10 ก.พ. 2562

41211 แพ่ง1 : บุคคล นิติกรรม สัญญา

หน่วยที่1 การใช้การตีความกฎหมายและบททั่วไป

แนวคิด
  1.  วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์พื้นฐานหลายประการ ที่ผู้ศึกษากฎหมายจำเป็นต้องศึกษาหลักเกณฑ์พื้นฐานทางความคิดเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้การศึกษากฎหมายเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมีความคิดที่เป็นระบบ
  2. การศึกษากฎหมายก็เพื่อใช้กฎหมาย และในการใช้กฎหมายก็จำเป็นต้องมีการตีความกฎหมายโดยผู้ใช้กฎหมายด้วย
  3. หลักเกณฑ์ที่สำคัญประการหนึ่งของกฎหมายคือ กฎหมายจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลและบุคคลผู้มีสิทธินั้นก็ต้องใช้สิทธิ์ให้ถูกต้อง
  4. ในปพพ. (ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์) บรรพ1 หลักทั่วไป ได้บัญญัติบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่อาจนำไปใช้กับกรณีต่างๆไว้ในลักษณะ1

 

1.1 การใช้และการตีความกฎหมาย

แนวคิด
  1. การใช้กฎหมายมีความหมาย 2 ประการ คือ การบัญญัติกฎหมายตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ประการหนึ่ง และใช้กฎหมายข้อเท็จจริงประการหนึ่ง
  2. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงนั้นผู้เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากกฎหมายก็อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ใช้กฎหมายทั้งสิ้น (ผู้ใช้ กม. = ราษฎร เจ้าพนักงานของรัฐ ศาล)
  3. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงยังอาจแบ่งเป็นการใช้โดยตรงกับเทียบเคียง
  4. การตีความของกฎหมายแต่ละระบบหรือแต่ละประเทศก็มีการตีความที่แตกต่างกันและกฎหมายแต่ละประเภทกันก็ยังมีหลักเกณฑ์ในการตีความที่ต่างกันไป
  5. กฎหมายที่ใช้อยู่อาจมีช่องว่างในการใช้กฎหมายเกิดขึ้น จึงต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมายซึ่งกฎหมายนั้นอาจกำหนดวิธีการไว้ หรือบทกม.มิได้กำหนดวิธีการไว้ ก็ต้องเป็นไปตามหลักทั่วไป

-1.1.1 การใช้กฎหมาย

  • การใช้กฎหมาย หมายถึง การบัญญัติกฎหมายตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ หรือการบัญญัติกฎหมายตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ดังเช่นในปัจจุบันการบัญญัติกฎหมายคือ พระราชบัญญัติต่างๆ ก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550) นอกจากนี้การออกกฎหมายลำดับรองเช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ก็ต้องเป็นกรณีที่กม.แม่บทให้อำนาจออกได้ และกม.ที่ออกตาม กม.แม่บทนั้นจะขัดหรือแย้งกับ กม.แม่บทไม่ได้
  • การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง หมายถึง การนำกฎหมายที่เป็นข้อบังคับหรือเกณฑ์ทั่วไปมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป มีหลักเกณ์การใช้ดังนี้
    (1) เป็นเรื่องอะไร
    (2) มีหลักเกณฑ์ของกม.ในเรื่องนั้นๆอย่างไร
    (3) ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเข้ากับหลักกม.นั้นหรือไม่
    (4) เมื่อข้อเท็จจริงเข้ากับหลัก กม.แล้วผลเป็นอย่างไร
  • ประเภทของการใช้ กม. ตามข้อเท็จจริง อาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การใช้ กม.โดยตรงและการใช้ กม.โดยเทียบเคียง ตาม ปพพ.มาตรา4
    ขั้นตอนการใช้ กม.แบบเทียบเคียงมีหลักพิจารณาดังนี้
    (1) ตัวบทกม.ที่จะนำมาใช้ในฐานะบทใกล้เคียงอย่างยิ่งนั้น เป็นบทหลักหรือบทยกเว้น
    (2) ต้องมีเหตุผลที่พอจะใช้เทียบเคียงได้
    (3) ต้องแยกบทกม.ระหว่างส่วนที่เป็นสาระสำคัญกับส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ

-1.1.2 การตีความกฎหมาย

การตีความทั่วไปกับการตีความกฎหมายเฉพาะมีหลักเกณฑ์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
การตีความทั่วไป คือการหาความหมายที่แท้จริงของกม. หรือเจตนารมณ์ของกม. ส่วนการตีความ กม.พิเศษ มีหลักการตีความของตนเอง โดยจะนำหลักทั่วไปในการตีความมาใช้ด้วยไม่ได้ เช่น กม.
อาญาเป็นกม.ที่กำหนดความผิดและโทษจะต้องตีความเคร่งครัด

  • การตีความกฎหมายทั่วไป การตีความกฎหมายต้องพิเคราะห์ 2  ด้าน
    (1) การพิเคราะห์ตัวอักษร
    (2) พิเคราะห์เจตนารมณ์ของ กม. 
         1.ทฤษฎีอัตตวิสัย หรืออำเภอจิต ถือเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติทำให้ กม.ไม่ยืดหยุ่น
          2.ทฤษฎีภววิสัย หรือ อำเภอการณ์ พิจารณาตามภาวการณ์นั้นๆทำให้ กม.มีความยืดหยุ่น ไม่แน่นอน
  • การตีความกฎหมายพิเศษ มีหลักเกณฑ์การตีความของตนเองโดยเฉพาะ จะนำหลักทั่วไปมาใช้ในการตีความมิได้ เช่น กม.พิเศษได้แก่ กม.อาญา ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิเศษคือ
         1.กม.อาญาเป็น กม.ที่กำหนดความผิดและโทษจึงต้องตีความเคร่งครัว
         2. จะตีความโดยขยายความให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไม่ได้

    หลักการตีความต้องตีความตามตัวอักษรก่อน หากตัวอักษรมีถ้อยคำชัดเจนก็ใช้กฎหมายไปตามนั้น แต่หากตัวอักษรไม่ชัดเจนหรือมีปัญหา จึงมาพิจารณาความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของกม.นั้นไปพร้อมๆกัน เป็นหลักการตีความ

-1.1.3 การอุดช่องว่างของกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดวิธีอุดช่องว่างไว้ใน ปพพ.มาตรา4 กล่าวคือ ถ้าไม่มีกม.ลายลักษณ์อักษร ก็ให้วินิจฉันตามจารีตประเพณีแนวท้องถิ่น ถ้าไม่มีปจารีตประเพณีแนวท้องถิ่น ให้วินิจฉันคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ต้องใช้หลักกม.ทั่วไป

 

1.2 สิทธิและการใช้สิทธิ

แนวคิด
  1. สิทธิเป็นสถาบันหลักในกม. เมื่อกม.กำหนดสิทธิแล้วจะต้องมีบุคคลผู้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิของผู้ทรงสิทธินั้น
  2. สิทธิอาจแบ่งออกได้เป็นสิทธิตาม กม.มหาชน และ สิทธิตาม กม.เอกชน ซึ่งแต่ละประเภทยังอาจแบ่งออกย่อยๆได้อีก
  3. การมีสิทธิกับการใช้สิทธิแตกต่างกัน การใช้สิทธิต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์กม. เช่นต้องใช้สิทธิโดยสุจริต

-1.2.1 สิทธิและแนวคิดเรื่องสิทธิ

สิทธิหมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นสิทธิแล้วบุคคลอื่ีมีหน้าที่ต้องเคารพ
เสรีภาพได้แก่ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น หรือภาวะที่ปราศจากการหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง เสรีภาพจึงเป็นเรื่องของบุคคลที่จะกำหนด ตนเองจะกระทำการใดๆ โดยตนเองปราศจากการแทรกแซงขัดขวางจากภายนอก

องค์ประกอบแห่งสิทธิมีสาระสำคัญ 4  ประการคือ
(ก) ผู้ทรงสิทธิ์
(ข) การกระทำหรือละเว้นการกระทำ
(ค) วัตถุแห่งสิทธิ
(ง) บุคคลซึ่งมีหน้าที่


การแบ่งสิทธิตาม กม. เอกชน เป็นสิทธิที่รัฐยอมรับรองและบังคับการให้ เพราะเป็นสิทธิของเอกชนที่จะใช้ยันกับเอกชน ไม่ก่อผลมายันต่อรัฐไม่กระทบถึงอำนาจรัฐมากนัก แบ่งตามหลักเกณฑ์ต่างๆดังนี้
(ก) การแบ่งแยกตามสภาพของสิทธิ
- สิทธิสมบูรณ์

- สิทธิสัมพันธ์
(ข) การแบ่งแยกตามวัตถุแห่งสิทธิ

- สิทธิเกี่ยวกับบุคคล
- สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
- สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
(ค) การแบ่งแยกตามเนื้อหา
- สิทธิในทางลับ
- สิทธิในทางปฏิเสธ
(ง) การแบ่งแยกตามขอบเขตที่ถูกกระทบกระทั่งโดยสิทธิอื่นๆ
- สิทธิที่เป็นประธาน หมายถึง สิทธิที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่โดยตัวเอง มิได้ขึ้นอยู่กับสิทธิอื่น สิทธิที่เกิดขึ้นและเป็นอิสระไม่ขึ้นกับสิทธิอื่น

-1.2.2 การใช้สิทธิ

 การมีสิทธิกับการใช้สิทธินั้นแตกต่างกัน การมีสิทธินั้นเมื่อกม.รับรองก็มีสิทธิ แต่อาจถูกจำกัดการใช้สิทธิก็ได้ เช่นผู้เยาว์ แม้จะมีสิทธิในทรัพย์สิน แต่อาจถูกจำกัดการใช้สิทธิทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินได้
กฎหมายกำหนดแนวทางการใช้สิทธิไว้ โดยทั่วไปก็คือต้องไม่ใช้สิทธิให้เป็นการฝ่าฝืนกม. และต้องใช้สิทธิโดยสุจริต

 

1.3 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

แนวคิด
  1. บทบัญญัติที่เป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปนี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่อาจนำไปใช้กับกรณีต่างๆ ในประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ที่ไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้โดยเฉพาะ
  2.  การทำเอกสารที่ กม. กำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือนั้น กฎหมายวางหลักเกณฑ์ว่าต้องลงลายมือชื่อ
  3. เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุใดๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ใกล้จะประสปเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
  4. ดอกเบี้ยเป็นดอกผลนิตินัยอย่างหนึ่ง กม.กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ถ้าต้องเสียดอกเบี้ย แต่มิได้กำหนดอัตราไว้ ให้ใช้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

-1.3.1 การทำและการตีความเอกสาร

  การที่ กม. กำหนดว่า สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือนั้น คู่สัญญาเช่าซื้อไม่ต้องเขียนสัญญานั้นเอง แต่ต้องลงลายมือชื่อหรือลงเครื่องหมายแทนการลงมือชื่อโดยชอบตามมาตรา 9
  สัญญากู้มีข้อความซึ่งอาจแปลความได้สองนัย ถ้าแปลความนัยแรกจะเป็นคุณแก่ผู้ให้กู้ ถ้าแปลความตามนัยที่สองจะเป็นคุณแก่ผู้กู้ เมื่อเป็นดังนี้จะต้องตีความตามนัยสองคือ ต้องตีความให้เป็นคุณแก่คู่กรณี ฝ่ายที่ต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้คือลูกหนี้นั่นเองตามมาตรา 11

-1.3.2 เหตุสุดวิสัย

เหตุสุดวิสัยกับภัยธรรมชาติไม่เหมือนกัน เพราะเหตุสุดวิสัยอาจจะเกิดจากภัยธรรมชาติ หรืออาจจะเกิดจากการกระทำของคนก็ได้ และภัยธรรมชาติไม่เป็นเหตุสุดวิสัยก็ได้
การวินิจฉัยว่า กรณีใดเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ มีจุดสำคัญในประเด็นสำคัญที่ว่า บุคคลผู้ประสบหรือใกล้จะต้องประสบไม่อาจป้องกันได้ดี แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว


-1.3.3 ข้อกำหนดเรื่องดอกเบี้ย

กฎหมายในบทเบ็ดเสร็จทั่วไป กำหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ยไว้ในกำหนดมาตรา 7 ปพพ. กล่าวคือ ถ้าต้องเสียดอกเบี้ยให้กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใช้โดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งให้ใช้อัตราร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปี

 

แบบประเมิณหน่วยที่ 1 และแนว ถาม-ตอบ

  1. การตีความกม.พิเศษ จะต้อง ตีความโดยเคร่งครัด
  2.  การอุดช่องว่างของ กม. ปพพ.มาตรา 4 ได้กำหนดลำดับไว้หากไม่มี กม.ลายลักษณ์อักษรใช้บังคับแล้วจะต้องนำหลักเกณฑ์ จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาบังคับ
    (มาตรา4  กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่ง กม.ตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ เมื่อไม่มีกม. ที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลัก กม.ทั่วไป)
  3. คำว่า เสรีภาพ ไม่ใช่ องค์ประกอบของสิทธิ
    คำว่า สิทธิ เป็นถ้อยคำที่มีบัญญัติในกม. เป็นข้อความที่เป็นรากฐานของ กม.
    สิทธิเป็นความชอบธรรมที่บุคคลอาจใช้ยันต่อผู้อื่น เพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนอันพึงมีพึงได้ของบุคคล สิทธิตามกม.ประกอบด้วย
    (ก) ความชอบธรรม คือความถูกต้อง ความรับผิดชอบ โดยความชอบธรรมนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของ กม. เพราะมีบางกรณีที่อาจมิใช่ความชอบธรรมแต่ กม.ก็ยอมรับว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความชอบธรรม เช่น กรณีขาดอายุความ ลูกหนี้ปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้ หรือกรณีครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 เช่นนี้เป็นความชอบธรรมตาม กฎหมายแต่ไม่ใช่ความถูกต้อง
    (ข) ผู้ทรงสิทธิ สิทธิจะต้องมีบุคคลเป็นผู้ถือสิทธิ หรือที่เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิ ซึ่งมีได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
    (ค) การกระทำหรือละเว้นการกระทำ สิทธิเป็นสิ่งที่ใช้ยืนยันกับบุคคลอื่นได้ การจะเกิดรู้ว่า สิทธิถูกรบกวนเมื่อใดนั้นก็ต้องรอให้เกิดการกระทำหรือละเว้นการกระทำเสียก่อน ผู้ทรงสิทธิจึงอ้างถึงสิทธิความชอบธรรมที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ เช่น การที่ลูกหนี้ปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ การกระทำที่เกิดขึ้นจากลูกหนี้คือ การปฏิเสธ ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ด้วยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับ
    (ง) วัตถุแห่งหนี้ วัตถุคือวัตถุสิ่งของ วัตถุแห่งหนี้จึงหมายถึงสิ่งของที่เป็นหนี้ เช่น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สิ่งของที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ก็คือทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตร่างกาย สิ่งที่เป็นวัตถุแห่งหนี้คือตัวบุคคล
    (จ) บุคคลซึ่งมีหน้าที่ กฎหมายคุ้มครองรับรองให้สิทธิแก่บุคคล เมื่อใดเกิดการฝ่าฝืนสิทธิจึงเกิดสภาพบังคับแห่งสิทธิเกิดขึ้นตามมา บุคคลผู้ถูกฝ่าฝืนความชอบธรรมคือ ผู้ทรงสิทธิ ส่วนบุคคลที่ทำการฝ่าฝืน คือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ และมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อผู้ทรงสิทธิ เช่น สิทธิของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงสิทธิ ลูกหนี้คือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ชำระหนี้
  4. หลักเกณฑ์ของการใช้สิทธิ์คือ ต้องใช้โดยสุจริต
    (มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต)
    (มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต)
  5. นาย ก ทำสัญญากู้ยืมเงินนาย ข 10,000 บาท แต่เนื่องจากนาย ก ไม่รู้หนังสือจึงได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ โดยมีนายนิดอายุ 16 ปี และนางสาวน้อยอายุ 16ปี ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองการพิมพ์ลายนิ้วมือของนาย ก สัญญากู้ฉบับนี้จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่
    (
    มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลจะต้องทำหนังสือ ไม่จำเป็นต้องเขียนเองแต่หนังสือนั้น ต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
       ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
       ความในวรรคสอง ไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่)
  6. หลักในการตีความเอกสารคือ ตีความให้เป็นคุณแก่คู่กรณีที่ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้(มาตรา 10  เมื่อข้อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอาตามนัยที่ไร้ผล)
    (มาตรา 11  ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งจะต้องเสียหายในมูลหนี้นั้น)
  7. เหตุสุดวิสัยก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายคือ เป็นเหตุยกเว้นความผิดของลูกหนี้(มาตรา 8 คำว่า เหตุสุดวิสัย หมายความว่าเหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น)
  8. ในสัญญากู้ยืมฉบับหนึ่ง กำหนดว่าจะต้องเสีญดอกเบี้ยในเงินกู้ยืมนั้น แต่คู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ในกรณีเช่นี้ลูกหนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
    (มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)
  9. สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคล เป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน
  10. บทกฎหมายที่ใช้โดยวิธีเทียบเคียงไม่ได้คือ บทยกเว้น

------------------------------------------
หน่วยที่ 2 บุคคลธรรมดา

แนวคิด
  1. บุคคลธรรมดาคือ มนุษย์ ซึ่งสามารถมีสิทธิและใช้สิทธิได้
  2. สภาพของบุคคลเริ่มเมือคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตายตามธรรมดา หรือตายโดยผลของกฎหมายคือสาบสูญ
  3. สาบสูญเป็นการสิ้นสภาพบุคคล โดยข้อสันนิษฐานของกม. หากบุคคลไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบแน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี ตามกรณีที่กฎหมายกำหนดและมีผู้ร้องขอ เมื่อศาลมีคำสั่งแสดงความสาบสูญแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้นตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว
  4. กฎหมายบัญญัติให้บุคคลต้องมีชื่อติดตัว และชื่อสกุล เพื่อเป็นสิ่งที่เรียกขานบุคคลและกำหนดให้ชัดเจนลงไปอีกว่าบุคคลนั้นเป็นใคร
  5. สถานะของบุคคลเป็นสิ่งประกอบสภาพบุคคลที่แสดงฐานะหรือตำแหน่งของบุคคล ซึ่งดำรงอยู่ในประเทศชาติและครอบครัว ทำให้ทราบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่พึงมีต่อประเทศชาติและครอบครัว
  6. ภูมิลำเนาเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าบุคคลมีที่อยู่ประจำที่ไหน ทำให้การกำหนดตัวบุคคลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภูมิลำเนาที่บุคคลอาจเลือกถือได้ตามใจสมัครและอาจมีหลายแห่ง

2.1 สภาพบุคคล

  1. หลักเกณฑ์การเริ่มสภาพบุคคลมี 2 ประเภทประกอบกันคือ การคลอดและการมีชีวิตรอดเป็นทารก ดังนั้นทารกในครรภ์มารดาจึงยังไม่มีสภาพบุคคล
  2. การคลอดหมายความถึง คลอดเสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ โดยทารกคลอดหมดตัวพ้นช่องคลอดไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเหลือติดอยู่
  3. การมีชีวิตรอดอยู่เป็นทารก หมายถึงการที่ทารกมีชีวิตอยู่โดยลำพังตนเองแยกต่างหากจากมารดา โดยถือการหายใจเป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยการเริ่มมีชีวิต
  4. ทารกในครรภ์มารดาหมายถึง ทารกที่อยู่ในครรภ์นับแต่วันที่ปฏิสนธิเป็นทารกจนถึงวันคลอด การหาวันปฏิสนธินั้นให้คำณวนนับแต่วันคลอดย้อนหลังขึ้นไป 30 วัน
  5. ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่างๆได้ต่อเมื่อมีชีวิตอยู่ภายหลังคลอด คือ มีสภาพบุคคลแล้ว และมีสิทธิย้อนหลังขึ้นไปถึงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานว่าเริ่มปฏิสนธิ
  6. การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับตั้งแต่วันเกิด ในกรณีที่บุคคลรู้เฉพาะเดือนเกิดแต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด หากไม่รู้เดือนเกิดและวันเกิดให้นับวันต้นปีที่บุคคลนั้นเกิดเป็นวันเกิด
  7. การตายธรรมดาเป็นเหตุแห่งการสิ้นสภาพบุคคลโดยถือตามคำวินิจฉัยของแพทย์ว่า ระบบสำคัญของร่างกายเพื่อการดำรงชีวิตหยุดทำงานหมด
  8. กรณีที่บุคคลหลายคนประสบเหตุร้ายร่วมกันและตายโดยไม่รู้ลำดับแน่นอนแห่งการตาย จะกำหนดว่าใครตายก่อนตายหลังต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องถือตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าบุคคลหลายคนนั้นตายพร้อมกัน

2.1.1 การเริ่มสภาพบุคคล

  1. ประโยชน์และความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่ามนุษย์มีสภาพบุคคลเกิดขึ้นเมื่อใด สิ้นสุดเมื่อใด ก็เพื่อวินิจฉัยปัญหากฎหมายบางประการ เช่น
    (ก) ในทางแพ่ง การรู้ว่าสภาพบุคคลเกิดขึ้นเมื่อใดก็เพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคลนั้นเอง รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความชอบที่เกี่ยวโยงและผูกพันถึงบุคคลอื่นด้วย เพราะสิทธิของบุคคลจะมีขึ้นตั้งแต่เกิดมารอดมีชีวิตอยู่ คือเริ่มมีสภาพบุคคล หรืออาจมีย้อนไปจนถึงวันที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่นสิทธิในการเป็นทายาทรับมรดก ตาม ปพพ.มาตรา 1604 ส่วนการตายทำให้สิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นสิ้นสุดลง และทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท การพิจารณากองมรดก ผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรบ้าง ผู้ตายมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร กับพิจารณาหาทายาทมารับมรดก กฎหมายให้พิจารณาในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การรู้วันเกิดวันตายของบุคคลจึงมีความสำคัญ
    (ข)ในทางอาญา การวินิจฉัยถึงความรับผิดชอบในทางอาญาของผู้กระทำผิดฐานฆ่าคนตาย ตาม ปอ. มาตรา 288 หรือฐานทำให้แท้งลูก ตาม ปอ. มาตรา 301 - 305 จำเป็นต้องวินิจฉันเสียก่อนว่าทารกมีสภาพบุคคลหรือไม่ ทารกตายก่อนคลอดหรือตายระหว่างคลอด เป็นการคลอดออกมาโดยไม่มีชีวิต ไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่เป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้ ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ปอ. มาตรา 301-305 มีโทษน้อยกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เมื่อบุคคลตายแล้ว สิ้นสภาพบุคคล ก็ไม่เป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้อีก
  2. การคลอดเสร็จบริบูรณ์ตามวิชาแพทย์ แผนปัจจุบัน ถือการคลอดเริ่มต้นตั้งแต่มีการเจ็บท้องและสิ้นสุดการคลอดถือเอาเมื่อเด็กและทารกคลอดแล้ว รวมทั้งการหดตัวของมดลูกเป็นไปโดยเรียบร้อย ซึ่งเป็นเวลา 15 นาที ถึง 2 ชั่วโมง หลังเด็กคลอด ซึ่งไม่เหมือนกันกับ การคลอดแล้วตาม ปพพ.มาตรา 15 การคลอดของรกหรือการหดตัวของมดลูก ไม่มีความหมายในการพิจารณาการเริ่มสภาพบุคคลตามกฎหมาย เพราะการพ้นช่องคลอดของทารกหมายถึงการแยกตัวออกเพื่อมีชีวิตเป็นอิสระจากมารดา นักกฎหมายพิจารณาการคลอดที่เกี่ยวกับตัวทารกเท่านั้น ไม่รวมถึงอาการของการคลอดในส่วนตัวมารดา เพราะกฎหมายมุ่งที่จะค้นหาเวลาเริ่มสภาพบุคคลของทารกเพียงประการเดียว
  3. หลักวินิจฉัยการเริ่มมีชีวิตของแพทย์และนักกฎหมายแตกต่างกัน และมีผลให้หลักเกณฑ์การเริ่มสภาพบุคคลเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
         นักกฎหมายถือการหายใจเป็นหลักฐานแสดงการเริ่มมีชีวิต ส่วนแพทย์ถือว่านอกจากการหายใจแล้วการเต้นของหัวใจ การเต้นของสายสะดือ การเคลื่อนไหวร่างกาย และหลักฐานอื่นก็แสดงว่าทารกมีชีวิตด้วย
         ผลของความเห็นที่แตกต่างนี้  ทำให้การวินิจฉัยจุดเริ่มต้นของการเริ่มสภาพบุคคลของนักกฎหมายแตกต่างกันเป็นสองความเห็นคือ
         ความเห็นแรก หากยึดหลักว่า การหายใจเป็นข้อสาระสำคัญของการเริ่มมีชีวิตเพียงประการเดียว จะถือว่าสภาพบุคคลเริ่มเมื่อทารกเริ่มหายใจ  โดยเห็นว่าการคลอดและการมีชีวิตรอดอยู่เป็นทารกเป็นหลักเกณฑ์พิจารณาการเริ่มสภาพบุคคลประกอบกัน
         ความเห็นที่สอ หากถือตามความเห็นของแพทย์ เมื่อทารกคลอดหมดตัวพ้นช่องคลอดโดยมีหลักฐานแสดงการมีชีวิตอย่างอื่นแล้ว ถือว่าเริ่มสภาพบุคคล จะหายใจหรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ และยึดหลักว่าการคลอดแล้วเป็นหลักของการเริ่มสภาพบุคคล การอยู่รอดเป็นพฤติการณ์ประกอบการคลอดว่าเป็นบุคคลตลอดไป มิใช่จุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล

2.1.2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา

บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองที่ว่า ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้หากว่าภายหลังเกิดมารอดอยู่ หมายความว่า 
     โดยหลักแล้ว บุคคลเท่านั้นที่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายได้ แต่บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองนี้เป็นข้อยกเว้น ให้ทารกในครรภ์มารดาแม้ยังไม่มีสภาพบุคคล ก็สามารถมีสิทธิได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ภายหลังทารกนั้นต้องเกิดมารอดอยู่ ทารกในครรภ์มารดา ที่เป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา ก็สามารถมีสิทธิได้ หากภายหลังเกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
     เจตนารมณ์ของกม. มี 2 ประการคือ
     (1) เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของทารกในครรภ์มารดา
     (2) เพื่อขจัดความไม่เสมอภาคในเรื่องสิทธิ

2.1.3 การนับอายุบุคคลกรณีไม่แน่นอนของการเริ่มสภาพบุคคล

การกำหนดวันเกิดของบุคคลต่อไปนี้
(1) รู้แต่เพียงว่า ก เกิดปี พศ. 2480 --> เกิดวันที่ 1 เมษายน 2480
(2) รู้แต่เพียงว่า ข เกิดปี พศ. 2493 --> เกิดวันที่ 1 มกราคม 2493
(3) รู้แต่เพียงว่า ค เกิดเดือนมีนาคม 2500 --> เกิดวันที่ 1 มีนาคม 2500(4) ไม่รู้ว่า ง เกิดเมื่อใด  --> เมื่อเป็นเช่นนี้ให้สอบสวนปีเกิดของ ง ก่อนว่าเกิดในปีใด ได้ปีเกิดแล้วนำ ปพพ. มาตรา 16 มาใช้หาวันเกิด

2.1.4 การสิ้นสภาพบุคคล (ตาย)

  1. หากไม่รู้ลำดับของการตายบุคคลจะเกิดปัญหาประการใด
    เกิดปัญหาเมื่อบุคคลสองคนหรือมากกว่า ต่างเป็นทายาทซึ่งกันและกัน ไปเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายร่วมกันเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านั้นตาย ไม่รู้ใครตายก่อนหลัง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการรับมรดก ซึ่งมีหลักเกณฑ์ว่า ทรัพย์สินของผู้ตายจะเป็นมรดกตกทอดได้ก็แต่ผู้ที่มีชีวิตอยู่ ขณะตายมารดกของผู้ตายก่อนจึงตกมาเป็นมรดกของผู้ตายทีหลัง แล้วผ่านไปยังทายาทของผู้ตายทีหลังนั้น เมื่อไม่รู้แน่ชัดว่าใครตายก่อนตายหลังกฎหมายจึงกำหนดสันนิษฐานไว้ว่า ตายพร้อมกันใครจะเป็นทายาทไม่ได้ และต่างไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
  2. คำว่าเหตุอันตรายร่วมกันนั้น หมายความว่า
    เหตุภยันตรายร่วมกัน หมายความว่าเหตุภยันตราเดียวกันที่บุคคลประสบด้วยกันในคราวเดียวกัน เช่น บุคคลหลายคนโดยสารเครื่องบินลำเดียวกัน แล้วเครื่องบินตก หรือโดยสารเครื่องบินไปคนละลำแล้วเครื่องบินสองลำเกิดชนกันก็ได้ แต่ถ้าโดยสารเครื่องบินไปคนละลำแล้วเครื่องบินทั้งสองลำต่างก็เกิดอุบัติเหตุตกเหมือนกัน เช่นนี้ ไม่ถือเป็นเหตุภยันตรายร่วมกัน
  3. ก ป่วยเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ ส่วน ข เป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ โดยสารเรือออกจากกรุงเทพฯไปสิงคโปร์ด้วยกัน เรือโดนมรสุมจม ต่อมามีผู้พบศพ ก และ ข ที่ชายฝั่ง เช่นนี้ ก และ ข บุคคลใดจะตายก่อนหลัง
       กฎหมายถือว่า ก และ ข ตายพร้อมกัน แม้ข้อเท็จจริง ก น่าจะตายก่อน หากเป็นการพ้นวิสัยที่จะพิสูจน์ได้ว่า ใครตายก่อนหลัง


2.2 สาบสูญ

  1. ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนา และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยที่บุคคลนั้นไม่ได้ตั้งตัวแทนในการจัดการทรัพย์สินไว้ ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถร้องขอต่อศาลจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ไปพลางก่อนตามที่จำเป็นนั้นได้
  2. ถ้าผู้ไม่อยู่ไปจากภูมิลำเนาเกินกว่า  1 ปี โดยไม่มีผู้รับข่าวหรือพบเห็น เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้นได้
  3. ผู้ไม่อยู่อาจตั้งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป หรือผู้รับมอบอำนาจเฉพาะการไว้ก็ได้
  4. ผู้จัดการทรัพย์สินที่ศาลตั้งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป
  5. สาบสูญเป็นเหตุแห่งการสิ้นสภาพบุคคลโดยกฎหมายให้สันนิษฐานว่าบุคคสาบสูญนั้นถึงแก่ความตาย
  6. สาบสูญคือ สภาพการณ์ที่บุคคลไปจากที่อยู่ โดยไม่รู้แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตยแล้ว หากหายไปนาน 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลไม่อยู่นั้นเป็นคนสาบสูฐ
  7. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดนั้น
  8. หากพิสูจน์ได้ว่าคนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดากเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นได้ เมื่อคนสาบสูญนั้นเอง ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล แต่การถอนคำสั่งย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการกระทำทั้งหลายอันได้กระทำไปโดยสุจริตในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

    2.2.1 ผู้ไม่อยู่และผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่
              ก หายไปจากที่อยู่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2500 เขียนจดหมายลงวันที่ 5 มีนาคม 2505 มาถึงญาตพี่น้องส่งข่าวให้ทราบ จดหมายถึงวันที่ 10 มีนาคม 2505 ต่อมาวันที่ 10 เมษายน 2510 มีผู้พบเห็น ก ที่จังหวัดภูเก็ต แล้วไม่มีใครทราบข่าวคราวของ ก อีกเลยว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เช่นนี้สภาพการณ์เป็นผู้ไม่อยู่ของ ก เริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด
              เริ่มเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2510 แต่ระยะเวลาการเป็นผู้ไม่อยู่ คงมีเรื่อยไปไม่สิ้นสุด เพราะไม่มีเหตุสิ้นสุดคือ ก ไม่ได้กลับมา ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ก ตายแล้ว และไม่มีผู้ใดร้องขอให้ศาลสั่งว่า ก เป็นคนสาบสูญ         

    หลักเกณฑ์การร้องขอเข้าจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่มีประการใดบ้างและผู้ร้องมีสิทธิขอจัดการได้เพียงใด

              พิจารณาตาม ปพพ. มาตรา 48 คือหลักเกณฑ์
    (1) ผู้ไม่อยู่ต้องมีสภาพการณ์เป็นผู้ใหญ่ คือหายไปจากที่อนู่ ไม่รู้ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว
    (2) ไม่ได้ตั้งตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปแล้ว และได้บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียและพนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอ

    2.2.2 การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยที่ศาลสั่ง
    อำนาจของผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ที่ศาลตั้งมีประการใดบ้าง
    ผู้จัดการทรัพย์สินตาม ปพพ.มาตรา 54 ให้ผู้จัดการมีอำนาจจัดการอย่างตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปคือทำกิจการแทนผู้ไม่อยู่ได้ ยกเว้นตามข้อห้าม 6 ประการตามมาตรา 801 ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงกระทำได้

    2.2.3 การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ โดยผู้ไม่อยู่ตั้ง
    ตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปที่ผู้ไม่อยู่แต่งตั้งไว้มีอำนาจการจัดการทรัพย์สินเช่นเดียวกับตัวแทนมอบอำนาจทั่วไปตามกฎหมายลักษณะตัวแทนหรือไม่
    มีอำนาจเช่นเดียวกันเพราะ ปพพ. มาตรา 60 ให้นำบทบัญญัติกฎหมายลักษณะตัวแทนมาใช้บังคับในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ เพียงที่ไม่ขัดแย้งกับกฎหมายเรื่องบุคคล เว้นแต่ข้อห้าม 6 ประการตาม ปพพ.มาตรา 801 หากจำเป็นต้องกระทำมีกฎหมายมาตรา 51 บัญญัติให้ขออนุญาตศาล เพราะไม่มีตัวการจะให้คำอนุญาติได้

    2.2.4 สาบสูญ
              มีหลักสำคัญประการใดบ้างที่ศาลจะมีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ
              การที่ศาลจะสั่งให้บุคคลเป็นบุคคลสาบสูญได้ตามที่มีผู้ร้องขอ ต้องพิจารณาความ 2 ประการคือ (1) บุคคลได้หายไปจากที่อยู่ โดยไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว (2) มีกำหนด 5 ปีในกรณีธรรมดา 2 ปีในกรณีพิเศษ

    2.2.5 ผลของการสาบสูญ
    คำสั่งศาลให้บุคคลเป็นคนสาบสูญ มีผลกระทบถึงการสมรสหรือไม่เพียงใด
    สาบสูญไม่เป็นเหตุให้ขาดการสมรส แต่เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้เท่านั้น

    2.2.6 การถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ
    กรณีใดบ้างที่จะร้องขอให้ศาลถอนคำสั่งสาบสูญได้ และผลของกฎหมายของการถอนคำสั่งสาบสูญนั้นมีประการใดบ้าง
    กรณีที่ร้องขอให้ศาลถอนคำสั่งแสดงสาบสูญ มี 2 ประการคือ (1) ผู้สาบสูญยังมีชีวิตอยู่ (2) ผู้สาบสูญตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้

2.3 ชื่อและสถานะของบุคคล

  1. ชื่อคือสิ่งที่ใช้เรียกขานเพื่อจำแนกตัวบุคคลทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่การใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่
  2. กฎหมายบัญญัติให้บุคคลทุกคนต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล แต่บุคคลอาจมีชื่ออื่นๆได้อีก เช่น ชื่อรอง ชื่อฉายา ชื่อแฝง และชื่อบรรดาศักดิ์
  3. ชื่ออื่นๆนั้น บุคคลอาจตั้งขึ้นเองหรือผู้อื่นตั้งให้ แต่ชื่อสกุลเป็นชื่อที่บุตรได้รับสืบเนื่องมาจากบิดา หรือภริยาได้รับสืบเนื่องมาจากสามี ถ้าเด็กไม่ปรากฏบิดามารดา ไม่อาจได้ชื่อสกุลจากบิดามารดาได้ก็ต้องตั้งชื่อสกุลให้ใหม่
  4. บุคคลอาจเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรองได้ตามใจสมัคร แต่ชื่อสกุลนั้น บุคคลหนึ่งบุคคลใดในวงศ์สกุลหามีสิทธิจะเปลี่ยนแปลงตามใจชอบได้ไม่ จะเปลี่ยนได้แต่โดยตั้งชื่อสกุลขึ้นใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงโดยผลของกฎหมายประการอื่น เป็นต้นว่า หญิงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีฯลฯ กรณีเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น การเปลี่ยนชื่อสกุลใหม่ไม่มีผลใช้ชื่อสกุลเดิมต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  5. กำหมายให้ความคุ้มครองทั้งชื่อบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในกรณีที่มีผู้โต้แย้งการใช้ชื่อและกรณีผู้อื่นใช้ชื่อโดยไม่มีอำนาจ โดยเจ้าของชื่อมีสิทธิระงับความเสียหาย หากไม่เป็นผล มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งห้าม และยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ด้วย
  6. สถานะของบุคคลเป็นสิ่งประกอบสภาพบุคคลที่ชี้บ่งฐานะหรือตำแหน่งของบุคคลในการใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ เช่น เป็นชายหญิง ผู้เยาว์ ผู้บรรลุนิติภาวะ บิดา มารดา บุตร หรือ สามี ภรรยา เป็นต้น
  7. บุคคลได้สถานะตั้งแต่เกิด เพราะมีสิทธิหน้าที่ตั้งแต่เริ่มสภาพบุคคลหรืออาจก่อให้เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากเปลี่ยนแปลงสถานะใหม่เช่น สมรส การหย่า เป็นต้น
  8. สถานะของบุคคลบางประการต้องจดทะเบียนการก่อหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
  9. สถานะของบุคคลที่กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ./ภตต ได้แก่ การเกิด การตาย และตาม ปพพ.คือ การจดทะเบียนครอบครัว ได้แก่ การสมรส การหย่า การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม และเลิกรับบุตรบุญธรรม

    2.3.1 ประเภทชื่อของบุคคล
    ชื่อบุคคลมี 3 ประเภทคือ
    (1) ชื่อที่กฎหมายบังคับให้มีประจำตัวบุคคล ได้แก่ ชื่อตัว และ ชื่อสกุล
    (2) ชื่อที่บุคคลอาจตั้งขึ้นได้อีก ได้แก่ชื่อรอง ชื่อฉายา และ ชื่อแฝง
    (3) ชื่อบรรดาศักดิ์ได้แก่ ชื่อตามราชทินนามที่พระมหากษัตริย์ตั้งให้

    การได้มาซึ่งชื่อตัว และ ชื่อสกุลแตกต่างกันหรือไม่
    แตกต่างกันคือ ชื่อตัว ได้มาตั้งแต่เกิดโดยตั้งขึ้นใหม่ ชื่อสกุล ได้สืบสกุลต่อเนื่องมาจากบิดา มารดา หรือตั้งใหม่ หรือ กรณีได้ชื่อสกุลจากสามี

    จำเป็นหรือไม่ที่เด็กไม่ปรากฏบิดามารดาจะต้องมีชื่อสกุล หากจำเป็นวิธีการใดจะหาชื่อสกุลให้เด็ก
    มีความจำเป็น เพราะกฎหมายบังคับ เมื่อไม่มีชื่อสกุลของบิดามารดา ก็ต้องตั้งชื่อสกุลขึ้นใหม่ให้เด็กนั้น

    ชื่อสกุลมีลักษณะสำคัญคือ
    (1) จำเป็นต้องมีประจำตัวบุคคล
    (2) ต้องแน่นอนคงที่
    (3) ไม่อยาจได้มาหรือสูญเสียไปโดยอายุความ
    (4) ไม่อาจจำหน่ายให้กันได้

    2.3.2 การเปลี่ยนชื่อบุคคลและการคุ้มครองชื่อบุคคล
    กรณีที่เป็นเหตุแห่งการโต้แย้งชื่อมีประการใดบ้าง และกฎหมายให้ความคุ้มครองอย่างไรการโต้แย้งชื่อมี 2 กรณี คือ
    (1)มีผู้โต้แย้งการใช้ชื่อของเรา
    (2) ผู้อื่นเอาชื่อเราไปใช้โดยไม่มีอำนาจ และกฎหมายให้ความคุ้มครอง 3 ประการคือ
       ก. ให้ระงับความเสียหาย
       ข. ให้ศาลสั่งห้าม
       ค.  เรียกค่าเสียหายได้

    2.3.3 สถานะการจดทะเบียนสถานะบุคคล
    สถานะของบุคคลคืออะไร ได้มาจากไหน และเหตุใดบุคคลต้องมีสถานะสถานะของบุคคลคือ ฐานะหรือตำแหน่งซึ่งบุคคลดำงอยู่ในประเทศชาติและครอบครัว บุคคลได้สถานะตั้งแต่เกิดมีสภาพบุคคล และอาจได้มาโดยการก่อขึ้นเองอีก เพราะเปลี่ยนสถานะใหม่ เหตุที่ต้องมีสถานะเป็นสิ่งที่บอกให้ทราบถึงควาแตกต่างและความสามารถของบุคคล ในการใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่

2.4 ภูมิลำเนา

  1. ภูมิลำเนาเป็นที่ กฎหมายกำหนดให้มีประกอบตัวบุคคล เพื่อชี้บ่งให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ว่าเขามีที่อยู่เป็นประจำที่ไหน ดังนั้นจึงอาจให้ความหมายได้อีกนัยหนึ่งว่า ภูมิลำเนาคือที่อยู่ตามกฎหมายของบุคคล
  2. การรู้ภูมิลำเนามีประโยชน์เมื่อบุคคลต้องการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟ้องคดี การส่งคำคู่ความหรือเอกสาร การชำระหนี้หรือสาบสูญ ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อรัฐในการจัดระเบียบการปกครอง และบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอีกด้วย
  3. กฎหมายบัญญัติเป็นหลักทั่วไปกำหนดให้ที่อยู่ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญเป็นภูมิลำเนาของบุคคล แต่หลักทั่วไปนี้ไม่อาจครอบคลุมไปกำหนดภูมิลำเนาของบุคคลได้ทุกประเภท จึงมีบทบัญญัติขยายความหลักเกณฑ์ทั่วไป หรือลดหย่อนหลักเกณฑ์ทั่วไปลงมา เพื่อค้นหาภูมิลำเนาของบุคคลทุกคนให้จนได้ กล่าวคือ บุคคลมีที่อยู่หลายแห่ง ให้ถือแห่งสำคัญเป็นภูมิลำเนา ถ้าสำคัญเท่ากัน ให้แต่ละแห่งเป็นภูมิลำเนา ถ้าไม่มีที่อยู่แหล่งสำคัญเลย ให้ถือที่อยู่เป็นภูมิลำเนา และท้ายที่สุดถ้าไม่มีที่อยู่แน่นอนเลย ให้ถือว่าที่อยู่นั้นเป็นภูมิลำเนา
  4. จากหลักเกณฑ์ที่ว่าบุคคลมีที่อยู่หลายแห่ง ให้ถือแหล่งสำคัญเป็นภูมิลำเนานั้น หมายความว่า บุคคลอาจเลือกถือภูมิลำเนาได้โดยสมัครใจ เพราะเขาจะเลือกเอาที่อยู่ใดเป็นแหล่งสำคัญก็ได้ ส่วนหลักเกณฑ์ข้อที่ว่า บุคคลมีที่อยู่แหล่งสำคัญหลายแห่งให้ถือว่าแต่ละแห่งเป็นภูมิลำเนานั้น มีความหมายอยู่ในตัวว่า บุคคลอาจมีภูมิลำเนาได้หลายแห่ง
  5. แม้หลักเกณฑ์มีว่า บุคคลอาจเลือกถือภูมิลำเนาได้ตามใจสมัคร แต่มีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภทที่กฎหมายกำหนดภูมิลำเนาให้เลย ได้แก่ผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถ กฎหมายให้ถือภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ข้าราชการให้มีภูมิลำเนาอยู่ ณที่ทำงานประจำ แต่ข้าราชการอาจจะถือภูมิลำเนาเดิมอีกแห่งก็ได้ คนที่ถูกจำคุกกฎหมายให้ถือเอาเรือนจำ หรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่เป็นภูมิลำเนาจนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ส่วนสามีและภรรยา กฎหมายให้ถือถิ่นที่อยู่ของสามีและภรรยาที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาเป็นภูมิลำเนา
  6. นอกจากภูมิลำเนาธรรมดาแล้ว บุคคลอาจเลือกเอาถิ่นที่ใดที่หนึ่งเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกก็ได้
  7. ภูมิลำเนานั้น อาจเปลี่ยนแปลงไปโดย (1) ย้ายที่อยู่ (2) มีเจตนาจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาเป็นหลักเกณฑ์  2 ประการประกอบกัน หากพฤติการณ์เข้าหลักเกณฑ์เพียงข้อเดียวไม่ถือว่าภูมิลำเนาได้เปลี่ยนแปลงไป

    2.4.1 ประโยชน์ของภูมิลำเนา
    ภูมิลำเนาของบุคคลมีประโยชน์ในทางกฎหมายเอกชนอย่างไร
    (1) การฟ้องคดี ทำให้ทราบเขตอำนาจศาล
    (2) การส่งคำคู่ความ หรือเอกสาร ส่ง ณ ภูมิลำเนา
    (3) การชำระหนี้ ชำระ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้
    (4) การสาบสูย ถือหลักการไปจากภูมิลำเนา

    2.4.2 การกำหนดภูมิลำเนา
    คำว่าบุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งนั้นหมายความว่าอย่างไร
    ตามปพพ. มาตรา 44 คือ ผู้เยาว์ใช้ภูมิลำเนาของผู้เยาว์โดยชอบธรรม กรณีบิดามารดาของผู้เยาว์แยกกันอยู่ ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาที่ตนอยู่ด้วย
    ปพพ. มาตรา 45 ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล

    ก มีบุตรภรรยาและบ้านพักอยู่ที่กรุงเทพ แต่มีอาชีพเป็นเซลแมน เดินเร่ขายสินค้าไปในที่ต่างๆ ไม่มีสำนักการงานแน่นอน เดือนหนึ่งหรือสองเดือนจึงกลับบ้านและพักอยู่ 2-3 วัน ก็ออกเดินทางค้าขายต่อ ดังนั้นภูมิลำเนาของ ก จะอยู่ที่ใด
    -ตอบ กรุงเทพ

    2.4.3 บุคคลที่กฎหมายกำหนดภูมิลำเนาให้
    ผู้เยาว์เป็นคนไร้ความสามารถเลือกถือภูมิลำเนาของตนได้ตามใจสมัครหรือไม่เพราะเหตุใด
    -ตอบ เลือกภูมิลำเนาเองไม่ได้ เพราะผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถเป็นผู้หย่อยความสามารถ ถูกตัดทอนสิทธิในการทำนิติกรรม หากผู้เยาว์จะทำนิติกรรม ต้องได้รับความยินยอมหรือให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทน
    ส่วนคนไร้ความสามารถทำนิติกรรมไม่ได้เลย หากทำจะเป็นโมฆียะ ต้องให้ผู้อนุบาลทำแทน ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงกำหนดให้ถือภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและเหมาะสมในการควบคุมดูแลและใช้อำนาจปกครอง

    ก รับราชการประจำอยู่ในกรุงเทพ แต่ทางราชการส่งไปช่วยราชการท่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 1 ปี ดังนี้ถือว่า ก มีภูมิลำเนาที่ไหนเพราะสาเหตุใด
    -กรุงเทพ เพราะเป็นถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ประจำ ส่วนเชียงใหม่ไม่เป็นภูมิลำเนา เพราะเป็นถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งชั่วคราวเท่านั้น

    2.4.4 การเปลี่ยนภูมิลำเนา
    การเปลี่ยนภูมิลำเนาประกอบด้วยหลักเกณฑ์ใดบ้าง และจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า บุคคลมีเจตนาเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนา
       ก.  ย้ายที่อยู่
       ข. เจตนาจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนา
    พิสูจน์ได้โดยดูจากข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ที่แสดงออกภายนอก เช่น แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน ขนย้ายครอบครัวไปอยู่บ้านใหม่ฯลฯ ข้อสำคัญคือ ต้องได้ความตามหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อ มิใช่ข้อใดข้อหนึ่ง

    ก มีชื่อในทะเบียนบ้านของบิดามารดาที่กรุงเทพ แต่ไปรับจ้างเป็นลูกเรือประมงอยู่ที่จังหวัดระนอง ครั้นถึงเกณฑ์ทำบัตรประชาชนก็กลับมาทำที่กรุงเทพ ในการออกเรือหาปลาครั้งหนึ่ง เรือถูกทางการพม่าจับและยึดไปในข้อหาล้ำน่านน้ำ ก ถูกศาลพม่าตัดสินจำคุก 5 ปี ปัจจุบัน ก บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ยังต้องโทษในประเทศพม่า ดังนั้น ก มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
    - กรุงเทพ

    2.4.5 ภูมิลำเนาเฉพาะการ
    อธิบายวิธีเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของบุคคลว่าทำได้อย่างไร
    ปพพ. มิได้กำหนดแบบวิธีไว้ การเลือกมีลักษณะเป็นข้อตกลงหรือสัญญาจึงดูที่เจตนาของคู่กรณี ซึ่งอาจตกลงกันโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยปากเปล่า หรือโดยปริยายก็ได้

แบบประเมิณหน่วยที่ 2 และแนว ถาม-ตอบ

บุคคล (พจนานุกรม ราชบัณฑิต 2542)โดยทั่วไปหมายถึง คน หรือสิ่งที่มีชีวิตซึ่งมิใช่สัตว์หรือพืช สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ ในทางกฎหมาย หมายถึง คน(บุคคลธรรมดา) และรวมถึงนิติบุคคล (บุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นด้วย)

บุคคลผู้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
(ก) ผู้ไม่อยู่ (มาตรา 48) ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลแสดงความสาบสูญ ก็ยังคงเป็นเพียงผู้ไม่อยู่
(ข) คนสาบสูญ (มาตรา 61) ผลของการที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ถือว่าผู้นั้นตายเมื่อครบกำหนด 5 ปีในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปีในกรณีพิเศษ (มาตรา 62) มิได้ถือเอาวันที่ศาลมีคำสั่งหรือวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา

ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ เช่น คู่สมรส ทายาท เจ้าหนี้ หุ้นส่วน เป็นต้น

วิญญูชน หมายถึงคนปกติทั่วไป จะประพฤติปฏิบัติเช่นไร
สิ่งที่ประกอบสภาพบุคคลคือ สิ่งที่ประกอบตัวบุคคลที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมในสังคม อันประกอบด้วย​ สัญชาติ ชื่อ ภูมิลำเนา สถานะ และ ความสามารถ
  1. บุคคลธรรมดาตาม ปพพ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ม.67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา)
  2. การเริ่มสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคล หมายถึง การคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและตาย (มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นลงเมื่อตาย)
  3. สภาพบุคคลเริ่มเมื่อ การคลอดและอยู่รอดเป็นทารก
  4. ก เกิดระหว่างปี 2482 แต่เป็นการพ้นวิสัยจะหยั่งรู้วันเกิดของ ก ได้ ดังนั้นกฎหมายให้ถือว่า วันเกิดของ ก คือ 1 เมษายน 2482 (ม.16 การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่ 1 แห่งเกือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันเริ่มปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด)
  5. กรณีต่อไปนี้ เป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดสภาพบุคคล (ก)ถูกรถยนต์ชนตาย (ข)ฆ่าตัวเองตาย (ค)สาบสูญ (ง)ป่วยตาย (ม.15 สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นลงเมื่อตาย)
  6. คนสาบสูญ ไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย (เพราะเมื่อศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ถือว่าตายไปแล้ว) ส่วน คนวิกลจริต คนเสมือนไร้ความสามารถ คนล้มละลาย คนไร้ความสามารถ กฎหมายยังถือว่ามีสภาพบุคคล บุคคลที่ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญแล้วถือว่าสิ้นสภาพบุคคลเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี ในกรณีพิเศษ (ม.62 บุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในม.61) 
  7. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว ถือว่าตายเมื่อครบกำหนด 2  ปี ในกรณีพิเศษ
    (ม.61 ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
    ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือ 2 ปี
    (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลงแล้ว ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงครามและหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
    (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือ สูญหายไป
    (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน 1 และ 2 ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น
  8. บุคคลที่อาจถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ในกรณีพิเศษคือ หายไปจากที่อยู่ไม่รู้ว่าเป็นหรือตายครบ 2 ปี ระยะเวลา 2 ปี ในกรณีพิเศษเริ่มนับเมื่อ ก)สงครามสงบ ข)วันที่เรืออับปาง ค)วันที่ภูเขาไฟระเบิดหยุดลงแล้ว ง)วันที่น้ำเลิกท่วมแล้ว
  9. ระยะเวลาแห่งการเป็นคนสาบสูญในกรณีธรรมดาเริ่มนับ เมื่อร้องขอต่อศาล (ม.61 ...ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้)
  10. ผู้มีสิทธิขอร้องให้ศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญคือ พนักงานอัยการ และผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ บุตร ภริยา สามี
  11. นิติบุคคลมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้คือ เป็นบุคคลตามกฎหมาย (ม.65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น ม.66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง ม.67 ภายใต้ข้อบังคับ มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น)
  12. นางแดงคลอดบุตรออกมาหายใจเพียง 1 ครั้ง ยังไม่ได้ตัดสายสะดือ นายดำ สามีนางแดงไม่พอใจจึงบีบคอบุตรนั้นตาย นายดำมีความผิดฐานฆ่าคนตาย เพราะทารกมีสภาพบุคคลแล้ว
  13. ทารกในครรภ์มารดาแม้ไม่มีสภาพบุคคล ก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ ถ้าปรากฏว่าเกิดมารอดอยู่ภายในระยะเวลา 310 วันนับแต่บิดาตาย
  14. กรณีต่อไปนี้อาจร้องขอถอนคำสั่งแสดงสาบสูญคือ พิสูจน์ได้ว่าคนสาบสูญตายตั้งแต่วันแรกที่หายไปจากที่อยู่ เมื่อศาลพิจารณาได้ความว่า คนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่หรือตายในเวลาอื่นที่ผิดไปจากที่กฎหมายสันนิษฐานไว้ ศาลต้องถอนคำสั่งแสดงสาบสูญ
  15.  ก ได้บ้านมาหลังหนึ่งโดยทางมารดาของ ข ผู้สาบสูญ ต่อมา ก ขายบ้านให้ ค ในราคา 100,000 โดยสุจริต แล้ว ก นำเงินนั้นไปซื้อรถยนต์มาใช้สอย 1 คัน หาก ข ยังมีชีวิตอยู่และกลับมา ก จะต้องคืนทรัพย์สินแก่ ข โดย คืนรถยนต์ที่นำเงินค่าบ้านไปซื้อแทนตัวบ้าน(ม.63 เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเอง หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และ ศาลพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นที่ผิดไปจากเวลาที่ระบุไว้ใน ม.62 ก็ดี ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้น แต่การถอนคำสั่งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลาย อันได้ทำไปโดยสุจริต ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น
    บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมา เนื่องแต่การที่ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไปเพราะศาลสั่งถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่ง ประมวลกฎหมายนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลม)

------------------------------------------

หน่วยที่ 3 บุคคลธรรมดา : ความสามารถ

  1. บุคคลมีสิทธิหน้าที่อย่างไร ย่อมใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามสิทธิและหน้าที่ของตน สภาพการณ์ที่บุคคลจะมีสิทธิหรือใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้แค่ไหนเพียงไร เรียกว่าความสามารถ
    ความสามารถมี 2 ลักษณะคือ
    1) ความสามารถในการมีสิทธิ
    2) ความสามารถในการใช้สิทธิ
  2. ตามหลัก บุคคลมีสิทธิหน้าที่เท่าเทียมกัน แต่บุคคลบางจำพวก กฎหมายตัดทอนความสามารถในการมีและใช้สิทธิไว้บางประการ ทำให้มีสภาพเป็นผู้หย่อนความสามารถ ซึ่งกฎหมายเรียกรวมๆว่า คนไร้ความสามารถ (ในความหวายอย่างกว้าง) คนไร้ความสามารถมี 3 ประเภทคือ
    ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ(ในความหมายอย่างแคบ) และคนเสมือนไร้ความสามารถ

------------------------------------------

หน่วยที่ 4 นิติบุคคล

------------------------------------------

หน่วยที่ 5 นิติบุคคล : สมาคม

------------------------------------------

หน่วยที่ 6 นิติบุคคล : มูลนิธิ

------------------------------------------

หน่วยที่ 7 นิติกรรมและการแสดงเจตนา

------------------------------------------

หน่วยที่ 8 การควบคุมการแสดงเจตนา

------------------------------------------

หน่วยที่ 9 โมฆะกรรมและโมฆียกรรม

------------------------------------------

หน่วยที่ 10 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา

------------------------------------------

หน่วยที่ 11 ระยะเวลาและอายุความ

------------------------------------------

หน่วยที่ 12 สัญญา : หลักทั่วไป

------------------------------------------

หน่วยที่ 13 การเกิด การตีความและประเภทของสัญญา

------------------------------------------

หน่วยที่ 14 ผลแห่งสัญญา มัดจำ เบี้ยปรับ

------------------------------------------

หน่วยที่ 15 การเลิกสัญญา

------------------------------------------

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน