7 มี.ค. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 8

หน่วยที่ 8 สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของการใช้สื่อในการจัดการศึกษานอกระบบ

8.1 สภาพปัจจุบันของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
8.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
8.3 แนวโน้มของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

8.1 สภาพปัจจุบันของการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. การใช้สื่อโสตทัศน์ในการศึกษานอกระบบมีอยู่หลายชนิด ทั้งเทปเสียง วีดิทัศน์ สไลด์ แผ่นใส และภาพยนตร์
ส่วนปริมาณในการใช้ขึ้นกับความเหมาะสม เทคนิควิธีการ และต้นทุนการผลิต
ส่วนใหญ่การใช้สื่อโสตทัศน์ จะใช้ในรูปสื่อประสม เพื่อให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งทางตา และ ทางหู และให้มีลักษระเป็นรูปธรรมมากที่สุด
1) เทปเสียง ใช้บันทึกภาษาต่างประเทศ ดนตรี การสอน การบรรยาย
2) วีดิทัศน์ เหมาะจะใช้ให้ความรู้เชิงทักษะ คณิตศาสตร์ วิทยศาสตร์
3) สไลด์
2. การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการศึกษานอกระบบมีอยู่หลายชนิด ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร โปสเตอร์ ใบปลิว และแผ่นพับ
นับเป็นสื่อที่สำคัญและมีการใช้มากที่สุด เพราะราคาไม่แพงและมีคุณสมบัติเฉพาะสื่อที่เอื้อต่อการใช้ และที่สำคัญที่สุดทุกชนิดใช้เป็นสื่อป้องกันการลืมหนังสือ ส่งเสริม และสร้างนิสัยรักการอ่านได้
3. การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในการศึกษานอกระบบมีการใช้ค่อนข้างแพร่หลาย
โดยเฉพาะสื่อวิทยุกระจายเสียงเพราะมีราคาถูกและเข้าถึงประชาชนทุกระดับ ส่งสัญญานเสียงได้ครอบคลุมกว้างไกล
ส่วนสื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพมากในการให้การศึกษานอกระบบเพราะสามารถเห็นภาพได้ ถ่ายทอดความรู้และสารสนเทศได้ดี แต่ยังไม่แพร่หลายเท่าวิทยุกระจายเสียง เพราะราคาค่อนข้างแพง แต่สื่อทั้ง 2 ชนิด มีข้อดีที่แม้จะอ่านเขียนได้ได้ก็รับสารสนเทศได้
4. การใช้สื่อพื้นบ้านในการศึกษานอกระบบ ในอดีตยังไม่แพร่หลายนัก แต่หลังจากที่งานการพัฒนาเข้าถึงประชาชนในพื้นที่มากขึ้น สื่อพื้นบ้านเริ่มมีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล การประชาสัมพันธ์ และการเพิ่มพูนทักษะอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนนั้นๆมากขึ้น
5. การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการศึกษานอกระบบนั้นนับว่าทันสมัยแต่ยังแพร่หลายน้อย แม้ว่าศักยภาพในการทำงานที่อาจกล่าวได้ว่ามากที่สุด เนื่องจากเป็นสื่อที่มีราคาแพง บทบาทของสื่อคอมพิวเตอร์ในการศึกษานอกระบบในปัจจุบันจะเน้นที่การให้ข่าวสารข้อมูลเป็นสำคัญ
6. การใช้สื่อชุดฝึกอบรมในการศึกษานอกระบบมีการใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมทั้งการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
สื่อชุดฝึกอบรมเข้ามามีบทบาททั้งการให้ความรู้พื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่อง การเพิ่มพูนทักษะ และการให้ข่าวสารข้อมูล


5 มี.ค. 2556

26406 การพัฒนาและการใช้สื่อ กศน หน่วยที่ 7

หน่วยที่ 7 ประชาชนกับการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

7.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
7.2 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ
7.3 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

7.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. แนวคิดพื้นฐาน - การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความหมายแตกต่างกันไปแต่ไม่ว่าจะอย่างไรการมีส่วนร่วมของประชาชนมักมีลักษณะร่วมกันบางประการเกี่ยวกับการเข้าเกี่ยวข้องในกิจกรรมการพัฒนาของประชาชน และการที่ประชาชนผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนานั้นต้องใช้ความพยายามส่วนตัวบางอย่างในกิจกรรมนั้นด้วย
1) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีลักษณะที่สำคัญอย่างไรบ้าง
- ประชาชนเข้าเกี่ยวข้อในกิจกรรมพัฒนาอย่างเต็มใจ
- ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้ความพยายามบางอย่างส่วนตัวในกิจกรรมการพัฒนานั้นฃ
2) การมีส่วนร่วมของประชาชนมีหลักการอย่างไรบ้าง
- ประชาชนมีบทบาทหลักในการพัฒนา
- เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาคือ การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อพึ่งและพัฒนาตนเอง
- กระบวนการพัฒนายึดหลักล่างสู่บน มากกว่า บนสู่ล่าง
3) การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนามีแนวทางอย่างไรบ้าง 
- จัดให้มีองค์กรของประชาชนระดับท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส้วนร่วม
- ให้อิสระแก่ประชาชนในการตัดสินใจ
- ให้ข่าวสารข้อมูลแก่ประชาชน
- รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านทรัพยากร เงิน วัสดุ และเทคโนโลยี
- พัฒนาผู้นำในท้องถิ่นให้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

2. ความจำเป็นของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา - การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อการศึกษานอกระบบ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีขึ้น เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนาสื่อ การเลือกประเภทและรูปแบบของสื่อ การลงมือผลิตสื่อ การทดสอบและประเมิณผลสื่อ และการตรวจสอบและบำรุงสื่อ ตลอดจนยังจำเป็นการอนุรักษ์สืบทอด และเผยแพร่สื่อที่เกี่ยวข้องกับขนมธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอีกด้วย

3. ความจำเป็นของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้ - มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีขึ้น ทำให้ข้อมูลความรู้ข่าวสารต่างๆ ได้รับการเรียนรู้หรือถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมายตามที่จุดมุ่งหมายกำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้สื่อ การจัดหาสื่อ การเตรียมการก่อนการใช้สื่อ การดำเนินการใช้สื่อ และ การประเมินผลการใช้สื่อ

7.2 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งเสริมได้หลายลักษณะ ทั้งการให้ประชาชนผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แบบง่ายๆกันเอง ให้ประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือให้การสัมภาษณ์เพื่อนำมาเป็นเนื้อหาของสื่อสิ่
พิมพ์ ฝึกอบรมให้ประชาชนรู้ขั้นตอนการผลิต และให้ประชาชนเป็นผู้ประสานงานการผลิตและเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์
แนวทางหลักในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสื่อสิ่งพิมพ์คือ
1). ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานผู้จัดการศึกษานอกระบบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์และความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ จากนั้นจะทำให้สามารถส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตได้สะดวกขึ้น
2). จัดการอบรมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานผู้จัดการศึกษานอกระบบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดฝึกอบรมหรือให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์อย่างง่ายๆ
3). ทดลองผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างง่ายๆ ในท้องถิ่นแล้วให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทดลองผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เองอย่างง่ายๆ เช่น แผ่นพับ แผ่นใบปลิว ขึ้นในท้องถิ่นแล้วให้ประชาชานมีส่วนร่วมในการผลิตด้วย

2. การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์นั้น อาจกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การให้ประชาชนให้ข้อมูลย้อยกลับหลังจากได้ใช้สื่อ ให้ประชาชนเข้าร่วมรายการโดยการสัมภาษณ์ การสาธิต การให้ประชาชนได้ร่วมวางแผนผลิตรายการ และการให้ประชาชนนำเสนอความรู้และข่าวสารเองแล้วผู้จัดถ่ายทอดออกรายการให้
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
1). เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงปฏิกิริยาย้อนกลับ
2). จัดให้ประชาชนเข้าร่วมรายการด้วย
3). ส่งเสริมให้ประชาชนบริหารและดำเนินงานหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านมากขึ้น
4). ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชน วิทยากรท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เป็นผู้ให้ความรู้ในรายการ
5). ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมในการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

3. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อพื้นบ้าน ซึ่งสื่อพื้นบ้านนั้นมีหลายประเภท ทั้งประเภทการแสดง ประเภทศิลปหัตถกรรม และ จิตกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อพื้นบ้านแต่ละประเภทก็จะใช้วิธีที่ต่างกันออกไป
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อพื้นบ้านประเภทการแสดง
1) ในด้านของตัวศิลปิน
- ส่งเสริมให้ศิลปินมีทัศนคติที่ดีต่อข่าวสารและข้อมูล
- ส่งเสริมให้ศิลปินเป็นนักสื่อสารที่ดี
- ส่งเสริมให้ศิลปินมีอิสระในการนำเสนอแบบแผนดั้งเดิมของสื่อ
- ส่งเสริมให้ศิลปินรักษามาตรฐานของตัวเอง
2) ในด้านประชาชน
- ส่งเสริมให้มีการประกวดหรือการแข่งขันการแสดงพื้นบ้านต่างๆในโอกาสอันควร
- ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มสนใจ
- ส่งเสริมการจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงของแต่ละท้องถิ่น

7.3 แนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ

1. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจส่งเสริมได้ในหลายลักษณะ ทั้งส่งเสริมให้ประชาชนให้เอง ส่งเสริมให้ประชาชนให้ความร่วมมือแก่หน่วงานต่างๆ ที่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ และส่งเสริมให้ประชาชนสนับสนุนให้เพื่อนบ้านใช้ ซึ่งการส่งเสริมในแต่ละลักษณะนั้นต่างมีแนวทางหลายแนวทางด้วยกัน
แนวทางที่องค์กรจะส่งเสริมให้ประชาชนสนับสนุนเพื่อนบ้านในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ได้แก่
1) หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเลือกหากลุ่มประชาชนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมเพื่อนบ้านใช้สื่อสิ่งพิมพ์
2) หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริม เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เช่น ข้อดี จุดอ่อน วิธีใช้ และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆ
3) ให้ความรู้แก่กลุ่มที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมเกี่ยวกับ วิธีการประชาสัมพันธ์ วิธีการกระตุ้น ส่งเสริมให้เพื่อนบ้านสนใจสื่อสิ่งพิมพ์
4) ฝึกให้ผู้ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมมีความรู้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทต่างๆ
5) ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริม เกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อจะขอรับบริจาคหนังสือเพื่อให้ชุมชนมีหนังสือที่ทันสมัยอยู่เสมอ ความรู้เกี่ยวกับการหมุนเวียนหนังสือให้ทั่วถึงเป็นต้น

2. การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อวิทยุโทรทัศน์ มีหลายวิธี ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชชนรู้ตารางเวลาออกอากาศ และรายละเอียดของแต่ละรายการไปจนถึงการถ่ายทอดการออกอากาศผ่านสื่ออื่นๆได้แก่ หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับฟังอย่างทั่วถึง
ส่วนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เริ่มตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ให้คนรู้รายละเอียดของรายการ ไปจนถึงการให้กรรมการหมู่บ้านกระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงมีดังนี้คือ
1) หน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับรายการวิทยุกระจายเสียงทางการศึกษานอกระบบที่จะออกอากาศ
2) หน่วยงานหรือผู้ที่ผู้เกี่ยวข้องควรจัดเนื้อหาของรายการให้น่าสนใจ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน
3) หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับฟังรายการวิทยุ เช่น จัดกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประชาชนที่รับฟังรายการ
แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์มีดังต่อไปนี้
1) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรใ้หข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการออกอากาศ รายละเอียดของรายการทางการศึกษานอกระบบที่จะออกอากาศ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบรายละเอียด
2) หน่วยงานผู้ผลิตรายการควรเลือกเวลาการออกอากาศที่เหมาะสมกับช่วงเวลาว่างของประชาชนในท้องถิ่น
3) ในกรณีที่ประชาชนในท้องถิ่นยังมีเครื่องรับโทรทัศน์กันน้อย หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรหาแหล่งเงินทุนที่จะจัดหาเครื่องรับที่จะเป็นศูนย์กลางของชุมชน

3. การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อพื้นบ้านนั้น จะเริ่มตั้งแต่การสำรวจและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ว่า ในท้องถิ่นของตนมีสื่อพื้นบ้านชนิดใดบ้าง และจะมีแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรบ้าง
แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อพื้นบ้าน
1) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรทำการสำรวจว่าในชุมชนหรือในหมู่บ้านที่หน่วยงานรับผิดชอบจัดการศึกษานอกระบบนั้นมีสื่อพื้นบ้านประเภทใดอยู่บ้าง
2) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจกับสื่อพื้นบ้านแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชนว่ามีลักษณะอย่างไร มีวิธีการจัดแสดงอย่างไร มีประโยชน์อย่างใดบ้างต่อประชาชนเป็นต้น
3) หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆที่มีต่อสื่อพื้นบ้านแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชนของเขา

แบบประเมิน
1. แนวทางหลักข้อหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์คือ "การทดลองผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ง่ายๆ ในท้องถิ่นแล้วให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร ให้ชาวบ้านช่วยโรเนียวข่าวที่พิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
2. ข้อใดต่อไปนี้คือตัวอย่างของการที่ประชาชนนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้ ประชาชนอ่านพบวิธีปลูกพริกขี้หนูจึงนำไปทดลองปลูก
3. แนวทางข้อหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงด้วยตนเอง คือ "ในการจัดทำรายการควรหาโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมด้วย" แนวทางข้อนี้ทำอย่างไร ผู้จัดรายการอาจเชิญชาวบ้านมาให้สัมภาษณ์เพื่อออกรายการวิทยุ
4. ข้อใดคือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ หน่วยงานควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับตารางเวลาการออกอากาศแก่ชาวบ้าน
5. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อพื้นบ้านข้อหนึ่งคือ "หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจถึงลักษณะของสื่อพื้นบ้านชนิดนั้นๆ"แนวทางข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ศึกษารายละเอียดว่าสื่อพื้นบ้านชนิดนั้นๆ มีวิธีการแสดงอย่างไร
6. ข้อใดเป็นลักษณะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนา  ร่วมจุดประสงค์ ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมรับประโยชน์
7. ประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการศึกษานอกระบบได้ในขั้นตอนใดบ้าง ทุกขั้นตอนของกิจกรรม
8. เพราะเหตุใดการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาสื่อการศึกษานอกระบบ เพราะจำทำให้สื่อที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและใช้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนการของการใช้สื่อ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในการใช้สื่อนั้นคืออะไร ไม่สามารถใช้สื่อถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. ถ้าจะใช้ลำตัดเป็นสื่อการศึกษานอกระบบ ผู้แสดงควรได้รับการส่งเสริมให้มีคุณสมบัติอย่างไร ให้มีความเข้าใจในเนื้อหาความรู้ที่จะเผยแพร่และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม 

1. แนวทางหลักข้อหนึ่งในกาส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์คือ "ส่งเสริมให้ชาวบ้านเขียนข่าวเวียนกันเองอย่างต่อเนื่อง" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร ให้ชาวบ้านเขียนข่าวง่ายๆ กันเอง และกระทำอย่างต่อเนื่องทุกเดือนหรือทุกสัปดาห์
2. ข้อใดต่อไปนี้คือตัวอย่างของการที่ประชาชนนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปปรับใช้ ชาวบ้านอ่านพบเรื่องวิธีนำปุ๋ยคองจึงทดลองทำใช้เอง
3. แนวทางข้อหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้วิทยุกระจายเสียงด้วยตนเองคือ "หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงของชาวบ้าน" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร หน่วยงานอาจจัดกลุ่มสนทนาให้ชาวบ้านเล่าเรื่องที่รับฟังมาแลกเปลี่ยนกัน
4. ข้อใดคือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ หน่วยงานควรเลือกเวลาการออกอากาศให้เหมาะสมกับช่วงที่ชาวบ้านว่างจากการประกอบอาชีพ
5. แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้สื่อพื้นบ้านข้อหนึ่งคือ "การใช้สื่อชนิดอื่นช่วยเผยแพร่สื่อพื้นบ้าน" แนวทางข้อนี้ทำได้อย่างไร การจัดเทปการแสดงสื่อพื้นบ้านบางอย่างเช่น ลิเก ลำตัด แล้วนำมาออกอากาศทางหอกระจายข่าว
6. ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นนอกจากจะต้องพิจารณาถึงการที่ประชาชนได้ใช่ความพยายามบางอย่างส่วนตัวในกิจกรรมนั้นแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสิ่งใดของผู้เข้าร่วมอีกด้วย ความเต็มใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
7. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมีจุดเน้นที่สิ่งใด การให้อิสระในการตัดสินใจแก่ประชาชน โดยหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการพึ่งพาตนตนเองของประชาชน
8. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบมีผลต่อสิ่งใดมากที่สุด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารโดยใช้สื่อนั้นๆ
9. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อพื้นบ้านเพื่อการศึกษานอกระบบมีผลที่สำคัญคือ ข่าวสารความรู้ได้รับการถ่ายทอดและศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านได้รับการอนุรักษ์และสืบทอด
10. ถ้าต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบ ควรยึดแนวทางใด เปิดโอกาสให้ประชาชนให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับรายการ และ ให้เข้าร่วมรายการและให้เข้าร่วมรายการและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดกรายการเมื่อมีโอกาส

<<< ย้อนกลับไปหน่วยที่ 6   อ่านต่อหน่วยที่ 8 >>>

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน