20 ก.ย. 2555

20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่1

หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

ตอนที่ 1 แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา จำแนกได้ 2 แนวคิดคือ
1.) แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ - การนำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมมาใช้ ในรูปของวัสดุและอุปกรณ์
2.)แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ - เน้นวิธีการ

1.2 พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
1.) โซฟิสต์ - บรรยายและเสวนา
2.) โซเครติส - สอนแบบถามนำให้ผู้เรียนตอบตามชุดคำถาม
3.) ปิแอร์ อาลิบาร์ด - หนังสือ"ใช่-ไม่ใช่"
4.) โจฮาน โคมินิฮุส - หนังสือ"วิธีการสอนอันยิ่้งใหญ่" และหนังสือ "โลกในภาพ"
5.) โจเซฟ แลงแคสเตอร์ - ใช้หัวหน้าสอนเพื่อน (Monitoring System)
6.) เพตาลอสซี่ - เน้นประสปการณ์ตรงของผู้เรียน
7.) เฟรอเบล - อนุบาลศึกษาแนวสวนเด็ก
8.) แฮร์บาท - หนังสือ"ศาสตร์แห่งการศึกษา" และ "ขอบข่ายวิชาชีพศึกษาศาสตร์"
9.) ธอร์นไดค์ - กลุ่มเชื่อมโยงนิยม ให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง
10.) ดิวอี้ และ คิลแพรทริค - กลุ่มพัฒนาการนิยม ดิวอี้-แก้ปัญหา คิลแพรทริค-โครงการ
11.) การสอนแบบโปรแกรม - วางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้า
12.) การสอนแบบศูนย์การเรียน (ดร.ชัยยงค์) - นำเนื้อหามาแยกเป็น 14-16 หน่วย หน่วยละ 4-6 หัวเรื่อง (แผนจุฬาฯ)
13.)การศึกษาทางไกล - ยึดสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก/ ยึดสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นหลัก/ ยึดเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นสื่อหลัก

1.3 นวัตกรรมจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการศึกษา
สิ่ที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมมีเกณฑ์พิจารณา 4 อย่างคือ
1.) ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
2.) มีการนำวิธีจัดระบบมาใช้ (input process output)
3.) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างวิจัยว่า"สิ่งใหม่" มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
4.) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

หากสิ่งใหม่เป็นที่ยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของของระบบงานที่ดำเนินอยู่ ก็ไม่ถือว่าสิ่ใหม่นั้นเป็นนวัตกรรมอีกต่อไปแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยี

ตอนที่ 2 ขอบข่ายและบทบาทของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

2.1 ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.) ตามสาระ (แนวตั้ง)
1.1 การจัดระบบ และออกแบบ
> การจัดระบบ - วิเคราะห์ / สังเคราะห์ / สร้างแบบจำลอง / ทดสอบระบบ
> การออกแบบระบบ - ปัจจัยนำเข้า / กระบวนการ / ผลลัพธ์
1.2 พฤติกรรม > พฤติกรรมการบริหาร, พฤติกรรมด้านวิชาการ, พฤติกรรมด้านบริการ
1.3 วิธีการ > วิธีการศึกษาทั่วไป, วิธีการเรียนการสอน
1.4 สื่อสาร > ผู้ส่งสาร, สาร, ช่อทางและสื่อ, ผู้รับสาร
1.5 สภาพแวดล้อม > ทางกายภาพ, ทางจิตภาพ, ทางสังคม
1.6 การจัดการ
1.7 การประเมิณ > ประเมิณปัจจัยนำเข้า, ประเมิณกระบวนการ, ประเมิณผล

2.) ตามภารกิจ (แนวนอน)
2.1 ด้านบริหาร
2.2 ด้านวิชาการ
2.3 ด้านบริการ

3.) ตามบริบท (แนวลึก)
3.1 การใช้เทคโนโลยีการศึกษาในระบบโรงเรียน
3.2 การใช้เทคโนโลยีการศึกษานอกระบบโรงเรียน
3.3 การใช้เทคโนโลยีการศึกษาการศึกษาทางไกลและการเผยแพร่และการฝึกอบรม

2.2 บทบาทขอเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.) ฐานะอค์ความรู้
- ระดับป.ตรี
- ระดับป.โท
- ระดับป.เอก

2.) ฐานะเครื่องมือบริการ
- การจัดระบบการบริหาร
- ธุรการ
- บุคคลากร
- วิชาการ
- เผยแพร่ประสบการณ์
- พัฒนาบุคคลากร

3.) ฐานะเครื่องมือทาวิชาการ
- ยึดสื่อคน
-ยึดสื่อสิ่งของ

ตอนที่ 3 ปัจจัยและแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

3.1ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.) ภาพนึกเก่าของบุคคลากรทางการศึกษา คลอบคลุมการศึกษาจำกัดอยู่ในสถาบันการศึกษาห้องเรียน มีกระดานดำแขวนและครูยืนอยู่หน้าชั้น นักเรียนต้องเงียบ ครูต้อทำหน้าที่ทุกอย่าง

2.) ความเชื่อในปรัชญาการศึกษาทั้ง 4 กลุ่มคือ
- กลุ่มสารนิยม (ครูและตำราเป็นแหล่งความรู้หลัก)
- กลุ่มจริยสุนทรียนิยม (เน้นการอบรมจิตใจให้ผ่องแผ้ว)
- กลุ่มพิพัฒนาการนิยม (เรียนจากประสปการณ์ การปฏิบัติกิจกรรม)
- กลุ่มสวภาพนิยม (จัดการเรียนรู้ตามสภาพความเหมาะสมของผู้เรียน)

3.) การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงจิตวิทยามี 2 กลุ่มคือ
- จิตวิทยากลุ่มเชื่อมโยงนิยม (การเรียนรู้เกิดจาก ตัวเร้า การตอบสนอง การเสริมแรง)
- จิตวิทยาในกลุ่มประสปการณ์นิยม (การเรียนรู้เมื่ออยู่ในปัญหาและความต้อการแก้ปัญหา)

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กระทำใน 4 สถานการณ์คือ
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
2. ให้ผู้เรียนได้รับทราบผลย้อนกลับทันที
3. ให้ผู้เรียนได้รับความรู้สึกภาคภูมิใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทีละน้อยตามลำดับขั้น

3.2 แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
1.) ด้านบริการ ต้องปรับตัวกับการใช้ การจัดหา สนับสนุน และใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้
3.) วิธีการเรียนการสอน การใช้แหล่วิทยาการและการเรียนรู้นอกห้องเรียน
4.) การฝึกหัดครุศึกษา ผลิตครูที่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ให้การศึกษาครูใหม่และฝึกอบรมครูประจำการให้พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
5.) การจัดแหล่งวิทยบริการและแหล่สารสนเทศ จัดตั้งศุนย์ผลิตสื่อการสอน และการสอนผ่านจอภาพ
6.) บทบาทสถานศึกษาและการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เป็นศูนย์การเรียนหรือศูนย์การศึกษาชุมชน
7.) การเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงของทางบ้านและทางโรงเรียน จัดหาอุปกรณ์การสื่อสาร ให้โอกาสนักเรียนจะได้ศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ
8.) การสนับสนุนของรัฐบาล เอื้ออำนวยในการจัดซื้ออุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม

3.3 แนวคิดการนำเทคโนโลยีการศึกษาให้สอดคล้อกับ พรบ. การศึกษาแห่ชาติ พ.ศ.2542

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่นำมาใช้ให้สอดคล้อง ทั้ง 4 กลุ่ม
1.) เทคโนโลยีพื้นฐาน - สื่อโสตทัศน์ รูปภพ แผ่นใส ของจรืงที่หาได้ง่าย
2.) สื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา - สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสีย ภาพยนตร์
3.) สารสนเทศเพื่อการศึกษา - คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เทเลคอนเฟอเร้นซ์
4.) วิทยบริการ - ศูนย์ความรู้ ห้องสมุด หอสมุด พิพิธภัณฑ์ เน้นการจัดสภาพแวดล้อม

พรบ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 หมวด9
ม.63 ช่องทางหรือโครงสร้างพื้นฐาน
ม.64 การพัฒนาสื่อประเภทวัสดุหรือซอฟแวร์
ม.65 การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ม.66 การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือ
ม.67 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ม.68 การตั้กองทุนการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ม.69 การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติ

แบบประเมิณ
1. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์
2. โลกในภาพ (Orbus Picture) เป็นหนังสือภาพประกอบที่สมบูรณ์เล่มแรกของ โคมินิอุส
3. เกณฑ์การกำหนด นวกรรมคือ มีวิธีการจัดระบบมาใช้
4. ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามขอบข่ายเชิงสาระคือ จัดระบบและออกแบบระบบ
5. ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางสื่อสาร ผู้รับสาร จัดอยู่ในขอบข่าย สื่อสารทางการศึกษา
6. ขอบข่ายแนวนอนด้านวิชาการคือ การพัฒนาหลักสูตร
7. เทคโนลียีการศึกษา มีบทบาทในฐานะ เป็นศาสตร์ หรือ องค์ความรู้
8. กลุ่มสภวภาพนิยม คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
9. แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษามุ่งเน้นในหลายข้อ ยกเว้น การจัดการสื่อแบบสองทาง
10. พรบ. การศึกษาแห่งชาติปี 2542 หมวด 9 มาตรา 66 เน้นเตรียมผู้เรียนให้มีทัศนะ ใช้เครื่องมือเพื่อรับสื่อ

1. แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ เน้นวิธีการ
2. การสอนตามแนวของแลงเคสเตอร์คือ ให้หัวหน้านักเรียนสอนเพื่อนนักเรียนในกลุ่มตน
3. เกณฑ์กำหนดนวกรรม 
   1.) ต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
   2.) มีการนำวิธีจัดระบบมาใช้ (input process output)
   3.) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างวิจัยว่า"สิ่งใหม่" มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
   4.) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
4. ขอบข่ายเชิงสาระ การจัดระบบ และออกแบบ  พฤติกรรม  วิธีการ  สื่อสาร  สภาพแวดล้อม การจัดการ การประเมิณ 
5. ขอบข่ายเชิงสาระด้านการจัดการทางการศึกษาครอบคลุมเรื่อง การจัดการผู้สอนและผู้เรียน
6. ขอบข่ายแนวลึกเป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในระบบ ระดับชั้น อนุบาล-อุดมศึกษา
7. เทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทในฐานะ เครื่องมือนักบริหาร นักวิชาการ นักบริการ
8. ปรัชญาการศึกษากลุ่ม สวภาพนิยม มีสาระสำคัญคือ เน้นความแตกต่างของผู้เรียน
9. การจัดการศึกษาแบบสองทาง ไม่ใช่แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
10.พรบ.การศึกษาแห่งชาติ2542 หมวด 9 มาตรา 64 มุ่งเน้นเรื่อง การพัฒนาสื่อประเภทวัสดุหรือซอร์ฟแวร์ 

 >> อ่านต่อ หน่วยที่ 2 -20301

1 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน