ชื่อสกุลนั้น บุคคลหนึ่งบุคคลใดในวงศ์สกุลหามีสิทธิจะเปลี่ยนแปลงตามใจชอบได้ไม่ จะเปลี่ยนได้แต่โดยตั้งชื่อสกุลขึ้นใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงโดยผลของกฎหมายประการอื่น เป็นต้นว่า หญิงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีฯลฯ กรณีเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น การเปลี่ยนชื่อสกุลใหม่ไม่มีผลใช้ชื่อสกุลเดิมต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  5. กำหมายให้ความคุ้มครองทั้งชื่อบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในกรณีที่มีผู้โต้แย้งการใช้ชื่อและกรณีผู้อื่นใช้ชื่อโดยไม่มีอำนาจ โดยเจ้าของชื่อมีสิทธิระงับความเสียหาย หากไม่เป็นผล มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งห้าม และยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ด้วย
  6. สถานะของบุคคลเป็นสิ่งประกอบสภาพบุคคลที่ชี้บ่งฐานะหรือตำแหน่งของบุคคลในการใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ เช่น เป็นชายหญิง ผู้เยาว์ ผู้บรรลุนิติภาวะ บิดา มารดา บุตร หรือ สามี ภรรยา เป็นต้น
  7. บุคคลได้สถานะตั้งแต่เกิด เพราะมีสิทธิหน้าที่ตั้งแต่เริ่มสภาพบุคคลหรืออาจก่อให้เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากเปลี่ยนแปลงสถานะใหม่เช่น สมรส การหย่า เป็นต้น
  8. สถานะของบุคคลบางประการต้องจดทะเบียนการก่อหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
  9. สถานะของบุคคลที่กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ./ภตต ได้แก่ การเกิด การตาย และตาม ปพพ.คือ การจดทะเบียนครอบครัว ได้แก่ การสมรส การหย่า การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม และเลิกรับบุตรบุญธรรม

    2.3.1 ประเภทชื่อของบุคคล
    ชื่อบุคคลมี 3 ประเภทคือ
    (1) ชื่อที่กฎหมายบังคับให้มีประจำตัวบุคคล ได้แก่ ชื่อตัว และ ชื่อสกุล
    (2) ชื่อที่บุคคลอาจตั้งขึ้นได้อีก ได้แก่ชื่อรอง ชื่อฉายา และ ชื่อแฝง
    (3) ชื่อบรรดาศักดิ์ได้แก่ ชื่อตามราชทินนามที่พระมหากษัตริย์ตั้งให้

    การได้มาซึ่งชื่อตัว และ ชื่อสกุลแตกต่างกันหรือไม่
    แตกต่างกันคือ ชื่อตัว ได้มาตั้งแต่เกิดโดยตั้งขึ้นใหม่ ชื่อสกุล ได้สืบสกุลต่อเนื่องมาจากบิดา มารดา หรือตั้งใหม่ หรือ กรณีได้ชื่อสกุลจากสามี

    จำเป็นหรือไม่ที่เด็กไม่ปรากฏบิดามารดาจะต้องมีชื่อสกุล หากจำเป็นวิธีการใดจะหาชื่อสกุลให้เด็ก
    มีความจำเป็น เพราะกฎหมายบังคับ เมื่อไม่มีชื่อสกุลของบิดามารดา ก็ต้องตั้งชื่อสกุลขึ้นใหม่ให้เด็กนั้น

    ชื่อสกุลมีลักษณะสำคัญคือ
    (1) จำเป็นต้องมีประจำตัวบุคคล
    (2) ต้องแน่นอนคงที่
    (3) ไม่อยาจได้มาหรือสูญเสียไปโดยอายุความ
    (4) ไม่อาจจำหน่ายให้กันได้

    2.3.2 การเปลี่ยนชื่อบุคคลและการคุ้มครองชื่อบุคคล
    กรณีที่เป็นเหตุแห่งการโต้แย้งชื่อมีประการใดบ้าง และกฎหมายให้ความคุ้มครองอย่างไรการโต้แย้งชื่อมี 2 กรณี คือ
    (1)มีผู้โต้แย้งการใช้ชื่อของเรา
    (2) ผู้อื่นเอาชื่อเราไปใช้โดยไม่มีอำนาจ และกฎหมายให้ความคุ้มครอง 3 ประการคือ
       ก. ให้ระงับความเสียหาย
       ข. ให้ศาลสั่งห้าม
       ค.  เรียกค่าเสียหายได้

    2.3.3 สถานะการจดทะเบียนสถานะบุคคล
    สถานะของบุคคลคืออะไร ได้มาจากไหน และเหตุใดบุคคลต้องมีสถานะสถานะของบุคคลคือ ฐานะหรือตำแหน่งซึ่งบุคคลดำงอยู่ในประเทศชาติและครอบครัว บุคคลได้สถานะตั้งแต่เกิดมีสภาพบุคคล และอาจได้มาโดยการก่อขึ้นเองอีก เพราะเปลี่ยนสถานะใหม่ เหตุที่ต้องมีสถานะเป็นสิ่งที่บอกให้ทราบถึงควาแตกต่างและความสามารถของบุคคล ในการใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่

2.4 ภูมิลำเนา

  1. ภูมิลำเนาเป็นที่ กฎหมายกำหนดให้มีประกอบตัวบุคคล เพื่อชี้บ่งให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ว่าเขามีที่อยู่เป็นประจำที่ไหน ดังนั้นจึงอาจให้ความหมายได้อีกนัยหนึ่งว่า ภูมิลำเนาคือที่อยู่ตามกฎหมายของบุคคล
  2. การรู้ภูมิลำเนามีประโยชน์เมื่อบุคคลต้องการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟ้องคดี การส่งคำคู่ความหรือเอกสาร การชำระหนี้หรือสาบสูญ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อรัฐในการจัดระเบียบการปกครอง และบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอีกด้วย
  3. กฎหมายบัญญัติเป็นหลักทั่วไปกำหนดให้ที่อยู่ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญเป็นภูมิลำเนาของบุคคล แต่หลักทั่วไปนี้ไม่อาจครอบคลุมไปกำหนดภูมิลำเนาของบุคคลได้ทุกประเภท จึงมีบทบัญญัติขยายความหลักเกณฑ์ทั่วไป หรือลดหย่อนหลักเกณฑ์ทั่วไปลงมา เพื่อค้นหาภูมิลำเนาของบุคคลทุกคนให้จนได้ กล่าวคือ บุคคลมีที่อยู่หลายแห่ง ให้ถือแห่งสำคัญเป็นภูมิลำเนา ถ้าสำคัญเท่ากัน ให้แต่ละแห่งเป็นภูมิลำเนา ถ้าไม่มีที่อยู่แหล่งสำคัญเลย ให้ถือที่อยู่เป็นภูมิลำเนา และท้ายที่สุดถ้าไม่มีที่อยู่แน่นอนเลย ให้ถือว่าที่อยู่นั้นเป็นภูมิลำเนา
  4. จากหลักเกณฑ์ที่ว่าบุคคลมีที่อยู่หลายแห่ง ให้ถือแหล่งสำคัญเป็นภูมิลำเนานั้น หมายความว่า บุคคลอาจเลือกถือภูมิลำเนาได้โดยสมัครใจ เพราะเขาจะเลือกเอาที่อยู่ใดเป็นแหล่งสำคัญก็ได้ ส่วนหลักเกณฑ์ข้อที่ว่า บุคคลมีที่อยู่แหล่งสำคัญหลายแห่งให้ถือว่าแต่ละแห่งเป็นภูมิลำเนานั้น มีความหมายอยู่ในตัวว่า บุคคลอาจมีภูมิลำเนาได้หลายแห่ง
  5. แม้หลักเกณฑ์มีว่า บุคคลอาจเลือกถือภูมิลำเนาได้ตามใจสมัคร แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภทที่กฎหมายกำหนดภูมิลำเนาให้เลย ได้แก่ผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถ กฎหมายให้ถือภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ข้าราชการให้มีภูมิลำเนาอยู่ ณที่ทำงานประจำ แต่ข้าราชการอาจจะถือภูมิลำเนาเดิมอีกแห่งก็ได้ คนที่ถูกจำคุกกฎหมายให้ถือเอาเรือนจำ หรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่เป็นภูมิลำเนาจนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ส่วนสามีและภรรยา กฎหมายให้ถือถิ่นที่อยู่ของสามีและภรรยาที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาเป็นภูมิลำเนา
  6. นอกจากภูมิลำเนาธรรมดาแล้ว บุคคลอาจเลือกเอาถิ่นที่ใดที่หนึ่งเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกก็ได้
  7. ภูมิลำเนานั้น อาจเปลี่ยนแปลงไปโดย (1) ย้ายที่อยู่ (2) มีเจตนาจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาเป็นหลักเกณฑ์  2 ประการประกอบกัน หากพฤติการณ์เข้าหลักเกณฑ์เพียงข้อเดียวไม่ถือว่าภูมิลำเนาได้เปลี่ยนแปลงไป

    2.4.1 ประโยชน์ของภูมิลำเนา
    ภูมิลำเนาของบุคคลมีประโยชน์ในทางกฎหมายเอกชนอย่างไร
    (1) การฟ้องคดี ทำให้ทราบเขตอำนาจศาล
    (2) การส่งคำคู่ความ หรือเอกสาร ส่ง ณ ภูมิลำเนา
    (3) การชำระหนี้ ชำระ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้
    (4) การสาบสูย ถือหลักการไปจากภูมิลำเนา

    2.4.2 การกำหนดภูมิลำเนา
    คำว่าบุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งนั้นหมายความว่าอย่างไร
    ตามปพพ. มาตรา 44 คือ ผู้เยาว์ใช้ภูมิลำเนาของผู้เยาว์โดยชอบธรรม กรณีบิดามารดาของผู้เยาว์แยกกันอยู่ ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาที่ตนอยู่ด้วย
    ปพพ. มาตรา 45 ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล

    ก มีบุตรภรรยาและบ้านพักอยู่ที่กรุงเทพ แต่มีอาชีพเป็นเซลแมน เดินเร่ขายสินค้าไปในที่ต่างๆ ไม่มีสำนักการงานแน่นอน เดือนหนึ่งหรือสองเดือนจึงกลับบ้านและพักอยู่ 2-3 วัน ก็ออกเดินทางค้าขายต่อ ดังนั้นภูมิลำเนาของ ก จะอยู่ที่ใด
    -ตอบ กรุงเทพ

    2.4.3 บุคคลที่กฎหมายกำหนดภูมิลำเนาให้
    ผู้เยาว์เป็นคนไร้ความสามารถเลือกถือภูมิลำเนาของตนได้ตามใจสมัครหรือไม่เพราะเหตุใด
    -ตอบ เลือกภูมิลำเนาเองไม่ได้ เพราะผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถเป็นผู้หย่อยความสามารถ ถูกตัดทอนสิทธิในการทำนิติกรรม หากผู้เยาว์จะทำนิติกรรม ต้องได้รับความยินยอมหรือให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทน
    ส่วนคนไร้ความสามารถทำนิติกรรมไม่ได้เลย หากทำจะเป็นโมฆียะ ต้องให้ผู้อนุบาลทำแทน ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงกำหนดให้ถือภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและเหมาะสมในการควบคุมดูแลและใช้อำนาจปกครอง

    ก รับราชการประจำอยู่ในกรุงเทพ แต่ทางราชการส่งไปช่วยราชการท่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 1 ปี ดังนี้ถือว่า ก มีภูมิลำเนาที่ไหนเพราะสาเหตุใด
    -กรุงเทพ เพราะเป็นถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ประจำ ส่วนเชียงใหม่ไม่เป็นภูมิลำเนา เพราะเป็นถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งชั่วคราวเท่านั้น

    2.4.4 การเปลี่ยนภูมิลำเนา
    การเปลี่ยนภูมิลำเนาประกอบด้วยหลักเกณฑ์ใดบ้าง และจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า บุคคลมีเจตนาเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนา
       ก.  ย้ายที่อยู่
       ข. เจตนาจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนา
    พิสูจน์ได้โดยดูจากข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ที่แสดงออกภายนอก เช่น แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน ขนย้ายครอบครัวไปอยู่บ้านใหม่ฯลฯ ข้อสำคัญคือ ต้องได้ความตามหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อ มิใช่ข้อใดข้อหนึ่ง

    ก มีชื่อในทะเบียนบ้านของบิดามารดาที่กรุงเทพ แต่ไปรับจ้างเป็นลูกเรือประมงอยู่ที่จังหวัดระนอง ครั้นถึงเกณฑ์ทำบัตรประชาชนก็กลับมาทำที่กรุงเทพ ในการออกเรือหาปลาครั้งหนึ่ง เรือถูกทางการพม่าจับและยึดไปในข้อหาล้ำน่านน้ำ ก ถูกศาลพม่าตัดสินจำคุก 5 ปี ปัจจุบัน ก บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ยังต้องโทษในประเทศพม่า ดังนั้น ก มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
    - กรุงเทพ

    2.4.5 ภูมิลำเนาเฉพาะการ
    อธิบายวิธีเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของบุคคลว่าทำได้อย่างไร
    ปพพ. มิได้กำหนดแบบวิธีไว้ การเลือกมีลักษณะเป็นข้อตกลงหรือสัญญาจึงดูที่เจตนาของคู่กรณี ซึ่งอาจตกลงกันโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยปากเปล่า หรือโดยปริยายก็ได้

แบบประเมิณหน่วยที่ 2 และแนว ถาม-ตอบ

บุคคล (พจนานุกรม ราชบัณฑิต 2542)โดยทั่วไปหมายถึง คน หรือสิ่งที่มีชีวิตซึ่งมิใช่สัตว์หรือพืช สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ ในทางกฎหมาย หมายถึง คน(บุคคลธรรมดา) และรวมถึงนิติบุคคล (บุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นด้วย)

บุคคลผู้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
(ก) ผู้ไม่อยู่ (มาตรา 48) ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลแสดงความสาบสูญ ก็ยังคงเป็นเพียงผู้ไม่อยู่
(ข) คนสาบสูญ (มาตรา 61) ผลของการที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ถือว่าผู้นั้นตายเมื่อครบกำหนด 5 ปีในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปีในกรณีพิเศษ (มาตรา 62) มิได้ถือเอาวันที่ศาลมีคำสั่งหรือวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา

ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ เช่น คู่สมรส ทายาท เจ้าหนี้ หุ้นส่วน เป็นต้น

วิญญูชน หมายถึงคนปกติทั่วไป จะประพฤติปฏิบัติเช่นไร
สิ่งที่ประกอบสภาพบุคคลคือ สิ่งที่ประกอบตัวบุคคลที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมในสังคม อันประกอบด้วย​ สัญชาติ ชื่อ ภูมิลำเนา สถานะ และ ความสามารถ
  1. บุคคลธรรมดาตาม ปพพ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ม.67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา)
  2. การเริ่มสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคล หมายถึง การคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและตาย (มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นลงเมื่อตาย)
  3. สภาพบุคคลเริ่มเมื่อ การคลอดและอยู่รอดเป็นทารก
  4. ก เกิดระหว่างปี 2482 แต่เป็นการพ้นวิสัยจะหยั่งรู้วันเกิดของ ก ได้ ดังนั้นกฎหมายให้ถือว่า วันเกิดของ ก คือ 1 เมษายน 2482 (ม.16 การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่ 1 แห่งเกือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันเริ่มปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด)
  5. กรณีต่อไปนี้ เป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดสภาพบุคคล (ก)ถูกรถยนต์ชนตาย (ข)ฆ่าตัวเองตาย (ค)สาบสูญ (ง)ป่วยตาย (ม.15 สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นลงเมื่อตาย)
  6. คนสาบสูญ ไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย (เพราะเมื่อศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ถือว่าตายไปแล้ว) ส่วน คนวิกลจริต คนเสมือนไร้ความสามารถ คนล้มละลาย คนไร้ความสามารถ กฎหมายยังถือว่ามีสภาพบุคคล บุคคลที่ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญแล้วถือว่าสิ้นสภาพบุคคลเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี ในกรณีพิเศษ (ม.62 บุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในม.61) 
  7. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว ถือว่าตายเมื่อครบกำหนด 2  ปี ในกรณีพิเศษ
    (ม.61 ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
    ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือ 2 ปี
    (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลงแล้ว ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงครามและหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
    (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือ สูญหายไป
    (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน 1 และ 2 ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น
  8. บุคคลที่อาจถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ในกรณีพิเศษคือ หายไปจากที่อยู่ไม่รู้ว่าเป็นหรือตายครบ 2 ปี ระยะเวลา 2 ปี ในกรณีพิเศษเริ่มนับเมื่อ ก)สงครามสงบ ข)วันที่เรืออับปาง ค)วันที่ภูเขาไฟระเบิดหยุดลงแล้ว ง)วันที่น้ำเลิกท่วมแล้ว
  9. ระยะเวลาแห่งการเป็นคนสาบสูญในกรณีธรรมดาเริ่มนับ เมื่อร้องขอต่อศาล (ม.61 ...ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้)
  10. ผู้มีสิทธิขอร้องให้ศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญคือ พนักงานอัยการ และผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ บุตร ภริยา สามี
  11. นิติบุคคลมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้คือ เป็นบุคคลตามกฎหมาย (ม.65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น ม.66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง ม.67 ภายใต้ข้อบังคับ มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น)
  12. นางแดงคลอดบุตรออกมาหายใจเพียง 1 ครั้ง ยังไม่ได้ตัดสายสะดือ นายดำ สามีนางแดงไม่พอใจจึงบีบคอบุตรนั้นตาย นายดำมีความผิดฐานฆ่าคนตาย เพราะทารกมีสภาพบุคคลแล้ว
  13. ทารกในครรภ์มารดาแม้ไม่มีสภาพบุคคล ก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ ถ้าปรากฏว่าเกิดมารอดอยู่ภายในระยะเวลา 310 วันนับแต่บิดาตาย
  14. กรณีต่อไปนี้อาจร้องขอถอนคำสั่งแสดงสาบสูญคือ พิสูจน์ได้ว่าคนสาบสูญตายตั้งแต่วันแรกที่หายไปจากที่อยู่ เมื่อศาลพิจารณาได้ความว่า คนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่หรือตายในเวลาอื่นที่ผิดไปจากที่กฎหมายสันนิษฐานไว้ ศาลต้องถอนคำสั่งแสดงสาบสูญ
  15.  ก ได้บ้านมาหลังหนึ่งโดยทางมารดาของ ข ผู้สาบสูญ ต่อมา ก ขายบ้านให้ ค ในราคา 100,000 โดยสุจริต แล้ว ก นำเงินนั้นไปซื้อรถยนต์มาใช้สอย 1 คัน หาก ข ยังมีชีวิตอยู่และกลับมา ก จะต้องคืนทรัพย์สินแก่ ข โดย คืนรถยนต์ที่นำเงินค่าบ้านไปซื้อแทนตัวบ้าน(ม.63 เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเอง หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และ ศาลพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นที่ผิดไปจากเวลาที่ระบุไว้ใน ม.62 ก็ดี ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้น แต่การถอนคำสั่งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลาย อันได้ทำไปโดยสุจริต ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น
    บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมา เนื่องแต่การที่ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไปเพราะศาลสั่งถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่ง ประมวลกฎหมายนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลม)

------------------------------------------

หน่วยที่ 3 บุคคลธรรมดา : ความสามารถ

  1. บุคคลมีสิทธิหน้าที่อย่างไร ย่อมใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามสิทธิและหน้าที่ของตน สภาพการณ์ที่บุคคลจะมีสิทธิหรือใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้แค่ไหนเพียงไร เรียกว่าความสามารถ
    ความสามารถมี 2 ลักษณะคือ
    1) ความสามารถในการมีสิทธิ
    2) ความสามารถในการใช้สิทธิ
  2. ตามหลัก บุคคลมีสิทธิหน้าที่เท่าเทียมกัน แต่บุคคลบางจำพวก กฎหมายตัดทอนความสามารถในการมีและใช้สิทธิไว้บางประการ ทำให้มีสภาพเป็นผู้หย่อนความสามารถ ซึ่งกฎหมายเรียกรวมๆว่า คนไร้ความสามารถ (ในความหวายอย่างกว้าง) คนไร้ความสามารถมี 3 ประเภทคือ
    ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ(ในความหมายอย่างแคบ) และคนเสมือนไร้ความสามารถ

------------------------------------------

หน่วยที่ 4 นิติบุคคล

------------------------------------------

หน่วยที่ 5 นิติบุคคล : สมาคม

------------------------------------------

หน่วยที่ 6 นิติบุคคล : มูลนิธิ

------------------------------------------

หน่วยที่ 7 นิติกรรมและการแสดงเจตนา

------------------------------------------

หน่วยที่ 8 การควบคุมการแสดงเจตนา

------------------------------------------

หน่วยที่ 9 โมฆะกรรมและโมฆียกรรม

------------------------------------------

หน่วยที่ 10 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา

------------------------------------------

หน่วยที่ 11 ระยะเวลาและอายุความ

------------------------------------------

หน่วยที่ 12 สัญญา : หลักทั่วไป

------------------------------------------

หน่วยที่ 13 การเกิด การตีความและประเภทของสัญญา

------------------------------------------

หน่วยที่ 14 ผลแห่งสัญญา มัดจำ เบี้ยปรับ

------------------------------------------

หน่วยที่ 15 การเลิกสัญญา

------------------------------------------

7 มี.ค. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 8

หน่วยที่ 8 สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้สื่อในการจัดการศึกษานอกระบบ

8.1 สภาพปัจจุบันของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
8.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
8.3 แนวโน้มของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

8.1 สภาพปัจจุบันของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. การใช้สื่อโสตทัศน์ในการศึกษานอกระบบมีอยู่หลายชนิด ทั้งเทปเสียง วีดิทัศน์ สไลด์ แผ่นใส และภาพยนตร์
ส่วนปริมาณในการใช้ขึ้นกับความเหมาะสม เทคนิควิธีการ และต้นทุนการผลิต
ส่วนใหญ่การใช้สื่อโสตทัศน์ จะใช้ในรูปสื่อประสม เพื่อให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งทางตา และ ทางหู และให้มีลักษระเป็นรูปธรรมมากที่สุด
1) เทปเสียง ใช้บันทึกภาษาต่างประเทศ ดนตรี การสอน การบรรยาย
2) วีดิทัศน์ เหมาะจะใช้ให้ความรู้เชิงทักษะ คณิตศาสตร์ วิทยศาสตร์
3) สไลด์
2. การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการศึกษานอกระบบมีอยู่หลายชนิด ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร โปสเตอร์ ใบปลิว และแผ่นพับ
นับเป็นสื่อที่สำคัญและมีการใช้มากที่สุด เพราะราคาไม่แพงและมีคุณสมบัติเฉพาะสื่อที่เอื้อต่อการใช้ และที่สำคัญที่สุดทุกชนิดใช้เป็นสื่อป้องกันการลืมหนังสือ ส่งเสริม และสร้างนิสัยรักการอ่านได้
3. การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในการศึกษานอกระบบมีการใช้ค่อนข้างแพร่หลาย
โดยเฉพาะสื่อวิทยุกระจายเสียงเพราะมีราคาถูกและเข้าถึงประชาชนทุกระดับ ส่งสัญญานเสียงได้ครอบคลุมกว้างไกล
ส่วนสื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพมากในการให้การศึกษานอกระบบเพราะสามารถเห็นภาพได้ ถ่ายทอดความรู้และสารสนเทศได้ดี แต่ยังไม่แพร่หลายเท่าวิทยุกระจายเสียง เพราะราคาค่อนข้างแพง แต่สื่อทั้ง 2 ชนิด มีข้อดีที่แม้จะอ่านเขียนได้ได้ก็รับสารสนเทศได้
4. การใช้สื่อพื้นบ้านในการศึกษานอกระบบ ในอดีตยังไม่แพร่หลายนัก แต่หลังจากที่งานการพัฒนาเข้าถึงประชาชนในพื้นที่มากขึ้น สื่อพื้นบ้านเริ่มมีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล การประชาสัมพันธ์ และการเพิ่มพูนทักษะอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนนั้นๆมากขึ้น
5. การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการศึกษานอกระบบนั้นนับว่าทันสมัยแต่ยังแพร่หลายน้อย แม้ว่าศักยภาพในการทำงานที่อาจกล่าวได้ว่ามากที่สุด เนื่องจากเป็นสื่อที่มีราคาแพง บทบาทของสื่อคอมพิวเตอร์ในการศึกษานอกระบบในปัจจุบันจะเน้นที่การให้ข่าวสารข้อมูลเป็นสำคัญ
6. การใช้สื่อชุดฝึกอบรมในการศึกษานอกระบบมีการใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมทั้งการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
สื่อชุดฝึกอบรมเข้ามามีบทบาททั้งการให้ความรู้พื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่อง การเพิ่มพูนทักษะ และการให้ข่าวสารข้อมูล


5 มี.ค. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 7

หน่วยที่ 7 ประชาชนกับการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

7.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
7.2 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
7.3 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

7.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. แนวคิดพื้นฐาน - การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความหมายแตกต่างกันไปแต่ไม่ว่าจะอย่างไรการมีส่วนร่วมของประชาชนมักมีลักษณะร่วมกันบางประการเกี่ยวกับการเข้าเกี่ยวข้องในกิจกรรมการพัฒนาของประชาชน และการที่ประชาชนผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนานั้นต้องใช้ความพยายามส่วนตัวบางอย่างในกิจกรรมนั้นด้วย
1) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีลักษณะที่สำคัญอย่างไรบ้าง
- ประชาชนเข้าเกี่ยวข้อในกิจกรรมพัฒนาอย่างเต็มใจ
- ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้ความพยายามบางอย่างส่วนตัวในกิจกรรมการพัฒนานั้นฃ
2) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีหลักการอย่างไรบ้าง
- ประชาชนมีบทบาทหลักในการพัฒนา
- เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาคือ การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อพึ่งและพัฒนาตนเอง
- กระบวนการพัฒนายึดหลักล่างสู่บน มากกว่า บนสู่ล่าง
3) การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนามีแนวทางอย่างไรบ้าง 
- จัดให้มีองค์กรของประชาชนระดับท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส้วนร่วม
- ให้อิสระแก่ประชาชนในการตัดสินใจ
- ให้ข่าวสารข้อมูลแก่ประชาชน
- รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านทรัพยากร เงิน วัสดุ และเทคโนโลยี
- พัฒนาผู้นำในท้องถิ่นให้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

2. ความจำเป็นของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา - การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อการศึกษานอกระบบ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีขึ้น เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนาสื่อ การเลือกประเภทและรูปแบบของสื่อ การลงมือผลิตสื่อ การทดสอบและประเมิณผลสื่อ และการตรวจสอบและบำรุงสื่อ ตลอดจนยังจำเป็นการอนุรักษ์สืบทอด และเผยแพร่สื่อที่เกี่ยวข้องกับขนมธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอีกด้วย

3. ความจำเป็นของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้ - มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีขึ้น ทำให้ข้อมูลความรู้ข่าวสารต่างๆ ได้รับการเรียนรู้หรือถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมายตามที่จุดมุ่งหมายกำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้สื่อ การจัดหาสื่อ การเตรียมการก่อนการใช้สื่อ การดำเนินการใช้สื่อ และ การประเมินผลการใช้สื่อ

7.2 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งเสริมได้หลายลักษณะ ทั้งการให้ประชาชนผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แบบง่ายๆกันเอง ให้ประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือให้การสัมภาษณ์เพื่อนำมาเป็นเนื้อหาของสื่อสิ่
พิมพ์ ฝึกอบรมให้ประชาชนรู้ขั้นตอนการผลิต และให้ประชาชนเป็นผู้ประสานงานการผลิตและเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์
แนวทางหลักในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสื่อสิ่งพิมพ์คือ
1). ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานผู้จัดการศึกษานอกระบบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์และความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ จากนั้นจะทำให้สามารถส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตได้สะดวกขึ้น
2). จัดการอบรมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานผู้จัดการศึกษานอกระบบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดฝึกอบรมหรือให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์อย่างง่ายๆ
3). ทดลองผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างง่ายๆ ในท้องถิ่นแล้วให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทดลองผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เองอย่างง่ายๆ เช่น แผ่นพับ แผ่นใบปลิว ขึ้นในท้องถิ่นแล้วให้ประชาชานมีส่วนร่วมในการผลิตด้วย

2. การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์นั้น อาจกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การให้ประชาชนให้ข้อมูลย้อยกลับหลังจากได้ใช้สื่อ ให้ประชาชนเข้าร่วมรายการโดยการสัมภาษณ์ การสาธิต การให้ประชาชนได้ร่วมวางแผนผลิตรายการ และการให้ประชาชนนำเสนอความรู้และข่าวสารเองแล้วผู้จัดถ่ายทอดออกรายการให้
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
1). เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงปฏิกิริยาย้อนกลับ
2). จัดให้ประชาชนเข้าร่วมรายการด้วย
3). ส่งเสริมให้ประชาชนบริหารและดำเนินงานหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านมากขึ้น
4). ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชน วิทยากรท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เป็นผู้ให้ความรู้ในรายการ
5). ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมในการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

3. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อพื้นบ้าน ซึ่งสื่อพื้นบ้านนั้นมีหลายประเภท ทั้งประเภทการแสดง ประเภทศิลปหัตถกรรม และ จิตกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อพื้นบ้านแต่ละประเภทก็จะใช้วิธีที่ต่างกันออกไป
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อพื้นบ้านประเภทการแสดง
1) ในด้านของตัวศิลปิน
- ส่งเสริมให้ศิลปินมีทัศนคติที่ดีต่อข่าวสารและข้อมูล
- ส่งเสริมให้ศิลปินเป็นนักสื่อสารที่ดี
- ส่งเสริมให้ศิลปินมีอิสระในการนำเสนอแบบแผนดั้งเดิมของสื่อ
- ส่งเสริมให้ศิลปินรักษามาตรฐานของตัวเอง
2) ในด้านประชาชน
- ส่งเสริมให้มีการประกวดหรือการแข่งขันการแสดงพื้นบ้านต่างๆในโอกาสอันควร
- ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มสนใจ
- ส่งเสริมการจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงของแต่ละท้องถิ่น

7.3 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจส่งเสริมได้ในหลายลักษณะ ทั้งส่งเสริมให้ประชาชนให้เอง ส่งเสริมให้ประชาชนให้ความร่วมมือแก่หน่วงานต่างๆ ที่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และส่งเสริมให้ประชาชนสนับสนุนให้เพื่อนบ้านใช้ ซึ่งการส่งเสริมในแต่ละลักษณะนั้นต่างมีแนวทางหลายแนวทางด้วยกัน
แนวทางที่องค์กรจะส่งเสริมให้ประชาชนสนับสนุนเพื่อนบ้านในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ได้แก่
1) หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเลือกหากลุ่มประชาชนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมเพื่อนบ้านใช้สื่อสิ่งพิมพ์
2) หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริม เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เช่น ข้อดี จุดอ่อน วิธีใช้ และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆ
3) ให้ความรู้แก่กลุ่มที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมเกี่ยวกับ วิธีการประชาสัมพันธ์ วิธีการกระตุ้น ส่งเสริมให้เพื่อนบ้านสนใจสื่อสิ่งพิมพ์
4) ฝึกให้ผู้ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมมีความรู้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทต่างๆ
5) ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริม เกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อจะขอรับบริจาคหนังสือเพื่อให้ชุมชนมีหนังสือที่ทันสมัยอยู่เสมอ ความรู้เกี่ยวกับการหมุนเวียนหนังสือให้ทั่วถึงเป็นต้น

2. การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อวิทยุโทรทัศน์ มีหลายวิธี ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชชนรู้ตารางเวลาออกอากาศ และรายละเอียดของแต่ละรายการไปจนถึงการถ่ายทอดการออกอากาศผ่านสื่ออื่นๆได้แก่ หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับฟังอย่างทั่วถึง
ส่วนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เริ่มตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ให้คนรู้รายละเอียดของรายการ ไปจนถึงการให้กรรมการหมู่บ้านกระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงมีดังนี้คือ
1) หน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับรายการวิทยุกระจายเสียงทางการศึกษานอกระบบที่จะออกอากาศ
2) หน่วยงานหรือผู้ที่ผู้เกี่ยวข้องควรจัดเนื้อหาของรายการให้น่าสนใจ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน
3) หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับฟังรายการวิทยุ เช่น จัดกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประชาชนที่รับฟังรายการ
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์มีดังต่อไปนี้
1) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรใ้หข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการออกอากาศ รายละเอียดของรายการทางการศึกษานอกระบบที่จะออกอากาศ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบรายละเอียด
2) หน่วยงานผู้ผลิตรายการควรเลือกเวลาการออกอากาศที่เหมาะสมกับช่วงเวลาว่างของประชาชนในท้องถิ่น
3) ในกรณีที่ประชาชนในท้องถิ่นยังมีเครื่องรับโทรทัศน์กันน้อย หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรหาแหล่งเงินทุนที่จะจัดหาเครื่องรับที่จะเป็นศูนย์กลางของชุมชน

3. การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อพื้นบ้านนั้น จะเริ่มตั้งแต่การสำรวจและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ว่า ในท้องถิ่นของตนมีสื่อพื้นบ้านชนิดใดบ้าง และจะมีแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง
แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อพื้นบ้าน
1) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรทำการสำรวจว่าในชุมชนหรือในหมู่บ้านที่หน่วยงานรับผิดชอบจัดการศึกษานอกระบบนั้นมีสื่อพื้นบ้านประเภทใดอยู่บ้าง
2) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจกับสื่อพื้นบ้านแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชนว่ามีลักษณะอย่างไร มีวิธีการจัดแสดงอย่างไร มีประโยชน์อย่างใดบ้างต่อประชาชนเป็นต้น
3) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆที่มีต่อสื่อพื้นบ้านแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชนของเขา

แบบประเมิน
1. แนวทางหลักข้อหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์คือ "การทดลองผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ง่ายๆ ในท้องถิ่นแล้วให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร ให้ชาวบ้านช่วยโรเนียวข่าวที่พิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
2. ข้อใดต่อไปนี้คือตัวอย่างของการที่ประชาชนนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้ ประชาชนอ่านพบวิธีปลูกพริกขี้หนูจึงนำไปทดลองปลูก
3. แนวทางข้อหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงด้วยตนเอง คือ "ในการจัดทำรายการควรหาโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมด้วย" แนวทางข้อนี้ทำอย่างไร ผู้จัดรายการอาจเชิญชาวบ้านมาให้สัมภาษณ์เพื่อออกรายการวิทยุ
4. ข้อใดคือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ หน่วยงานควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับตารางเวลาการออกอากาศแก่ชาวบ้าน
5. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อพื้นบ้านข้อหนึ่งคือ "หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจถึงลักษณะของสื่อพื้นบ้านชนิดนั้นๆ"แนวทางข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ศึกษารายละเอียดว่าสื่อพื้นบ้านชนิดนั้นๆ มีวิธีการแสดงอย่างไร
6. ข้อใดเป็นลักษณะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนา  ร่วมจุดประสงค์ ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมรับประโยชน์
7. ประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการศึกษานอกระบบได้ในขั้นตอนใดบ้าง ทุกขั้นตอนของกิจกรรม
8. เพราะเหตุใดการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาสื่อการศึกษานอกระบบ เพราะจำทำให้สื่อที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและใช้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนการของการใช้สื่อ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในการใช้สื่อนั้นคืออะไร ไม่สามารถใช้สื่อถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. ถ้าจะใช้ลำตัดเป็นสื่อการศึกษานอกระบบ ผู้แสดงควรได้รับการส่งเสริมให้มีคุณสมบัติอย่างไร ให้มีความเข้าใจในเนื้อหาความรู้ที่จะเผยแพร่และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม 

1. แนวทางหลักข้อหนึ่งในกาส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์คือ "ส่งเสริมให้ชาวบ้านเขียนข่าวเวียนกันเองอย่างต่อเนื่อง" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร ให้ชาวบ้านเขียนข่าวง่ายๆ กันเอง และกระทำอย่างต่อเนื่องทุกเดือนหรือทุกสัปดาห์
2. ข้อใดต่อไปนี้คือตัวอย่างของการที่ประชาชนนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปปรับใช้ ชาวบ้านอ่านพบเรื่องวิธีนำปุ๋ยคองจึงทดลองทำใช้เอง
3. แนวทางข้อหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้วิทยุกระจายเสียงด้วยตนเองคือ "หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงของชาวบ้าน" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร หน่วยงานอาจจัดกลุ่มสนทนาให้ชาวบ้านเล่าเรื่องที่รับฟังมาแลกเปลี่ยนกัน
4. ข้อใดคือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ หน่วยงานควรเลือกเวลาการออกอากาศให้เหมาะสมกับช่วงที่ชาวบ้านว่างจากการประกอบอาชีพ
5. แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อพื้นบ้านข้อหนึ่งคือ "การใช้สื่อชนิดอื่นช่วยเผยแพร่สื่อพื้นบ้าน" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร การจัดเทปการแสดงสื่อพื้นบ้านบางอย่างเช่น ลิเก ลำตัด แล้วนำมาออกอากาศทางหอกระจายข่าว
6. ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นนอกจากจะต้องพิจารณาถึงการที่ประชาชนได้ใช่ความพยายามบางอย่างส่วนตัวในกิจกรรมนั้นแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสิ่งใดของผู้เข้าร่วมอีกด้วย ความเต็มใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
7. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมีจุดเน้นที่สิ่งใด การให้อิสระในการตัดสินใจแก่ประชาชน โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการพึ่งพาตนตนเองของประชาชน
8. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบมีผลต่อสิ่งใดมากที่สุด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารโดยใช้สื่อนั้นๆ
9. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อพื้นบ้านเพื่อการศึกษานอกระบบมีผลที่สำคัญคือ ข่าวสารความรู้ได้รับการถ่ายทอดและศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด
10. ถ้าต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบ ควรยึดแนวทางใด เปิดโอกาสให้ประชาชนให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับรายการ และ ให้เข้าร่วมรายการและให้เข้าร่วมรายการและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดกรายการเมื่อมีโอกาส

<<< ย้อนกลับไปหน่วยที่ 6   อ่านต่อหน่วยที่ 8 >>>

25 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ ประเภทข่าวสารข้อมูล

6.1 สภาพของของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล
6.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
6.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและแหล่งความรู้
6.4 การใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ

6.1 สภาพของของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรม กศน ประเภทข่าวสารข้อมูล
กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล มีลักษณะที่เด่นชัดคือ เป็นกิจกรรมสำคัญที่มีการลงทุนสูง มีลักษณะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง (พลวัตร) ก่อให้เกิดพลังอำนาจแห่งการได้เปรีบ เสียเปรียบ ของผู้มีข่าวสารข้อมูล  สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการสะท้อนทัศนะและเจตนารมณ์ของผู้จัด สามารถใช้สื่อต่างๆเพื่อนำข่าวสารข้อมูล สามารถใช้สื่อต่างๆเพื่อนำเสนอข่าวสารข้อมูลได้ และสามารถนำมาใช้ได้หลายช่องทาง และสามารถใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมาก
ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมประเภทข่าวสารข้อมูลมีดังต่อไปนี้
1) เป็นกิจกรรมที่สำคัญ มีลักษณะแห่งการเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งเป็นธรรมชาติของข่าวสารข้อมูล
2) เป็นกิจกรรมที่แฝงด้วยพลังอำนาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบสำหรับผู้ที่มีข่าวสารข้อมูล
3) เป็นกิจกรรมที่ต้องลงทุนสูง มีราคาการผลิตและการใช้จ่ายแพง
4) สามารถสะท้อนทัศนะและเจตนาของผู้ผลิตได้อย่างดี
5) นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายๆประการ
6) สามารถใช้สื่อต่างๆ เพื่อส่งผ่านข้อมูลข่าวสารได้และใช้ได้หลายช่องทาง
7) สามารถใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้

2. หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรม กศน ประเภทข่าวสารข้อมูล
หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูล คือ ควรพยายามใช้สื่อประสมซึ่งมีการวางแผนในการผลิตและการใช้อย่างสอดคล้องกัน และตรงกับสภาพปัญหาของชุมชน พยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และจัดระบบให้สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ
1) สื่อที่ใช้ในกิจกรรม กศน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการใช้เพื่อ ให้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ให้ทราบกฎเกณฑ์ วิธีปฏิบัติและจูงใจจให้ประชาชนปฏิบัติในแนวทางที่ต้องการ
2) สื่อประสม มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้สื่อประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะสื่อแต่ละประเภทมีจุดอ่อนในตัวเอง การใช้สื่อผสมผสานกันหรือใช้สื่อหลายประเภท จึวเป็นการเสริมแรงซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สูงสุด
3) แหล่งนำเสนอสื่อ (Channel) ของการศึกษานอกระบบที่สำคัญคือ  สถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุุโทรทัศน์ ห้องสมุด แหล่งความรู้ และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน

6.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
แนวทางการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดนั้น สื่อหลักที่ใช้ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ หนังสือ เอกสาร วรสาร นิตยสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว หนังสือพิมพ์รายวัน และหนังสือพิมพ์ฝาผนัง 
สื่อดังกล่าวได้มาโดยการซื้อ ขอ บริจาค หรือผลิตขึ้นเองตามความต้องการ นอกจากนี้ควรจัดหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์มาไว้ด้วยซึ่งการเลือกสื่อต่างๆ ดังกล่าวคือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมที่จะนำมาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ

2. สภาพปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดมีหลายประการคือ ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการ ขาดแรงจูงใจ ขาดการส่งเสริม สนับสนุนให้มาใช้บริการ ไม่มีเวลา มีภาระหน้าที่อื่นๆ และมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องทำให้ไม่มาใช้บริการ ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนบรรณารักษ์ ปัญหาเรื่องสื่อไม่เพียงพอ ไม่ทันสมัย เก่า ชำรุด ปัญหาการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก อาคารสถานที่ไม่เหมาะสม และปัญหาเรื่องขาดความสนใจ ส่งเสริม สนับสนุน จากผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 
สภาพของการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
มีการใช้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศนูปกรณ์ โดยนำมาจัดบริการอย่างเป็นระบบ จัดสื่อเพื่อบริการกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น มีการจัดมุมเด็ก มุมวิชาชีพ มุมสันทนาการ มุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการจัดบริการสื่อทั้งภายในห้องสมุดและสร้างระบบเครือข่ายของการให้บริการนอกห้องสมุด มีกิจกรรมการให้บริการสื่อในรูปแบบต่างๆ มีการนำเอาเครื่องมือที่ทันสมัยมาให้ ในการเก็บข้อมูลของห้องสมุดและขณะเดียวกันก็มีการเก็บรวบรวมสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาไว้ในห้องสมุดด้วย 

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุด
กรณีตัวอย่างของการใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดนี้จะช่วยให้เห็นว่าการใช้สื่อได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรมของห้องสมุดนั้นสามารถปฏิบัติได้โดยให้มีการใช้สื่อต่างๆตามกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนให้ทันเหตุการณ์และดึงดูดความสนใจให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการของห้องสมุด
จากกรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดห้องสมุดประชาชนของภาคตะวันออกมีลักษณะเด่นของการใช้สื่ออย่างไร
1) มีการเลือกใช้สื่ออย่างหลากหลาย โดยมีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และโสตทัศนูปกรณ์
2) มีการวางแผนกำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการจากสื่อนั้น
3) สามารถมองเห็นแนวโน้มในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมสนองตอบต่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการ
4) มีการเลือกสื่อ ชนิดของสื่อ และกำหนดวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อวีดิทัศน์ในมุมเด็กนั้นท่านคิดว่ามีความเหมาะสมเพียงใด
การใช้วีดิทัศน์ในมุมเด็กนั้นนับได้ว่าเป็นการเลือกใช้สื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพราะวีดิทัศน์สามารถนำมาใช้ในมุมเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งม้วนวีดิทัศน์สำหรับเด็กก็มีการผลิตหรือเลือกหาได้ตามท้องตลาด เช่น นิทาน การ์ตูน ดนตรี เกมส์ และสารคดีสำหรับเด็ก สื่อเช่นนี้จะช่วยให้เด็กได้รับสาระ ความรู้ ความบันเทิง สามารถเลือกเกมให้สอดคล้องกับความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย

6.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและแหล่งความรู้

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านนั้น ควรใช้สื่ออย่างมีแผนล่วงหน้า ใช้สื่อที่มีอยู่ในท้องถิ่นและใช้ให้ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน สื่อในการจัดแหล่งความรู้โดยส่วนใหญ่นั้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ก็ควรพยายามให้มีสื่อโสตทัศนูปกรณ์ด้วย โดยควรมีการจัดสื่อเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่เพื่อใช้งานสะดวก และจัดให้ตรงกับรสนิยมของชาวบ้าน
1) สื่อในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมีอะไรบ้าง เรียงลำดับตามปริมาณ
หนังสือเล่ม วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์รายวัน โปสเตอร์ แผ่นพับ
2) แหล่งความรู้มีจุดประสงค์หลักอย่างไร
เพื่อให้เป็นกลไกในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวบ้าน
3) สื่อประเภทใดของแหล่งความรู้ในหมู่บ้าที่มีแรงจูงใจสูง
วิดิทัศน์ และ หนังสือพิมพ์รายวัน

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อการจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และแหล่งความรู้ส่วนใหญ่ขาดผู้ดูแลประจำ และอยู่ในที่ห่างไกล จากการนิเทศและติดตามผลงาน บางครั้งประชาชนสร้างขึ้นเพราะต้องการผลกระทบอย่างอื่นจากทางราชการ สื่อล้าสมัยไม่ต่อเนื่อง ขาดการหมุนเวียนของสื่อ และจำนวนผู้ใช้สื่อน้อยกว่าที่ทางการคาดหวัง
1) สื่อใดบ้างในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านที่ได้รับเฉพาะงบประมาณของรัฐบาล
ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน วารสาร และสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนและหน่วยงานของราชการอื่นๆ
2) ปัญหาที่เกิดจากระบบการจัดส่งของสื่อไปยังที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมีอะไรบ้าง
สิ่งพิมพ์สูญหาย ถึงไม่ตรงเวลา และขาดการติดตามผล
3) สื่อส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในแหล่งความรู้เป็นสื่อประเภทใด
สื่อสิ่งพิมพ์
4) เพราะเหตุใดการใช้สื่อประเภทโทรทัศน์และวีดิทัศน์ในแหล่งความรู้จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
แพงเกินไป แหล่งความรู้ไม่สามารถจัดหาเองได้ และขาดการผลิตเพื่อป้อนเนื้อหาที่ทันสมัย และตรงต่อความต้องการของชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและแหล่งความรู้นั้นมีลักษณะเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น ขาดระบบในการจัดเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ และสภาพปัญหาของชุมชน ขาดผู้มีความรู้ในการจัด เมื่อถึงจุดหนึ่งไม่มีผู้มาใช้สื่อ สื่อสูญหาย หรือไม่ทำทะเบียนการเก็บและหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ
1) สื่อที่ใช้มากในแหล่งความรู้และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านคือสื่อประเภทใด เพราะเหตุใด
สื่อสิ่งพิมพ์ เพราะราคาถูก ใช้ได้ง่าย ใช้ได้นาน ใช้ได้หลายครั้ง และส่วนใหญ่ได้จากการบริจาค
2) เพราะเหตุใดการใช้สื่อ วีดิทัศน์ในแหล่งความรู้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
เพราะราคาแพง และขาดระบบการผลิตม้วนเทปป้อนที่ต่อเนื่อง
3) อะไรเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้แหล่งความรู้และที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมีผู้ไปใช้บริการสื่อน้อย
สื่อเก่า ล้าสมัย และ ขาดสื่อที่ตอบสนองต่อสภาพและความต้องการของชาวบ้าน
4) การจัดสื่อสิ่งพิมพ์เป็นมุมต่างๆมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
มีข้อดี เพราะง่ายไม่เป็นทางการ เหมาะต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านและดูเป็นกันเอง

6.4 การใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ
การให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆนั้น ได้แก่ การจัดนิทรรศการ หน่วยเคลื่อนที่ พิพิธภัณฑ์ การจัดแสดง การจัดฝึกอบรม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หอกระจายข่าว
การเลือกใช้สื่อต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการให้ความรู้ข่าวสาร  กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ งบประมาณ ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการให้บริการและขีดจำกัดในเรื่องต่างๆ และไม่ว่าจะใช้สื่อชนิดใดควรมุ่งให้ตอบสนองความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายโดยเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนระบุความต้องการในการผลิต ดำเนินการอภิปราย ให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดำเนินการใช้สื่อได้มีโอกาสปรับปรุงให้การใช้สื่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อธิบายการเลือกใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารแก่ประชาชน ประเภท
1) หน่วยเคลื่อนที่ การใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสาร โดยหน่วยเคลื่อนที่นั้นใช้ในกรณีที่ต้องการบริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดาร หรือผู้ไม่สะดวกในการเดินทางมายังสถานบริการ หน่วยเคลื่อนที่นี้อาจดำเนินการโดยใช้รถยนตร์ รถบรรทุกเล็ก เรือยนตร์ บางประเทศใช้สัตว์ในการบรรทุกหรือลากจูง เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ของอินเดีย ประเทศไทยเรามีหีบหนังสือ ถุงหนังสือเคลื่อนที่หมุนเวียนไปตามหมู่บ้านของกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดหาสื่อควรศึกษาความต้องการของประชาชน ถ้าสามารถเจาะลึกลงไปถึงสภาพปัญหาของหมู่บ้าน แล้วจัดสื่อให้สอดคล้องเหมาะสมยิ่งเป็นการดี
2) การฝึกอบรม การใช้สื่อเพื่อการอบรมนั้นใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย การเลือกใช้สื่อต้องช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สื่ออบรมควรคำนึงถึงขีดจำกัดบางประการ สำหรับการฝึกอบรมชาวบ้านแล้ว การเลือกใช้สื่ออาจเป็นของจริงในหมู่บ้าน เป็นสื่อที่ชาวบ้านคุ้นเคยเช่น การฝึกอบรมการทำอาหารควรใช้สื่อที่เป็นวัตถุดิบในหมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านนำไปใช้ภายหลังการอบรมได้ การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อนั้นมีความเป็นไปได้ และช่วยให้ชาวบ้านสนใจและกระตือรือร้นที่จะรับความรู้ข่าวสารจากสื่อนั้นๆ

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ
สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ นั้น มีดังต่อไปนี้คือ คุณภาพของสื่อไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน เนื้อหาล้าสมัย เคลือบแฝงการโฆษณาชวนเชื่อ การใช้สื่อขาดความต่อเนื่อง ไม่สมบูรณ์ การนำเสนอสื่อแต่ละประเภทก็โดดเดี่ยว ไม่สัมพันธ์กัน หรือ เกิดความซับซ้อน ไม่ตรงตามความต้องการหรือความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
1.) จงระบุสภาพของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ 
สภาพของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆนั้นได้แก่ คุณภาพของสื่อไม่ตรงตามความต้องการ และความสนใจของประชาชน สื่อมีความล้าสมัย มีการโฆษณาชวนเชื่อ มากกว่าจะให้ประชาชนได้คิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง ใช้สื่อโดยขาดความต่อเนื่อง การนำเสนอสื่อเป็นไปอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีการวางแผนให้เกิดความสัมพันธ์กัน และทำให้เกิดความซับซ้อน สิ้นเปลือง
2.) ปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ มีอะไรบ้าง
ปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ มีดังต่อไปนี้ คือ ผู้ผลิตสื่อขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายขาดแรงจูงใจที่จะมาใช้สื่อ ขาดความเป็นไปได้ในการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารเพราะข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และอื่นๆ ปัญหาเรื่องข้อจำกัดอันเกิดจากประเภทของการผลิตสื่อและการนำเสนอ และปัญหาเรื่องการขาดกิจกรรมต่อเนื่อง
3.) จงเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ
แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ การเพิ่มขีดความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ของผู้ผลิตสื่อโดยการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การทำโครงการทดลองเกี่ยวกับการผลิต และการใช้สื่อ การให้การสนับสนุนด้านนโยบาย และงบประมาณในการผลิตสื่อ การวางแผนผลิตสื่อต่างๆให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ควรมีการทดสอบสื่อก่อนนำไปใช้จริงและติดตามผลการใช้สื่อ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ข่าวสารแบบอื่นๆ
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการให้ความรู้และข่าวสารแสดงให้เห็นถึงการใช้สื่อสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ตามจุดประสงค์ของโครงการ ช่วยให้เห็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อบริการความรู้ข่าวสารแก่ประชาชน
1) จงอธิบายถึงความเหมาะสมของการใช้วิดิทัศน์เพื่อปลุกจิตสำนึก
การใช้วิดิทัศน์เพื่อปลุกจิตสำนึก นับว่าเป็นการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม เพราะวิดิทัศน์สามารถบันทึกภาพได้ครบถ้วนตรงกับความเป็นจริง โดยไม่ต้องมีการเสริมเติมแต่ง วิดิทัศน์ช่วยสะท้อนภาพความเป็นอยู่ ผู้เข้าอบรมสามารถมองเห็นภาพได้ตรงกัน พร้อมกัน การใช้วิดิทัศน์ในกรณีตัวอย่างจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่ช่วยให้ภาพที่ชัดเจน ชาวบ้านสามารถร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาอันอาจเกิดจากสภาพความเป็นอยู่นั้น และเมื่อนำวิดิทัศน์การพัฒนาของหมู่บ้านอื่นมาฉายเปรียบเทียบ ยิ่งกระตุ้นให้ชาวบ้านมองเห็นความแตกต่างได้ด้วยตนเอง จึงนับเป็นสื่อที่ปลุกจิตสำนึกได้เป็นอย่างดี
2) จากกรณีตัวอย่างห้องสมุดอูฐเคลื่อนที่ของอินเดียนั้นท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
ถือได้ว่าเป็นการให้บริการความรู้ข่าวสารที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น เพราะเหตุว่าอูฐเป็นสัตว์ที่ผู้คนแถบนั้นคุ้นเคย เป็นสัตว์พาหนะของอินเดีย มีความอดทน หากนำมาใช้ในการศึกษาก็เสียค่าใช้จ่ายน้อย รูปแบบการให้บริการก็เรียบง่ายเหมาะกับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การให้บริการในรูปแบบของอูฐเคลื่อนที่นี้ต้องเป็นระบบ เช่นนานสักกี่วันอูฐตัวนั้นจึงจะเวียนนำหนังสือมาให้ชาวบ้านอ่าน และแต่ละครั้งชาวบ้านขอยืมได้จำนวนละกี่เล่ม นอกจากนี้คุณภาพของหนังสือบนหลังอูฐก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

แบบประเมิณ
1. เพราะเหตุใดสื่อประเภทบันเทิงในห้องสมุดประชาชนจึงมีน้อยกว่าสื่อประเภทวิชาการ ติดขัดด้วยข้อกำหนดทางงบประมาณ
2. กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูลก่อให้เกิดผลข้อใดมากที่สุดต่อผู้ใช้บริการ ความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงแข่งขัน
3. ข้อใดเป็นผลพลอยได้จากการทำหนังสือพิมพ์ฝาผนังของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ช่วยป้องกันการลืมหนังสือของประชาชน
4. การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดห้องสมุดนั้น ควรคำนึงถึงหลักข้อใดมากที่สุด เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
5. การจัดสื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่มาใช้บริการนั้นห้องสมุดควรทำอย่างไร จัดมุมต่างๆในห้องสมุด
6.  "แหล่งความรู้" แตกต่างจากที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านอย่างไร เป็นสัดส่วนถาวรและมีสื่อหลายประเภท
7. ข้อใดเป็นปัญหาและอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อจัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สื่อมีน้อยและล้าสมัย
8. ข้อใดเป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของการให้บริการความรู้ข่าวสารโดยหน่วยเคลื่อนที่ ขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร
9. การนำการแสดงพื้นบ้านมาใช้เพื่อถ่ายทอดสาระความรู้แก่ประชาชนควรทำอย่างไร ถ่ายทอดสาระความรู้แก่ศิลปิน
10. หอกระจายข่าวสารข้อมูลของหมู่บ้านสามารถใช้ได้เหมาะสมมากที่สุดในข้อใด ประกาศแจ้งข่าวสารที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

1. ข้อกำหนดงบประมาณว่าด้วยการจัดสื่อให้แก่ห้องสมุดประชาชนมีผลต่อปริมาณของสื่ออย่างไร สื่อด้านบันเทิง
2. เพราะเหตุใดกรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือพิมพ์ฝาผนัง เพื่อป้องกันการลืมหนังสือ
3. กิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนประเภทข่าวสารข้อมูลมุ่งแก้ปัญหาข้อใดมากที่สุดให้แก่ประชาชน การใช้ข่าวสารข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
4. การเลือกใช้สื่อเพื่อจัดบริการในห้องสมุด ควรคำนึงถึงสื่อใดมากที่สุด เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการ
5. การจัดมุมต่างๆในห้องสมุดให้ประโยชน์ในเรื่องใดมากที่สุด ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
6. ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านแตกต่างจาก "แหล่งความรู้" อย่างไร ประเภทและปริมาณของสื่อ
7. "สื่อมีน้อยและค่อนข้างล้าสมัย" เป็นปัญหาและอุปสรรคของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทข่าวสารข้อมูลแบบใด ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
8. การใช้หน่วยเคลื่อนที่เพื่อบริการความรู้ข่าวสารแก่ประชาชนนั้น ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคืออะไร การขาดแคลนงบประมาณและบุคคลากร
9. การนำศิลปินพื้นบ้าน มาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาควรปฏิบัติอย่างไร ถ่ายทอดเนื้อหาสาระความรู้แก่ศิลปิน
10. การแจ้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวในหมู่บ้านให้ได้อย่างรวดเร็วควรใช้สื่อประเภทใดมากที่สุด หอกระจายข่าว

<<< กลับไป หน่วยที่ 5   อ่านต่อหน่วยที่ 7 >>>

24 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 5

หน่วยที่ 5 การใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ

5.1 ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ
5.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ
5.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกีีมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว

5.1 ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ
การศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพเป็นกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทหนึ่งทีีมุ่งให้ความรู้ทางด้านทักษะการประกอบอาชีพสาขาต่างๆ แก่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้อยู่นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพื้นฐานความรู้ทางวิชาชีพที่จะไปปรับปรุงอาชีพเดิมหรือสร้างอาชีพใหม่เพื่อเพิ่มพูนรายได้และปรับสภาพความเป็นอยู่ กิจกรรมประเภทนี้จัดในหลายลักษณะ ลักษณะที่สำคัญคือการจัดอบรมในลักษณะของกลุ่มสนใจ และการอบรมระยะสั้นและระยะยาว
ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทอาชีพมีดังนี้คือ
1) ด้านวัตถุประสงค์ จัดบริการฝึกอบรมทางด้านอาชีพ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านทักษะอาชีพต่างๆตามความสนใจ ความถนัด เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงอาชีพเดิมของตนหรือสร้างอาชีพใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของตนและครอบครัวต่อไป
2) ด้านหลักสูตร หลักสูตรที่เปิดสอนมีความหลากหลายมากเพื่อให้ผู้สนใจได้เรียนตรงกับควสใชอบ ความต้องการ เพื่อยึดเป็นอาชีพต่อไป หลักสูตรจะมีความยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ของท้องถิ่น เบ็ดเสร็จในตัวเอง ผู้เรียนสามารถเรียนจบได้ในระยะเวลาสั้นๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที
3) ด้านประเภทของการฝึกอบรม อาจจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
- การฝึกอบรมอาชีพในลักษณะของกลุ่มสนใจ
- การฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นและระยะยาว

2. หลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรม กศน ประเภททักษะอาชีพ
หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพนั้นนับเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดกิจกรรมจะใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อ ซึ่งในหลักการดังกล่าวมีปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้สื่ออยู่หลายประเภทได้แก่ รายละเอียดเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อจำกัดของสื่อแต่ละชนิด  สภาพพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย  ประเภทของกิจกรรม  ระยะทางระหว่างผู้จัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย  งบประมาณ  บุคคลากรของหน่วยงานผู้จัด  และสภาพทั่วๆไปของชุมชนของกลุ่มเป้าหมาย
หลักที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพได้แก่
1) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสื่อแต่ละชนิด
2) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรม
3) ศึกษาเนื้อหาของกิจกรรม
4) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย
5) สำรวจจำนวนของกลุ่มเป้าหมาย

5.2 การใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ
1. หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ
การใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจนั้น ควรคำนึงถึงหลักทั่วไปในการใช้สื่อและหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับวิธีการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจนั้นจะมีระบบของการเริ่มตั้งแต่ การกำหนดวัตถุประสงค์ ไปจะถึงวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ
กลุ่มสนใจ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจที่จะศึกษาและจัดกิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องความรู้ทั่วไปและความรู้ด้านวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น และมีชีวิติยู่อย่างมีความหมาย
หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจ ควร ยึดหลักทั่วไปในการใช้สื่อประกอบ กับ หลักจิตวิยาการเรียนรู้
หลักทั่วไปในการเลือกใช้สื่อ - ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับกิจกรรม ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ควรเป็นสื่อที่ช่วยเสริมความคิด คำนึงถึงระยะเวลา สถานที่ และบรรยากาศ เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากๆ ควรเป็นสื่อที่เป็นเครื่องมือสำเร็จรูป
หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้เรียน - ผู้ใหญ่จะเรียนเมื่อเขาต้องการที่จะเรียน  ผู้ใหญ่จะเรียนเฉพาะสิ่งที่เขามีความรู้สึกว่ามีความจำเป็นจะต้องเรียน  ผู้ใหญ่เรียนรู้โดยการกระทำ ประสปการณ์มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเรียนได้ดีเมื่อบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นกันเอง การสอนผู้ใหญ่ควรใช้วิธีการหลายๆวิธี ผู้ใหญ่ต้องการการแนะแนวไม่ใช่คะแนน

2. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจนั้นครอบคลุมตั้งแต่ปัญหาในการผลิตสื่อ ข้อจำกัดของสื่อ ปัญหาการขนย้ายสื่อไปจนถึงทักษะในการใช้สื่อของผู้จัดกิจกรรม
1) ปัญหาในการผลิตสื่อ ส่วนใหญ่แล้วผู้สอนไม่ได้ผลิตสื่อเอง ดังนั้นจึงใช้วิธีการแสวงหาสื่อที่คิดว่าใกล้เคียงกับเนื้อหามากที่สุดมาจากหลายๆแหล่ง จึงอาจจะทำให้สื่อการสอนไม่มีคุณภาพเต็มที่
2) ข้อจำกัดของสื่อแต่ละประเภท เป็นการยากที่สื่อประเภทใดประเภทหนึ่งจะมีคุณสมบัติครบถ้วน ในทางปฏิบัติจริงจำเป็นต้องใช้สื่อหลายๆชนิดประกอบกัน
3) ปัญหาเกี่ยวกับการขนย้ายสื่อ การเคลื่อนย้ายสื่อบางชนิดไปปฏิบัติงานตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลไม่อาจกระทำได้ง่ายๆ ผู้สอนจึงแก้ปัญหาโดยใช้สื่อที่มีอยู่ใกล้มือเท่าที่พอจะหาได้ ทำให้ไม่เกิดผลเต็มที่ตามที่ต้องการ

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจ
การใช้สื่อในการจัดกลุ่มสนใจไม่ส่าจะจัดโดยหน่วยงานใดส่วนใหญ่จะมีการใช้สื่อในลักษณะของสื่อประสมหลายๆชนิดด้วยกันซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาของกิจกรรม กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นการประมวลเอาแนวทางการจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจของหน่วยงานต่างๆมาสร้างเป็นกรณีตัวอย่างขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเห็นว่าลักษณะการจัดกลุ่มสนใจโดยทั่วๆไปเป็นอย่างไร
ตัวอย่างสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจ
- สื่อสิ่งพิมพ์
- แผ่นใส
- วีดิทัศน์
- สื่อบุคคล
- วัสดุปุปกรณ์ของจริง

5.3 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกีีมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว

1. หลักการใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว
การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมทักษะอาชีพ อาจยึดหลักการของการใช้สื่อทั่วๆไป ประกอบกับหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อการฝึกวิชาชีพโดยเฉพาะ หลักการสำคัญนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การคำนึงถึงความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียนไปจนถึงการประเมินผลการใช้สื่อ
การใช้สื่อเพื่อการฝึกทักษะวิชาชีพมีหลักการสำคัญที่ควรจะพิจารณาในเรื่องใดบ้าง
การใช้สื่อเพื่อการฝึกทักษะอาชีพ ควรพิจารณาในประเด็นต่างๆเช่น กลุ่มผู้เรียน เวลา ผู้สอน วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สถานที่ ข้อดี ข้อจำกัดของสื่อ การเตรียมสื่อ กิจกรรมประกอบการใช้สื่อ และการประเมินผล

2. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว
ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาวนั้นมีอยู่มากมาย แต่ปัญหาหลักๆนั้นครอบคลุมตั้งแต่การใช้สื่อได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสภาพอาคารสถานที่ ไปจนถึงการใช้สื่อผิดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปัญหาอุปสรรคที่พบในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพระยะสั้นระยะยาวได้แก่
1) สื่อใช้ได้ไม่เต็มที่เนื่องจากสภาพอาคารสถานที่
2) สื่อขาดความเหมาะสมในตัวเอง
3) การนำสื่อไปใช้ไม่ถูกหลักเกณฑ์
4) การใช้สื่อผิดเวลาและโอกาส
5) การใช้สื่อไม่เหมาะกับเทคนิคการสอนหรือการอบรม
6) การใช้สื่อผิดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาว
กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นกิจกรรมการฝึกทักษะอาชีพระยะสั้นของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนแห่งหนึ่ง จากการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมมีการใช้สื่อในขั้นตอนใดบ้างและแต่ละขั้นตอน ใช้สื่ออะไร เป็นสื่อชนิดเดียวหรือสื่อประสม

แบบประเมิน
1. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ วิชาที่เปิดสอนจะยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ท้องถิ่น
2. หลักการสำคัญประการหนึ่งในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะวิชาชีพคือ "ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสื่อแต่ละชนิด" หลักการข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ผู้ใช้จะต้องศึกษาว่าสื่อชนิดนั้นๆใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
3. หลักทั่วไปในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจคือ "ควรเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากๆ" ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร เป็นสื่อที่ผู้เรียนได้ร่วมใช้ระหว่างที่เข้าร่วมกิจกรรม
4. ในการเลือกใช้สื่อเพื่อกิจกรรมกลุ่มสนใจนั้นนอกจากจะคำนึงถึงหลักทั่วๆไปแล้ว ผุ้จัดยังต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาชองกลุ่มเป้าหมายด้วย หลักจิตวิทยาข้อหนึ่งกล่าวว่า "ประสบการณ์มีผลต่อการเรียนของผู้ใหญ่คือข้อใด" นาย ก เข้ารับการฝึกขับรถยนต์ นาย ก เคยขับรถไถได้อยู่แล้วจึงทำให้ขับรถยนต์เป็นไวขึ้น
5. เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจ ปัญหาข้อหนึ่งคือ "ปัญหาข้อจำกัดของสื่อแต่ละประเภท" ปัญหาข้อนี้หมายความว่าอย่างไร สื่อชนิดต่างๆ จะมีจุดเด่นจุดอ่อนต่างกัน ผู้ใช้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
6. สมมุติว่าท่านเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ไปจัดกลุ่มสนใจเรื่องการติดตา ต่อกิ่ง แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในขั้นตอนของการดำเนินการบรรยายก่อนฝึกปฏิบัติจริงนั้น สื่อที่ท่านจะใช้ควรมีลักษณะเช่นไร ควรเป็นสื่อที่แสดงรายละเอียดทุกขั้นตอนของเนื้อหา
7. หลักสำคัญในการใช้สื่อเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพข้อหนึ่งที่กล่าวว่า "ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียน" หมายความว่าอย่างไร ผู้ใช้สื่อจะต้องพิจารณาดูว่ากลุ่มผู้เรียนมีขนาดเท่าไร
8. หลักสำคัญในการใช้สื่อเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพทั้งระยะสั้นและระยะยาวข้อหนึ่งกล่าวว่า "ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้สอน" หมายความว่าอย่างไร ผู้สอนมีทักษะในการใช้สื่อนั้นเพียงไร
9. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาวข้อหนึ่งคือ "สื่อใช้ได้ไม่เต็มที่ หรือใช้สื่อได้ไม่เต็มที่" นั้นหมายความว่าอย่างไร สถานที่ที่นำสื่อไปใช้ไม่มีความพร้อมพอเพียงที่จะใช้สื่อนั้นๆเช่น ไม่มีจอภาพ
10. ในการจัดอบรมวิชาชีพระยะสั้นเรื่องการทอผ้าในหมู่บ้าหนึ่ง ท่านคิดว่าในขั้นประชาสัมพันธ์ควรจะใช้สื่ออะไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด แจกใบปลิว

1. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภททักษะอาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนนำไปปฏิบัติจริงได้ทันทีไม่เน้นภาคทฤษฎีมาก
2. หลักการข้อหนึ่งในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดการศึกษานอกระบบคือ "การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย" หลักการข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ผู้จัดจะต้องศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมายมีพื้นฐานความรู้อย่างไร
3. หลักทั่วไปในการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกลุ่มสนใจคือ "ควรเป็นสื่อที่ช่วยเสริมความคิด" ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร เป็นสื่อที่ให้ข้อมูลในหลายๆทาง หลายๆแนว
4. ในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมกลุ่มสนใจนั้น นอกจากจะคำนึงถึงหลักทั่วๆไปแล้ว ผู้จัดยังต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายด้วย ที่ว่า "ผู้ใหญ่จะเรียนเฉพาะสิ่งที่เขามีความรู้สึกว่าจำเป็นจะต้องเรียน" นาย ค มีอาชีพทอผ้า ต่อมามีหน่วยงานมาจัดอบรมเรื่องการทอผ้าในหมู่บ้าน นาย ค อยากรู้วิธีทอผ้าแบบใหม่ๆจึงเข้ารับการอบรม
5. เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกลุ่มสนใจ ปัญหาข้อหนึ่งคือ "ปัญหาการผลิต" ผู้สอนไม่ได้ผลิตสื่อเอง บางครั้งสื่อที่ใช้จึงไม่เหมาะสมกับเนื้อหา
6. สมมติว่าท่านเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานแห่งหนึ่งและจัดกลุ่มสนใจเรื่องการทำปุ๋ยคอกให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในขั้นนำเข้าสู่การอบรมจริงนั้นสื่อที่ท่านจะใช้ควรมีลักษณะอย่างไร ควรเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ
7. หลักสำคัญในการเลือกใช้สื่อเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพข้อหนึ่งกล่าวว่า "จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับเวลา" หมายความว่า ผู้จัดต้องพิจารณาว่าระยะเวลาของกิจกรรมที่จะใช้สื่อประกอบนั้นมีแค่ไหน
8. หลักสำคัญในการเลือกใช้สื่อเพื่อการฝึกทักษะวิชาชีพไม่ว่าระยะสั้นหรือระยะยาวข้อหนึ่งกล่าวว่า "ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับสถานที่" หมายความว่าอย่างไร สถานที่มีอุปกรณ์พร้อมที่จะใช้สื่อแต่ละชนิดได้หรือไม่
9. ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมฝึกวิชาชีพระยะสั้นและระยะยาวข้อหนึ่งคือ "การนำสื่อไปใช้ไม่ถูกหลักเกณฑ์" หมายความว่าอย่างไร  ผู้จัดใช้สื่อมากเกินไป  ผู้จัดใช้สื่อน้อยเกินไป  ผู้จัดเลือกใช้สื่อที่ไม่สามารถสรุปประเด็นสำคัญแก่กลุ่มเป้าหมายได้
10. ในการจัดอบรมวิชาชีพระยะยาวเรื่องการตัดเย็บเสื้อผ้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ท่านคิดว่าในขั้นการติดตามประเมินผล ควรใช้สื่ออะไรนอกจากสื่อบุคคล ใช้เอกสารสิ่งพิมพ์

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 4  อ่านต่อหน่วยที่ 6 >>>

22 ก.พ. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่4

หน่วยที่ 4 การใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมนอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน

4.1 สภาพของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
4.2 การใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
4.3 การใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง

4.1 สภาพของกิจกรรมและหลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน

1. ลักษณะเฉพาะของกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน 
กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการศึกษาพื้นฐานและต่อเนื่องที่จัดให้กับผู้ที่พลาดและไม่มีโอกาสศึกษาในระบบโรงเรียน ตั้งแต่ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
การศึกษาทุกระดับเมื่อผู้เรียนศึกษาได้ครบตามรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว ก็สามารถมาเทียบเท่ามีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกับการศึกษาในระบบทุกประการ
1) ลักษณะของการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
การศึกษาประเภทความรู้พื้นฐาน เป็นการศึกษาที่มุ่งให้บุคคลโดยทั่วไปอ่านออกเขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ตลอดจนมีความรู้ ความสามารถในการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การได้รับความรู้พื้นฐานของแต่ละบุคคลมีต่างระดับการศึกษาด้วยเช่น ระดับอ่านออกเขียนได้ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ ตอนปลาย รวมทั้งกาศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษาที่สูงขึ้นไปอีกด้วย
2) ตัวอย่างกิจกรรมประเภทอ่านออกเขียนได้
ได้แก่ โครงการการสอนอ่านเขียน โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน และส่วนที่จัดให้กลุ่มเป้าหมายต่างวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป
3) กิจกรรมประเภทการศึกษาสามัญและต่อเนื่อง 
ได้แก่ การเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และการศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษา ที่ใช้สื่อทางไกลมาช่วยจัดการเรียนการสอน

2. หลักการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน
การเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานในแต่ละลักษณะของกิจกรรมต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรมการเรียนรู้ และความมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมลักษณะนั้น
1) หลักการการเลือกใช้สื่อเพื่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานที่สำคัญๆ
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
3. ความมุงหมายของการจัดโครงการประเภทนั้นๆ
2) การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้มีขั้นตอนที่จำเป็นอะไรบ้าง
1. การวางแผนการใช้สื่อ
2. การกระจายสื่อ
3. การเลือกชนิดของสื่อ
4. การกำกับและติดตามผลการใช้เพื่อนำมาปรับปรุงการใช้ในครั้งต่อๆไป
3) ปัจจัยที่สำคัญๆ ในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่องมีอะไรบ้าง
ต้องคำนึงถึง กลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน เนื้อหาวิชา การเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการใช้ตลอดจนความคุ้มค่าในการลงทุนที่จะเลือกใช้สื่อประเภทต่างๆด้วย

4.2 การใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
การเลือกใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ สามารถนำสื่อมาใช้ได้ทั้งในลักษณะการเรียนการสอนและการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ โน้มน้าวให้ผู้เรียนอยากเรียน และช่วยส่งเสริมการฝึกทักษะการอ่านเขียนให้ต่อเนื่องกันไปเพื่อป้องกันการลืมหนังสืออีกด้วย การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนเพื่อทักษะ การอ่านเขียนและคิดเลข จะใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน อย่างไรก็ตามสื่อที่ใช้จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
จงอธิบายแนวทางการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ตามสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
แนวทางการเลือกใช้สื่อในการจัดกิจกรรมอ่านออกเขียนได้ต้องคำนึงถึง
1) ความต้องการและความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
2) วิธีการและข้อจำกัดของการใช้สื่อแต่ละประเภท
3) ความสำคัญและประโยชน์ของสื่อที่เลือกใช้
ในทุกกลุ่มเป้าหมายการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ส่วนใหญ่ในการเรียนการสอนจะใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน แบบฝึกหัด และแผ่นเรียน เพื่อช่วยในการอภิปราย โดยยกปัญหามาจากสภาพจริงในสังคมของผู้เรียน การใช้คู่มือเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับ ภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียนเป็นสำคัญ สิ่งที่ใช้กันอยู่เป็นแผ่นเรียนโดยใช้ภาษา และเนื้อหาที่ได้มาจากสภาพของชุมชนที่เขาดำรงชีวิตอยู่
นอกจากนี้ ต้องใช้สื่อโสตทัศน์ เช่น ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ และไสลด์ ในการโน้มน้าว กระตุ้น และจูงใจให้ผู้เรียนตื่นตัวอยากรู้ อยากเรียนอยู่เสมอ รายการวิทยุและโทรทัศน์ สื่อพื้นบ้าน จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ ให้มีการสมัครเรียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งช่วยในการแสวงหาบุคคลที่เป็นอาสาสมัครมาช่วยสอนเป็นอย่างดี
 สำหรับการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมต่อเนื่องต้องพิจารณาถึงรูปแบบ และเนื้อหา ที่ใช้ส่วนมากจะเป็นหนังสืออ่านประกอบที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ และความเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่

2. สภาพและปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
สภาพการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ใช้กันมาตั้งแต่เดิมและยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การเรียนการสอนแบบตัวต่อตัว มีผู้เรียนและอาสาสมัครสอนที่สามารถเรียนกันได้สะดวกทุกเวลา และสื่อสารเข้าใจกันได้ง่ายและรวดเร็ว สื่อที่ใช้มีทั้งส่วนที่เป็นแบบเรียนและสื่อที่สามารถหยิบหาได้ในครอบครัว ส่วนปัญหาอุปสรรคของการใช้สื่อมักอยู่ที่ความสนใจและทักษะการอ่านเขียนของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่
จงบอกถึงสภาพและปัญหาอุปสรรคการใช้สื่อการอ่านออกเขียนได้ว่ามีอะไรบ้าง
1) เนื้อหาในแบบเรียนไม่เป็นที่สนใจและต้องการของผู้เรียน
2) ผู้สอนหรืออาสาสมัครขาดเทคนิคในการเรียนการสอน
3) การใช้สื่อจะใช้แต่เพียงสื่อที่เป็นการอ่านเพียงด้านเดียว
4) ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเร็วเกินไป
5) ผู้เรียนที่มีอายุมากมักประสบปัญหาด้านสายตา การอ่านเขียน
6) ไม่มีเอกสารประกอบการอ่านเขียน ที่เพียงพอในท้องถิ่นที่ห่างไกล

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้
กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการอ่านออกเขียนได้ เป็นข้อมูลแสดงถึงความมุ่งหมายของการเรียนการสอน วิธีการเรียนรู้ การใช้สื่อช่วยการเรียน และลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย การศึกษากรณีตัวอย่างจะช่วยให้ได้ทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงเพื่อให้มองเห็นช่องทางการเลือกใช้สื่อเพื่อช่วยให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้อ่านออกเขียนได้มากยิ่งขึ้น

4.3 การใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง

1. การเลือกใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง
การเลือกใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง สามารถนำสื่อทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และชุดฝึกอบรม มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเลือกใช้สื่อต้องคำนึงถึงวิธีการเรียนและหลักการจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิธีการเรียนการสอนซึ่งมีทั้ง การเรียนแบบชั้นเรียน การเรียนแบบทางไกล และการเรียนด้วยตนเองโดยใช้สื่อ
จงอธิบายการเลือกใช้สื่เพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่องตามวิธีการเรียน
1) วิธีเรียนแบบชั้นเรียน การใช้สื่อจะคล้ายกับการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน สื่อที่ใช้เช่น แบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน คู่มือแบบฝึกรายวิชา สื่อที่ใช้ช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นได้แก่ สไลดฺ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ เทปเสียง และ คอมพิวเตอร์เป็นต้น การเรียนการสอนจะใช้สื่อชนิดใดขึ้นอยู่กับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) วิธีเรียนแบบทางไกล จะใช้สื่อประสม เช่น คู่มือเรียน หรือชุดการเรียน รายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ การเรียนการสอนแบบทางไกลจะมีผลดีต่อเมื่อมีการพบกลุ่มผู้เรียน  โดยมีครูประจำกลุ่มคอยให้คำปรึกษาแนะนำ นอกจากนี้ผู้เรียนจะต้องมีสื่อเอกสารสอนเสริมการออกอากาศเพื่อศึกษาประกอบการเรียนการสอนแบบทางไกลด้วย
3) วิธีเรียนด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่ใช้สื่อเอกสาร ได้แก่คู่มือการเรียนการสอน แบบเรียน คู่มือแบบฝึกหัด โดยผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองทั้งหมด สื่อที่ใช้ทั้งหมดเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่สอดคล้องกับวิชาที่ลงทะเบียนเรียน

2. สภาพแลปัญหาอุปสรรคการใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง
สภาพการใช้สื่อการศึกษาสายสามัญทั้ง 3 วิธีการเรียน ส่วนใหญ่จะใช้สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ ที่เป็นแบบเรียน คู่มือการเรียนการสอน แบบฝึกหัด เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียนการสอน เทปวิทยุ วีดิทัศน์ และ แผ่นโปร่งใส
สำหรับการศึกษาทางไกลจะใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และสื่อประสมหลายๆอย่าง
ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อที่พบเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่ คุณภาพของตัวสื่อ ความไม่พร้อมของผู้เรียน การใช้สื่อไม่ตรงคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการและความสนใจ และเทคนิคการใช้สื่อประเภทต่างๆไม่ถูกวิธี
สภาพปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกลในการจัดการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง สามารถพิจารณาจากสื่อที่ใช้ได้ดังนี้
1) คู่มือเรียน ตารางออกอากาศ ไม่ถึงมือผู้เรียนเมื่อมีการเรียนการสอน
2) ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีเงินซื้อหาหนังสือ และคู่มือเรียนเนื่องจากยากจน
3) การฟังรายการทั้งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รับฟังและชมได้ไม่ชัดเจน ไม่มีเวลาฟัง ไม่มีเครื่องรับที่ดี เวลาการจัดรายการไม่เหมาะสม และเนื้อหายังไม่น่าสนใจ
4) การพบกลุ่ม ปฏิบัติได้ไม่สะดวก ระยะทางไกล และไม่มีเวลาว่าง นอกจากนั้นการพบกลุ่มมุ่งเน้นแต่การสรุปและติวข้อทดสอบเป็นส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน

3. กรณีตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลแสดงให้เห็นถึงลักษณะและความมุ่งหมายของกิจกรรม วิธีการใช้สื่อประเภทต่างๆที่สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการของกิจกรรมนั้น
ข้อมูลในกรณีตัวอย่างของแต่ละกิจกรรมหรือการใช้สื่อในลักษณะต่างๆช่วยให้เห็นแนวทางและการพัฒนารูปแบบและการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆในโอกาสต่อไป

แบบประเมิน
1. กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐานหมายถึง การศึกษาตั้งแต่อ่านออกเขียนได้จนถึงอุดมศึกษา
2. ข้อใด "ไม่เกี่ยวข้อง" กับกิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ การศึกษาสายสามัญและต่อเนื่อง (ข้อที่เกี่ยวข้องคือ การศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ การศึกษาขั้นมูลฐาน การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ)
3. ปัจจัยในข้อใดที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมประเภทความรู้พื้นฐาน วัตถุประสงค์
4. บุคคลในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อด้วยตนเองมากที่สุด ครูและวิทยากร
5. สื่อในข้อใดที่ใช้ในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอ่านออกเขียนได้น้อยที่สุด แผ่นพับ (ข้อที่โน้มน้าวมากคือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โปสเตอร์)
6. ทักษะในข้อใดเป็นการใช้สื่อเพื่อจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการรู้หนังสือมากที่สุด การอ่านเขียน
7. สื่อพื้นบ้านที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้พื้นฐานในลักษณะใด โน้มน้าวและประชาสัมพันธ์
8. สื่อในข้อใดที่ทันสมัยที่สุดในการนำมาใช้เพื่อจัดกิจกรรมสายสามัญและสายต่อเนื่อง วีดิทัศน์
9. อุปสรรคที่สำคัญข้อใดที่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการจัดกิจกรรมอ่านออกเขียนได้ การกระจายสื่อให้ถึงผู้เรียน
10. สื่อที่จัดว่า "ง่ายที่สุดในการใช้ส่งเสริมการอ่านเขียนได้แก่" ป้ายประกาศ

1. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่กิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทความรู้พื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
2. การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จมีลักษณะตรงกับข้อใด การศึกษาเพื่อการอ่านออกเขียนได้
3. ข้อใด "ไม่ใช่" ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้สื่อในการจัดกิจกรรมประเภทความรู้พื้นฐาน สภาพแวดล้อมและชุมชน
4. ผู้ตัดสินใจในการเลือกใช้สื่อที่สำคัญที่สุดได้แก่ข้อใด ผู้สอนหรือผู้ให้บริการ
5. สื่อในข้อใดที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด วิทยุโทรทัศน์
6. สื่อประเภทใดที่ใช้ในกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องจากการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด แผ่นเรียนและหนังสืออ่านประกอบ
7. สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมประเภทการให้ความรู้พื้นฐานน้อยที่สุดได้แก่ข้อใด สื่อพื้นบ้าน
8. สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนกิจกรรมสายสามัญและต่อเนื่องมากที่สุดได้แก่ข้อใด สื่อโสตทัศน์
9. ปัญหาในข้อใดพบมากที่สุดในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้ไม่รู้หนังสือ สุขภาพและสายตา
10. การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองควรใช้สื่อลักษณะใด สื่อประสม

<<< ย้อนไปหน่วยที่ 3   อ่านต่อหน่วยที่ 5 >>>

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน